เตอร์กิชแอร์ไลน์

สายการบินแห่งชาติของประเทศตุรกี

เตอร์กิชแอร์ไลน์ (ตุรกี: Türk Hava Yolları; อังกฤษ: Turkish Airlines) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดประเทศตุรกี[3] โดยมีฐานการบินหลักในท่าอากาศยานอิสตันบูล โดยทำการบินสู่จุดหมายปลายทาง 288 แห่งในทวีปยุโรป เอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามจำนวนจุดหมายปลายทาง[4][5][6] เตอร์กิชแอร์ไลน์เป็นสมาชิกของพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์

เตอร์กิชแอร์ไลน์
Türk Hava Yolları Anonim Ortaklığı
IATA ICAO รหัสเรียก
TK THY TURKISH
ก่อตั้ง20 พฤษภาคม 1933; 90 ปีก่อน (1933-05-20)
AOC #TQKF144F
ท่าหลักอิสตันบูล-นานาชาติ
เมืองสำคัญเอเซนโบกา
อิสตันบูล-ซาบีฮา เกิกเชน
สะสมไมล์Miles & Smiles
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
ขนาดฝูงบิน340 (ไม่รวมของเอเจ็ต)
จุดหมาย288
สำนักงานใหญ่ตุรกี ท่าอากาศยานอาทาทืร์ค อิสตันบูล, ประเทศตุรกี
บุคลากรหลักAhmet Bolat (ประธาน)
Bilal Ekşi (CEO)
รายได้เพิ่มขึ้น 18.426 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 3.193 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 2.725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 30.944 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 9.742 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1]
พนักงาน
37,670 คน (2020)[2]
เว็บไซต์www.turkishairlines.com

ประวัติ แก้

ช่วงแรก แก้

เตอร์กิชแอร์ไลน์ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ในชื่อเตอร์กิชสเตทแอร์ไลน์ (ตุรกี: Devlet Hava Yolları)[7] โดยเป็นสายการบินภายในประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหมตุรกี[8] เริ่มแรกสายการบินมีเครื่องบินประจำการห้าลำ; เคอร์ทิสส์ คิงเบิร์ดจำนวน 2 ลำ, ยุงเคิร์ส เอฟ 13 จำนวน 2 ลำ และตูโปเลฟ อาน-9 จำนวน 1 ลำ[8] ในปี 1935 สายการบินได้โอนไปอยู่ในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น เจเนอรัลดีเร็กเทอเรตออฟสเตทแอร์ไลน์ ในปี 1938 ได้โอนไปอยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคม[9]

ช่วงหลังสงคราม แก้

 
ฟอกเกอร์ เอฟ-27 ของเตเฮเยในปี 1973

ในช่วงต้นปี 1945 เตอร์กิชได้เริ่มประจำการเครื่องบินดักลาส ดีซี-3 และดักลาส ซี-47 สกายเทรนหลายลำ ซึ่งเป็นการเปิดทางให้เตอร์กิชแอร์ไลน์เติบโตได้มาก[8] โดยได้เริ่มทำการบินเส้นทางบินระหว่างประเทศครั้งแรกในเส้นทางอังการาอิสตันบูลเอเธนส์ในปี 1947 และต่อมาได้เพิ่มเส้นทางบินสู่นิโคเซีย เบรุต และไคโร โดยที่ยังให้บริการการบินภายในประเทศเป็นหลักจนถึงต้นทศวรรษ 1960[10]

ในปี 1956 รัฐบาลตุรกีได้ปรับโครงสร้างสายการบินใหม่โดยใช้ชื่อ เทอร์ก ฮาวา โยเลรึ อา.โอ. (ตุรกี: Türk Hava Yolları A.O.) หรือรู้จักกันในชื่อ เตเฮเย[8] มีการวางทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 60 ล้านลีรา สายการบินได้เข้าร่วมสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ และต่อมาในปี 1957 บริติชโอเวอร์ซีย์แอร์เวย์คอร์ปอเรชัน (บีโอเอซี) เริ่มให้การสนับสนุนด้านเทคนิคหลังจากได้รับสัดส่วนการถือหุ้น 6.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะถือหุ้นเป็นเวลาประมาณ 20 ปี

