ควอนตัส
ควอนตัส (อังกฤษ: Qantas) เป็นสายการบินประจำชาติและเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย[2][3] ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1920 ควอนตัสเป็นสายการบินเก่าแก่เป็นอันดับ 3 ของโลกที่ยังให้บริการอยู่ ตามหลังเคแอลเอ็ม และอาเบียงกา[4][5][6] ควอนตัสเป็นอักษรย่อจากชื่อเดิมของสายการบินว่า ควีนส์แลนด์และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีเอเรียลเซอร์วิส ซึ่งมาจากการที่เดิมควอนตัสให้บริการในรัฐควีนส์แลนด์และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ควอนตัสเป็นเพียงสายการบินเดียวในโลกที่ทำการบินสู่ทั้งเจ็ดทวีป[7] โดยเป็นสายการบินเดียวที่ให้บริการเที่ยวบินท่องเที่ยวประจำไปยังแอนตาร์กติกา[8] พร้อมด้วยเที่ยวบินไปยังแอฟริกา ยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ควอนตัสเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์[9]
| |||||||
ก่อตั้ง | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920 (103 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922 (101 ปี) | ||||||
ท่าหลัก | บริสเบน เมลเบิร์น ซิดนีย์ | ||||||
ท่ารอง | แอดิเลด เพิร์ท | ||||||
เมืองสำคัญ | เครนส์ ดาร์วิน สิงคโปร์ | ||||||
สะสมไมล์ | Qantas Frequent Flyer | ||||||
พันธมิตรการบิน | วันเวิลด์ | ||||||
บริษัทลูก | ควอนตัสลิงก์ เจ็ตสตาร์ ควอนตัสเฟรต ควอนตัสฮอลิเดย์ เอกซ์เพรสกราวนด์แฮนดลิง ควอนตัสกราวนด์เซอร์วิส | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 125 | ||||||
จุดหมาย | 93 | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ซิดนีย์, นิวเซาท์เวลส์, ประเทศออสเตรเลีย | ||||||
รายได้ | A$19.81 พันล้าน (ค.ศ. 2023) | ||||||
รายได้จากการดำเนินงาน | A$2.47 พันล้าน (ค.ศ. 2023) | ||||||
สินทรัพย์ | A$20.3 พันล้าน (ค.ศ. 2023) | ||||||
ส่วนของผู้ถือหุ้น | A$10 พันล้าน (ค.ศ. 2023) | ||||||
พนักงาน | 23,500 (ค.ศ. 2023)[1] | ||||||
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้ควอนตัสก่อตั้งขึ้นในเมืองวินตัน รัฐควีนส์แลนด์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920 โดยฮัดสัน ฟิช, พอล แมคกินเนส และเฟอร์กัส แมคมาสเตอร์ ในชื่อ "ควีนส์แลนด์และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีเอเรียลเซอร์วิสลิมิเต็ด"[10][11] เครื่องบินลำแรกของสายการบินคือ Avro 504K ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ลองรีช รัฐควีนส์แลนด์ในปีค.ศ. 1921 และเมืองบริสเบน รัฐควีนส์แลนด์ในปีค.ศ. 1930[12]
จุดหมายปลายทาง
แก้ควอนตัสบินไปยังจุดหมายปลายทาง 93 แห่งทั่วแอฟริกา ยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
ข้อตกลงการบินร่วม
แก้ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2023 ควอนตัสได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[13]
- แอร์กาแล็ง
- แอร์ฟรานซ์[14]
- แอร์นิวซีแลนด์[15]
- แอร์นิวกินี
- แอร์นอร์ท
- แอร์ตาฮีตี นูอี
- แอร์วานูอาตู
- อะแลสกาแอร์ไลน์
