โอมานแอร์
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
โอมานแอร์ (อาหรับ: الطيران العماني) สายการบิน ประจำชาติรัฐสุลต่านโอมาน .[2] มี ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต เป็นฐานการบินหลักในเมืองซีป มัตกัส; ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินต่างประเทศ เป็นสายการบินที่มีชื่อเสียงในภูมิภาคและมีการให้บริการเช่าเหมาลำ [3] โอมานแอร์เป็นสมาชิกของ องค์การขนส่งทางอากาศอาหรับ.
| |||||||
ก่อตั้ง | 4 มิถุนายน 1993 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต | ||||||
สะสมไมล์ | สมาชิกซินดแบด | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 55 | ||||||
จุดหมาย | 54[1] | ||||||
บริษัทแม่ | โอมาน เอวิเอชั่น กรุ๊ป | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต, มัสกัต, โอมาน | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
เว็บไซต์ | omanair.com |
ประวัติ แก้ไข
จุดเริ่มต้น แก้ไข
ย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2513 ได้มีการก่อตั้ง โอมาน อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์วิส (โอไอเอส) ซึ่งบริษัทให้บริการภาคพื้นแก่ธุรกิจการบินที่สนามบินอัลฟาลาซ[4] ในปี พ.ศ. 2515 บริษัทได้ย้ายฐานปฏิบัติการไปยังอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศนานาชาติซีป. บริษัทได้เข้ารับช่วงต่อจาก กัฟล์แอร์ ในเครื่องบินขนาดเล็กในปี พ.ศ. 2520 ก่อนการจัดตั้ง แผนกวิศวกรรมอากาศยาน ในปีเดียวกัน จากการขยายตัวของธุรกิจการบินอย่างรวดเร็วของประเทศโอมาน ทำให้โอไอเอสมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงเก็บเครื่องบิน ฐานปฏิบัติงาน และอาคารปรุงอาหารสำหรับเที่ยวบิน เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ
ในปี พ.ศ. 2524 กลุ่มธุรกิจบริการการบินโอมานได้เข้าเป็นบริษัทร่วมทุน บริษัทได้ทำการซื้อเครื่องบินจากสายการบินกัฟล์แอร์ทั้งหมด 13 ลำ เพื่อทดแทนเครื่องแบบใบพัดยี่ห้อ โฟคเคอร์ 27-500 และ 27-600 ในปีเดียวกัน บริษัทได้เริ่มให้บริการเครื่องบินแบบไอพ่น พร้อมกับสายการบินกัฟล์แอร์ ไปยัง ซาลาล่า จากปี พ.ศ. 2526 ถึงปี พ.ศ. 2536 บริษัทมีคำสั่งซือเครื่องบินใหม่ รวมไปถึงเครื่องยี่ห้อ เชสน่า และอึปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จะทำให้การให้บริการดีขึ้น
ยุคการก่อตั้งปี พ.ศ. 2536 แก้ไข
ในปี พ.ศ. 2536 สายการบินโอมานแอร์ได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม ทางสายการบินได้เช่าเครื่อง โบอิ้ง 737-300 จาก แอนเซส เวิร์ลไวด์ เอวิเอชั่น เซอร์วิส ให้บริการในเส้นทาง มัตกัส ไปยัง ซาลาล่า[5] ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ทางสายการบินไดเริ่มให้บริการในเส้นทางต่างประเทศเป็นครั้งแรกไปยัง ดูไบ โดยยังคงใช้เครื่องโบอิ้ง 737-300[4] และจุดหมายปลายทางอื่นๆ ที่ตามมาอย่าง ทิวันรัม เปิดให้บริการในเดิอนพฤศจิกายน เส้นทางไป คูเวท และ การจี ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2534 เส้นทาง โคลอมโบ เดือนตุลาคม [4] ในปี พ.