 
ดีซี-9 เป็นอากาศยานไอพ่นลำแรกของเตอร์กิชแอร์ไลน์

เตอร์กิชแอร์ไลน์ได้เริ่มนำเครื่องบินวิกเกอร์ส ไวคานท์, ฟอกเกอร์ เอฟ-27 และดักลาส ดีซี-3เข้าประจำการช่วงปลายทศวรรษ 1950 และต้นทศวรรษ 1960 สายการบินให้บริการเครื่องบินไอพ่นลำแรก ซึ่งคือแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 ในปี 1967 และตามด้วยโบอิง 707 จำนวน 3 ลำในปี 1971

1980-1990s แก้

 
โบอิง 707 ของเตอร์กิชขณะลงจอดที่ท่าอากาศยานซือริชในปี 1976

ในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 เตเฮเยต้องประสบกับชื่อเสียงด้านลบ ทั้งการบริการที่ย่ำแย่เมื่อเทียบกับคู่แข่งและเที่ยวบินที่ล่าช้า โดยมีเที่ยวบินมากถึง 47 เที่ยวบินจาก 100 เที่ยวบินที่ไม่ออกเดินทางตรงเวลา[11] นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ปล้นจี้เครื่องบินและประสบอุบัติเหตุถึงเจ็ดครั้งระหว่างปี 1974 - 1983 ซึ่งรวมเที่ยวบินที่ 981 ในปี 1974 ซึ่งเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดของสายการบินและในโลก ณ ขณะนั้น โดยความผิดพลาดในการออกแบบประตูห้องบรรทุกสินค้าของเครื่องบินส่งผลให้ประตูบรรทุกสินค้าชำรุดเสียหายและเปิดออกระหว่างบิน จนเครื่องเสียการควบคุมและตกลงใกล้กับแอร์เมนอนวิลล์ ประเทศฝรั่งเศส ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 346 คน

ช่วงที่ประเทศตุรกีได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ในปี 1983 รัฐบาลได้เห็นความสำคัญในเตเฮเยและได้พัฒนาโครงสร้างและอัตลักษณ์ของสายการบินใหม่เพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเตอร์กิชจะเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีอายุเฉลี่ยน้อยที่สุดในโลก นอกจากนี้แล้วยังมีการพัฒนาด้านความปลอดภัยให้รัดกุมยิ่งขึ้น จนสามารถเทียบเท่าเอ็ลอัลได้[10]

ในปี 1984 เตเฮเยได้สร้างศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งใหม่ที่ท่าอากาศยานเยซิลคอย ซึ่งสามารถทำการบำรุงรักษาเครื่องบินหลายประเภท โดยได้มีเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคประจำการอยู่คิดเป็น 1 ใน 4 ของพนักงานทั้งหมด 6,000 คนของสายการบิน ตามรายงานของแอร์ทรานส์ปอร์ตเวิล์ด ในปี 1984 บริษัทได้เพิ่มทุนเป็น 60 พันล้านลีรา เนื่องจากถูกจัดเป็นวิสาหกิจทางเศรษฐกิจของรัฐ สายการบินได้เพิ่มทุนอีกครั้งเป็น 150 พันล้านลีราในอีกสามปีต่อมา

กิจการองค์กร แก้

สำนักงานใหญ่ แก้

 
สำนักงานใหญ่ของเตอร์กิชแอร์ไลน์

เตอร์กิชมีสำนักงานใหญ่ใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติอาทาทืร์ค[12]

บริษัทลูก แก้

เตอร์กิชแอร์ไลน์มีบริษัทลูกดังนี้:

สายการบินลูก แก้

บริษัทลูกอื่นๆ แก้

  • เตอร์กิชเทคนิค
  • เตอรืกิชโดแอนด์โค
  • เตอร์กิชกราวด์เซอร์วิส
  • เตอร์กิชแอร์ไลน์ไฟล์ทอคาเดมี
  • เตเฮเย เดสเต็กฮิสเมตรีรึ เอเฌ
  • โอแปต (ถือหุ้น 50%)
  • เตอร์กิชอินจินเซนเตอร์ (ถือหุ้น 49%)
  • ทีซีไอเคบินอินทีเรีย (ถือหุ้น 30%)
  • ทีเอสไอเอวิเอชันซีตส์ (ถือหุ้น 45%)
  • เตอร์กิชนาแซลเซนเตอร์ (ถือหุ้น 40%)
  • บมจ. แทกซ์ฟรีโซน (ถือหุ้น 30%)
  • วีเวลิ์ดเอกซ์เพรส (ถือหุ้น 45%)

ผลประกอบการ แก้

ผลประกอบการของเตอร์กิชแอร์ไลน์ ในช่วงปี 2015-2022 มีดังนี้:

2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022
รายได้ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 10,522 9,792 10,958 12,855 13,229 6,734 10,686 18,426
กำไร/ขาดทุน สุทธิ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 1,069 −77 223 753 788 −836 959 2,725
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน) 61.2 62.8 68.6 75.1 74.3 27.9 44.7 71.8
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (%) 78 74 79 82 81.6 71.0 67.9 80.1
จำนวนสินค้า (ตัน) 720 876 1,123 1,412 1,543 1,487 1,879 1,678
จำนวนอากาศยาน (ณ สิ้นปี) 299 334 329 332 350 363 370 394
จำนวนจุดหมายปลายทาง (แห่ง) 284 295 300 306 321 324 333 342
หมายเหตุ/อ้างอิง [13][14][15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22]

รางวัล แก้

เตอร์กิชแอร์ไลน์ได้รับเลือกให้เป็นสายการบินที่ดีที่สุดในยุโรปโดยสกายแทรกซ์[23]

จุดหมายปลายทาง แก้

ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เตอร์กิชแอร์ไลน์ให้บริการเที่ยวบินสู่ 288 จุดหมายปลายทางใน 118 ประเทศทั่วโลก[24]

ข้อตกลงการบินร่วม แก้

ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เตอร์กิชแอร์ไลน์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:

ข้อตกลงระหว่างสายการบิน แก้

ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เตอร์กิชแอร์ไลน์ได้มีข้อตกลงระหว่างสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:

ฝูงบิน แก้

ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เตอร์กิชแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[46][47][48]

ฝูงบินของเตอร์กิชแอร์ไลน์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
C Y รวม
แอร์บัส เอ319-100 6 132 132
แอร์บัส เอ320-200 18 150 150
159 159
แอร์บัส เอ320นีโอ 9 186 186 รวมเครื่องบินที่ให้บริการกับเอเจ็ต
แอร์บัส เอ321-200 72 20 158 178
16 164 180
194 194
แอร์บัส เอ321นีโอ 55 37 20 162 182 รวมเครื่องบินที่ให้บริการกับเอเจ็ต[49]
ส่งมอบภายในปี 2023
จัดเรียงที่นั่งแบบแอร์บัสเคบินเฟลกซ์[50]
แอร์บัส เอ330-200 13 30 190 220 จะส่งเครื่องบินเช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่า
22 228 250
24 255 279
แอร์บัส เอ330-300 36 28 261 289
40 265 305
แอร์บัส เอ350-900 15 22 32 297 329 คำสั่งซื้อหกลำโอนย้ายมาจากแอโรฟลอต โดยสามลำใช้การจัดเรียงที่นั่งเดิมของสายการบิน[51]
28 288 316
โบอิง 737-800 85 16 135 151 รวมเครื่องบินที่ให้บริการกับเอเจ็ต
12 153 165
189 189
โบอิง 737-900อีอาร์ 15 16 135 151
16 153 169
โบอิง 737 แมกซ์ 8 30 25 16 135 151 รวมเครื่องบินที่ให้บริการกับเอเจ็ต[52]
โบอิง 737 แมกซ์ 9 5 16 153 169 [53]
โบอิง 777-300อีอาร์ 33 49 300 349 สามลำปล่อยเช่าให้กับอินดีโก[54]
28 372 400
โบอิง 787-9 21 12 30 270 300 เดิมจะส่งมอบภายในปี 2022 ถูกเลื่อนจากปัญหาการควบคุมคุณภาพการผลิต[55][56]
ฝูงบินของเตอร์กิชแอร์ไลน์คาร์โก
แอร์บัส เอ310-300F 2
สินค้า
เช่าจากยูเอสแอลแอร์ไลน์คาร์โก[57]
แอร์บัส เอ330-200F 12
สินค้า
โบอิง 747-400BCF 2
สินค้า
โบอิง 777F 8
สินค้า
รวม 437 96