- อเมริกันแอร์ไลน์
- เอเชียนาแอร์ไลน์
- บางกอกแอร์เวย์ส
- บริติชแอร์เวย์
- คาเธ่ย์แปซิฟิก[16]
- ไชนาแอร์ไลน์
- ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์
- ไชนาเซาท์เทิร์นแอร์ไลน์
- เอ็ลอัล[17]
- เอมิเรตส์
- ฟิจิแอร์เวย์
- ฟินน์แอร์
- อินดิโก
- อิตาแอร์เวย์[18]
- เจแปนแอร์ไลน์
- เจ็ตสตาร์
- เจ็ตสตาร์เอเชีย
- เจ็ตสตาร์เจแปน
- เจ็ตสตาร์แปซิฟิก[19]
- เคแอลเอ็ม[20]
- ลาตัมชิลี
- โซโลโมนแอร์ไลน์
- ศรีลังกันแอร์ไลน์
- เวียดนามแอร์ไลน์
- เวสต์เจ็ต
กิจการร่วมค้า
แก้ควอนตัสได้ทำกิจการร่วมค้ากับสายการบินดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
แก้ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2023 ควอนตัสมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[24][25][26]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
F | B | PE | E | รวม
| ||||
แอร์บัส เอ220-300 | — | 29[27][28][29][30] | — | 10 | — | 127 | 137 | เริ่มส่งมอบในปี 2023
เพื่อทดแทนโบอิง 737-800 และ โบอิง 717 ของควอนตัสลิงก์ตามลำดับ สั่งซื้อพร้อม 94 สิทธิการสั่งซื้อเพิ่มเติมในตระกูลเอ320นีโอและเอ220[31][32] |
แอร์บัส เอ321เอกซ์แอลอาร์ | — | 20[27] | — | 20 | — | 180 | 200 | เริ่มส่งมอบในปี 2024[33]
ทดแทนโบอิง 737-800 สั่งซื้อพร้อม 94 สิทธิการสั่งซื้อเพิ่มเติมในตระกูลเอ320นีโอและเอ220[31][32] |
แอร์บัส เอ330-200 | 16 | — | — | 27 | — | 224 | 251 | จะถูกทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350-1000 และโบอิง 787 ตั้งแต่ปี 2027[34] |
28 | 243 | 271[35] | ||||||
แอร์บัส เอ330-300 | 10 | — | — | 28 | — | 269 | 297[36] | |
แอร์บัส เอ350-1000 | — | 12 | 6 | 52 | 40 | 140 | 238[37][38] | เริ่มส่งมอบในปี 2025[31]
12 ลำจะนำไปใช้ในโครงการโปรเจกต์ซันไรส์[39] |
— | 12 | TBA | เริ่มส่งมอบในปี 2028[39]
ทดแทนแอร์บัส เอ330 และตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับการทดแทนแอร์บัส เอ380 ตั้งแต่ปี 2032.[34] | |||||
แอร์บัส เอ380-800 | 10[40] | — | 14 | 64 | 35 | 371 | 484[41] | |
70 | 60 | 341 | 485[42] | มีการติดตั้งที่นั่งชั้นธุรกิจและประหยัดพรีเมียมแบบใหม่[43]
5 ลำจะนำกลับมาให้บริการตั้งแต่ปี 2022.[44] ทั้งหมดจะถูกนำกลับมาให้บริการภายในปี 2023.[45] จะถูกทดแทนตั้งแต่ปี 2032 เป็นต้นไปด้วยเอ350-1000[46] | ||||
โบอิง 737-800 | 75 | — | — | 12 | — | 162 | 174[47] | บางส่วนจะถูกปลดประจำการและทดแทนด้วยอากาศยานตระกูลเอ320นีโอและเอ220 ตั้งแต่ปี 2024[27][31] |
โบอิง 787-9 | 14[48] | 4 | — | 42 | 28 | 166 | 236[49] | เดิมสั่งซื้อ 8 ลำพร้อม 15 ตัวเลือกและ 30 สิทธิการสั่งซื้อ[50][51]
สั่งซื้อเพิ่มเติม 6 ลำในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018[52] สั่งซื้อเพิ่มเติม 4 ลำในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2023 ทดแทนแอร์บัส เอ330[34] |
โบอิง 787-10 | — | 8 | TBA | ทดแทนแอร์บัส เอ330[34] | ||||
รวม | 125 | 85 |
ควอนตัสมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 14.4 ปี
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
แก้- 23 มีนาคม ค.ศ. 1946 เครื่องบิน แอฟโรแลนด์แคสเตรียน ได้หายตัวไปขณะบินอยู่เหนือมหาสมุทรอินเดีย เครื่องบินหายไปพร้อมกับผู้โดยสารและลูกเรือเจ็ดคนบนเที่ยวบินระหว่างโคลัมโบ ซีลอน (ปัจจุบันคือศรีลังกา) และหมู่เกาะโคโคส (คีลิง) ประมาณสามชั่วโมงก่อนถึงกำหนดส่งถึงหมู่เกาะโคโคส[53]
- 7 เมษายน ค.ศ. 1949 เครื่องบิน แอฟโรแลนด์แคสเตรียน เหวี่ยงลงจอดที่เมืองดับโบ รัฐนิวเซาท์เวลส์ระหว่างการฝึกบิน ทำให้เกียร์พัง เครื่องบินถูกทำลาย แต่ลูกเรืออพยพอย่างปลอดภัย[54]
- 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 เดอ ฮาวิลแลนด์ออสเตรเลีย ดีเอชเอ-3 โรเวอร์ ชนนอกชายฝั่งนิวกินี หลังจากที่ใบพัดของเครื่องยนต์ตรงกลางล้มเหลว นักบินและผู้โดยสารหกคนบนเครื่องเสียชีวิต[55]
- 23 กันยายน ค.ศ. 1999 ควอนตัสเที่ยวบินที่ 1 ซึ่งเป็นเครื่องบินโบอิง 747-400 ได้พลิกคว่ำรันเวย์ขณะลงจอดที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างเกิดพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรง เครื่องบินมาจอดที่สนามกอล์ฟใกล้กับทางวิ่ง แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
- 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ควอนตัสเที่ยวบินที่ 30 ซึ่งเป็นเครื่องบินโบอิง 747-400 ได้รับความเสียหายที่ลำตัวและการบีบอัดที่แตกเนื่องจากการระเบิดของถังอ็อกซิเจนเหนือทะเลจีนใต้ ระหว่างทางจากท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงไปยังท่าอากาศยานเมลเบิร์น เครื่องบินลงจอดฉุกเฉินในฟิลิปปินส์โดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ[56]
- 7 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ควอนตัสเที่ยวบินที่ 72 เป็นเครื่องบินแอร์บัส เอ330-300 ซึ่งเดินทางจากท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีไปยังเมืองเพิร์ธ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย เกิดการร่วงหล่นจากท้องฟ้าถึง 2 ครั้ง เครื่องบินลงจอดอย่างปลอดภัยที่ฐานทัพอากาศเลียร์มอนต์ คาดว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์[57][58]
- 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 ควอนตัสเที่ยวบิน 32 ซึ่งเป็นแอร์บัส เอ380 ซึ่งติดตั้งเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เทรนต์ 972 สี่ตัว ประสบกับปัญหาเครื่องยนต์ด้านซ้ายล้มเหลวไม่นานหลังจากออกจากท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีระหว่างทางไปซิดนีย์ . เครื่องบินกลับมาลงจอดฉุกเฉินที่สิงคโปร์อย่างปลอดภัย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[59][60][61]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Qantas Group Announced Major Jobs, Training and Growth Plans". สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
- ↑ "Qantas reports record annual loss". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2014-08-27. สืบค้นเมื่อ 2023-09-30.