ศ. ได้ทำการเช่าซื้อเครื่องบิน แอบัส เอ320 จากกลุ่มทุนสิงคโปร์เพื่อทดแทนเครื่อง 737 จากปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2540 เปิดให้บริการในเส้นทางมุมไบ, ดากา, อะบูดาบี, โดฮา และ เชนไน ในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2541 สายการบินโอมานแอร์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่าประเทศ ไอเอทีเอ เมื่อสิ้นสุดของปี สายการบินได้เพิ่มเส้นทางไปยัง จีวาเดอร์, เจดดาร์ และ อัลอิน จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของสายการบิน
การพัฒนาตั้งแต่ยุค 2000s แก้ไข
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลโอมาน เห็นชอบให้เพิ่มทุนในสายการบินจาก 33 เปอร์เซ็น เป็น 80 เปอร์เซ็นโดยประมาณ [6] นอกจากนี้ สายการบินโอมานแอร์ต้องทำการประเมินให้เป็นไปตามกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ในระยะยาว [6] และรัฐบาลโอมานประกาศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 ว่าจะดึงสายการบินออกจากกัฟล์แอร์ โดยจะเน้นพัฒนาสายการบินในนามโอมานแอร์อย่างเต็มรูปแบบ [7] ในวันที่ 26 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2550 สายการบินโอมานแอร์ได้เปิดเส้นทางการบินไประยะไกลไปยัง กรุงเทพ และ ลอนดอน.[8]
วันที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2550 สายการบินโอมานแอร์ทำการสั่งซื้อเครื่องบินจากบริษัทแอร์บัส รุ่น แอร์บัส เอ330 จำนวน 5 ลำจากงาน ดูไบแอร์โชว์ ซึ่งมีกำหนดส่งในปี พ.ศ. 2552 สุดท้ายสายการบินโอมานแอร์ทำการสั่งซื้อเครื่องบิน แอร์บัส เอ330-300 จำนวน 3 ลำ และ เอ330-200 จำนวน 2 ลำ การเริ่มจัดส่งถูกกำหนดในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2552 ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2552 ทำการสั่งเช่าเครื่อง แอร์บัส เอ330-200 จาก สายการบินเจทแอร์เวย์.[9] สืบเนื่องจากงานดูไบแอร์โชว์ในปี พ.ศ. 2552 สายการบินได้ทำการสั่งซื้อเครื่องบินรุ่น เอ็มเบรอ 175 จำนวน 5 ลำ พร้อมกับตัวเลือก 5 ตัว ที่มีการกำหนดรับมอบในปี 2553 [10]
ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2553 สายการบินโอมานแอร์เป็นสายการบินแรกของโลกที่ให้บริการโทรศัพท์และระบบอินเทอร์เน็ตบนเครื่องบิน [11][11][12][13] ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2553 ทางรัฐบาลโอมานได้เพิ่มทุนกับสายการบินมาอยู่ที่ 99.8 เปอร์เซ็น [14] ในปี พ.ศ. 2554 สายการบินโอมานแอร์ได้รับรางวัลเหรียญทอง "สายการบินประจำปี" จากงาน Laurier d'Or du Voyage d'Affaires ในฝรั่งเศส[15] ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้เปิดเผยข้อมูลที่จะขยายขนาดของฝูงบินเพิ่มเป็น 50 ลำ ภายในปี พ.ศ. 2560 [16] เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 สายการบินประกาศที่จะลดการใช้เครื่องบินขนาดเล็กและเพิ่มการใช้งานเครื่องแอร์บัสและโบอิ้งเข้ามาในฝูงบิน[17] เครื่อง เอทีอาร์ 42-500 จำนวน 2 ลำ ถูกปลดประจำการสิ้นปี พ.ศ. 2558 และ เครื่อง เอ็มเบรอ 175 จำนวน 4 ลำ และ เครื่องโบอิ้ง 737-700 จะถูกปลดประจำการภายในสิ้นปี พ.ศ. 2559 [18] เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 มีแผนจะทำการเปลี่ยนเครื่องแอร์บัส เอ330 ไปเป็นเครื่องแอร์บัส เอ350 หรือ โบอิ้ง 787
