ฟุตบอลทีมชาติเลบานอน
ฟุตบอลทีมชาติเลบานอน (อาหรับ: المنتخب اللبناني لكرة القدم; ฝรั่งเศส: Équipe du Liban de football) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเลบานอน[2] มีฉายาคือ "ต้นซีดาร์" อยู่ภายใต้การควบคุมของสมาคมฟุตบอลเลบานอน (LFA) ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) และสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) อันดับโลกฟีฟ่าที่สูงที่สุดคืออันดับที่ 85 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 สนามเหย้าของเลบานอนคือสนามกีฬาคามิลล์ ชามูน สปอร์ตซิตี ในเบรุต และสนามกีฬานานาชาติไซดาในไซดอน เลบานอนไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก แต่เคยเป็นเจ้าภาพ เอเชียนคัพ 2000 ซึ่งพวกเขาจบด้วยอันดับสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม เลบานอนเข้าร่วมเอเชียนเกมส์หนึ่งครั้งในปี 1998 และถูกน็อคตกรอบที่สอง เลบานอนเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตกและอาหรับเนชันส์คัพเป็นประจำ โดยเคยเป็นเจ้าภาพอาหรับเนชันส์คัพ 1963 ซึ่งพวกเขาจบอันดับที่สาม และเคยจบอันดับที่สี่ในปี 1964 และ 1966 เลบานอนยังเคยจบอันดับที่สามในการแข่งขันแพนอาหรับเกมส์ปี 1957 และ 1997 และเคยจบอันดับที่สี่ในปี 1961
ฉายา | منتخب الارز The Cedars | ||
---|---|---|---|
สมาคม | الاتحاد اللبناني لكرة القدم สมาคมฟุตบอลเลบานอน | ||
สมาพันธ์ย่อย | สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) | ||
สมาพันธ์ | สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | Miodrag Radulović | ||
กัปตัน | Hassan Maatouk | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | Abbas Atwi (84) | ||
ทำประตูสูงสุด | Roda Antar (20) | ||
สนามเหย้า | Camille Chamoun Sports City Stadium Saida International Stadium | ||
รหัสฟีฟ่า | LBN | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 117 3 (20 มิถุนายน 2024)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 82 (กุมภาพันธ์, เมษายน ค.ศ. 2018) | ||
อันดับต่ำสุด | 178 (เมษายน – พฤษภาคม ค.ศ. 2011) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
Mandatory Palestine 5–1 เกรเตอร์เลบานอน (เทลอาวีฟ Mandatory Palestine; 27 เมษายน ค.ศ. 1940) | |||
ชนะสูงสุด | |||
เลบานอน 11–1 ฟิลิปปินส์ (โตเกียว ญี่ปุ่น; 28 กันยายน ค.ศ. 1967) | |||
แพ้สูงสุด | |||
อิรัก 8–0 เลบานอน (แบกแดด อิรัก; 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959) กาตาร์ 8–0 เลบานอน (โดฮา กาตาร์; 27 มีนาคม ค.ศ. 1985) | |||
เอเชียนคัพ | |||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกในปี 2000) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (2000, 2019) |
สนาม
แก้สนามกีฬาคามิลล์ ชามูน สปอร์ตซิตี
แก้สนามกีฬาคามิลล์ ชามูน สปอร์ตซิตี (อาหรับ: ملعب مدينة كميل شمعون الرياضية) มีพื้นที่ 47,700 ตารางเมตร ความจุ 48,837 ที่นั่ง[3] ตั้งอยู่ในย่าน Bir Hassan เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ปัจจุบันใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลและกรีฑา ก่อสร้างในปี ค.ศ. 1957 และสร้างใหม่ในปี ค.ศ. 1997 ในสภาพที่ต้านทานแผ่นดินไหวได้ ที่จอดรถรองรับได้ 2,590 คัน ในปี ค.ศ. 1998 สนามแห่งนี้ใช้จัดงานแพนอาหรับเกมส์ และในปี ค.ศ. 1999 ก็ใช้จัดงานฟุตบอลชิงแชมป์อาหรับ สนามแห่งนี้ยังเป็นสนามหลักในเอเชียนคัพ 2000 และเคยใช้จัดการแข่งขันแฟรงโคโฟนเกมส์ในปี ค.ศ. 2009
สนามกีฬานานาชาติไซดา
แก้สนามกีฬานานาชาติไซดา (อาหรับ: إستاد صيدا الدولي) มีความจุ 22,600 ที่นั่ง ตั้งอยู่ที่เมืองไซดอน ประเทศเลบานอน โดยสนามแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อขยายพื้นที่ของสนามกีฬาเทศบาลไซดาแห่งเก่า และใช้จัดการแข่งขันเอเชียนคัพ 2000 ปกติแล้วสนามแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลทั่วไปและกรีฑา สนามแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมือง และเป็นสนามที่ตั้งอยู่ใกล้กับทะเลมากที่สุดในโลก
สถิติการแข่งขัน
แก้ฟุตบอลโลก
แก้- 1994 ถึง 2026 – ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เอเชียนคัพ
แก้เอเชียนคัพ | รอบคัดเลือก | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | ผล | อันดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | |
1972 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | - | - | - | - | - | - | - | 5 | 2 | 0 | 3 | 6 | 10 | |
1976 | ถอนตัว | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | |
1980 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | - | - | - | - | - | - | - | 3 | 1 | 1 | 1 | 2 | 1 | |
1984 | ถอนตัว | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | |
1988 | ถอนตัว | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | |
1992 | ถอนตัว | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | |
1996 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | - | - | - | - | - | - | - | 4 | 2 | 1 | 1 | 7 | 6 | |
2000 | รอบแบ่งกลุ่ม | 10 | 3 | 0 | 2 | 1 | 3 | 7 | - | - | - | - | - | - | |
2004 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | - | - | - | - | - | - | - | 6 | 1 | 1 | 4 | 2 | 8 | |
2007 | ถอนตัว | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | |
2011 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | - | - | - | - | - | - | - | 6 | 0 | 1 | 5 | 2 | 13 | |
2015 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | - | - | - | - | - | - | - | 6 | 2 | 2 | 2 | 12 | 14 | |
2019 | รอบแบ่งกลุ่ม | 17 | 3 | 1 | 0 | 2 | 4 | 5 | 10 | 5 | 2 | 3 | 16 | 7 | |
2023 | รอบแบ่งกลุ่ม | 3 | 0 | 1 | 2 | 1 | 5 | 6 | 3 | 1 | 2 | 11 | 8 | ||
ทั้งหมด | รอบแบ่งกลุ่ม | 10 | 9 | 1 | 3 | 5 | 8 | 17 | 50 | 20 | 10 | 20 | 72 | 68 |
ผลงานอื่น ๆ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ Montague, James (28 February 2012). "In Lebanon, National Soccer Team Helps Bring Country Together". สืบค้นเมื่อ 23 May 2017 – โดยทาง NYTimes.com.
- ↑ "History of Camille Chamoun Sports City Stadium". Camille Chamoun Sports City. 29 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-14. สืบค้นเมื่อ 14 October 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ฟีฟ่า.คอม เก็บถาวร 2019-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เอเอฟซี