แอร์ฟรานซ์

สายการบินแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศส

แอร์ฟรานซ์ (อังกฤษ: Air France, ฝรั่งเศส: Compagnie Nationale Air France) เป็นสายการบินหนึ่งของแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม (Air France-KLM) แอร์ฟรานซ์เป็นสายการบินประจำชาติของฝรั่งเศส ปัจจุบันได้เข้าร่วมกิจการกับสายการบินเคแอลเอ็ม (KLM) สายการบินประจำชาติของเนเธอร์แลนด์ โดยใช้ชื่อว่า "แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม" และแอร์ฟรานซ์เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสกายทีม

แอร์ฟรานซ์
Air France
Compagnie Nationale Air France
IATA ICAO รหัสเรียก
AF AFR AIRFRANS
ก่อตั้ง7 ตุลาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี)
ท่าหลักปารีส-ชาร์ล เดอ โกล
ปารีส-ออร์ลี่
เมืองสำคัญบอร์โด

ลียง
มาร์แซย์
นีซ

ตูลูซ
สะสมไมล์ฟลายอิ้ง บลู
พันธมิตรการบินสกายทีม
สกายทีมคาร์โก
ขนาดฝูงบิน211
จุดหมาย211
บริษัทแม่แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม
สำนักงานใหญ่ฝรั่งเศส ปารีส ฝรั่งเศส
บุคลากรหลักJean-Cyril Spinetta (ประธาน และ CEO)
Pierre-Henri Gourgeon (COO)
Philippe Calavia (CFO)
เว็บไซต์www.airfrance.com

ประวัติ แก้

ช่วงแรกของการก่อตั้ง แก้

แอร์ฟรานซ์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1933 โดยการรวมตัวกันของหลายหน่วยงานในฝรั่งเศส สายการบินได้ขยายเส้นทางไปทั่วยุโรป เมืองขึ้นของฝรั่งเศส แอฟริกาเหนือ และจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แอร์ฟรานซ์ได้ย้ายฐานการปฏิบัติการไปที่กาซาบล็องกา ในประเทศโมร็อกโก ทำให้สายการบินนี้เป็นที่โดดเด่นในภาพยนตร์เรื่องคาซาบลังกา (Casablanca)

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แก้

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทก็กลายเป็นของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 70% และลดลงเหลือ 54% ในกลางปีค.ศ. 2002 และในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1948 ทางสายการบินได้แต่งตั้งให้ Max Hymans เป็นประธานของแอร์ฟรานซ์ โดยเขาได้ใช้เวลา 13 ปีที่ดำรงตำแหน่งในการสนับสนุนนโยบายด้านความทันสมัยของเครื่องบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การนำเครื่องบิน Sud Aviation Caravelle ที่มีเครื่องยนต์เจตแบบแฝดมาให้บริการในปีค.ศ. 1959
สายการบินได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินปารีส-นิวยอร์ก โดยใช้เครื่องบินคองคอร์ดที่มีความเร็วเหนือเสียงในปี ค.ศ. 1976 โดยใช้เวลาในการเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง โดยใช้ความเร็วเหนือเสียงประมาณ 2 เท่า
ในปี ค.ศ. 1994 สายการบินทั้งหมดของรัฐบาลฝรั่งเศสได้ถูกรวมเข้ากับแอร์ฟรานซ์เพียงบริษัทเดียว รัฐบาลฝรั่งเศสนำแอร์ฟรานซ์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1999 และได้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสกายทีมในปี ค.ศ. 2000 และสายการบินได้ยกเลิกเที่ยวบินที่ให้บริการโดยเครื่องบินคองคอร์ดในปี ค.ศ. 2003 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนที่สูง

การควบรวมกิจการกับเคแอลเอ็ม แก้

ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2003 แอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม ได้ประกาศว่าจะมีการควบรวมสายการบินทั้งสองในชื่อใหม่ คือแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม (อังกฤษ: Air France-KLM) และเกิดการควบรวมขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม [1] เมื่อผู้ถือหุ้นทั่วไปของแอร์ฟรานซ์ เข้าถือครองหุ้น 81% ของเคแอลเอ็ม (รัฐบาลฝรั่งเศสครอบครองหุ้น 44% และอีก 37% เป็นของผู้ถือหุ้นเอกชน) โดยที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นทั่วไปของสายการบินเคแอลเอ็ม โดยส่วนแบ่งของรัฐบาลฝรั่งเศสในแอร์ฟรานซ์ ลดลงจาก 54.4% (เดิมถือในนามแอร์ฟรานซ์) เหลือ 44% (ปัจจุบันถือในนาม แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม) ด้วยเหตุของการรวมตัวนี้เอง ทำให้ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2004 รัฐบาลฝรั่งเศสก็แถลงการขายหุ้น 18.4% ให้กับแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม จนทำให้รัฐบาลเองเหลือหุ้นต่ำกว่า 20%

