โบอิง 737 คลาสสิก
โบอิง 737 คลาสสิก (อังกฤษ: Boeing 737 Classic) เป็นรุ่นของอากาศยานที่ออกแบบโดยโบอิง ซึ่งเป็นการนำเครื่องบินโบอิง 737 ออริจินัลรุ่นก่อนหน้ามาพัฒนาต่อ โครงการเริ่มต้นขึ้นในปี 1979 โดยรุ่นแรก 737-300 เริ่มทำการบินครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 และเข้าประจำการในเดือนธันวาคม รุ่น 737-400 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใหญ่กว่า ทำการบินครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 และเข้าประจำการในปีเดียวกัน รุ่น 737-500 ที่เล็กที่สุดทำการบินครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1989 และเข้าประจำการในปี 1990
โบอิง 737 คลาสสิก 737-300/-400/-500 | |
---|---|
โบอิง 737-300 ของฟิชเชอร์แอร์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ |
ชาติกำเนิด | สหรัฐ |
บริษัทผู้ผลิต | เครื่องบินพาณิชย์โบอิง |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | อูย์เตร์ เจ็ตทูดอตคอม เซาท์เวสต์แอร์ไลน์ (ในอดีต) ยูเอสแอร์เวย์ (ในอดีต) |
จำนวนที่ผลิต | 1,988 ลำ[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1981–2000[1] |
เที่ยวบินแรก | 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 |
ให้บริการ | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 กับยูเอสแอร์ |
พัฒนาจาก | โบอิง 737 ออริจินัล |
พัฒนาเป็น | โบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน |
เมื่อเทียบกับรุ่นดั้งเดิมแล้ว รุ่นคลาสสิกได้รับการปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ด้วยเครื่องยนต์ ซีเอฟเอ็ม56 ซึ่งเป็นชนิดเทอร์โบแฟนบายพาสสูง ซึ่งจะอัตราการประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า นอกจากนี้รุ่นคลาสสิกยังพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์การบินใหม่ น้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่เพิ่มขึ้นเป็น 133,500–150,000 ปอนด์ (60.6–68.0 ตัน) และพิสัยการบินที่ 2,060 ถึง 2,375 ไมล์ทะเล [nmi] (3,815 ถึง 4,398 กิโลเมตร; 2,371 ถึง 2,733 ไมล์)
รุ่น -500 มีขนาดใกล้เคียงกับรุ่น -200 ดั้งเดิมที่ความยาว102 ฟุต (31 เมตร) และสามารถจุผู้โดยสารได้ 110-132 ที่นั่ง รุ่น -300 ที่ยาว 110 ฟุต (34 เมตร) สามารถจุผู้โดยสารได้ 126-149 ที่นั่ง ในขณะที่รุ่น -400 ที่มีความยาว 120 ฟุต (37 เมตร) สามารถจุผู้โดยสารได้ 147-168 ที่นั่ง
เครื่องบินรุ่นนี้แข่งขันกับแมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80 และต่อมากับแอร์บัส เอ320 ซึ่งส่งผลให้โบอิงต้องพัฒนารุ่น 737 เน็กซต์เจเนอเรชันเพื่อแข่งขันในตลาดอากาศยาน พร้อมกันนั้นได้กำหนดรุ่น -300/400/500 เป็น 737 คลาสสิก โบอิงมีการส่งมอบเครื่องบินรุ่นคลาสสิกทั้งหมด 1,988 ลำตั้งแต่ปี 1984 จนกระทั่งสิ้นสุดการผลิตในปี 2000 โดยเป็นรุ่น -300 จำนวน 1,113 ลำ รุ่น -400 จำนวน 486 ลำ และรุ่น -500 จำนวน 389 ลำ
รุ่น
แก้737-300
แก้โบอิง 737-300 เริ่มพัฒนาเริ่มขึ้นในปี 1979 โดยเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ครั้งแรกของโบอิง 737[2] โบอิงต้องการเพิ่มขีดความสามารถและพิสัยการบิน โดยผสมผสานการปรับปรุงเพื่อยกระดับเครื่องบินให้เป็นข้อมูลจำเพาะที่ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็รักษาลักษณะทั่วไปของเครื่องบินรุ่น 737 รุ่นก่อนๆ ไว้
