ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ท่าอากาศยานนานาชาติชางงีสิงคโปร์ (IATA: SIN, ICAO: WSSS, FAA LID: SIN) (จีน: 新加坡樟宜机场; พินอิน: Xīnjiāpō Zhāngyí Jīchǎng) หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขตชางงี เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก, ซิลค์แอร์, ไทเกอร์แอร์เวย์, เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ และแวลูแอร์ และเป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางด้านการคมนาคมทางอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ Lapangan Terbang Changi Singapura 新加坡樟宜机场 சிங்கப்பூர் சாங்கி விமான நிலையம் | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หอบังคับการบินอันโดดเด่นของท่าอากาศยานชางงี | |||||||||||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||||||
การใช้งาน | ท่าอากาศยานนานาชาติ/ ฐานทัพอากาศ | ||||||||||||||||||
เจ้าของ | รัฐบาลสิงคโปร์ | ||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | บริษัทชางงีแอร์พอร์ทกรุ๊ป จำกัด กองทัพอากาศสิงคโปร์ | ||||||||||||||||||
พื้นที่บริการ | สิงคโปร์ | ||||||||||||||||||
สถานที่ตั้ง | สิงคโปร์ตะวันออก | ||||||||||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||||||||||
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล | 7 เมตร / 22 ฟุต | ||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | www.changiairport.com | ||||||||||||||||||
แผนที่ | |||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
สถิติ (ข้อมูลปี ค.ศ.2010) | |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล: เว็บไซต์ชางงีแอร์พอร์ทกรุ๊ป[2] |
ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับผู้โดยสารจำนวนถึง 35 ล้านคน เพิ่มมากขึ้น 8% จากปีงบประมาณ 2548 พ.ศ. 2552 ท่าอากาศยานชางงีได้รับการลงคะแนนให้เป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก อันดับที่สามรองจากท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนและท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง[3]
ประวัติ แก้
ท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ที่ Paya Lebar เป็นท่าอากาศยานหลักแห่งที่สามของสิงคโปร์นับจากท่าอากาศยาน Seletar (ท่าอากาศยานหลักในปี 2473 - 2480) และท่าอากาศยาน Kallang (2480 – 2498) เปิดในปี 2498 แต่ด้วยรันเวย์เดียวและอาคารผู้โดยสารขนาดเล็ก การขนส่งสนามบินประสบปัญหาความแออัดไม่สามารถรับมือกับการจราจรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษ 1970 (ปี 2513-2522)จำนวนผู้โดยสารต่อปีเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 300,000 คนในปี 2498 เป็น 1.7 ล้านคนในปี 2513 และ 4 ล้านคนในปี 2518
รัฐบาลขณะนั้นมีสองทางเลือก คือ ขยายท่าอากาศยานที่มีอยู่ที่ Paya Lebar หรือสร้างท่าอากาศยานใหม่ที่สถานที่อื่น หลังจากศึกษาอย่างกว้างขวางในปี 2515 รัฐบาลตัดสินใจรักษาสภาพท่าอากาศยานหลักที่ Paya Lebar ตามคำแนะนำจากที่ปรึกษาด้านการบินของอังกฤษ ทำให้เกิดการสร้างรันเวย์ที่สองและการปรับปรุงและขยายอาคารผู้โดยสารในหนึ่งปีต่อมา อย่างไรก็ตามได้มีการทบทวนใหม่อีกครั้งเมื่อมีแรงกดดันที่จะขยายสนามบินเนื่องจากวิกฤตการณ์น้ำมันปี 2516
ด้วยความกังวลว่าท่าอากาศยาน Paya Lebar ที่มีอยู่ในพื้นที่เดิมตั้งมีความเสี่ยงที่ถูกปิดล้อมในทุกด้านจากการเติบโตของเมือง รัฐบาลจึงตัดสินใจในปี 2518 เพื่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ปลายสุดทางทิศตะวันออกของเกาะหลักที่เขตชางงีในพื้นที่ฐานทัพอากาศชางงีที่มีอยู่เดิม ซึ่งท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้จะสามารถขยายได้อย่างง่ายดายด้วยการถมทะเล
อย่างไรก็ตามการจราจรทางการบินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่าอากาศยานจึงต้องเริ่มสร้างและขยายตัวในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้มีการวางแผนให้เครื่องบินต้องบินข้ามทะเลแทนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหามลภาวะทางเสียงหากบินผ่านพื้นที่ที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับที่ท่าอากาศยาน Paya Lebar และช่วยหลีกเลี่ยงผลกระทบร้ายแรงในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางอากาศที่อาจเกิดขึ้นบนพื้นดิน
ซึ่งต่อมาท่าอากาศยาน Paya Lebar ได้ถูกดัดแปลงเพื่อใช้เป็นฐานทัพอากาศ Paya Lebar แทนฐานทัพอากาศชางงีเดิม
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์ แก้
