แอร์แคนาดา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
แอร์ แคนาดา (อังกฤษ: Air Canada) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศแคนาดา อีกทั้งยังเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลกเมื่อนับตามขนาดฝูงบิน ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1937 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองมอนทรีอัล รัฐควิเบก สายการบินให้บริการทั้งเที่ยวบินทั่วไป เที่ยวบินเหมาลำ และบริการขนส่งสินค้าไปยังกว่า 240 จุดหมายทั่วโลก โดยมีท่าอากาศยานหลักคือท่าอากาศยานนานาชาติโทรอนโตเพียร์สัน และเป็นหนึ่งในสายการบินผู้ร่วมก่อตั้งพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์[1] ในปี ค.ศ. 2006 มีผู้ใช้บริการสายการบินกว่า 32 ล้านคน
![]() | |||||||
| |||||||
ก่อตั้ง | 10 เมษายน ค.ศ. 1937 (86 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | แคลกะรี มอนทรีอัล-ทรูโด โทรอนโต-เพียร์สัน แวนคูเวอร์ | ||||||
เมืองสำคัญ | ฮาลิแฟกซ์ ออตตาวา | ||||||
สะสมไมล์ | แอโรแปลน | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 316 | ||||||
จุดหมาย | 222 | ||||||
บริษัทแม่ | ACE Aviation Holdings Inc. | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ![]() | ||||||
บุคลากรหลัก | Michael Rousseau (ประธาน และ ประธานบริหาร) | ||||||
เว็บไซต์ | www.aircanada.com |
ประวัติ แก้ไข
ทรานส์แคนาดาแอร์ไลน์ แก้ไข
ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1937 สายการบินทรานส์แคนาดาแอร์ไลน์ (Trans-Canada Airlines) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแคนาดา (Canadian National Railway)[2][3] โดยเที่ยวบินที่มีผู้โดยสารเที่ยวบินแรกได้เริ่มต้นขึ้นโดยใช้เครื่องบินล็อกฮีด แอล-10เอ[4] บรรทุกผู้โดยสาร 2 คน และจดหมายจำนวนหนึ่งจากแวนคูเวอร์ ไปยังซีแอตเทิล เมื่อวันที่1 กันยายนของปีเดียวกัน ในช่วงแรก สายการบินมีสำนักงานอยู่ที่เมืองวินนิเปก แต่ได้ย้ายไปยังเมืองมอนทรีอัล ตามนโยบายของรัฐบาลกลางในปีค.ศ. 1949 และทรานส์แคนาดาแอร์ไลน์ยังเป็นสายการบินแรกๆ ที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจองที่นั่ง หลังจากนั้นในปีค.ศ. 1694 สายการบินได้กลายเป็นสายการบินแห่งชาติ และได้เปลี่ยนชื่อสายการบินเป็นแอร์แคนาดาในปีถัดมา ในช่วงปลายทศวววษ 1970 ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ของการรถไฟแคนาดา ทำให้แอร์แคนาดาได้แยกตัวเป็นอิสระจากการรถไฟแคนาดา และเป็นบริษัทที่บริหารงานโดยรัฐ (เช่นเดียวกับการบินไทยในปัจจุบัน)
ช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 แก้ไข
ในปี ค.ศ. 1987 แอร์แคนาดาได้กลายเป็นสายการบินแรกของโลกที่มีนโยบายห้ามสูบบุหรี่ในเที่ยวบิน และในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) สายการบินได้ประสบความสำเร็จในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นของเอกชน และได้ขายธุรกิจบัตรเครดิตของสายการบินให้กับไดเนอร์คลับ แอร์แคนาดากลายเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์[1] ในปี ค.ศ. 1990 และได้มีการใช้เที่ยวบินร่วมกับสายการบินในเครือข่าย
นักบินของแอร์แคนาดาได้ทำการนัดหยุดงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1998[5] และในปลายปีค.ศ. 1999 รัฐบาลแคนาดาได้ผ่อนปรนข้อกำหนดในการทำการบินบางข้อ ส่งผลให้สายการบินในแคนาดาเริ่มมีความพยายามที่จะควบรวมกิจการ
ศตวรรษที่ 21 แก้ไข
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2001 แอร์แคนาดาได้เข้าควบกิจการของแคนาเดียนแอร์ไลน์อินเตอร์เนชันแนล แอร์แคนาดาเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับที่สิบสองของโลกในศตวรรษที่ 21[6]
กิจการองค์กร แก้ไข
บริษัทลูก แก้ไข