- ↑ Butler, Ben (2020-03-17). "Airlines in crisis: Virgin and Qantas under pressure as government hints at support package". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-09-30.
- ↑ "Qantas story takes flight in outback hangar". National Trust (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
- ↑ "Qantas frequent flyers get microchip cards, heralding new era in faster travel". The Independent. 13 November 2009. Archived from the original on 4 August 2012.
- ↑ "Oldest Airlines in the World That Are Still Operating". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-10-23.
- ↑ "International Flight Network: Qantas"
- ↑ "Qantas to fly Aussies over Antarctica on 12hr scenic expedition". Australian Aviation (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2020-08-11.
- ↑ "oneworld - News". web.archive.org. 2011-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "About Qantas - Our Company - History - Small Beginnings". web.archive.org. 2006-10-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "The Men Who Established Qantas". Qantas. Archived from the original on 27 June 2018. Retrieved 16 May 2018.
- ↑ "Our history". www.qantas.com. Archived from the original on 27 January 2021. Retrieved 26 January 2021.
- ↑ "Profile on Qantas Airways | CAPA - Centre for Aviation". web.archive.org. 2016-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "QANTAS AND AIR FRANCE RENEW PARTNERSHIP TO OFFER CUSTOMERS MORE TRAVEL OPTIONS BETWEEN AUSTRALIA AND FRANCE". Qantas News Room (Press release).
- ↑ Schofield, Adrian (1 June 2018). "Air New Zealand & Qantas to codeshare". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2018.
- ↑ "Cathay Pacific And Qantas To Bring Australia And Asia Closer Together". Qantas News Room (Press release). 21 September 2018. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
- ↑ Liu, Jim (7 September 2017). "El Al / Qantas codeshare partnership begins in Sep 2017". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017.
- ↑ "Qantas e ITA Airways vanno in code share" [Qantas codeshare with ITA Airways]. italiavola.com (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 2021-12-16.
- ↑ 2018, UBM (UK) Ltd. "Qantas / Jetstar Pacific begins codeshare service from March 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "KLM / QANTAS begins codeshare service from Nov 2018". Routesonline. 1 November 2018.
- ↑ "American and Qantas implement joint venture". FlightGlobal. 6 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2019. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
- ↑ "Qantas and China Eastern welcome ACCC authorisation of joint venture" (Press release). Qantas. 21 August 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2019. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
- ↑ "Emirates-Qantas JV expands as partnerships become more intricate, while some airlines go it alone". CAPA. 27 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2019. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
- ↑ Australian civil aircraft register search เก็บถาวร 2015-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, using "Qantas Airways" as the "Registered Operator" search parameter. Search conducted 18 May 2012. Included in the aircraft that match the search criterion are five operated by Express Freighters Australia under a separate Air Operator Certificate.
- ↑ CASA website AOC listing search เก็บถาวร 2009-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, using "Express Freighters Australia" as the search criterion. Search conducted 13 November 2009.
- ↑ "Qantas Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-29.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 "Airbus beats out Boeing: Qantas to order A321XLR, A220 jets". Executive Traveller (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
- ↑ "Australia's Qantas Group updates fleet renewal plans". ch-aviation.com. 2023-02-24.
- ↑ "Qantas group updates fleet plan to boost capacity". Qantas News Room. 2023-02-23. สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
- ↑ "Qantas group returns to profit with record half year result". Qantas News Room. 2023-02-23. สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 "QANTAS GROUP ANNOUNCES MAJOR AIRCRAFT ORDER TO SHAPE ITS FUTURE". Qantas Newsroom (Press release). 2 May 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2 May 2022.
- ↑ 32.0 32.1 Welle (www.dw.com), Deutsche. "Qantas switches to Airbus to replace domestic fleet | DW | 16.12.2021". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-16.
- ↑ "Airbus A321XLR delays average 12 months across industry -Qantas". Yahoo Life (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2023-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 "Qantas orders more aircraft for international fleet" (Press release). 24 August 2023.