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 สายการบินโอมานแอร์ได้รับรางวัล "พนักงานสายการบินที่ดีที่สุดในตะวันออกลาง" ในงาน สกายแทรกซ์เวิร์ลแอร์ไลน์อวอร์ด [19] นอกจากนี้ในเดือนกันยายนในปีเดียวกัน ยังได้รับรางวัล "สายการบินที่ดีที่สุดในยุโรป ตะวันออกกลางและ แอฟริกา" จากงาน Seven Stars Luxury Lifestyle and Hospitality Awards เป็นปีที่สองติดต่อกัน [20] ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2561 ประธานบริหารของโอมานแอร์ มร.อับดุลาซีส บิน ซาอุด อัล ไรซี จะเพิ่มจำนวนเครื่องบินให้ถึง 70 ลำและเพิ่มจุดหมายปลายทางใหม่อีก 60 ที่หมายใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2565 [21]
เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2562 สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไอเอทีเอ) ได้ให้ใบรับรองระดับ 4 กับการกระจายความสามารถใหม่แก่สายการบินประจำชาติโอมาน ซึ่งเป็นสายการบินแรกที่ทำงานบนมาตรฐานล่าสุด และเพิ่มความสามารถเดิมที่เคยอยู่ในระดับ 3[22]
โอมานแอร์ ร่วมกับ สารการบินเคนย่าแอร์เวส์ ในการใช้ความร่วมมือด้านการบิน ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ในการเพิ่มเส้นทางการบินจากไนโรบี ไปยังแอนเทบเบ ในอุกันด้า และ โจฮันเนสเบิร์กใน ประเทศแอฟริกาใต้[23]
==กิจการองค์กร
บริการบนเที่ยวบิน แก้ไข
เพื่อให้เป็นไปตาม กฎหมายอาหารของอิสลาม อาหารที่ให้บริการบนเครื่องต้องได้รับเครื่องหมายฮาลาล อาหารพิเศษก็มีให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการ เครื่องดื่มมืนเมา มีให้บริการสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศยกเว้นในเส้นทาง ซาอุดิอารเบีย และอิหร่าน เนื่องจากประเทศข้างต้นไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายศาสนา
เครื่องบิน แอร์บัส เอ330-300 และ โบอิ้ง 787 มีให้บริการอินเทอร์เน็ตและสัญญาณโทรศัพท์บนเครื่อง มีนิตยสารให้บริการบนเครื่องชื่อว่า "วิงค์ออฟโอมาน" ที่มีให้บริการทุกชั้นการบินในสองภาษาคือ ภาษาอังกฤษและอาหรับ
สมาชิก แก้ไข
ซินดแบด คือชื่อโปรแกรมสะสมไมล์ของสายการบินโอมานแอร์ที่เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2549 ประกอบไปด้วย 3 ลำดับชั้นการสะสมไมล์ ประกอบด้วย บัตรฟ้า บัตรเงิน และบัตรทองตามลำดับ โดยจะขึ้นชั้นบัตรเงินได้ต้องมีการสะสมไมล์ 20,000 ไมค์ หรือ 15 เที่ยวบิน และบัตรทองต้องสะสมไมล์ 40,000 ไมค์ หรือ 30 เที่ยวบิน ภายในระยะเวลา 12 เดือน และต้องรักษาไมล์ภายใน 12 เดือนตามคะแนนข้างต้น สำหรับโปรแกรมสะสมไมล์ซินดแบดมีการทำข้อตกลงกับทางสายการบินเอธิฮัด เพื่อทำการสะสมไมล์ได้[24]
การให้การสนับสนุน แก้ไข
- โอมานแอร์ให้การสนันสนุนการแข่งขันกอล์ฟรายการ "the 2015 NBO Golf Classic Grand Final".[25]
- เด็กกำพร้าในปาเลสไตน์เข้าเยี่ยมชมศูนย์สวัสดิภาพเด็กอัลคูด์ สนับสนุนโดยสารการบินโอมานแอร์และสายการบินเดลต้า.[26]
ลาย แก้ไข