- แอร์แคนาดาคาร์โก้
- แอร์แคนาดาเจ็ทซ์
- แอร์แคนาดารูจ
- แอร์แคนาดาเวเคชั่น
- แอโรแพลน
บริษัทลูกในอดีต แก้ไข
- แอร์แคนาดาแจ๊ส
- แอร์แคนาดาแทนโก้
- ซิป
จุดหมายปลายทาง แก้ไข
แอร์แคนาดาได้ให้บริการเที่ยวบินไปยัง 222 จุดหมายปลายทางทั่วโลก
ข้อตกลงการบินร่วม แก้ไข
แอร์แคนาดามีข้อตกลงการทำบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[7]
- อีเจียนแอร์ไลน์
- แอร์ลิงกัส
- แอร์ไชน่า
- แอร์โดโลมิติ
- แอร์อินเดีย
- แอร์นิวซีแลนด์
- ออลนิปปอนแอร์เวย์
- เอเชียน่าแอร์ไลน์
- ออสเตรียนแอร์ไลน์
- อาเบียงกา
- บรัสเซลส์แอร์ไลน์
- คาเธ่ย์แปซิฟิก[8]
- เซนทรัลเมาน์เทนแอร์
- โครเอเชียแอร์ไลน์
- อียิปต์แอร์
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- สายการบินเอทิฮัด
- ยูโรวิงส์
- อีวีเอแอร์
- โกว์ลีญัสอาแอเรียส
- ล็อตโปแลนด์
- ลุฟท์ฮันซ่า
- มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์
- กาตาร์แอร์เวย์[9]
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- ศรีลังกันแอร์ไลน์
- สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
- ตัปปูร์ตูกัล
- การบินไทย
- เตอร์กิชแอร์ไลน์
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
- เวอร์จินออสเตรเลีย
ข้อตกลงระหว่างสายการบิน แก้ไข
แอร์แคนาดามีข้อตกลงกับสายการบินดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน แก้ไข
ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2022 ฝูงบินของแอร์แคนาดามีดังนี้:
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร[12][13] | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
J | W | Y | รวม | |||||
แอร์บัส เอ220-300 | 28 | 17[14] | 12 | — | 125 | 137 | คำสั่งซื้อดั่งเดิม 45 ลำกับ 30 ตัวเลือก[15] คำสั่งซื้อ 12 ลำถูกยกเลิกในปี 2020,[16] และสั่งซื้ออีกครั้งในปี 2021[17] | |
แอร์บัส เอ319-100 | 1 | — | 14 | — | 106 | 120 | เครื่องบินหนึ่งลำจะนำกลับมาใช้งานหลังจากการปลดประจำการในเดือนมีนาคม 2022 | |
แอร์บัส เอ320-200 | 17 | — | 14 | — | 132 | 146 | จะถูกปลดประจำการและแทนที่ด้วยโบอิง 737 MAX-8 | |
แอร์บัส เอ321-200 | 15 | — | 16 | — | 174 | 190 | ||
แอร์บัส เอ321XLR | — | 26 | 14 | — | 168 | 182 | เริ่มส่งมอบในปีค.ศ. 2024[18] มีการติดตั้งที่นั่งชั้นซิกเนเจอร์คลาส.[18] 14 สิทธิ์ในการซื้อเพิ่มเติมจากปีค.ศ. 2027 ถึง 2030[18] | |
แอร์บัส เอ330-300 | 16 | — | 32 | 24 | 241 | 297 | เครื่องบินทั้งหมดจะมีการติดตั้งที่นั่งแบบใหม่ เครื่องบินบางลำเคยประจำการกับสิงคโปร์แอร์ไลน์และตัปปูร์ตูกัล[19][20] | |
27 | 21 | 244 | 292 | |||||
โบอิง 737 MAX-8 | 35 | 5 | 16 | — | 153 | 169 | คำสั่งซื้อเดิม MAX-8 33 ลำและ MAX-9 28 ลำ ด้วย 18 และ 30 สิทธิ์สั่งซื้อตามลำดับ[21] มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อเป็น MAX-8 50 ลำและ MAX-9 11 ลำ[22][23] ยกเลิกคำสั่งซื้อของรุ่น MAX-9 ทั้ง 11 ลำและรุ่น MAX-8 10 ลำในปีค.ศ. 2020[24][16] กำหนดส่งมอบในปีค.ศ. 2022[25] ทดแทนแอร์บัส เอ320-200[26] | |
โบอิง 777-200LR | 6 | — | 40 | 24 | 236 | 300 | ||
โบอิง 777-300อีอาร์ | 18 | — | 40 | 24 | 336 | 400 | ||
28 | 398 | 450 | ||||||
โบอิง 787-8 | 8 | — | 20 | 21 | 214 | 255 | ||
โบอิง 787-9 | 29 | 3 | 30 | 21 | 247 | 298 | 1 ลำมีกำหนดส่งมอบในปี 2022 และ 2 ลำในปี 2023[25] | |
ฝูงบินของแอร์แคนาดาเจ็ทซ์ | ||||||||
แอร์บัส เอ319-100 | 4 | — | 58 | — | — | 58 | ||
ฝูงบินของแอร์แคนาดาคาร์โก้ | ||||||||
โบอิง 767-300อีอาร์/BDSF | 2 | 6 | Cargo | เริ่มส่งมอบเครื่องบินดัดแปลงในปีค.ศ. 2021[27][28] | ||||
รวม | 179 | 57 |