ในกลางปี ค.ศ. 2007 แอร์ฟรานซ์และแคแอลเอ็ม จะนำคุณสมบัติของแท่นเสียบเครื่องเล่นเพลงและวิดีโอพกพาไอพอด ติดตั้งในเครื่องบิน ซึ่งนอกจากจะทำให้มีการชาร์จแบตเตอรี่ของอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว ยังมีการรวมคุณสมบัติของไอพอด และระบบความบันเทิงภายในเครื่องบิน (IFE;In-flight Entertainment) ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสามารถเล่นเพลง, ดูรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่เก็บไว้ในไอพอดผ่านทางระบบความบันเทิงภายในเครื่องบินได้

กิจการองค์กร แก้

บริษัทลูก แก้

 
เอ็มบราเออร์ อี-170 ของแอร์ฟรานซ์ โฮป ที่ท่าอากาศยานซือริช
  • แอร์ฟรานซ์คอนเซาลท์ติ้ง
    • ควอลิ-ออดิต[2]
  • บลูลิงค์
  • แอร์ฟรานซ์ ฮอป (ชื่อเก่า: โฮป!)
  • เซอร์แวร์
  • Société de construction et de réparation de matériel aéronautique (CRMA)
  • โซเด็กซี
  • ทรานซาเวียฟรองซ์

แอร์ฟรานซ์และสายการบินทรานส์เวียได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัททรานส์ซาเวียฟรองซ์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนต้นทุนต่ำในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติออร์ลี่[3] Air Corsica, CityJet และ Air France Hop ให้บริการเที่ยวบินในนามของแอร์ฟรานซ์

 
แอร์บัส เอ340-200 ในลวดลายแอร์ฟรานซ์อาซีย์

แอร์ฟรานซ์อาซีย์และแอร์ฟรานซ์คาร์โก้อาซีย์ แก้

จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไต้หวัน แอร์ฟรานซ์ไม่สามารถที่จะดำเนินเที่ยวบินไปยังไต้หวันได้ ในปีค.ศ. 1993 สายการบินแอร์ชาร์เตอร์ เริ่มให้บริการเที่ยวบินระหว่างปารีส-ฮ่องกง-ไทเป[4] หลังจากแอร์ชาร์เตอร์เลิกดำเนินงานในปีค.ศ. 1998, แอร์ฟรานซ์จึงได้สร้างแอร์ฟรานซ์อาซีย์ขึ้นมาทดแทน[5] โดยใช้เครื่องบินแอร์บัส เอ340-200 สองลำ และโบอิง 747-400M อีกสองลำ สายการบินนี้เป็นหนึ่งในสายการบินที่ดำเนินเที่ยวบินไปยังไต้หวันภายใต้ชื่อ"เอเชีย"เช่นเดียวกับเจแปนเอเชียแอร์เวย์ (บริษัทลูกของเจแปนแอร์ไลน์), เคแอลเอ็มเอเชีย, บริติชเอเชียแอร์เวย์, สวิสแอร์เอเชีย, และออสเตรเลียเอเชียแอร์ไลน์ (บริษัทลูกของควอนตัส) แอร์ฟรานซ์อาซีย์เลิกดำเนินการในปีค.ศ. 2004

หลังจากแอร์ฟรานซ์อาร์ซีย์เลิกดำเนินงานในปี 2004, โบอิง 747-200 ในฝูงบินก็ยังคงดำเนินขนส่งสินค้าในเส้นทางบินเดิมภายใต้ชื่อ แอร์ฟรานซ์คาร์โก้อาซีย์ก่อนเลิกดำเนินการในปีค.ศ. 2007

สำนักงานใหญ่ แก้

สำนักงานใหญ่ของแอร์ฟรานซ์ตั้งอยู่ที่รอยซีโพล คอมเพล็กซ์ ในบริเวณท่าอากาศยานปารีส-ชาลส์เดอโกล, ปารีส[6][7][8][9][10]

จุดหมายปลายทาง แก้

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 แอร์ฟรานซ์ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 36 แห่ง และจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ 175 แห่ง ใน 93 ประเทศ (รวมรัฐและดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส) ใน 6 ทวีป ซึ่งรวมถึงบริการและจุดหมายปลายทางของ แอร์ฟรานซ์คาร์โก้ ที่ให้บริการโดยบริษัทลูก ​​แอร์คอร์ซิก้า, ซิตี้เจ็ต และ แอร์ฟรานซ์ โฮป

ข้อตกลงการบินร่วม แก้

แอร์ฟรานซ์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[11]

ข้อตกลงระหว่างสายการบิน แก้

แอร์ฟรานซ์มีข้อตกลงกับสายการบินดังต่อไปนี้:[19]

ฝูงบิน แก้

ฝูงบินของแอร์ฟรานซ์ แก้

ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2022 ฝูงบินของแอร์ฟรานซ์ (รวมแอร์ฟรานซ์คาร์โก้) มีดังนี้:[20]

