วันเวิลด์ (อังกฤษ: Oneworld) เป็นเครือข่ายพันธมิตรสายการบินลำดับ 3 ของโลก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ปัจจุบันมีสายการบินเข้าร่วมจำนวน 14 สายการบิน

วันเวิลด์
ก่อตั้ง1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 (25 ปี)
สายการบินสมาชิก13
สมาชิกนอกเครือข่าย14 สายการบินที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกในอนาคต3
ท่าอากาศยานปลายทาง1,012
ประเทศปลายทาง170
ปริมาณผู้โดยสาร (ล้าน)490 (2020)[1]
ขนาดฝูงบิน3,296 ลำ (2020) [1]
สำนักงานใหญ่
รายชื่อสำนักงานใหญ่
ผู้บริหารอัคบาร์ อัลบากา (ประธาน)
ร็อบ เกอร์นีย์ (ซีอีโอ)
คำขวัญTravel Bright[2]
เว็บไซต์oneworld.com

ปัจจุบันเครือข่ายมีการให้บริการเที่ยวบินวันละกว่า 9,300 เที่ยวต่อวัน กว่า 870 จุดหมายปลายทาง ใน 146 ประเทศทั่วโลก

สมาชิกและสมาชิกในเครือ

แก้

สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือปัจจุบัน

แก้
สมาชิก[3] วันที่เข้าร่วม สมาชิกในเครือ[4][5][6]
  อะแลสกาแอร์ไลน์ 31 มีนาคม 2021   ฮอไรซันแอร์
  สกายเวสต์แอร์ไลน์[B]
  อเมริกันแอร์ไลน์[A] 1 กุมภาพันธ์ 1999   อเมริกันอีเกิล[C]
  บริติชแอร์เวย์[A] 1 กุมภาพันธ์ 1999   บีเอซิตีฟลายเออร์
  บีเอยูโรฟลายเออร์
  ซัน-แอร์[D][7]
  คาเธ่ย์แปซิฟิค[A] 1 กุมภาพันธ์ 1999   เอชเคเอกซ์เพรส
  ฟินน์แอร์ 1 กันยายน 1999   นอร์ดิกรีเจียนัลแอร์ไลน์[E]
  ไอบีเรีย 1 กันยายน 1999   ไอบีเรียเอกซ์เพรส[8]
  ไอบีเรียรีเจียนัล[F]
  เจแปนแอร์ไลน์ 1 เมษายน 2007[9]   ฮกไกโดแอร์ซิสเต็ม
  เจ-แอร์
  เจแปนแอร์คอมมิวเตอร์
  เจแปนทรานส์โอเชียนแอร์
  มาเลเซียแอร์ไลน์ 1 กุมภาพันธ์ 2013   ไฟร์ฟลาย
  ควอนตัส[A] 1 กุมภาพันธ์ 1999   ควอนตัสลิงก์[G]
  กาตาร์แอร์เวย์ 30 ตุลาคม 2013[8]
  รัวยาแลร์มาร็อก 1 เมษายน 2020   รัวยาแลร์มาร็อกเอกซ์เพรส
  รอยัลจอร์แดเนียน 1 เมษายน 2007
  ศรีลังกันแอร์ไลน์ 1 พฤษภาคม 2014

Aสมาชิกแรกก่อตั้ง[10]
Bในเส้นทางที่ดำเนินการให้กับอะแลสกาแอร์ไลน์ภายใต้ชื่ออะแลสกาสกายเวสต์เท่านั้น
Cเที่ยวบินของอเมริกันอีเกิลจะดำเนินการโดยเอนวอยแอร์ เพียดมอนต์แอร์ไลน์ พีเอสเอแอร์ไลน์ แอร์วิสคอนซิน รีพับลิคแอร์เวย์ และสกายเวสต์แอร์ไลน์
Dดำเนินการเป็นธุรกิจแฟรนไชส์โดยใช้ชื่อ ลวดลายอากาศยาน และรหัสเที่ยวบินของบริติชแอร์เวย์
Eเฉพาะเส้นทางที่ดำเนินการให้กับฟินน์แอร์
Fเที่ยวบินไอบีเรียรีเจียนัลดำเนินการโดยแอร์โนสตรุม
Gเที่ยวบินของควอนตัสลิงก์จะดำเนินการโดยอัลไลแอนซ์แอร์ไลน์ (เฉพาะในเส้นทางที่ดำเนินให้กับควอนตัสลิงก์) อีสเทิร์นออสเตรเลียแอร์ไลน์ แนชนัลเจ็ตซิสเต็ม เน็ตเวิร์กเอวิเอชัน และซันสเตทแอร์ไลน์

สายการบินสมาชิกและสมาาชิกในเครือในอนาคต

แก้
สายการบิน วันที่จะเข้าร่วม สายการบินในเครือ
  โอมานแอร์[11] 30 มิถุนายน 2025
  ฟิจิแอร์เวย์[12] 2025   ฟิจิลิงก์
  ฮาวาเอียนแอร์ไลน์[13] 2026

สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือที่ถูกระงับ

แก้
สมาชิก วันที่เข้าร่วม วันที่ถูกระงับ สมาชิกในเครือ หมายเหตุ
  เอสเซเวนแอร์ไลน์ 15 พฤศจิกายน 2010 19 เมษายน 2022[14]  โกลบัสแอร์ไลน์ ระงับจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ค.ศ. 2022

สมาชิกในอดีต

แก้
สมาชิก วันที่เข้าร่วม วันที่ออก สมาชิกในเครือ หมายเหตุ
  แอร์ลิงกัส 1 มิถุนายน 2000 31 มีนาคม 2007 ออกจากเครือข่ายในปี 2007 จากการปรับโครงสร้างองค์กร
  แอร์เบอร์ลิน 20 มีนาคม 2012 28 ตุลาคม 2017   เบแลร์
  นิกิ
เลิกดเนินงานในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2017[15]
  แคเนเดียนแอร์ไลน์อินเตอร์แนชนัล 1 กุมภาพันธ์ 1999 1 มิถุนายน 2000   คาล์มแอร์
  แคเนเดียนนอร์ท
  แคเนเดียนรีเจียนัลแอร์ไลน์
  อินเตร์-แคเนเดียน
สมาชิกแรกก่อตั้ง; ถูกซื้อโดยแอร์แคนาดา สมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์[10][16]
  ลาตัมแอร์ไลน์ 1 มิถุนายน 2000 1 พฤษภาคม 2020   ลาตัม อาร์เจนตินา
  ลาตัม บราซิล
  ลาตัม โคลอมเบีย
  ลาตัม เอกวาดอร์
  ลาตัมเอกซ์เพรส
  ลาตัม เปรู
ออกจากเครือข่ายหลังหุ้นส่วน 20% ถูกควบคุมโดยเดลตาแอร์ไลน์ สมาชิกของสกายทีม[17]
  มาเลฟฮังกาเรียนแอร์ไลน์ 29 มีนาคม 2007 3 กุมภาพันธ์ 2012 ออกจากเครือข่ายจากปัญหาทางการเงิน
  เมฆิกานาเดอาเบียซิออน 10 พฤศจิกายน 2009 28 สิงหาคม 2010   เมฆิกานากลิก
  เมฆิกานาลิงก์
เลิกดำเนินงานในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2010 จากปัญหาทางการเงิน โดยในช่วงแรกถูกระบุเป็นสมาชิกที่ยุติการดำเนินงานในเว็บไซต์ของวันเวิลด์ แต่ถูกนำออกตั้งแต่ปี 2017[18]

อดีตสมาชิกในเครือของสมาชิกปัจจุบัน

แก้
อดีตสมาชิกในเครือ วันที่เข้าร่วม วันที่ออก สมาชิก
แอร์ลิแบร์เต[A] 1999 2000 บริติชแอร์เวย์
แอร์คอนเน็กซ์ 2001 2004 ควอนตัส
อเมริกันคอนเน็กชัน[B] 2001 2014 อเมริกันแอร์ไลน์
บีเอคอนเน็ก[A] 1999 2007 บริติชแอร์เวย์
บริติชเอเชียแอร์เวย์ 1999 2001 บริติชแอร์เวย์
บริติชเมดิเตอร์เรเนียนแอร์เวย์[A] 1999 2007 บริติชแอร์เวย์
บริษัท บริติชแอร์เวย์ จำกัด[19] 2012 2015 บริติชแอร์เวย์
คาเธ่ย์ ดรากอน[C] 2007 2020 คาเธ่ย์แปซิฟิค
คอมแอร์ 1999 2022 บริติชแอร์เวย์
ด็อยท์เชอบีเอ[A] 1999 2008 บริติชแอร์เวย์
จีบีแอร์เวย์[A] 1999 2008 บริติชแอร์เวย์
โกลบัสแอร์ไลน์[20] 2010 2019 เอสเซเวนแอร์ไลน์
เจเอแอลเอกซ์เพรส 2007 2014 เจแปนแอร์ไลน์
เจเอแอลเวย์ส 2010 2014 เจแปนแอร์ไลน์
เจแปนเอเชียแอร์เวย์ 2008 2014 เจแปนแอร์ไลน์
โลแกนแอร์[A] 1999 2008 บริติชแอร์เวย์
มิฮินลังกา[D] 2014 2016 ศรีลังกันแอร์ไลน์
โอเพนสกาย 2008 2018 บริติชแอร์เวย์
ควอนตัสนิวซีแลนด์ 2000 2001 ควอนตัส
รีเจียนัลแอร์ 2001 2005 บริติชแอร์เวย์
เซาเทิร์นออสเตรเลียแอร์ไลน์[A] 1999 2002 ควอนตัส
ยูเอสแอร์เวย์[E] 2014 2015 อเมริกันแอร์ไลน์
ยูเอสแอร์เวย์เอกซ์เพรส[F] 2014 2015 อเมริกันแอร์ไลน์
ยูเอสแอร์เวย์ชัทเทิล 2014 2015 อเมริกันแอร์ไลน์

Aสมาชิกในเครือแรกก่อตั้ง
Bเที่ยวบินของอเมริกันคอนเน็กชันจะดำเนินการโดยเชอทอควาแอร์ไลน์ รีเจียนส์แอร์ และทรานส์สเตทแอร์ไลน์
Cผนวกกิจการเข้ากับคาเธ่ย์แปซิฟิคในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2020
Dผนวกกิจการเข้ากับศรีลังกันแอร์ไลน์ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2016
Eควบรวมกิจการเข้ากับอเมริกันแอร์ไลน์ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2015
Fเที่ยวบินของยูเอสแอร์เวย์เอกซ์เพรสจะดำเนินการโดยแอร์วิสคอนซิน เมซาแอร์ไลน์ เพียดมอนต์แอร์ไลน์ พีเอสเอแอร์ไลน์ รีพับลิคแอร์เวย์ และสกายเวสต์แอร์ไลน์

อัตลักษณ์

แก้

เครื่องบินของสมาชิกพันธมิตรทั้งหมดจะมีสัญลักษณ์ วันเวิลด์ ขนาด 30 เซนติเมตร (12 นิ้ว) อยู่บริเวณด้านขวาของประตูทางเข้าชุดแรกด้านหลังห้องนักบิน[21]

ในปี 2007 เจแปนแอร์ไลน์ได้ทำลวดลายพิเศษบนเครื่องบินโบอิง 777 จำนวน 2 ลำ ได้แก่ โบอิง 777-200อีอาร์ (ทะเบียน JA704J) และโบอิง 777-300 (ทะเบียน JA8941) โดยใช้เป็นการเฉลิมฉลองการเข้าร่วมวันเวิลด์ เครื่องบินลำแรก (JA704J) ขึ้นบินจากท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะซึ่งเป็นฐานการบินระหว่างประเทศหลักของสายการบินในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2007 โดยเป็นเที่ยวบินที่ 441 ของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ มุ่งหน้าสู่มอสโก[22]

วันเวิลด์เปิดตัวลวดลายอากาศยานมาตรฐานของกลุ่มพันธมิตรเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของพันธมิตรในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยลวดลายมีชื่อกลุ่มพันธมิตรเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่ที่มีความสูงประมาณ 2 เมตร (6.6 ฟุต) และมีสัญลักษณ์กลุ่มพันธมิตรอยู่ด้านข้างลำตัวเครื่องบิน โดยมีพื้นหลังสีขาวหรือโลหะขัดเงา สัญลักษณ์สายการบินสมาชิกที่ให้บริการอากาศยานจะถูกจัดวางเป็นตัวอักษรขนาดเล็กในตำแหน่งมาตรฐานที่ด้านหน้าเครื่องบินด้านล่างชื่อและสัญลักษณ์ของกลุ่มพันธมิตร สายการบินสมาชิกจะคงรูปแบบของลวดลายของสายการบินเดิมเอาไว้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "oneworld at a glance" เก็บถาวร 6 กรกฎาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Oneworld. 12 March 2020. Retrieved 7 April 2020
  2. "Travel Bright – oneworld adopts bright new brand positioning as the alliance turns 20". Hong Kong Airlines. 1 กุมภาพันธ์ 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2019.
  3. "Oneworld member airlines". Oneworld. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2015.
  4. "Oneworld airline affiliates". Oneworld. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2015.
  5. airline affiliates เก็บถาวร 30 มีนาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. oneworld (12 August 2013). Retrieved on 16 August 2013.
  6. "Japan Air Commuter, Hokkaido Air System to oneworld via JAL". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2020.
  7. "British Airways". Oneworld. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023.
  8. 8.0 8.1 "Details | oneworld". www.oneworld.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2019.
  9. "Details | oneworld". www.oneworld.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2019.
  10. 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ founder
  11. "Oman Air - Future oneworld Member Airline". www.oneworld.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2024.
  12. "oneworld Says "Bula" To Fiji Airways As Its 15th Full Member Airline". www.oneworld.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2024.
  13. "Hawaiian Airlines to join Oneworld in 2026". ch-aviation.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2024.
  14. Kaminski-Morrow, David (20 เมษายน 2022). "S7's participation in Oneworld alliance temporarily suspended". FlightGlobal (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.
  15. [1][ลิงก์เสีย]
  16. "Canadian to withdraw from Oneworld on June 1" (Press release). Oneworld. 14 มีนาคม 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2009.
  17. "Delta and LATAM Airlines to form the leading airline partnership throughout the Americas | Delta News Hub". news.delta.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2022.
  18. Current Status of Mexicana in Oneworld, Oneworld, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2013, สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012
  19. "BA Launches New Subsidiary BA Ltd". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2013.
  20. "S7 Airlines' passenger traffic grew by 12.4 per cent last year". Russian Aviation Insider. 23 มกราคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020.
  21. "Dragonair joins oneworld". Oneworld. 31 ตุลาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 19 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2009.
  22. "First JAL aircraft with special Oneworld livery makes debut flight" (Press release). Oneworld. 16 เมษายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้