รัฐบาลสหราชอาณาจักร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รัฐบาลสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: Government of the United Kingdom) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลในสมเด็จฯ (HM Government) บ้างเรียกลำลองว่า รัฐบาลบริติช (British Government) เป็นรัฐบาลกลางของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ[1]
รัฐบาลในสมเด็จฯ | |
---|---|
เวลส์: Llywodraeth ei Fawrhydi ไอริช: Rialtas a Shoilse แกลิกสกอต: Riaghaltas a Mhòrachd | |
![]() ![]() | |
ภาพรวม | |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1707 |
รัฐ | สหราชอาณาจักร |
ผู้นำ | นายกรัฐมนตรี (ริชี ซูแน็ก) |
แต่งตั้งโดย | พระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3) |
หน่วยงานหลัก | คณะรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร |
กระทรวง | หน่วยงานระดับกระทรวง 23 หน่วยงาน หน่วยงานไม่ใช่ระดับกระทรวง 20 หน่วยงาน |
รับผิดชอบต่อ | รัฐสภาสหราชอาณาจักร |
งบประมาณประจำปี | 882,000 ล้านปอนด์ |
สำนักงานใหญ่ | บ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิง |
เว็บไซต์ | www |
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล และเลือกรัฐมนตรีที่เหลือทั้งหมด นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอาวุโสที่สุดอื่นอยู่ในคณะกรรมการวินิจฉัยสั่งการสูงสุด เรียก คณะรัฐมนตรี[1] รัฐมนตรีล้วนเป็นสมาชิกรัฐสภา และรับผิดชอบต่อรัฐสภา รัฐบาลต้องอาศัยรัฐสภาออกกฎหมายหลัก[2] ซึ่งหมายความว่า ในทางปฏิบัติ รัฐบาลต้องได้รับเลือกตั้งใหม่อย่างมากทุกห้าปี พระมหากษัตริย์ทรงเลือกหัวหน้าพรรคซึ่งน่าจะครองเสียงข้างมากในรัฐสภาที่สุดเป็นนายกรัฐมนตรี[3]
ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งไม่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรของบริเตน อำนาจบริหารอยู่กับพระมหากษัตริย์ แม้ใช้อำนาจนี้เฉพาะโดย หรือโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี[4] สมาชิกคณะรัฐมนตรีถวายคำแนะนำพระมหากษัตริย์ดังสมาชิกของคณะองคมนตรี พวกเขายังใช้อำนาจโดยตรงในฐานะรัฐมนตรีอีกด้วย
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือริชี ซูแน็ก หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมหลังจากที่ลิซ ทรัสส์ประกาศลาออกจากตำแหน่ง
ประวัติการก่อตั้งแก้ไข
ในจักรวรรดิอังกฤษ "รัฐบาลในสมเด็จฯ" มีความหมายเพียงรัฐบาลจักรวรรดิซึ่งตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนเท่านั้น เนื่องจากพัฒนาการของเครือจักรภพแห่งชาติ ดินแดนอาณานิคมที่ปกครองตนเอง เริ่มมีอำนาจและสถานะเทียบเท่าสหราชอาณาจักร และจากช่วงทศวรรษที่ 1920s - 1930 ก็เริ่มมีการใช้คำว่า "รัฐบาลในสมเด็จฯประจำ..." (อังกฤษ: Her Majesty's Government in ...) ในดินแดนอาณานิคมปกครองตนเอง สำหรับรัฐบาลอาณานิคม รัฐ หรือมณฑลใช้วลีที่เล็กกว่าคือ "รัฐบาลแห่ง..." (อังกฤษ: Government of ...)อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ชาติในเครือจักรภพแห่งชาติใช้เพียง"รัฐบาลแห่ง..." และโดยมากมักจะหมายถึงรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรเท่านั้นที่ยังคงใช้ชื่อนี้อยู่
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลในสมเด็จฯกับพระมหากษัตริย์แก้ไข
พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร โดยพระองค์ทรงดำรงในฐานะประมุขแห่งรัฐ แต่มิใช่หัวหน้ารัฐบาลโดยตรงโดยพระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจฝ่ายบริหารผ่านทางรัฐบาล และทรงวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
หัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จฯ คือ นายกรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องเข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานสถานการณ์ของประเทศเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยที่พระองค์จะเสนอแนะและซักถามเหตุการณ์ต่างๆ แต่จะทรงไม่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง[5]
โดยพระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจในกระทำดังนี้ แต่ไม่ทั้งหมด เช่น:
อำนาจบริหารทั่วไปแก้ไข
- การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรือให้พ้นจากตำแหน่งของ นายกรัฐมนตรี ตามพระราชอัธยาศัย โดยรับฟังคำแนะนำจากเสียงส่วนใหญ่ในสภา
- การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรือให้พ้นจากตำแหน่งของรัฐมนตรี โดยคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี
- การลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายต่างๆ รวมไปถึงการยับยั้งกฎหมาย (ไม่ยอมลงพระปรมาภิไธย) ได้อีกด้วย, อย่างไรก็ดี นับแต่ ปี 1708 ในรัชสมัยของ สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ก็มิได้ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์จะทรงยับยั้งแต่อย่างใด
- อำนาจในการบังคับบัญชาใหญ่ กองทัพสหราชอาณาจักร
- อำนาจในฐานะ องค์จอมทัพแห่งกองทัพสหราชอาณาจักร โดยผ่านทาง สภากลาโหม ผ่านพระปรมาภิไธยในพระหมากษัตริย์
- การโปรดเกล้าแต่งตั้งองคมนตรี
- การยกเลิกหรือถอดถอนหนังสือเดินทาง ผ่านทางคำแนะนำของ รัฐมนตรีมหาดไทย
- การพระราชทานอภัยโทษ (โดยที่โทษการประหารชีวิตได้ยกเลิกไปแล้ว, แต่พระราชอำนาจนี้ยังใช้ได้แค่เฉพาะเหตุที่มีการตัดสินอรรถคดีผิดพลาด)
- การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- การจัดตั้งนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติ
อำนาจในการต่างประเทศแก้ไข
- อำนาจในการสัตยาบันในสนธิสัญญาต่างๆ
- อำนาจในการประกาศสงครามหรือประกาศสันติภาพ
- อำนาจในการส่ง หรือ ถอนกำลังทหารในเขตพ้นทะเล
- อำนาจในรับรองสถานะทางการทูต
- อำนาจในการให้อำนาจและรับรองตราตั้งราชทูต
เนื่องจากสหราชอาณาจักร มิได้มีรัฐธรรมนูญเป็นประมวลลายลักษณ์ รัฐบาลจึงได้สรุปข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ในเดือน ตุลาคม 2003 เพื่อสร้างความกระจ่างโดยบางอำนาจได้ทรงใช้ ผ่านพระปรมาภิไธยในพระมหากษัตริย์ ซึ่งนับว่ารวมอยู่ใน พระราชอำนาจอีกด้วย[6] อย่างไรก็ดี พระราชอำนาจบางส่วนยังยึดติดกับขนบธรรมเนียมโบราณเดิม ซึ่งอาจจะทำให้มีความคล้ายคลึงกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยให้มีผลกระทบน้อยที่สุด
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 Overview of the UK system of government : Directgov – Government, citizens and rights. Archived direct.gov.uk webpage. Retrieved on 29 August 2014.
- ↑ "Legislation". UK Parliament. 2013. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
- ↑ House of Commons – Justice Committee – Written Evidence. Publications.parliament.uk. Retrieved on 19 October 2010.
- ↑ The monarchy : Directgov – Government, citizens and rights. Archived direct.gov.uk webpage. Retrieved on 29 August 2014.
- ↑ "Queen and Prime Minister". The British Monarchy. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Mystery lifted on Queen's powers | Politics. The Guardian. Retrieved on 12 October 2011.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- Official website of 10 Downing Street
- Directgov เก็บถาวร 2007-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, the UK government public services website, produced by the Central Office of Information
- Her Majesty's Government เก็บถาวร 2004-01-05 ที่ UK Government Web Archive, a directory compiled by the House of Commons Information Office