แอร์บัส เอ310
แอร์บัส เอ310 (อังกฤษ: Airbus A310) เป็นเครื่องบินไอพ่นลำตัวกว้างพิสัยปานกลางถึงไกล ซึ่งออกแบบและพัฒนาโดยแอร์บัส โดยเปิดตัวเป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1983 เป็นเครื่องบินรุ่นที่สองของแอร์บัส โดยเป็นรุ่นปรับปรุงจากรุ่นเอ 300 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำตัวกว้างพิสัยไกลที่ใช้สองเครื่องยนต์เป็นรุ่นแรก
แอร์บัส เอ310 | |
---|---|
แอร์บัส เอ310-300 ของตารอม | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง |
บริษัทผู้ผลิต | แอร์บัส |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | มาฮานแอร์ ยูแอลเอสแอร์ไลน์คาร์โก อิหร่านแอร์ อาเรียนาอัฟกันแอร์ไลน์ |
จำนวนที่ผลิต | 255 ลำ[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1983-1998 |
เริ่มใช้งาน | เมษายน ค.ศ. 1983 โดยสวิสแอร์ |
เที่ยวบินแรก | 3 เมษายน ค.ศ. 1982 |
พัฒนาจาก | แอร์บัส เอ300 |
ประวัติ
แก้ในระหว่างโครงการพัฒนาเครื่องบินรุ่น A300 ได้มีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ต่างๆ เกี่ยวกับขนาดของเครื่องบิน และความจุ จึงทำให้เกิดโครงการ A300B ขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับขนาดที่เล็กลง ในช่วงที่มีการเปิดตัวต้นแบบของรุ่น A300B1 ขึ้น สายการบินต่างๆ ก็เรียกร้องให้มีความจุผู้โดยมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการผลิตรุ่น A300B2 ขึ้นมา ในระว่างที่เครื่องบินรุ่น A300 นี้เริ่มเข้าประจำการ เป็นการแสดงให้เห็นอย่างสำคัญว่ายังสามารถทำการตลาดในส่วนของเครื่องบินขนาดเล็กกว่าได้ เนื่องจากสายการบินบางสายไม่ได้มีปริมาณผู้โดยสารมากพอที่จะใช้งานเครื่องรุ่น A300 หรือบางสายการบินต้องการเพิ่มความถี่ของเที่ยวบิน หรือบางสายการบินต้องการเครื่องบินที่มีอัตราต้นทุนต่อที่นั่งต่ำลง (โดยเฉพาะ สวิสแอร์ และ ลุฟต์ฮันซา
แอร์บัสได้พยายามลดค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดในการวิจัยและพัฒนาเครื่องบิน A300 รุ่นเล็กกว่า โดยทำการศึกษาในหลายโครงการในระยะแรก โดยเรียกว่า A300B10MC (Minimum Change - เปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุด) โดยลดปริมาณความจุผู้โดยสารลงเหลือเพียง 220 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่สายการบินต่างๆ เรียกร้อง อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยนั้นทำให้ลำตัวเครื่องบินที่มีขนาดเล็กลงนั้น ยังมีขนาดของปีกที่ใหญ่เกินกว่าความจำเป็น รวมทั้งฐานล้อที่มีขนาดใหญ่เกิน ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์นั้นใช้แรงเกินความจำเป็นอันเนื่องมาจากน้ำหนัก
อีกหนึ่งปัญหาในสมัยนั้นคืออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งในสหราชอาณาจักร ในช่วงปีค.ศ.1979-1980 อยู่ที่ 35% ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลถึงราคาจำหน่ายของเครื่องบินที่สำเร็จ ในระหว่างโครงการพัฒนาของ A300 บริษัท Hawker Siddeley Aviation (HSA) ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัญญาการผลิตส่วนปีกของเครื่องบิน ภายหลังที่รัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้ถอนความร่วมมือจากแอร์บัสในปีค.ศ. 1969 HSA ได้ร่วมทุนกับอีกสามบริษัทในปีค.ศ. 1977 เพื่อก่อตั้งบริษัท British Aerospace (BAe) ขึ้น และทางรัฐบาลในช่วงนั้นก็ได้แสดงเจตจำนงค์ในการกลับมาเข้ารวมโครงการนี้ อย่างไรก็ตาม บริติชแอร์เวย์ และโรลส์-รอยส์ ก็ยังไม่ยกเลิกความพยายามที่จะเข้าร่วมกับประเทศสหรัฐอเมริกา ในกรณีของบริติชแอร์เวย์นั้น ได้มีการสั่งซื้อเครื่องบินจากโบอิง ในรุ่น 7N7 และ 7X7 ซึ่งต่อมาคือ โบอิง 757 และ โบอิง 767 ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญจองเครื่องบินรุ่น A310 ที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงยังมีรุ่นที่สั่งคือ โบอิง 747 อีกด้วย ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสจึงเริ่มทำการเจรจาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1976 โดยกล่าวถึงคำสั่งซื้อเครื่องบินของบริติชแอร์เวย์ นั้นเป็นเงื่อนไขสำคัญของการกลับเข้าร่วมในแอร์บัสของสหราชอาณาจักรในฐานะผู้ร่วมโครงการ ซึ่งในระหว่างการเจรจานั้น BAe ก็ได้มีการพูดคุยกับโบอิง และ แมคดอนเนลล์ดักลาส เพื่อประเมินถึงโอกาสในการเข้าร่วมกับโครงการต่างๆ ในอนาคต ถึงแม้ว่าลอร์ดเบสวิค ซึ่งเป็นประธานบริษัทได้พูดถึงจุดยืนของบริษัทที่จะสนับสนุนยุโรป ต่อมาในปีค.ศ. 1978 เอริค วาร์ลีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประกาศว่าบริษัท BAe นั้นต้องการจะกลับเข้าร่วมกับแอร์บัสตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 เป็นต้นไป ซึ่งทำให้ BAe นั้นจะต้องย้ายหุ้นจำนวน 20% ของบริษัทเพื่อจ่ายให้กับแอร์บัส และจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเต็มในการพัฒนาและผลิตเครื่องบินรุ่น A310
การออกแบบ
แก้แอร์บัส เอ 310 เป็นโครงการพัฒนาต่อจากรุ่น เอ 300 โดยใช้ชื่อเรียกตอนแรกว่า A300B10 ซึ่งสรุปง่ายๆ คือ เป็นเครื่องบินรุ่น เอ 300 ที่มีขนาดสั้นลง โดยความแตกต่างหลักๆ ในสองรุ่นได้แก่:
- ลำตัวเครื่องบินที่สั้นลง โดยขนาดหน้าตัดเท่ากัน โดยสามารถจุผู้โดยสารประมาณ 200 คน
- ลำตัวส่วนท้ายเครื่องบินแบบใหม่ ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มความจุได้มากขึ้น (การออกแบบใหม่นี้ยังใช้ในรุ่นของ เอ 300-600 และ เอ 330/ เอ 340)
- ส่วนปีกแบบใหม่ (ลดความยาว และขนาดโดยรวม) ซึ่งออกแบบโดยบริษัทบริติช แอโรสเปซ ซึ่งต่อมาภายหลังได้รวมเข้ากับแอร์บัส
- ปีกหลังที่มีพื้นที่เล็กลง
- รุ่นหลังที่ผลิตตั้งแต่ปีค.ศ. 1985 เป็นต้นไป มีการออกแบบปลายปีกแบบ "fence" เพื่อลดแรงต้านลมบริเวณปลายปีก
- จุดเชื่อมต่อเครื่องยนต์ (pylon) ซึ่งสามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์อากาศยานได้ทุกชนิด
- เพิ่มการใช้งานวัสดุผสมในขั้นตอนการผลิตทั้งปฐมภูมิ และทุตยภูมิ
- มีสปอยเลอร์ที่ควบคุมด้วยไฟฟ้า
- ปรับปรุงระบบไฟฟ้าสำรองกำลัง (Auxiliary Power Unit)[2]
ข้อมูลจำเพาะ
แก้[3] | A310-200 | A310-200F | A310-300 | A310-300F |
---|---|---|---|---|
นักบิน | สอง | |||
ความยาว | 46.66 เมตร (153 ฟุต 1 นิ้ว) | |||
ความสูง | 15.8 เมตร (51 ฟุต 10 นิ้ว) | |||
ความกว้างของปีก | 43.9 เมตร (144 ฟุต) | |||
พื้นที่ปีก | 219 ตารางเมตร (2,360 ตารางฟุต) | |||
องศาปีก | 28 ° | |||
พื้นที่หน้าตัด | 5.64 เมตร (18 ฟุต 6 นิ้ว) | |||
ความจุผู้โดยสาร | 218 ที่นั่ง (3-class) 240 ที่นั่ง (2-class) 265 ที่นั่ง[4] (1-class) |
สินค้าจำนวน 33t | 218 ที่นั่ง (3-class) 240 ที่นั่ง (2-class) 265 ที่นั่ง (1-class) |
สินค้าจำนวน 33t |
น้ำหนักสูงสุดเมื่อนำเครื่องขึ้น (MTOW) | 141,974 กิโลกรัม (312,999 ปอนด์) | 164,000 กิโลกรัม (362,000 ปอนด์)* | ||
น้ำหนักบรรทุกเปล่า (MZFW) | 80,142 กิโลกรัม (176,683 ปอนด์)(80.2 t) | 72,400 กิโลกรัม (159,600 ปอนด์) | 83,100 กิโลกรัม (183,200 ปอนด์) | 73,900 กิโลกรัม (162,900 ปอนด์)(73.9 t) |
ความจุเชื้อเพลิงสูงสุด | 55,200 L (14,600 US gal) | 75,470 L (19,940 US gal) | ||
ความเร็วปกติ (มัค) | 0.80 (850 km/h.) | |||
ความเร็วสูงสุด (มัค) | 0.84 (901 km/h.) | |||
เพดานบิน | 12,200 m (40,000 ft) | |||
แรงผลัก (×2) | 50,000 pound-force (220 กิโลนิวตัน) to 53,200 pound-force (237 กิโลนิวตัน) | 56,000 pound-force (250 กิโลนิวตัน) to 59,000 pound-force (260 กิโลนิวตัน) | ||
เครื่องยนต์ | Pratt & Whitney PWJT9D-7R4 หรือ General Electric CF6-80C2A2 | Pratt & Whitney PW4156A หรือ General Electric CF6-80C2A8 | ||
พิสัยการบิน (เมื่อบรรทุกเต็มลำ) |
6,800 กิโลเมตร (3,700 ไมล์ทะเล) ข้ามทวีป |
5,550 กิโลเมตร (3,000 ไมล์ทะเล) | 9,600 กิโลเมตร (5,200 ไมล์ทะเล) ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก |
7,330 กิโลเมตร (3,960 ไมล์ทะเล) |
* 157,000 kg เป็นนำหนักมาตรฐานของรุ่น −300 และน้ำหนัก 164,000 kg เป็นสำหรับรุ่นพิเศษ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Airbus - Historical Orders and Deliveries." Airbus S.A.S., January 2007. Retrieved: 10 December 2012,
- ↑ "A310 Europe builds on Airbus success." Flight International, 27 February 1982.
- ↑ "Aircraft Family – A310 Specifications." เก็บถาวร 2009-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน airbus.com. Retrieved: 6 November 2011.
- ↑ "Type Certificate Data Sheet." เก็บถาวร 2016-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน FAA. Retrieved: 15 April 2015.