ออสเตรียนแอร์ไลน์

สายการบินแห่งชาติของประเทศออสเตรีย

ออสเตรียนแอร์ไลน์ (อังกฤษ: Austrian Airlines) เป็นสายการบินประจำชาติออสเตรีย โดยมีฐานบินใหญ่อยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา[1] และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา โดยสายการบินเป็นบริษัทลูกของเครือลุฟท์ฮันซ่า[2][3] และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์

ออสเตรียนแอร์ไลน์
Austrian Airlines
IATA ICAO รหัสเรียก
OS AUA AUSTRIAN
ก่อตั้ง30 กันยายน 1957; 67 ปีก่อน (1957-09-30)
เริ่มดำเนินงาน31 มีนาคม 1958; 66 ปีก่อน (1958-03-31)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา
สะสมไมล์ไมล์แอนด์มอร์
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
ขนาดฝูงบิน66
จุดหมาย130
บริษัทแม่เครือลุฟท์อันซ่า
สำนักงานใหญ่ออสเตรีย กรุงเวียนนา, ออสเตรีย
บุคลากรหลักAlfred Ötsch (ซีอีโอ)
เว็บไซต์www.austrian.com

ประวัติ

แก้

ออสเตรียนแอร์ไลน์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1957[4] โดยมีเที่ยวบินแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1958 ออสเตรียนแอร์ไลน์เช่าเครื่องบินวิกเกอร์ วิสเคาท์ 779 เพื่อให้บริการในเที่ยวบินระหว่าง เวียนนา - ซือริช- ลอนดอน[5] ก่อนจะซื้อเครื่องบินรุ่นเดียวกันในเวลาต่อมา ออสเตรียนแอร์ไลน์ก่อตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการของแอร์ออสเตรียและออสเตรียนแอร์เวย์

 
ซูว์ดาวียาซียง เอสเอ-210 การาเวลในปีค.ศ. 1972

ออสเตรียนแอร์ไลน์ได้มีการสั่งซื้อเครื่องบินเจ็ตลำแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1963 โดยสั่งซื้อเครื่องบินซูว์ดาวียาซียง เอสเอ-210 การาเวล ด้วยเครื่องบินลำใหม่ของสายการบิน เที่ยวบินภายในประเทศเที่ยวเริ่มเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1963 และเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรครั้งแรกของสายการบินเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1969 บนเส้นทางเวียนนา - บรัสเซลส์ - นิวยอร์ก โดยร่วมมือกับซาบีนาแอร์ไลน์

ออสเตรียนแอร์ไลน์เข้าเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ในปีค.ศ. 2000 ในปีเดียวกันนั้น สายการบินได้เข้าซื้อกิจการของเลาดาแอร์และไรน์ทัลฟลุก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 อันเป็นผลมาจากการรีแบรนด์ แบรนด์ออสเตรียกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับสายการบิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2004 แผนกการบินของออสเตรียนแอร์ไลน์และเลาดาแอร์ ถูกรวมเข้าด้วยกัน อันเป็นผลมาจากการที่แบรนด์เลาดาแอร์ถูกใช้สำหรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำเท่านั้น

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551ได้ทราบมาว่าเอิแอกยืนยันการขายหุ้น 41.6% ในออสเตรียนแอร์ไลน์ให้กับลุฟท์ฮันซ่าใน ราคา 366,268.75 ยูโร

หลังจากการแปรรูปกิจการ ทั้งการขยายฝูงบินและการริเริ่มในการประหยัดต้นทุนได้มีการประกาศใช้เมื่อมีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ การเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง การออกแบบองค์กรใหม่ และลวดลายเครื่องบินใหม่ ภายหลังข้อพิพาทด้านแรงงานเกี่ยวกับมาตรการลดต้นทุนหลายประการ เที่ยวบินของออสเตรียนแอร์ไลน์ทั้งหมดถูกย้ายในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ไปยังบริษัทในเครือ ซึ่งดำเนินการภายใต้ชื่อออสเตรีย ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2015 หลังจากบรรลุข้อตกลงด้านแรงงานฉบับใหม่ เที่ยวบินทั้งหมดถูกย้ายกลับไปยังออสเตรีย และ Tyrolean Airways ก็ถูกรวมเข้ากับบริษัทแม่[6] เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2020 สายการบินได้ระงับการให้บริการชั่วคราว อันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19[7]

กิจการองค์กร

แก้
 
อาคารสำนักงานใหญ่ของออสเตรียนแอร์ไลน์ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา

กรรมสิทธิ์และบริษัทลูก

แก้

ลุฟท์ฮันซ่าเป็นเจ้าของกลุ่มสายการบินออสเตรียนทั้งหมด ออสเตรียนแอร์ไลน์เป็นเจ้าของหุ้นใน 24 บริษัท ดังนี้:

  • ออสเตรียนเต็กนิกบราติสลาเวีย, บริษัทซ่อมบำรุงในท่าอากาศยานบราติสลาเวีย[8][9]
  • กูเลต-ตูโรปา-ทูริสทิค
  • อาเฟาเอส-เวอร์ซิเชอเร็น
  • ตุยออสเตรียแอร์เวย์
  • ทราเวียออสเตรีย
  • แอร์พลุส เครดิตอินส์ทิทูด
  • วีนเนอร์เบอร์ส อาเก
  • เอสซีเอ สเคดดูล คอร์ดิเนชั่น
  • เอซีเอส แอร์คอนเทเนอร์เซอร์วิส
  • เอวิคอน เอวิเอชั่น คอนเซาลท์
  • ออสเตรียน-ลุฟท์ฮันซ่า คาร์โก้
  • ออสเตรียนแอร์ไลน์ เทเลเซลแอนด์เซอร์วิส

จุดหมายปลายทาง

แก้
 
จุดหมายปลายทางของออสเตรียน แอร์ไลน์

ออสเตรียนแอร์ไลน์บินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 6 แห่งและจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศกว่า 120 แห่งตลอดทั้งปีและตามฤดูกาลใน 55 ประเทศ ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020[10]

ข้อตกลงการบินร่วม

แก้

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ออสเตรียนแอร์ไลน์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่อไปนี้:

ฝูงบิน

แก้

ฝูงบินปัจจุบัน

แก้

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ออสเตรียนแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[12][13][14]

ฝูงบินของออสเตรียนแอร์ไลน์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
B E+ E รวม อ้างอิง
แอร์บัส เอ320-200 29 ตต. ตต. 174 [15]
180
แอร์บัส เอ320นีโอ 5 ตต. ตต. 180
แอร์บัส เอ321-100 3 ตต. ตต. 200 [16]
แอร์บัส เอ321-200 3 [17]
โบอิง 767-300อีอาร์ 3 26 18 167 211 [18][19] จะถูกทดแทนด้วยโบอิง 787-9 ตั้งแตปี 2028
โบอิง 777-200อีอาร์ 6 32 40 258 330 [20]
โบอิง 787-9 11 26 21 247 294 สองลำของแบมบูแอร์เวย์ในอดีต[21]

ห้าลำจะโอนย้ายมาจากลุฟท์ฮันซ่าตั้งแต่ปี 2024

รอประกาศ
เอ็มบราเออร์ อี195 17 ตต. ตต. 120 [22]
รวม 66 11

ออสเตรียนแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 17.2 ปี

ฝูงบินในอดีต

แก้

ออสเตรียนแอร์ไลน์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้[23]

ฝูงบินในอดีตของออสเตรียนแอร์ไลน์
เครื่องบิน เริ่มประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ/อ้างอิง
แอร์บัส เอ310-300 1988 2004
แอร์บัส เอ319-100 2004 2022 โอนย้ายไปยังลุฟท์ฮันซ่าซิตี้ไลน์
แอร์บัส เอ330-200 1998 2007 โอนย้ายไปยังตัปปูร์ตูกัล
แอร์บัส เอ340-200 1995 2007 โอนย้ายไปยังกองทัพอากาศฝรั่งเศส
แอร์บัส เอ340-300 1997 2007 โอนย้ายไปยังสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
โบอิง 707-320 1969 1971
โบอิง 737-600 2008 2012 โอนย้ายมาจากเลาดาแอร์
โบอิง 737-700 2008 2012 โอนย้ายมาจากเลาดาแอร์
โบอิง 737-800 2010 2013 โอนย้ายมาจากเลาดาแอร์[24][25]
บริติช แอโรสเปซ 146 2004 2004 [26]
บริติช แอโรสเปซ 748 - - ไม่ทราบปีแน่ชัด
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ 100 1994 2010 โอนย้ายมาจากเลาดาแอร์และไทโรเรียนแอร์เวย์[27][28]
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ 200 1996
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช-8 คิว400 2012 2021 โอนย้ายมาจากไทโรเรียนแอร์เวย์[29][30]
ดักลาส ดีซี-3 - - ไม่ทราบปีแน่ชัด
ดักลาส ดีซี-8-63CF 1973 1974 [31]
ฟอกเกอร์ 50 1988 1996
ฟอกเกอร์ 70 1995 2017[32] โอนย้ายมาจากไทโรเรียนแอร์เวย์
ฟอกเกอร์ 100 2004 2017[33] โอนย้ายมาจากไทโรเรียนแอร์เวย์
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-32 1971 1990
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-51 1975 1985
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-81 1980 1999
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-82 1983 2005
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-83 1993 2005
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-87 1987 2005
ซูว์ดาวียาซียง เอสเอ-210 การาเวล 1963 1973
วิกเกอร์ส ไวเคาน์ท 1958 1971


อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

แก้
  • 26 กันยายน ค.ศ. 1960 เวลา 21:40 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินวิกเกอร์ส ไวเคาน์ท (ทะเบียน OE-LAF) ตกระหว่างเข้าใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโว ส่งผลให้ผู้โดยสาร 26 คนจากทั้งหมด 31 คนบนเครื่อง รวมทั้งลูกเรือ 5 คนจากทั้งหมด 6 คน เครื่องบินลำดังกล่าวให้บริการเที่ยวบิน 901 จากเวียนนาไปยังมอสโกโดยแวะพักระหว่างทางที่กรุงวอร์ซอ ความผิดปกติของเครื่องวัดความสูงเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งเดียวของสายการบิน[34]
  • 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1970 เกิดเหตุระเบิดในห้องเก็บสินค้าบนซูว์ดาวียาซียงการาแวลของออสเตรียนแอร์ไลน์ (ทะเบียน OE-LCU) ระหว่างเที่ยวบินจากแฟรงก์เฟิร์ตไปเวียนนาซึ่งมีผู้โดยสาร 33 คนและลูกเรือ 5 คนบนเครื่อง ทำให้เกิดรูในลำตัวเครื่องบิน นักบินสามารถกลับมาลงจอดเครื่องบินได้อย่างปลอดภัยที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต[35] ในวันเดียวกันนั้น มีการวางระเบิดอีกลูกหนึ่งบนเครื่องบินของสายการบินสวิสแอร์ เที่ยวบินที่ 330 ทำให้เกิดอุบัติเหตุ มีผู้เสียชีวิต 47 ราย กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์อ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทั้งสองครั้ง[36]
  • 7 มกราคม ค.ศ. 1997 ออสเตรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 104 จากเบอร์ลินไปยังเวียนนาถูกจี้โดยชายชาวบอสเนียที่เข้าไปในห้องนักบินพร้อมอาวุธด้วยมีด (อาวุธมีดที่พกขึ้นไปนั้นมีขนาดเล็ก จึงไม่ถูกกักกันไว้ตามกฏข้อบังคับในเวลานั้น) นักบินปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของผู้กระทำผิดที่จะกลับไปเบอร์ลิน เพื่อที่เขาจะได้เจรจากับหน่วยงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการต่ออายุวีซ่าของเขา เมื่อกลับมาที่ท่าอากาศยานเบอร์ลินเทเกิลเครื่องบินเอ็มดี-87 ถูกกองกำลังตำรวจพิเศษบุกเข้าล้อมก่อนผู้ก่อการร้ายถูกควบุมตัวไป[37]
  • 5 มกราคม ค.ศ. 2004 เวลา 08:17 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินฟอกเกอร์ 70 (ทะเบียน OE-LFO) ตกลงบนทุ่งที่ปกคลุมไปด้วยหิมะใกล้กับท่าอากาศยานมิวนิก เครื่องบินลำดังกล่าวดำเนินการเที่ยวบินที่ 111 จากเวียนนาไปยังมิวนิก โดยมีผู้โดยสาร 28 คนและลูกเรือ 4 คนอยู่บนเครื่องในขณะที่เครื่องยนต์ขัดข้องระหว่างการลงจอดเนื่องจากน้ำแข็ง เครื่องบินได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง แต่มีผู้โดยสารเพียงสามคนเท่านั้นที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[38][39][40]

อ้างอิง

แก้
  1. "Wayback Machine". web.archive.org. 2006-12-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-12. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. Group, Lufthansa. "Company". Lufthansa Group (ภาษาอังกฤษ).
  3. "Austrian Airlines". web.archive.org. 2010-10-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "The History and Development of Austrian Airlines" เก็บถาวร 2022-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Austrian Airlines. Retrieved 21 April 2020.
  5. "It all started in the 1920s". family.austrian.com. Retrieved 21 April 2020.
  6. "Tyrolean to merge with Austrian Airlines next spring | News Details | News from Star Alliance | News | Star Alliance Employees Portal". web.archive.org. 2015-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. "Verified emissions 2018". European Union emissions trading system (EU ETS). Retrieved 2021-09-05.
  8. "Wirtschaft". Die Presse (ภาษาเยอรมัน).
  9. "Ein Kommen und Gehen bei der AUA-Flotte". Retrieved 24 August 2016.
  10. "จุดหมายปลายทางของออสเตรียนแอร์ไลน์"
  11. Liu, Jim (22 March 2018). "Lufthansa expands Austrian codeshare to Ukraine from March 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
  12. "Austrian Airlines fleet". Austrian Airlines.
  13. "Aircraft Register". Austro Control. สืบค้นเมื่อ 10 November 2018.
  14. "Austrian Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-27.
  15. "Airbus A320-200". Austrian Airlines.
  16. "Airbus A321-111". Austrian Airlines.
  17. "Airbus A321-211". Austrian Airlines.
  18. "Boeing 767-300ER". Austrian Airlines.
  19. "Austrian Airlines says goodbye to the first Boeing 767" (Press release). Austrian Airlines. 3 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  20. "Boeing 777-200ER". Austrian Airlines.
  21. airliners.de - "Austrian Airlines to aquire two Boeing 787 on short notice (German) 7 February 2024
  22. "Embraer 195". Austrian Airlines.
  23. "Austrian Airlines Fleet | Airfleets aviation". Airfleets.net. 1 July 2012. สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.
  24. "Zur Ausmusterung der 737 bei der AUA". Austrian Wings. สืบค้นเมื่อ 20 August 2013.
  25. "Fleet harmonisation completed on medium-haul fleet". Austrian Airlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-25. สืบค้นเมื่อ 2 April 2013.
  26. "Austrian Arrows Fleet of BAE146 (History) | Airfleets aviation". www.airfleets.net.
  27. tyrolean CRJ - Sag zum Abschied Servus | Austrian Wings. Austrianwings.info. Retrieved on 2014-01-14.
  28. Austrian führt allerletzten CRJ-Passagierflug durch | Austrian Wings. Austrianwings.info. Retrieved on 2014-01-14.
  29. "Austrian Airlines to retire A319s by 2022". Ch-Aviation. 22 April 2020..
  30. "A Fond Farewell: Austrian Retires Its Final Dash 8 Aircraft". Simple Flying. 31 May 2021.
  31. "Airlines Douglas DC-8-63CF OE-IBO". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2018. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  32. "Austrian Airlines ends Fokker 70 operations". ch-aviation.com. 4 August 2017.
  33. "AUA verabschiedet Fokker-Flotte - wien.ORF.at". wien.orf.at (ภาษาเยอรมัน). 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
  34. Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident Vickers 837 Viscount OE-LAF Moskva-Sheremetyevo Airport (SVO)". aviation-safety.net.
  35. Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident Sud Aviation SE-210 Caravelle VI-R OE-LCU Frankfurt". aviation-safety.net.
  36. "1970 | 0326 | Flight Archive". web.archive.org. 2012-11-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  37. Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident McDonnell Douglas DC-9-87 (MD-87) registration unknown Berlin-Tegel Airport (TXL)". aviation-safety.net.
  38. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-13. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  39. "Accident Database: Accident Synopsis 01052004". web.archive.org. 2008-06-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
  40. Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident Fokker 70 OE-LFO München-Franz Josef Strauss Airport (MUC)". aviation-safety.net.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้