ลายเครื่องบินเดิมจะใช้สีแดงคาดบนตัวเครื่องสีขาว และมีสัญลักษณ์ของสายการบินโอมานแอร์ แถบสีเขียวถูกทาไว้ที่หาง มีคำภาษาอังฤษและอาหรับว่า Oman Air ไว้ล่างและบนตรงบริเวณหน้าต่างหลังประตูหน้าสุดของเครื่อง ส่วนหางของเครื่องบินใช้สีแดง สำหรับในปัจจุบัน เครื่องบินใช้สีขาวเป็นพื้น ลายเส้นเปลี่ยนเป็นสี่ฟ้า และโลโก้เปลี่ยนเป็นสีทอง
เส้นทางการบิน แก้ไข
ในเดือนกันยายนปี 2561 สายการบินโอมานแอร์ให้บริการในมากกว่า 50 จุดหมายปลายทาง ใน 27 ประเทศ จากฐานบินหลัก ประเทศที่มีเส้นทางการบินมากที่สุดคือ 11 แห่งในประเทศอินเดีย [27]
ความตกลงร่วมมือทางการบิน แก้ไข
สาบการบินโอมานแอร์ ได้ทำความร่วมมือกับสายการบินต่างๆ ดังนี้:[28]
- สายการบินเอมิเรต
- สายการบินเอทิโอเปีย
- สายการบินเอทิฮัด
- สายการบินการุด้าอินโดนีเซีย
- สายการบินกัฟล์แอร์
- สายการบินเคนย่าแอร์เวส์[29]
- สายการบินเคเอลเอ็ม
- สายการบินลุฟท์ฮันซ่า[30]
- สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์[31]
- สายการบินกาตาร์แอร์เวส์
- สายการบินรอยัลจอร์เดเนี่ยน
- สายการบินซาอุเดีย
- สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์
- [[สายการบินศรีลังกันแอร์ไลน์]
- สายการบินไทย
- สายการบินเตอร์กีสแอร์ไลน์
ฝูงบิน แก้ไข
ฝูงบินปัจจุบัน แก้ไข
ข้อมูลเมื่อ ตุลาคม 2019[update],สายการบินโอมานแอร์มีเครื่องบินประกอบด้วย ดังนี้:[32][33]
เครื่องบิน | ที่ให้บริการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร[32] | บันทึก | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
F | C | Y | ทั้งหมด | ||||
แอร์บัส เอ330-200 | 4 | — | — | 30 | 196 | 226 | |
แอร์บัส เอ330-300 | 7 | — | 9 | 20 | 204 | 230 | |
— | 24 | 265 | 289 | ||||
โบอิ้ง 737-800 | 21 | — | — | 12 | 142 | 154 | |
144 | 156 | ||||||
150 | 162 | ||||||
โบอิ้ง 737-900อีอาร์ | 5 | — | — | 12 | 171 | 183 | |
โบอิ้ง 737 แมกซ์ 8 | 5 | 25[34] | — | 12 | 150 | 162[35] | |
โบอิ้ง 787-8 | 2 | — | — | 18 | 249 | 267 | |
โบอิ้ง 787-9 | 7 | 3[34] | — | 30 | 258 | 288 | |
8 | 24 | 232 | 264 | ||||
เอ็มเบรอ 175 | 4 | — | — | 11 | 60 | 71 | |
ทั้งหมด | 55 | 28 |
ฝูงบินในอดีต แก้ไข
ฝูงบินในอดีตของสายการบินมีดังนี้:[36]
Aircraft | Introduced | Retired | Notes |
---|---|---|---|
Airbus A300B4-203 | 1999 | 1999 | Leased from Pegasus Airlines |
Airbus A310-300 | 1999 | 2009 | Leased from Hi Fly |
Airbus A320-200 | 1995 | 2002 | Leased from Lotus Air and Pegasus Airlines |
ATR 42-500 | 1998 | 2015 | |
Boeing 737-300 | 1993 | 1995 | Leased |
Boeing 737-400 | 1999 | 2002 | Leased from Pegasus Airlines |
Boeing 737-700 | 1999 | 2015 | |
Boeing 757-200 | 1996 | 1996 | Leased from Royal Brunei Airlines |
Boeing 767-200ER | 2007 | 2008 | Leased from Malév Hungarian Airlines |
Bombardier Dash 8-300 | 1995 | 2009 |
References แก้ไข
- ↑ Oman Air. "Our Networks". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2014.