- ↑ "Airbus 330-200 Seat Map for Configuration: 28 Business; 243 Economy – Domestic" (PDF). 2015. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
- ↑ "Airbus 330-300 Seat Map for Configuration: 28 Business; 269 Economy – International" (PDF). 2015. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
- ↑ "QANTAS GROUP ANNOUNCES MAJOR AIRCRAFT ORDER TO SHAPE ITS FUTURE". QANTAS. 2 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2 May 2022.
- ↑ "QANTAS Airbus A350-1000 Fact Sheet" (PDF). QANTAS. 2 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2 May 2022.
- ↑ 39.0 39.1 "Qantas Ordering Airbus A350 For World's Longest Flight". One Mile at a Time. 2 May 2022.
- ↑ "Photos: First Qantas A380 to be scrapped".
- ↑ "Airbus 380 Seat Map for Configuration: 14 First; 64 Business; 35 Premium Economy; 371 Economy" (PDF). 2019. สืบค้นเมื่อ 1 October 2019.
- ↑ "Airbus A380-800 seat map – 14 First, 70 Business, 60 Premium Economy and 341 Economy" (PDF). Qantas. สืบค้นเมื่อ 1 October 2019.
- ↑ Stewart, Sammy (1 October 2019). "Inside Qantas' newly refurbished A380". News.com.au.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อQANTAS GROUP OUTLINES STRATEGY FOR RESTARTING INTERNATIONAL FLIGHTS
- ↑ Chua, Alfred (25 August 2022). "Qantas to reactivate five remaining A380s by end-2023". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 August 2022.
- ↑ https://investor.qantas.com/DownloadFile.axd?file=/Report/ComNews/20230824/02701431.pdf
- ↑ "Boeing 737-800 Seat Map for Configuration: 12 Business; 162 Economy -" (PDF). 2016. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
- ↑ "Qantas takes delivery of new 787". สืบค้นเมื่อ 2 May 2023.
- ↑ "Boeing 787-9 Seat Map for Configuration: 42 Business; 28 Premium Economy; 166 Economy" (PDF). 2018. สืบค้นเมื่อ 28 March 2018.
- ↑ Frawley, Gerald (17 October 2017). "'Great Southern Land' – first Qantas 787 formally revealed". Australian Aviation. Phantom Media. สืบค้นเมื่อ 18 October 2017.
- ↑ "Qantas orders Dreamliners, announces shareholder return and posts return to profitability". Australian Aviation. Phantom Media. 20 August 2015. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "Qantas Orders More Dreamliners, Sets Date to Farewell Jumbos" (Press release). Qantas. 2 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2 May 2018.
- ↑ Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident Avro 691 Lancastrian C.1 G-AGLX Indian Ocean". www.aviation-safety.net.
- ↑ Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident Avro 691 Lancastrian C.1 VH-EAS Dubbo Airport, NSW (DBO)". aviation-safety.net.
- ↑ http://nla.gov.au/nla.news-article2833330
- ↑ "MEDIA RELEASE : 28 July 2008 - Qantas Boeing 747-400 depressurisation and diversion to Manila on 25 July 2008". web.archive.org. 2008-08-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Media releases: 14 October 2008 - Qantas Airbus A330 accident Media Conference". web.archive.org. 2019-06-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Media releases: 14 October 2008 - Qantas Airbus A330 accident Media Conference". web.archive.org. 2019-06-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ http://www.dailytelegraph.com.au/news/nsw/qantas-attendants-sue-over-explosion/story-fni0cx12-1226666535421?nk=dc9e1caae518f53e8c49270990cf91ce
- ↑ http://www.abc.net.au/news/2010-11-04/qantas-grounds-a380s-after-engine-failure/2324262
- ↑ "Qantas: No Crash / Explosion | Plane Lands In Singapore | QF 32". web.archive.org. 2010-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ควอนตัส (อังกฤษ)