แอร์บัส เอ300
แอร์บัส เอ300 (อังกฤษ: Airbus A300) เป็นอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง ผลิตโดยแอร์บัสเอสอาเอส โดยเป็นอากาศยานลำตัวกว้างชนิดแรกที่ใช้เครื่องยนต์เพียงสองเครื่อง และเป็นอากาศยานลำแรกที่ออกแบบและผลิตโดยแอร์บัส เครื่องบินเอ300 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 266 ที่นั่ง โดยจัดแบ่งเป็น 2 ประเภทชั้นโดยสาร และมีพิสัยการบินถึง 4,070 ไมล์ทะเล (7,540 กิโลเมตร) เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา
แอร์บัส เอ300 | |
---|---|
แอร์บัส เอ300 ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง |
ชาติกำเนิด | ยุโรป |
บริษัทผู้ผลิต | แอร์บัส |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | เฟดเอกซ์ เอกซ์เพรส ยูพีเอสแอร์ไลน์ ยูโรเปียนแอร์ทรานสพอร์ตไลพ์ซิช อิหร่านแอร์ |
จำนวนที่ผลิต | 561[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1971 - 2007 |
เริ่มใช้งาน | 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 กับแอร์ฟรานซ์ |
เที่ยวบินแรก | 28 ตุลาคม ค.ศ. 1972 |
สายการผลิต | แอร์บัส เอ300-600ST เบลูกา แอร์บัส เอ310 |
พัฒนาเป็น | แอร์บัส เอ330 แอร์บัส เอ340 |
แอร์บัส เอ300 ขึ้นบินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1972 และเริ่มดำเนินการกับแอร์ฟรานซ์ในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 กับเส้นทางปารีส-ลอนดอน ซึ่งแอร์บัสรุ่นนี้มีคุณสมบัติในการระงับเสียงและประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีกว่าอากาศยานไอพ่นโดยสารในขนาดเดียวกัน ทั้งแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และ อิลยูชิน อิล-86 จากการใช้เครื่องยนต์เพียง 2 เครื่อง[2]
การผลิตของแอร์บัส เอ300 สิ้นสุดการผลิตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 ในเวลาใกล้เคียงกันกับแอร์บัส เอ310 รุ่นที่เล็กกว่า
รุ่น
แก้เอ300บี1
แก้เอ300บี1 เป็นเครื่องบินรุ่นแรกที่ทำการบิน มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด (MTOW) ที่ 132 ตัน (291,000 ปอนด์) มีความยาว 51 ม. (167 ฟุต) และขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เจเนอรัลอิเล็กทริก ซีเอฟ 6-50A สองเครื่อง[3][4] เครื่องบินรุ่นนี้มีเครื่องต้นแบบเพียงสองลำก่อนที่จะมีการนำไปพัฒนาต่อเป็นรุ่นเอ300บี2 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ผลิต[5] เครื่องต้นแบบลำที่สองได้ให้ทรานส์ยูโรเปียนแอร์เวย์เช่าในปี 1974[4]
เอ300บี2
แก้เอ300บี2-100
แก้เพื่อตอบสนองความต้องการความจุผู้โดยสารเพิ่มเติมจากแอร์ฟรานซ์ แอร์บัสจึงได้ออกแบบให้รุ่นผลิตแรกจะมีขนาดใหญ่กว่ารุ่นต้นแบบบี1 แอร์บัส เอ300บี2-100 รุ่นใหม่นี้ยาวกว่า เอ300บี1 ประมาณ 2.6 ม. (8.5 ฟุต) และมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้น 137 ตัน (302,000 ปอนด์) ทำให้สามารถเพิ่มที่นั่งได้ 30 ที่นั่ง และทำให้ความจุผู้โดยสารทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็น 281 ที่นั่ง โดยมีความจุสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด LD3 จำนวน 20 ตู้ [6]: 10 [7][4]: 17 โดยจะเลือกใช้เครื่องยนต์ จีอี ซีเอฟ6 เช่นเดิม รุ่นบี2-100 มีการสร้างเครื่องต้นแบบ 2 เครื่อง โดยได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1973 และได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1974 และเข้าประจำการกับสายการบินแอร์ฟรานซ์เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1974[4]: 27, 53 [6]: 10