- ↑ "Oman Air Profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ Contact Us เก็บถาวร 2019-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Oman Air. Retrieved on 14 August 2017.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "History". Oman Air. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2010.
- ↑ Kingsley-Jones, Max. "Emerging power". Flight Global. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2010.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 6.0 6.1 Kaminski-Morrow, David (19 มีนาคม 2007). "Oman Air goes long-haul". Airline Business. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2008.
- ↑ "Oman looks to its local carrier after Gulf Air move". Flight International. 15 พฤษภาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2008.
- ↑ "Expansion 2007". Oman Air. 11 มกราคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2009.
- ↑ Times of Oman. Times of Oman (22 June 2009). Retrieved on 10 December 2010. เก็บถาวร 10 พฤษภาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Oman Air buys 5 Embraer 175 E – Jets. Zawya.com (17 November 2009). Retrieved on 10 December 2010.
- ↑ 11.0 11.1 "Oman Air launches full mobile phone and WiFi connectivity on new A330s". สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2014.
- ↑ "Combined Services Oman Air adds first combined in-flight WiFi and mobile phone services – ..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2014.
- ↑ "WiFi inflight airplane mobile telephony onboard OnAir". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2014.
- ↑ "Fact Sheet". Omanair.com. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2011.
- ↑ "Oman Air wins 'Airline of the Year'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2017.
- ↑ "Oman Air studies move to 50-strong fleet by 2017". Flightglobal.com. 21 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Oman Air to phase out ATR, Embraer fleets". สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2017.
- ↑ "Oman Air". Airliner World: 11. กรกฎาคม 2015.
- ↑ "Oman Air wins 'Best Airline Staff Service in the Middle East' award". Muscat Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017.
- ↑ "Oman Air again named 'Best Airline in Europe, Middle East and Africa'". Travel Trade Gazette MENA. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2017.
- ↑ "Oman Air to add 60 destinations by 2022, says CEO Raisi". Oman Observer. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2018.
- ↑ [3. https://www.traveldailynews.com/post/oman-air-achieves-iata-ndc-level-4-certification-and-expands-ndc-based-distribution-globally "Oman Air achieves IATA NDC Level 4 Certification and expands NDC based distribution globally"]. Travel Daily News. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2019.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Oman Air and Kenya Airways Announce Codeshare Agreement Expansion". Aviation Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2019.
- ↑ "Frequent Flyers | Oman Air Sindbad". Sindbad.omanair.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Oman Air become Presenting Sponsor for the NBO Golf Classic Grand Final". ZAWYA. 6 กันยายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2017.
- ↑ "Oman hosts Palestinian children". Times of Oman. 10 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2017.
- ↑ "Oman Air Destinations". Omanair.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2017.
- ↑ "Profile on Oman Air". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2016.
- ↑ "Oman Air signs code share agreement with Kenya Airways". Oman Air. 5 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2017.
- ↑ "Oman Air expands Lufthansa codeshare partnership from mid-July 2018". Routesonline. 9 สิงหาคม 2018.
- ↑ "Oman Air and Malaysia Airlines Codeshare Partnership". Oman Air. 29 มิถุนายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2017.
- ↑ 32.0 32.1 Air, Oman. "Fleet Information – Oman Air". www.omanair.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2019.
- ↑ "Oman Air Fleet Details and History". www.planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2018.
- ↑ 34.0 34.1 boeing.com Orders & Deliveries retrieved 23 September 2016
- ↑ Boeing. "Boeing Delivers First 737 MAX for Oman Air". www.prnewswire.com. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2018.
- ↑ "Oman Air Fleet Details and History". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2015.
External links แก้ไข
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Oman Air
- Official website
- Official blog เก็บถาวร 2012-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน