แอร์นิวซีแลนด์
แอร์นิวซีแลนด์ เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศนิวซีแลนด์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) มีท่าอากาศยานหลักคือท่าอากาศยานนานาชาติออกแลนด์ ให้บริการไปยังจุดหมายปลายทางในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย ซึ่งเป็นจุดหมายหลักของสายการบิน สายการบินเป็นหนึ่งในสมาชิกของพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์[2]
![]() | |||||||
| |||||||
ก่อตั้ง | 26 เมษายน ค.ศ. 1940 (ในชื่อ TEAL) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 1 เมษายน ค.ศ. 1965 (ในชื่อ Air New Zealand) | ||||||
ท่าหลัก | ออกแลนด์ เวลลิงตัน | ||||||
เมืองสำคัญ | ควีนส์ทาวน์ ซิดนีย์-คิงส์ฟอร์ดสมิธ | ||||||
สะสมไมล์ | แอร์พอยต์ | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
บริษัทลูก | แอร์นิวซีแลนด์คาร์โก้ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 104 | ||||||
จุดหมาย | 50 | ||||||
บริษัทแม่ | รัฐบาลนิวซีแลนด์ (53%) | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ![]() | ||||||
บุคลากรหลัก | Greg Foran (CEO) | ||||||
พนักงาน | 9,988 (2020)[1] | ||||||
เว็บไซต์ | http://www.airnewzealand.com |
ประวัติ แก้
ในปี พ.ศ. 2483 TEAL หรือ Tasman Empire Airways Limited ได้ถูกก่อตั้งขึ้น[3] เที่ยวบินแรกของสายการบินออกเดินทางจาก อ๊อคแลนด์ไปซิดนีย์และเวลลิงตัน ต่อมา จึงได้เพิ่มเที่ยวบินไปยังฟิจิ ซามัว ตาฮิติ และหมู่เกาะคุก[4] รัฐบาลออสเตรเลียได้ทำการซื้อหุ้นส่วนของ TEAL ไปทั้งหมด 50% ในปี 2496 ส่วนที่เหลืออีก 50% ก็ตกเป็นของรัฐบาลนิวซีแลนด์ ในปีพ.ศ. 2504 สายการบินนี้ได้กลายเป็นของรัฐบาลนิวซีแลนด์โดยสมบูรณ์ TEAL ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการว่า Air New Zealand
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2508 สายการบินได้ซื้อเครื่องบินดักลาส ดีซี-8 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งใช้สำหรับเส้นทางที่ยาวกว่าไปยังโฮโนลูลูและลอสแอนเจลิส จากนั้นในปี 2524 แอร์นิวซีแลนด์ก็ได้ซื้อ โบอิ้ง 747 แอร์นิวซีแลนด์ ซื้อ แอนเสต ออสเตรเลีย ในปี 2000 ภายหลัง แอนเสต ก็เลิกกิจการไป
กิจการองค์กร แก้
สำนักงานใหญ่ แก้
สำนักงานใหญ่ของแอร์นิวซีแลนด์เป็นอาคารสำนักงานขนาด 15,600 ตารางเมตร (168,000 ตารางฟุต) ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนโบมอนต์และถนนฟานชอว์ในออกแลนด์[5][6] สำนักงานนี้ประกอบด้วยอาคารหกชั้นสองแห่งที่เชื่อมต่อกัน[6] อาคารเหล่านี้ใช้เงิน 60 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ในการสร้างและพัฒนา ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006[6]
บริษัทลูก แก้
แอร์นิวซีแลนด์คาร์โก้เป็นบริษัทในเครือเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันของแอร์นิวซีแลนด์ โดยเป็นบริการขนส่งสินค้าทุกประเภท[7]
การสนับสนุน แก้