ฝูงบินของ แอร์ฟรานซ์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ความจุผู้โดยสาร หมายเหตุ
F J W Y รวม
แอร์บัส เอ220-300 8 52[21] 20 128 148 ทดแทน แอร์บัส เอ318 and เอ319.
แอร์บัส เอ318-100 12 18 113 131 จะทดแทนด้วย แอร์บัส เอ220.[22]
แอร์บัส เอ319-100 26 20 122 142
123 143
แอร์บัส เอ320- 200 41 20 154 174 เครื่องบินสองลำมีลวดลายของสกายทีม
18 160 178
แอร์บัส เอ321-100 5 20 182 202
แอร์บัส เอ321-200 14 20 182 202 เครื่องบินลำหนึ่งมีลวดลายของสกายทีม
แอร์บัส เอ330-200 15 36 21 167 224
แอร์บัส เอ350-900 16 22[23][24] 34 24 266 324[25] ทดแทน โบอิง 777-200อีอาร์.[26]
โบอิง 777-200 อีอาร์ 19 40 24 216 280 ถูกทดแทนด้วย แอร์บัสเอ 350-900
28 260 312
โบอิง 777-300อีอาร์ 43 4 28 58 206 296 ผู้เริ่มให้บริการ
เครื่องบินสามลำมีลวดลายของสกายทีม
42 24 315 381
14 32 422 468
14 28 430 472[27]
โบอิง 787-9 10 30 21 228 279 [28]
ฝูงบินของ แอร์ฟรานซ์คาร์โก
แอร์บัส เอ350F 4[29] สินค้า เริ่มส่งมอบในปีค.ศ. 2025

จะทดแทน โบอิง 777F

โบอิง 777F 2 สินค้า จะถูกทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350F ในปี 2025
ทั้งหมด 211 78
แอร์บัส เอ320-200
แอร์บัส เอ330-200
แอร์บัส เอ350-900
โบอิง 777-200อีอาร์
โบอิง 777-300อีอาร์
โบอิง 787-9

อ้างอิง แก้

  1. "History". Air France KLM (ภาษาอังกฤษ). 2014-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
  2. "ISO Album" (PDF). quali-audit.aero. Archived from the original (PDF) on 23 June 2010. Retrieved 21 June 2010.
  3. Airliner World (2007)
  4. "French plans for Taipei". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). Invalid Date. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. http://www.sciencespo.fr/ceri/sites/sciencespo.fr.ceri/files/jpcabest.pdf
  6. "Head Office" Archived 10 February 2010 at the Wayback Machine, Air France. Retrieved on 9 February 2010.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  11. "Air France Airline Profile | CAPA". centreforaviation.com.
  12. 12.0 12.1 "New codeshare agreement between Air France". www.copaair.com. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
  13. Hannah Brandler (26 December 2021). "Air France-KLM signs codeshare agreement with Indigo Airlines". Business Traveller.
  14. "ITA Airways, accordo di codeshare con Air France" [ITA Airways, codeshare agreement with Air France]. borsaitaliana.it (ภาษาอิตาลี). 2021-12-09.
  15. "QANTAS AND AIR FRANCE RENEW PARTNERSHIP TO OFFER CUSTOMERS MORE TRAVEL OPTIONS BETWEEN AUSTRALIA AND FRANCE". Qantas News Room.
  16. "Air France-KLM Signs Codeshare Agreement with Singapore Airlines and SilkAir". Air France KLM. 13 April 2017.
  17. "Singapore Airlines And SilkAir Sign Codeshare Agreement With Air France-KLM". www.singaporeair.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 29 April 2019.
  18. "Air France/Widerøe begins codehare-service from July 2018". Routesonline.
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  20. "Air France Fleet Details and History". www.planespotters.net.
  21. "Evolution of the Air France-KLM fleet". Air France KLM (ภาษาอังกฤษ). 30 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
  22. "Air France's Fleet Plans: What Does The Future Hold?". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-07-27. สืบค้นเมื่อ 2020-09-26.
  23. Kaminski-Morrow, David (12 December 2019). "Air France orders more A350s to replace A380 fleet". Flightglobal.com.
  24. Loh, Chris. "Air France-KLM Orders 10 More Airbus A350s". Simple Flying. สืบค้นเมื่อ 11 December 2019.
  25. "Air France takes delivery of its first A350 XWB". Airbus. สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
  26. Gubisch, Michael (6 January 2017). "KLM to introduce A350 in 2020". flightglobal.com. London, UK: Flight Global. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  27. "Boeing 777-300 map - 472 seats". Air France. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. "The Air France-KLM Group takes a next step in optimization of the long-haul fleet". Air France-KLM (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-29. สืบค้นเมื่อ 2019-07-27.
  29. "Air France Fleet | Airfleets aviation". www.airfleets.net.