- 26 มีนาคม พ.ศ. 2534: เครื่องบินแอร์บัส เอ 310 ของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 117 ที่ออกจากกัวลาลัมเปอร์ ถูกชายสี่คนจี้ขณะเดินทางไปยังสิงคโปร์ คนร้ายต้องการเติมน้ำมันให้เครื่องบินเพื่อให้บินไปถึงออสเตรเลีย เมื่อเครื่องบินลงจอดที่สิงคโปร์ หน่วยจู่โจมได้บุกเข้าไปในเครื่องบินแล้วสังหารคนร้ายชาวปากีสถานทั้งสี่คน ขณะที่ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดไม่ได้รับอันตราย[4]
- 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550: อุซามะฮ์ ชูบลัก (Osama R.M. Shublaq) ชาวปาเลสไตน์ ได้ลักลอบขึ้นเครื่องบินของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 119 จากกัวลาลัมเปอร์ แล้วตกออกจากโครงส่วนล่างของเครื่องบิน ตำรวจของท่าอากาศยานได้จับกุมและเนรเทศกลับไปมาเลเซียในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา[5]
- 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553: เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ของสายการบินแควนตัส เที่ยวบินที่ 32 ชื่อว่า "Nancy-Bird Walton" ประสบปัญหาเครื่องยนต์ภายในลำตัวเครื่องบินด้านซ้ายขัดข้องอย่างรุนแรง เครื่องบินสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย ผู้โดยสารทั้ง 433 คนและลูกเรือทั้ง 26 คนไม่ได้รับอันตราย ขณะที่ฝาครอบเครื่องยนต์ที่ขัดข้องได้ตกลงไปที่เกาะบาตัม
โครงสร้างพื้นฐาน แก้
โครงสร้างพื้นฐาน[6] | ||
---|---|---|
Taxiways | ||
ความยาว | 25,300 m (83,000 ft) | |
ความกว้าง | 30 m (98 ft) | |
อาคารผู้โดยสาร | ||
Total | ||
Floor area | 1,045,020 ตร.ม. | |
ความจุผู้โดยสาร | 73 ล้านคน | |
Parking bays | 92 (aerobridge) 10 (contact) 42 (remote) | |
อาคารหนึ่ง | ||
วันที่เปิด | 1 กรกฎาคม 2524 (operational) 29 ธันวาคม 2524 (เป็นทางการ) | |
Floor area | 280,020 ตร.ม. | |
ความจุผู้โดยสาร | 21 ล้านคน | |
Parking bays | 29 (aerobridge) 16 (remote) | |
อาคารสอง | ||
วันที่เปิด | 22 พฤศจิกายน 2533 (operational) 1 มิถุนายน 2534 (เป็นทางการ) | |
Floor area | 358,000 ตร.ม. | |
ความจุผู้โดยสาร | 23 ล้านคน | |
Parking bays | 35 (aerobridge) 11 (remote) | |
อาคารสาม | ||
วันที่เปิด | 9 มกราคม 2551 (operational) 25 กรกฎาคม 2551 (เป็นทางการ) | |
Floor area | 380,000 ตร.ม. | |
ความจุผู้โดยสาร | 22 ล้านคน | |
Parking bays | 28 (aerobridge) | |
อาคารสี่ | ||
วันที่เปิด | To Be Confirmed | |
Floor area | To Be Confirmed | |
ความจุผู้โดยสาร | To Be Confirmed | |
Parking bays | To Be Confirmed | |
Budget Terminal | ||
วันที่เปิด | 26 มีนาคม 2549 (operational) 31 ตุลาคม 2549 (เป็นทางการ) | |
Floor area | 25,000 ตร.ม. | |
Handling capacity | 7 ล้านคน | |
Parking bays | 10 (contact) | |
JetQuay (CIP Terminal) | ||
วันทีเปิด | 15 สิงหาคม 2549 (operational) 29 กันยายน 2549 (เป็นทางการ) | |
Floor area | 2,000 ตร.ม. | |
ความจุผู้โดยสาร | ||
Parking bays | 0 |
หอควบคุมจราจรทางอากาศ แก้
หอควบคุมจราจรทางอากาศถูกสร้างขึ้นตามแผนพัฒนาท่าอากาศยานชางงีระยะที่หนึ่ง
อาคารผู้โดยสาร แก้
- อาคาร 1 (เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2524)
- อาคาร 2 (เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2533)
- อาคาร 3 (เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2551)
- อาคาร 4 (เปิดให้บริการวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
- อาคาร 5 (เปิดให้บริการประมาณปี พ.ศ. 2563)
- อัญมณีแห่งท่าอากาศยานชางงี หรือ Jewel Changi Airport (เปิดให้บริการประมาณปี พ.ศ. 2562)
สายการบินและจุดหมายปลายทาง แก้
อาคารสินค้า แก้
อ้างอิง แก้
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-11. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-22. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.
- ↑ "S Korean airport 'best in world'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2009-06-15.
- ↑ "Hijacking of Singapore Airlines Flight SQ 117". National Library Board Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-14. สืบค้นเมื่อ 2011-02-27.
- ↑ What if Stowaway is Suicide Bomber?
- ↑ "Data officially declared by Changi Airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-25. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.
- ↑ https://newsclient.omxgroup.com/cdsPublic/viewDisclosure.action?disclosureId=409195&lang=en
- ↑ http://www.jetstar.com/sg/en/home.aspx
- ↑ Singapore Airlines To Fly To Sao Paulo from 28 March
- ↑ [1]
- ↑ http://www.channelnewsasia.com/stories/singaporebusinessnews/view/1046835/1/.html
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ (อังกฤษ)
- อาคารผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำ (อังกฤษ)