เอ300บี2-200
แก้สำหรับรุ่นเอ300บี2-200 ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้เป็น เอ300B2K ได้มีการปรับเปลี่ยนในหลายๆ ด้าน เช่นการใช้แฟล็บแบบครูเกอร์, การปรับมุมสแล็ตลดลงจาก 20 องศาเป็น 16 องศา และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงยกสำหรับระบบแรงยกสูงกระบวนการนี้เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานในสนามบินที่อู่สูง ซึ่งอากาศมีความหนาแน่นน้อยกว่าและการสร้างแรงยกลดลง[8]: 52, 53 [9] เอ300บี2-200 มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้น 142 ตัน (313,000 ปอนด์) และขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ซีเอฟ6-50C ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1976 และเข้าประจำการกับสายการบินเซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ในเดือนพฤศจิกายน ของปีเดียวกัน[4]: 40 [6]: 12 ตัวเลือกในการติดตั้งเครื่องยนต์ ซีเอฟ6-50C1 และ ซีเอฟ6-50C2 จะมาในภายหลังตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1978 และ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 ตามลำดับ
เอ300บี2-320
แก้เอ300บี2-320 ได้เปิดตัวพร้อมกับเครื่องยนต์แพรตแอนด์วิตนีย์ เจที9ดี-59เอ ซึ่งยังมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 142 ตัน (313,000 ปอนด์) เดิมของรุ่นบี2-200 โดยได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1980 และเข้าประจำการกับสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็มในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 มีการผลิตเพียงสี่ลำเท่านั้น[4]: 99, 112 [6]: 14
รุ่น | จำนวนที่ผลิต[A] |
---|---|
บี2-100 | 32 |
บี2-200 | 25 |
บี2-320 | 4 |
อ้างอิง:[4]: 110 |
A ข้อมูลจำนวนการผลิตแสดงถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999[4]: 110
เอ300บี4
แก้เอ300บี4-100
แก้แอร์บัส เอ300บี4 ซึ่งต่อมามีชื่อว่า เอ300บี4-100 มีถังเชื้อเพลิงตรงกลางเพื่อเพิ่มความจุเชื้อเพลิง 47.5 ตัน (105,000 ปอนด์) และมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้น 157.5 ตัน (347,000 ปอนด์)[10][8]: 38 นอกจากนี้ยังมีแฟล็บแบบครูเกอร์และมีระบบยกสูงคล้ายกับที่มีติดตั้งเพิ่มในรุ่นเอ300บี2-200[8] รุ่นนี้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1974 ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1975 และเข้าประจำการกับเจอร์มันแอร์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1975[4][6]
เอ300บี4-200
แก้เอ300บี4-200 จะมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเพิ่มขึ้น 165 ตัน (364,000 ปอนด์) และมีถังเชื้อเพลิงเสริมเพิ่มเติมที่ห้องเก็บสัมภาระด้านหลัง ซึ่งจะลดความจุตู้สินค้าขนาด LD3 ลง 2 ตู้คอนเทนเนอร์[6][8] รุ่นนี้ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1979[6]
รุ่น | จำนวนที่ผลิต[A] | |
---|---|---|
บี4-100 | 47 | |
บี4-200 | 136 | |
อ้างอิง:[4]: 110 |
A ข้อมูลจำนวนการผลิตแสดงถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999[4]: 110
เอ300-600