แอร์นิวซีแลนด์เป็นผู้สนับสนุนหลักในการแข่งขันรักบี้รายการแอร์นิวซีแลนด์คัพตลอดฤดูกาลของปีค.ศ. 2009 สายการบินยังเป็นสปอนเซอร์หลักของนิวซีแลนด์รักบี้ รวมทั้งสมาคมรักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์ หรือออลแบล็คส์ สายการบินยังเป็นผู้สนับสนุนของแอร์นิวซีแลนด์ไวน์อวาร์ดและเวิลด์ออฟแวร์เอเบิลอาร์ต และเป็นพันธมิตรกับกรมอนุรักษ์และแอนตาร์กติกาของนิวซีแลนด์[8]
จุดหมายปลายทาง แก้
แอร์นิวซีแลนด์ให้บริการปลายทางภายในประเทศ 20 แห่งและปลายทางระหว่างประเทศ 30 แห่งในสิบแปดประเทศและเขตแดนทั่วเอเชีย อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย
แอร์นิวซีแลนด์ดำเนินการเส้นทางเสรีภาพสี่เส้นทางที่ห้า (เช่น ระหว่างสองปลายทางที่ไม่ใช่ของนิวซีแลนด์) สายการบินดำเนินการเที่ยวบินรายสัปดาห์จากราโรตองกาไปซิดนีย์และลอสแอนเจลิส นอกเหนือจากเที่ยวบินที่ต่อเครื่องผ่านออกแลนด์[9] ในปีค.ศ. 2012 หลังจากได้รับสัญญาจากรัฐบาลออสเตรเลีย แอร์นิวซีแลนด์ได้เปิดตัวบริการสัปดาห์ละสองครั้งจากซิดนีย์และบริสเบนไปยังเกาะนอร์ฟอล์กด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ320
ข้อตกลงการบินร่วม แก้
แอร์นิวซีแลนด์ได้มีข้อตกลงการบินร่วมกันกัลสายการบินต่างๆดังต่อไปนี้:[10]
- แอโรลิเนียสอาร์เจนตินา
- แอร์แคนาดา[11]
- แอร์ไชน่า
- แอร์ตาฮีตี นูอี
- แอร์ไคลิน
- ออลนิปปอนแอร์เวย์[12]
- เอเชียน่าแอร์ไลน์[13]
- คาเธ่ย์ แปซิฟิค
- สายการบินเอทิฮัด
- อีวีเอแอร์[14]
- ฟิจิแอร์เวย์
- ลุฟท์ฮันซ่า
- ควอนตัส[15]
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์[16]
- เตอร์กิชแอร์ไลน์[17]
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
- เวอร์จิน แอตแลนติก
ฝูงบิน แก้
ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 แอร์นิวซีแลนด์มีเครื่องบินประจำการอยู่ในฝูงบินดังนี้:[18][19]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
C+ | C | W | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ320-200 | 17 | — | — | — | — | 171 | 171 | การจัดเรียงที่นั่งแบบภายในประเทศ |
แอร์บัส เอ320นีโอ | 6 | — | — | — | — | 165 | 165 | การจัดเรียงที่นั่งแบบระหว่างในประเทศ |
แอร์บัส เอ321นีโอ | 9 | 5[20] | — | — | — | 214 | 214 | การจัดเรียงที่นั่งแบบระหว่างในประเทศ[21] |
217 | 217 | การจัดเรียงที่นั่งแบบภายในประเทศ[22] | ||||||
เอทีอาร์ 72-600 | 29 | — | — | — | — | 68 | 68 | |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 7 | — | — | 44 | 54 | 244 | 342 | 4 ลำในประจำการ, 3 ลำถูกจัดเก็บ[23] จะถูกทดแทนด้วยโบอิง 787-10 ภายในปีค.ศ. 2027.[24] |
โบอิง 787-9 | 14[25] | 2[26] | — | 27 | 33 | 215 | 275 | ลูกค้าเปิดตัว[27] |
— | 18 | 21 | 263 | 302 | ||||
8 | 42 | 52 | 125 | 227 | การจัดเรียงใหม่ตั้งแต่ปีค.ศ. 2024[28] | |||
4 | 22 | 33 | 213 | 272 | ||||
โบอิง 787-10 | — | 6[26] | TBA | ส่งมอบตั้งแต่ปีค.ศ. 2024 เพื่อทดแทนโบอิง 777-300อีอาร์[24] | ||||