มาร์ค เกรกัวร์ วิศวกรของโบอิงนำทีมออกแบบ ซึ่งร่วมมือกับซีเอฟเอ็ม อินเตอร์แนชนัลในการเลือก ปรับเปลี่ยน และติดตั้งเครื่องยนต์และห้องโดยสารใหม่ ซึ่งจะทำให้ 737-300 เป็นเครื่องบินที่ใช้งานได้ โดยพวกเขาเลือกใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน ซีเอฟเอ็ม56-3บี-1 ในการขับเคลื่อนเครื่องบิน ซึ่งช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและลดเสียงรบกวนได้อย่างมาก แต่ใบพัดเครื่องยนต์ใหม่นี้ มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะติดตั้งที่ตำแหน่งเดิมบนโครงสร้างปีกของ 737 ออริจินัลได้ จึงต้องมีการเปลี่ยนกรอบเครื่องยนต์ และเลื่อนเครื่องยนต์ขึ้นไปให้สูงกว่าเดิมเล็กน้อย
รุ่น -300 มีความจุผู้โดยสาร 149 ที่นั่ง โดยมีการขยายลำตัวรอบปีก 9 ฟุต 5 นิ้ว (2.87 ม.) โครงสร้างปีกมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเพื่อปรับปรุงทางด้านอากาศพลศาสตร์ เช่นการติดตั้งปลายปีกที่ขยายออก 9 นิ้ว (23 ซม.) และปีกกว้าง 1 ฟุต 9 นิ้ว (53 ซม.) นอกจากนี้แล้ว ส่วนท้ายของเครื่องบินได้รับการออกแบบใหม่ ห้องนักบินได้รับการปรับปรุงด้วยอุปกรณ์เสริม EFIS (ระบบเครื่องมือวัดการบินอิเล็กทรอนิกส์) และห้องโดยสารรวมการปรับปรุงที่คล้ายกับที่พัฒนาบนโบอิง 757[2] เครื่องต้นแบบ -300 ซึ่งเป็นเครื่อง 737 ลำที่ 1,001 ที่สร้างขึ้น บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984[3] โบอิง 737-300เอสพี (ประสิทธิภาพพิเศษ) มีการดัดแปลงด้วยปีกของเอวิเอชันพาร์ทเนอร์ รุ่น -300 ถูกแทนที่ด้วย 737-700 ของรุ่นเน็กซต์เจนเนเรชั่น
737-400
แก้รุ่น 400 เปิดตัวในปี 1985 ในช่วงแรกออกแบบมาเพื่อสายการบินแบบเช่าเหมาลำ สายการบิน เพียดมอตแอร์ไลน์ เป็นสายการบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องรุ่น 400 พร้อมกันถึง 25 ลำ และออกให้บริการครั้งแรกในปี 1988 และเครื่องบินรุ่น 400 ลำสุดท้ายถูกส่งมอบให้แก่เช็กแอร์ไลน์ ในปี 2000
ในบางสายการบิน เช่น อะแลสกาแอร์ไลน์ มีการนำเครื่องรุ่น 400 ไปดัดแปลง โดยนำที่นั่งผู้โดยสารออกส่วนหนึ่ง แล้วทำเป็นที่บรรทุกสินค้าขนาด 10 พาเลต ทำให้แต่ละเที่ยวบิน สามารถบรรทุกสินค้าและรับส่งผู้โดยสารได้พร้อมกัน (Combi Aircraft)
737-500
แก้เครื่องรุ่น 500 เปิดตัวครั้งแรกในปี 1987 โดยสายการบิน เซาท์เวสต์แอร์ไลน์[4] และออกให้บริการครั้งแรกในปี 1990 รุ่น 500 ออกแบบมาเพื่อทดแทนรุ่น 200 โดยตรง มีประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมันกว่ารุ่น 200 เครื่องรุ่น 500 ลำสุดท้ายถูกส่งมอบให้สายการบิน ออล นิปปอน แอร์เวย์ ในปี 1999
รุ่น 500 เป็นที่นิยมในวงการสายการบินรัสเซีย สายการบินสัญชาติรัสเซียจำนวนมากรับซื้อเครื่องรุ่น 500 มือสอง เพื่อนำไปทดแทนเครื่องบินที่ผลิตในประเทศ หรือบ้างก็เพื่อทดแทนเครื่องรุ่น 200 ที่มีอยู่เดิม
ผู้ให้บริการ
แก้ทางพาณิชย์
แก้ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 มีเครื่องบินโบอิง 737 คลาสสิกให้บริการเชิงพาณิชย์ 692 ลำ ซึ่งรวมถึงรุ่น -300 จำนวน 297 ลำ รุ่น -400 จำนวน 261 ลำ และรุ่น -500 จำนวน 134 ลำ[5]
ทางการทหาร
แก้หลายประเทศนำเครื่องบินรุ่น 737 สำหรับผู้โดยสารและสินค้าไปใช้งานในหน่วยงานของรัฐหรือกองทัพ เช่น บราซิล ชิลี จีน โคลอมเบีย อินเดีย อินโดนีเซีย คูเวต เม็กซิโก ไนเจอร์ เปรู เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวเนซุเอลา[ต้องการอ้างอิง]
การส่งมอบ
แก้รุ่น | รวม | 2000 | 1999 | 1998 | 1997 | 1996 | 1995 | 1994 | 1993 | 1992 | 1991 | 1990 | 1989 | 1988 | 1987 | 1986 | 1985 | 1984 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
737-300 | 1,113 | – | 29 | 52 | 65 | 37 | 52 | 54 | 54 | 57 | 69 | 67 | 89 | 141 | 137 | 120 | 83 | 7 |
737-400 | 486 | 2 | 9 | 33 | 33 | 21 | 13 | 32 | 68 | 82 | 56 | 63 | 57 | 17 | 15 | – | – | – |
737-500 | 389 | – | 4 | 31 | 34 | 18 | 24 | 35 | 30 | 79 | 90 | 44 | – | – | – | – | – | – |
รวม | 1,988 | 2 | 42 | 116 | 132 | 76 | 89 | 121 | 152 | 218 | 215 | 174 | 146 | 158 | 152 | 120 | 83 | 7 |