แก้แอร์บัส เอ300-600 หรือรู้จักกันในนามว่า แอร์บัส เอ300บี4-600 นั้น เป็นรุ่นขยาย ซึ่งมีความยาวมากกว่ารุ่น เอ300บี2 และ เอ300บี4 เล็กน้อย และมีพื้นที่ภายในเพิ่มขึ้นจากการใช้ลำตัวด้านหลังที่คล้ายกับแอร์บัส เอ310 ทำให้มีที่นั่งเพิ่มอีกสองแถว[8] เริ่มแรกรุ่น -600 จะขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แพรตแอนด์วิตนีย์ เจที9ดี-7อาร์4เอช1 แต่ต่อมาได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์เจเนอรัลอิเล็กทริก ซีเอฟ 6-80C2 โดยมีการเปิดตัวเครื่องยนต์แพรตแอนด์วิตนีย์ พีดับเบิลยู4056 หรือ พีดับเบิลยู4058 ในปี 1986[8] เครื่องบินรุ่นนี้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1984 และเข้าประจำการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1984 กับซาอุดิอาราเบียนแอร์ไลน์[4][6] โดยรวมแล้ว มีเครื่องบินแอร์บัส เอ300-600 ทั้งหมด 313 ลำ (ทุกรุ่น) ถูกขาย เอ300-600 ใช้ห้องนักบินเดียวกันกันบนเอ310 ซึ่งมีเทคโนโลยีดิจิทัลและจอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่ต้องมีหน้าที่วิศวกรการบิน FAA ได้ออกใบอนุญาตการบินประเภทอากาศยานเดียวกันให้กับทั้งสองรุ่น ซึ่งอนุญาตให้นักบินคนหนึ่งที่มีใบอนุญาตสามารถใช้งานทั้งเอ310 และเอ300-600 ได้
- เอ300-600: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300บี4-600) รุ่นพื้นฐานของรุ่น −600
- เอ300-620C: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300ซี4-620) รุ่นปรับเปลี่ยนเป็นอากาศยานขนส่งสินค้า ส่งมอบทั้งหมดสี่ลำระหว่างปี 1984 และ 1985
- เอ300-600F: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300เอฟ4-600) รุ่นเครื่องบินขนส่งสินค้าพื้นฐานของรุ่น −600
- เอ300-600R: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300บี4-600อาร์) รุ่นพิสัยสูงของ −600 โดยมีการติดตั้งถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมที่ส่วนท้าย จัดส่งครั้งแรกในปี 1988 ให้กับอเมริกันแอร์ไลน์; เอ300 ทั้งหมดที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1989 (รวมค่าขนส่ง) คือ −600Rs เจแปนแอร์ซิสเต็ม (ต่อมารวมเป็นเจแปนแอร์ไลน์) รับมอบเครื่องบินโดยสารเอ300 ที่ลำสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2002
- เอ300-600RC: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300ซี4-600อาร์) รุ่นปรับเปลี่ยนเป็นอากาศยานขนส่งสินค้าของ -600อาร์ ทั้งสองถูกส่งมอบในปี 1999
- เอ300-600RF: (การกำหนดอย่างเป็นทางการ: เอ300เอฟ4-600อาร์) รุ่นบรรทุกสินค้าของ −600อาร์ เอ300 ทุกลำที่ส่งมอบระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2002 ถึง 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (การส่งมอบ เอ300 ครั้งล่าสุด) เป็น เอ300-600RF
เอ300บี10 (เอ310)
แก้ด้วยความต้องการเครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่าเอ300 จากสายการบินต่างๆ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1978 โครงการพัฒนาแอร์บัส เอ310 (เดิมคือ เอ300บี10) ได้เปิดตัว โดยได้รับคำสั่งซื้อจากสวิสแอร์และลุฟท์ฮันซ่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1982 เครื่องต้นแบบลำแรกได้ทำการบินครั้งแรกและได้รับการรับรองประเภทเครื่องในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1983
ด้วยการใช้ระยะส่วนตัดขวางแปดส่วนเท่าเดิม แอร์บัส เอ310 จะมีขนาดลำตัวสั้นกว่าเอ300 รุ่นเริ่มต้นประมาณ 6.95 ม. (22.8 ฟุต) และมีปีกที่เล็กกว่า 219 ตร.ม. (2,360 ตร.ฟุต) ลดลงจาก 260 ตร.ม. (2,800 ตร.ฟุต)ของเอ300 โดยในเอ310 มีการนำเสนอห้องนักบินกระจกสำหรับลูกเรือสองคน ซึ่งต่อมาได้นำไปใช้กับเอ300-600 ด้วยใบอนุญาตการบินประเภทอากาศยานเดียวกัน เอ310 จะขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์จีอี ซีเอฟ 6-80 หรือแพรตแอนด์วิตนีย์ เจที9ดี รุ่นเดียวกัน ตามด้วย พีดับเบิลยู4000 เอ310 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 220 คนในการจัดเรียที่นั่งสองชั้น หรือ 240 ที่นั่งในชั้นประหยัดทั้งหมด และสามารถบินได้สูงสุด 5,150 ไมล์ทะเล (9,540 กม.) มีทางออกเหนือระหว่างประตูหลักสองคู่หน้าและประตูหลัง
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1983 สวิสแอรให้บริการแอร์บัส เอ310 เป็นเที่ยวบินแรกขณะที่แข่งขันกับโบอิง 767-200 ซึ่งเปิดตัวเมื่อหกเดือนก่อน ด้วยพิสัยการบินที่มากกว่าและข้อบังคับ ETOPS ทำให้สามารถทำการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ จนถึงการส่งมอบครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1998 มีการผลิตเอ310 จำนวน 255 ลำ เนื่องจากมีแอร์บัส เอ330-200 ที่มาแย่งตลาดและชนะไป มีรุ่นเครื่องบินบรรทุกสินค้า และดัดแปลงมาจากเครื่องบินบรรทุก/ขนส่งทางทหารอย่าง แอร์บัส เอ310 MRTT
เอ300-600ST
แก้ที่ถูกเรียกโดยทั่วไปเรียกว่า แอร์บัส เบลูกา หรือ "แอร์บัสซุปเปอร์ทรานสพอร์ตเตอร์" แอร์บัสใช้ฝูงบิน 5 ลำของเครื่องบบินนี้ในการขนส่งชิ้นส่วนอากาศยานระหว่างโรงงานผลิตของบริษัท ทำให้สามารถกระจายส่วนแบ่งงานได้ โดยจะเข้ามาแทนที่แอโรสเปซไลน์ซุปเปอร์กัปปีจำนวนสี่ลำที่แอร์บัสเคยใช้ก่อนหน้านี้
ผู้ให้บริการ
แก้ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 มีเครื่องบินตระกูล เอ300 จำนวน 229 ลำที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดห้าราย ได้แก่เฟดเอกซ์ เอกซ์เพรส (70), ยูพีเอสแอร์ไลน์ (52), ยูโรเปียนแอร์ทรานสพอร์ต ไลพ์ซิช (22), อิหร่านแอร์ (14) และ มาฮานแอร์ (11)[11]
การส่งมอบ
แก้รวม | 2007 | 2006 | 2005 | 2004 | 2003 | 2002 | 2001 | 2000 | 1999 | 1998 | 1997 | 1996 | 1995 | 1994 | 1993 | 1992 | 1991 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การส่งมอบ | 561 | 6 | 9 | 9 | 12 | 8 | 9 | 11 | 8 | 8 | 13 | 6 | 14 | 17 | 23 | 22 | 22 | 25 |
1990 | 1989 | 1988 | 1987 | 1986 | 1985 | 1984 | 1983 | 1982 | 1981 | 1980 | 1979 | 1978 | 1977 | 1976 | 1975 | 1974 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การส่งมอบ | 19 | 24 | 17 | 11 | 10 | 16 | 19 | 19 | 46 | 38 | 39 | 26 | 15 | 15 | 13 | 8 | 4 |
ข้อมูลจำนวนการส่งมอบแสดงถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007.[12]
อากาศยานที่จัดแสดง
แก้- แอร์บัส เอ300 ซีโร-จี ทะเบียน F-BUAD ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 ที่ท่าอากาศยานโคโลญบ็อน ประเทศเยอรมนี
- อดีตแอร์บัส เอ300บี4 ของโคเรียนแอร์ ทะเบียน HL7219 ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่ลานบินโคเรียนแอร์จองซอก
- อดีตแอร์บัส เอ300บี4 ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ ทะเบียน N11984 ถูกเก็บรักษาและแปลงสภาพเป็นร้านอาหารกลางคืนในประเทศเกาหลีใต้
- อดีตแอร์บัส เอ300บี4 ของเซมปาตีแอร์ ทะเบียน PK-JID ถูกทาสีใหม่ด้วยลวดลายต้นแบบ เอ300บี1 ลำแรก และได้ขึ้นทะเบียนใหม่เป็น F-WUAB ดั้งเดิม และเป็นส่วนหนึ่งของชุดจัดแสดงปี 2014 ของนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์แอโรสโคเปีย ในบลานัค ใกล้เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส[13]
ข้อมูลจำเพาะ
แก้- ผู้สร้าง: บริษัทแอร์บัส อินดัสตรี (ฝรั่งเศส/เยอรมัน/อังกฤษ/ฮอลแลนด์/สเปน)
- ประเภท: เจ็ทโดยสารลำตัวกว้าง พิสัยบินปานกลาง เจ้าหน้าที่ 2-3 คน อัตราผู้โดยสาร 200-310 ที่นั่ง
- เครื่องยนต์: เทอร์โบแฟน เจเนอรัล อีเล็คทริค ซีเอฟ 6-50 ให้แรงขับเครื่องละ 23,130 กิโลกรัม 2 เครื่อง
- กางปีก: 44.84 เมตร
- ยาว: 53.62 เมตร
- สูง: 16.53 เมตร
- พื้นที่ปีก: 260 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า: 85,060 กิโลกรัม
- น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด: 157,500 กิโลกรัม
- ความเร็วสูงสุด: 937 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระยะสูง 7,620 เมตร
- ความเร็วเดินทางปกติ: 891 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- เพดานบินใช้งานสูงสุด: 12,200 เมตร
- พิสัยบิน: 4,631 กิโลเมตร
- 5,930 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงเต็มที่
อ้างอิง
แก้- ↑ "Airbus A300 Production List". planespotters.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 15 November 2012.
- ↑ 2.0 2.1 อภิวัตน์ โควินทรานนท์, อากาศยาน 1979 ฉบับเครื่องบิน, เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์, กรุงเทพ 2522
- ↑ Norris, Guy (1999). Airbus. Mark Wagner. Osceola, WI, USA: MBI Pub. Co. ISBN 0-7603-0677-X. OCLC 41173835.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 Endres, Günter G. (1999). Airbus A300. Osceola, WI: MBI Pub. ISBN 0-7603-0827-6. OCLC 42780645.
- ↑ Simons, Graham (2014). The Airbus A380: A History. [Place of publication not identified]. ISBN 978-1-4738-3936-6. OCLC 896116951.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 "Type certificate data sheet A.172 for Airbus A300, A310 and A300-600". EASA. 8 April 2022.
- ↑ Simpson, Rod (1999). Airlife's Commercial Aircraft and Airliners. Airlife. p. 28. ISBN 9781840370737.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Gunston, Bill (2010). Airbus: The Complete Story. Haynes Publishing UK. pp. 38–74. ISBN 9781844255856.
- ↑ "Hot and High Operations". SKYbrary Aviation Safety (ภาษาอังกฤษ). 25 May 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
- ↑ Sweetman, Bill (4 September 1975). "Airbus Industrie spreads its wings". Flight International. Vol. 108 no. 3469. p. 326.
- ↑ www.airbus.com https://www.airbus.com/aircraft/market/orders-deliveries.html
- ↑ "Airbus – Historical Orders and Deliveries". Airbus S.A.S. January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Microsoft Excel)เมื่อ 21 December 2008. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
- ↑ "Musée Aeroscopia" เก็บถาวร 2014-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. aeroscopia-blagnac.fr. Retrieved 1 April 2015.