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 "Air Canada - Star Alliance". web.archive.org. 2009-04-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Air Canada History". CBC News. 14 May 2004. Archived from the original on 31 March 2009. Retrieved 4 April 2009.
- ↑ "Timeline | Air Canada's 80th Anniversary". web.archive.org. 2018-12-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "CBC News Indepth: Air Canada". web.archive.org. 2006-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-21. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Air Canada Strike Settled". web.archive.org. 2009-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-13. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "CBC News Indepth: Air Canada". web.archive.org. 2006-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-21. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Air Canada Codeshare Partners". www.aircanada.com. สืบค้นเมื่อ 22 April 2020.
- ↑ "Cathay Pacific signs codeshare deal with Air Canada".
- ↑ "What Qatar Airways' New Air Canada Codeshare Means for Passengers". 18 November 2020.
- ↑ Curran, Andrew (29 March 2022). "Air Canada Inks A Partnership With Mexican Airline Aeromar". Simple Flying. simpleflying.com. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
- ↑ Air Canada/Air Canada Jazz fleet Date accessed: 18 February 2009
- ↑ Cabin Comfort – Economy Class – North America Date accessed: 4 December 2013
- ↑ "Air Canada reverses decision to cancel 12 A220s, will take the jets after all".
- ↑ "Air Canada and Bombardier Finalize Landmark C Series Order for up to 75 Aircraft" (Press release). 28 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
- ↑ 16.0 16.1 "Air Canada Cancels 12 Airbus A220 And 10 737 MAX Orders". 9 November 2020.
- ↑ "Air Canada reverses decision to cancel 12 A220s, will take the jets after all".
- ↑ 18.0 18.1 18.2 "Air Canada Announces the Acquisition of 26 Airbus A321neo Extra-Long Range Aircraft". 22 March 2022. สืบค้นเมื่อ 22 March 2022.
- ↑ "ST Aerospace Secures Interior Reconfiguration Contract from Air Canada for its A330-300 Fleet". 10 April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-29. สืบค้นเมื่อ 17 April 2018.
- ↑ "Q4 2020 MDA" (PDF). 1 April 2021.
- ↑ "Boeing, Air Canada Finalize Order for 61 737 MAXs" (Press release). 1 April 2014.
- ↑ "Q1 2017 MDA" (PDF). Air Canada. 5 May 2017. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Q3 2017 MDA" (PDF). Air Canada. 25 October 2017. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Q1 2020 MDA" (PDF). Air Canada. 4 May 2017. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 25.0 25.1 "Air Canada Reports Third Quarter 2021 Results". News Release Archive (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ "Air Canada Responds to Transport Canada's Closure of Canadian Airspace to the Boeing 737 MAX Aircraft". Air Canada (Press release). 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.
- ↑ "Air Canada Cargo welcomes Boeing 767 freighters, heralding new chapter in storied history of moving goods". Air Canada (Press release). November 2021.
- ↑ "Air Canada takes delivery of first B767 dedicated freighter". Ch-Aviation. 8 December 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- เว็บไซต์แอร์แคนาดา (อังกฤษ)