เตอร์กิชแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 8.5 ปี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Turkish Airlines Financial Statements 2022" (PDF). Turkishairlines.com. 31 December 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2023. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023.
  2. "Turkish Airlines". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2022. สืบค้นเมื่อ 16 July 2020.
  3. "Turkish Airlines orders ten incremental A350-900s - ch-aviation". web.archive.org. 2023-09-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-09. สืบค้นเมื่อ 2023-11-26.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "Network" (PDF). Investor.turkishairlines.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2020. สืบค้นเมื่อ 26 September 2017.
  5. "Turkish Airlines' net profit triples in 9-month". Anadolu Agency. 7 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2018. สืบค้นเมื่อ 9 November 2018.
  6. Cebeci, Uğur (21 August 2019). "Yeni uçuşlar yakında". www.hurriyet.com.tr (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2019. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019.
  7. "DHY timetable October 15, 1955". www.timetableimages.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2019. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Turkish Airlines – History". Turkishairlines.com. 17 February 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2016. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
  9. "History of Turkish Airlines". Seatmaestro. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2015. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
  10. 10.0 10.1 "History of Turkish Airlines Inc. (Türk Hava Yollari A.O.)". FundingUniverse.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2007. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
  11. Şekerli 2021, p. 863.
  12. "Get in touch". Turkish Airlines. Archived from the original on 8 June 2019. Retrieved 9 June 2019. TURKISH AIRLINES HEADQUARTERS Turkish Airlines General Management Building, Ataturk Airport, Yesilkoy 34149 Istanbul Turkey – Map Archived 8 June 2019 at the Wayback Machine
  13. "Independent Auditors 2015" (PDF). Turkish Airlines. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2016.
  14. "Fact Sheet 2015" (PDF). Turkish Airlines. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2016.
  15. "December 2015 traffic" (PDF). Turkish Airlines. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2016.
  16. "THY 2016 Annual Report" (PDF). Investor.turkishairlines.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2018. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  17. "Turkish Airlines Annual Report 2017" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
  18. "Turkish Airlines Annual Report 2018" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
  19. "Turkish Airlines Annual Report 2019" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
  20. "Turkish Airlines Annual Report 2020" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
  21. "Turkish Airlines Annual Report 2021" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
  22. "Turkish Airlines Annual Report 2022" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
  23. "World's Best Airlines 2023 by Region". SKYTRAX (ภาษาอังกฤษ).
  24. "Turkish Airlines Flights and Destinations - FlightConnections". www.flightconnections.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-26.
  25. "AnadoluJet". AirMundo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2023. สืบค้นเมื่อ 3 March 2023.
  26. "THY ve AİRBALTİC ortak uçuş anlaşması imzaladı". www.dunya.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2023. สืบค้นเมื่อ 2 May 2023.
  27. "Turkish Airlines Codeshare Flights". Turkish Airlines. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2022. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
  28. Ltd. 2019, UBM (UK). "Malindo / Turkish Airlines launches codeshare partnership from Sep 2017". Routesonline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
  29. Blachly, Linda (8 May 2018). "Airline Routes-May 8, 2018". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2018. Turkish Airlines and Belavia Belarusian Airlines signed a codeshare agreement, starting May 1, on Istanbul Ataturk-Minsk services operated by both airlines.
  30. Liu, Jim (3 May 2018). "Turkish Airlines / Belavia begins codeshare partnership from May 2018". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  31. "Acuerdo de código compartido con Turkish". Copaair.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2017. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
  32. "Finnair And Turkish Airlines Launch Codeshare Partnership". Simple Flying. 25 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2023. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
  33. "Turkish Airlines, Brazilian budget carrier GOL ink codeshare deal". Daily Sabah. 19 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2022. สืบค้นเมื่อ 8 June 2022.
  34. "Gulf Air, Turkish Airlines ink codeshare deal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 10 October 2017.
  35. "Türk Hava Yolları, Icelandair ile Ortak Uçuş Anlaşması İmzaladı. - Hava Sosyal Medya". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2023. สืบค้นเมื่อ 4 June 2023.
  36. "Indigo signs codeshare agreement with Turkish Airlines". Moneycontrol.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2018. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
  37. "Lufthansa codeshare partners". lufthansa.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2020. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  38. "Lufthansa Group and Star Alliance partners". lufthansa.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2020. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  39. Liu, Jim (26 November 2019). "Turkish Airlines extends Malaysia Airlines codeshare to Oceania from Nov 2019". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
  40. "TURKISH AIRLINES / MIAT MONGOLIAN BEGINS CODESHARE SERVICE IN JAN 2023". Aeroroutes. 9 January 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
  41. Bobon, Gabriel (29 July 2020). "Turkish Airlines și TAROM semnează acord de codeshare pe ruta Istanbul – București". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.
  42. Liu, Jim (2 April 2018). "Turkish Airlines / Uzbekistan Airways begins codeshare service from late-March 2018". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2018. สืบค้นเมื่อ 2 April 2018.
  43. Liu, Jim (20 November 2018). "Uzbekistan Airways plans Turkish Airlines codeshare expansion in W18". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2018. สืบค้นเมื่อ 20 November 2018.
  44. https://www.emirates.com/tr/english/travel-partners/
  45. "Our Airline Partners | Loganair". www.loganair.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  46. "Meet our fleet". เตอร์กิชแอร์ไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 November 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. "Cargo Aircrafts". www.turkishcargo.com (ภาษาอังกฤษ).
  48. "Turkish Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-26.
  49. "THY'den 20 Airbus A321neo siparişi daha". Anadolu Agency. 1 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
  50. "Airbus delivers the first A321neo in Cabin Flex configuration to Turkish Airlines". Airbus (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2020. สืบค้นเมื่อ 5 September 2019.
  51. Lukas Souza (18 May 2022). "Turkish Airlines Orders 6 More Airbus A350-900s". Simple Flying. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2022. สืบค้นเมื่อ 17 June 2022.
  52. Uğur Cebeci (2 April 2022). "THY yeniden kurgulanıyor". Hürriyet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
  53. Tolga Özbek (15 January 2022). "THY 25'inci 737 MAX'i aldı, teslimat tamamlandı". Tolgaozbek.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
  54. Gaurav Joshi (1 February 2023). "IndiGo's Boeing 777 On Wet Lease Starts Commercial Service". Simple Flying. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2023. สืบค้นเมื่อ 2 March 2023.
  55. Türk Hava Yolları 2018, p. 17.
  56. Güntay Şimşek (2 January 2023). "THY 2023'te yüzde 17 büyüyecek". Habertürk (ภาษาตุรกี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 11 January 2023.
  57. "Hava kargoda fiyatlar 3 kat arttı". HaberAero. 14 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2020. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้