ข้อมูลจำเพาะ
แก้รุ่น | 737-300 | 737-400 | 737-500 |
---|---|---|---|
นักบิน | Two | ||
การจัดเรียงที่นั่ง (สองชั้นโดยสาร) | 126 (8F @ 36 in, 118Y @ 32 in) | 147 (10F @ 36 in, 137Y @ 32 in) | 110 (8F @ 36 in, 102Y @ 32 in) |
การจัดเรียงที่นั่ง (หนึ่งชั้นโดยสาร) | 140 @ 32 in – 149 @ 30 in | 159 @ 32 in – 168 @ 30 in | 122 @ 32 in – 132 @ 30 in |
การจัดเรียงที่นั่งสูงสุด | 149 | 188 | 145 |
ความหว้างที่นั่ง | 6-abreast: 17 in (43.2 cm), 5-abreast: 19 in (48.3 cm), 4-abreast: 21 in (53.3 cm) | ||
ความยาว | 109 ft 7 in (33.4 m) | 119 ft 7 in (36.4 m) | 101 ft 9 in (31.0 m) |
ปีก[8] | ความกว้าง: 94 ft 9 in (28.9 m), พื้นที่: 979.9 sq ft (91.04 m2), Sweep: 25°, AR 9.17 | ||
ความสูง | 36 ft 6 in (11.1 m), Cabin: 84.2 in (213.9 cm) | ||
ความกว้างลำตัวเครื่อง | 12 ft 4 in (3.76 m)[8] | ||
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด | 138,500 lb (62,820 kg) | 150,000 lb (68,040 kg) | 133,500 lb (60,550 kg) |
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด[a] | 37,240 lb (16,890 kg) | 40,240 lb (18,250 kg) | 32,560 lb (14,770 kg) |
น้ำหนักเครื่องเปล่า | 72,360 lb (32,820 kg) | 76,760 lb (34,820 kg) | 70,440 lb (31,950 kg) |
ความจุเชื้อเพลิง | 5,311 US gal (20,100 L) | ||
ความจุสินค้า | 1,068 cu ft (30.2 m3) | 1,373 cu ft (38.9 m3) | 882 cu ft (23.3 m3) |
ระบะทางวิ่งที่ใช้ในการขึ้นบิน[b] | 7,500 ft (2,286 m) | 8,690 ft (2,649 m) | 8,630 ft (2,630 m) |
เพดานบิน[9] | 37,000 ฟุต (11,278 เมตร) | ||
ความเร็ว | MMO: มัค 0.82 (542 นอต; 1,005 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 624 ไมล์ต่อชั่วโมง)[9] ขณะบิน: มัค 0.745 (493 นอต; 913 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 567 ไมล์ต่อชั่วโมง) | ||
พิสัยการบิน | 2,255 ไมล์ทะเล (4,176 กิโลเมตร; 2,595 ไมล์)[c] | 2,060 ไมล์ทะเล (3,820 กิโลเมตร; 2,370 ไมล์)[d] | 2,375 ไมล์ทะเล (4,398 กิโลเมตร; 2,733 ไมล์)[e] |
เครื่องยนต์ x2 | ซีเอฟเอ็ม56-3ซี-1 | ||
แรงผลักดัน x2 | 22,000 pound-force (98 กิโลนิวตัน) | 23,500 pound-force (105 กิโลนิวตัน) | 20,000 pound-force (89 กิโลนิวตัน) |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
แก้รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
แก้เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Endres, Günter (2001). The Illustrated Directory of Modern Commercial Aircraft. Osceola, Wisconsin: MBI Publishing Company. pp. 126, 128–19. ISBN 0-7603-1125-0.
- ↑ 2.0 2.1 Sharpe, Mike (2001). Boeing 737-100 and 200. Robbie Shaw. Osceola, WI: MBI Pub. Co. ISBN 0-7603-0991-4. OCLC 45583463.
- ↑ Shaw 1999, p. 10
- ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Boeing_737#CITEREFShaw1999
- ↑ Thisdell and Seymour Flight International July 30 –August 5, 2019, p. 36-38.
- ↑ "737 Model Summary". Active.boeing.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2018. สืบค้นเมื่อ January 23, 2019.
- ↑ "737-300/-400/-500" (PDF). startup. Boeing. 2007.
- ↑ 8.0 8.1 Jenkinson, Lloyd; Simpkin, Paul; Rhodes, Darren (2001). "Civil jet aircraft design". Elsevier, Butterworth-Heinemann. Table 2 : Boeing Aircraft.
- ↑ 9.0 9.1 "Type Certificate data sheet No. A16WE" (PDF). FAA. June 3, 2016. pp. 9, 12, 14, 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ November 13, 2016. สืบค้นเมื่อ December 10, 2016.