เดอ ฮาวิลแลนด์ แดช 8-300 | 23 | — | — | — | — | 50 | 50 | |
รวม | 104 | 15 |
ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 ฝูงบินของแอร์นิวซีแลนด์มีอายุฝูงบิน 8.6 ปี
การบริการ แก้
ห้องโดยสาร แก้
ชั้นประหยัด แก้
ที่นั่งชั้นประหยัดมีให้บริการบนเครื่องบินทุกลำโดยจะมีการจัดเรียงที่นั่งแบบ 3-3-3 บนโบอิง 787, 3-4-3 บนโบอิง 777-200 และ 300 อีอาร์ ที่นั่งมีความกว้างประมาณ 790 -880 มิลลิเมตร สามารถเอนเบาะที่นั่งได้ประมาณ 152 มิลลิเมตร ที่นั่งชั้นประหยัดทุกที่นั่งได้มีการติดตั้งหน้าจอความบันเทิงไว้ทุกที่นั่ง โดยหน้าจอจะมีขนาด 9 ถึง 10 นิ้ว
ชั้นประหยัด สกายเคาช์ แก้
ที่นั่งชั้นประหยัด สกายเคาช์ มีให้บริการในเครื่องบิน โบอิง 787-9, โบอิง 777-200ER และ โบอิง 777-300ER โดยเป็นชุดที่นั่งชั้นประหยัดสามที่นั่งแถวริมหน้าต่างของห้องโดยสารที่มีพนักวางแขนที่สามารถหดกลับเข้าไปในที่นั่งด้านหลัง และที่พักขาแบบเต็มที่สามารถปรับยกขึ้นเองทีละตัวและแบบแมนนวล เพื่อสร้างพื้นผิวเรียบที่ยื่นออกไปทางด้านหลังของที่นั่งด้านหน้า ที่นั่งชั้นนี้ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับครอบครัว เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับเล่นที่ราบเรียบ และสำหรับคู่รักที่ซื้อเบาะนั่งตรงกลางในราคาตัวละ 25% ก็สามารถใช้เป็นเบาะนอนราบได้[29][30]
ที่นั่งชั้นประหยัด สกายเคาช์ แต่ละที่นั่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเหมือนกับที่นั่งชั้นประหยัดแบบมาตรฐาน ที่นั่งชั้นนี้มีให้บริการเฉพาะในเส้นทางที่มีระยะเวลานานกว่า 6 ชั่วโมงเท่านั้น ในกรณีที่เครื่องบินถูกใช้ในเส้นทางที่สั้นกว่า ที่พักขาจะถูกล็อกและที่นั่งชั้นสกายเคาช์จะทำหน้าที่เป็นที่นั่งชั้นประหยัดแบบปกติ
ชั้นประหยัดพรีเมียม แก้
ที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียมจะอยู่ในโซนเฉพาะในห้องโดยสาร ซึ่งใช้ห้องสุขาร่วมกับห้องโดยสาร ธุรกิจพรีเมียร ซึ่งมีอยู่ในเครื่องบินโบอิง 777-200ER, โบอิง 787-9 และโบอิง 777-300ER บางลำ ห้องโดยสารมีไฟส่องสว่าง การรับประทานอาหารและไวน์ที่คัดสรร และปลั๊กไฟในบริเวณที่นั่ง เช่นเดียวกับห้องโดยสารชั้นธุรกิจพรีเมียร์ ที่นั่งที่ได้รับการตกแต่งใหม่นั้นกว้างขึ้นด้วยการปรับเอนได้ขนาด 9 นิ้ว และที่พักขาที่ขยายได้ โดยมีการจัดเรียงที่นั่งแบบ 2-4-2 ในโบอิ้ง 777 และรูปแบบ 2-3-2 ในโบอิ้ง 787-9 ระยะห่างระหว่างที่นั่งประมาณ 41 นิ้ว (1,000 มม.)
ชั้นธุรกิจพรีเมียร แก้
ที่นั่งชี้นธุรกิจพรีเมียร์ เป็นชั้นโดยสารสูงสุดที่มีในเที่ยวบินของแอร์นิวซีแลนด์โดยมีให้บริการบนโบอิง 777 และโบอิง 787 ที่นั่งได้รับการกำหนดค่าในรูปแบบรูปแฉกแนวตั้งในรูปแบบ 1-2-1 บน 777 และ 1-1-1 บน 787 ทำให้ผู้โดยสารทุกคนสามารถเข้าถึงทางเดินได้โดยตรง เบาะนั่งแต่ละที่นั่งเป็นหนังกว้าง 22 นิ้ว (560 มม.) และที่พักเท้าแบบอัตโนมัติที่สามารถใช้เป็นเบาะสำหรับแขกได้ เบาะนั่งสามารถปรับเป็นเตียงนอนราบแบบเต็มความยาวได้ (79.5 นิ้วหรือ 2,020 มม.)
ห้องรับรอง แก้
แอร์นิวซีแลนด์ เลานจ์ เป็นชื่อสำหรับเครือข่ายห้องรับรองของสายการบินทั่วโลกของ แอร์นิวซีแลนด์ สมาชิกของโปรแกรมแอร์นิวซีแลนด์ โครู สามารถเข้าใช้ห้องรับรองและรับบริการจอดรถ ช่องเช็คอินพิเศษ ปริมาณสัมภาระเช็คอินเพิ่มเติม และที่นั่งที่สำรองไว้
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ แก้
ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 แอร์นิวซีแลนด์ได้สูญเสียเครื่องบินสี่ลำและการจี้เครื่องบินสองครั้ง อุบัติเหตุที่เลวร้ายที่สุดของสายการบิน และเป็นเพียงอุบัติเหตุที่มีผู้โดยสารเสียชีวิต คือเที่ยวบินที่ 901 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 เมื่อเครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 ชนเข้ากับภูเขาไฟเอเรบัสในเที่ยวบินท่องเที่ยวเหนือทวีปแอนตาร์กติกา ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 257 คนบนเครื่องเสียชีวิต[31]
อ้างอิง แก้
- ↑ "Data Book 2020" (PDF). airnz.com. สืบค้นเมื่อ 18 June 2021.
- ↑ "Member Airline Details". www.staralliance.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Tasman Empire Airways Limited (TEAL) | Teal Motor Lodge | Gisborne New Zealand Accommodation | Book Direct and Save". www.teal.co.nz.
- ↑ http://www.teal.co.nz/teal/TEAL+2.htm[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Big piece of Viaduct for little guys". NZ Herald (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Air NZ readies for headquarters shift". NZ Herald (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "International products & services - International Cargo | Air New Zealand - Cargo". www.airnewzealandcargo.com.
- ↑ "Air New Zealand Wine Awards - Cheap Flights, Airfares & Holidays - Air New Zealand Official Site - NZ". web.archive.org. 2008-10-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
- ↑ "Air New Zealand renews agreements to operate long haul Cook Islands services - Media releases 2014 - Media Releases - Media Centre - Company Information - Air New Zealand". web.archive.org. 2014-12-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-14. สืบค้นเมื่อ 2021-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Co-operation partners - Airpoints™ | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz.
- ↑ "Air Canada and Air New Zealand to pursue joint venture". flightglobal.com. 27 Feb 2019. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
- ↑ "ANA partner Airlines". ana.co.jp. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
- ↑ "Asiana Airlines partners". flyasiana.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
- ↑ "EVA Air and Air New Zealand sign codeshare agreement – Blue Swan Daily". blueswandaily.com (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 5 November 2018. สืบค้นเมื่อ 5 November 2018.
- ↑ "Qantas, Air New Zealand announce codesharing partnership". news.com.au. 1 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2 June 2018.
- ↑ "SAA codeshare partners". flysaa.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
- ↑ "Turkish Airlines codeshare partners". turkishairlines.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
- ↑ "Operating fleet - About Air New Zealand | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz.
- ↑ "Air New Zealand Fleet Details and History". www.planespotters.net.
- ↑ "Air NZ commits to taking seven more A321neos". Flight Global. 24 August 2018. สืบค้นเมื่อ 24 August 2018.
- ↑ "Airbus A321neo - Seat maps - Experience | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz. สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.
- ↑ "Airbus A321neo (NZ Domestic) - Seat maps - Experience | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz. สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.
- ↑ Carroll, Melanie (2022-11-15). "By the numbers: How Air NZ brings its planes in the desert back to life". Stuff (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
- ↑ 24.0 24.1 "Air New Zealand to operate Dreamliners on all long-haul routes as Boeing 777s phased out". Newshub (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.
- ↑ Mrcaviation (2019-10-28). "3rd Level New Zealand: Air New Zealand Boeing 787-9 ZK-NZR delivered and enters service". 3rd Level New Zealand. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03.
- ↑ 26.0 26.1 "Airplane Orders and Deliveries data through 05/31/2022". Boeing. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Air New Zealand shows off stunning, all-black Dreamliner".
- ↑ Bradley, Grant (2022-06-29). "Revealed: Sleep pods, help-yourself food - Air NZ's biggest cabin overhaul in decades". NZ Herald (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.
- ↑ "Economy Skycouch™ - The long haul experience - Onboard your flight - Experience | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz.
- ↑ "Air New Zealand | Book Air NZ Flights with Confidence". www.airnewzealand.co.nz.
- ↑ Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident McDonnell Douglas DC-10-30 ZK-NZP Mount Erebus". aviation-safety.net.
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- เว็บไซต์ของแอร์นิวซีแลนด์ (อังกฤษ)