แอร์บอลติก
แอร์บอลติก (อังกฤษ: airBaltic) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศลัตเวีย แอร์บอลติกก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995 โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติรีกา และฐานการบินรองในทาลลินน์, วิลนีอัส และตัมเปเร โดย ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2022 แอร์บอลติกให้บริการเที่ยวบินไปยัง 80 จุดหมายปลายทางด้วยอากาศยาน 39 ลำ
| |||||||
ก่อตั้ง | 28 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) | ||||||
ท่าหลัก | รีกา | ||||||
ท่ารอง | ทาลลินน์ วิลนีอัส ตัมเปเร กรันกานาเรีย | ||||||
สะสมไมล์ | พินส์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 48 | ||||||
จุดหมาย | 87 | ||||||
บริษัทแม่ | รัฐบาลลัตเวีย | ||||||
สำนักงานใหญ่ | เทศบาลนครมารูเป ประเทศลัตเวีย | ||||||
บุคลากรหลัก | Martin Gauss (ซีอีโอ) | ||||||
รายได้ | 498.5 ล้านยูโร (ค.ศ. 2022) | ||||||
รายได้จากการดำเนินงาน | -56 ล้านยูโร (ค.ศ. 2021) | ||||||
รายได้สุทธิ | -134 ล้านยูโร (ค.ศ. 2021) | ||||||
สินทรัพย์ | 1,023 ล้านยูโร (ค.ศ. 2021) | ||||||
ส่วนของผู้ถือหุ้น | -82 ล้านยูโร (ค.ศ. 2022) | ||||||
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้แอร์บอลติกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1995 โดยรัฐบาลลัตเวียได้ดำเนินการทำสัญญาร่วมทุนกับสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม โดยเริ่มปฎิบัติการในวันที่1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ด้วยเครื่องบินซ้าบ 340[1]
ต่อมาในปีค.ศ. 1999 บริษัทก็มีสถานะเป็น บริษัทร่วมหุ้น [1] และก็ได้ปลดประจำการแซ้บ 340 และได้นำฟอคเคอร์ 50 มาทดแทน
โบอิง 737 ลำแรกของแอร์บอลติกได้ส่งมอบในปีค.ศ. 2003 และให้บริการเที่ยวบินไปยังวิลนีอัส เป็นเที่ยวบินแรกในปีต่อมา
เครื่องบินหลายๆ ลำได้ถูกพิจรณาเพื่อจะมาทดแทนโบอิง 737-300 และ -500 และบอมบาร์ดิเอร์ ซีเอส-300 (เอ220-300)ก็เป็นหนึ่งในนั้น และในที่สุดบอมบาร์ดิเอร์ ซีเอส-300 ก็ได้มาประจำการกับแอร์บอลติกในที่สุด (ลูกค้าเปิดตัว)
หลังจากปีค.ศ. 2020 แอร์บอลติกก็ได้ปลดประจำการเครื่องบินอื่น ๆ ในฝูงบินและให้บริการเฉพาะแอร์บัส เอ220-300 เพียงชนิดเดียว ก่อนที่สายการบินเช่าเครื่องบินโบอิง 737-900อีอาร์เข้ามาประจำการในเดือนเมษายน ค.ศ. 2022
กิจการองค์กร
แก้สำนักงานใหญ่ของสายการบินตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติรีกา โดยเปิดทำการในปี 2016[2]
กรรมสิทธิ์บริษัท
แก้แอร์บอลติกเป็นการร่วมทุนระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้:[3][4]
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ | ผลประโยชน์ |
---|---|
รัฐบาลลัตเวีย (ผ่านกระทรวงคมนาคม) | 96.14% |
แอร์คราฟท์ลีสซิ่ง 1 เอสไอเอ | 3.86% |
อื่น ๆ | 0.0002% |
รวม | 100% |
จุดหมายปลายทาง
แก้แอร์บอลติกให้บริการเที่ยวบินตรงตลอดทั้งปีและตามฤดูกาลจากรีกา ทาลลินน์ และวิลนีอุส ส่วนใหญ่ไปยังเมืองใหญ่และเมือท่องเที่ยวในยุโรป
ข้อตกลงการบินร่วม
แก้แอร์บอลติกได้มีข้อตกลงการบินร่วมสายการบินดังต่อไปนี้:[5]
- อีเจียนแอร์ไลน์
- แอร์ฟรานซ์
- แอร์มอลตา[6][7]
- แอร์เซอร์เบีย[8]
- ออสเตรียนแอร์ไลน์
- อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์
- เบลาเวีย
- บริติชแอร์เวย์
- บรัสเซลส์แอร์ไลน์
- ไซปรัสแอร์เวย์
- เช็กแอร์ไลน์
- เอมิเรตส์[9]
- เอทิฮัดแอร์เวย์[10]
- จอร์เจียแอร์เวย์
- ไอบีเรีย
- ไอซ์แลนด์แอร์
- อิตาแอร์เวย์[11]
- เคแอลเอ็ม
- ลอตโปลิชแอร์ไลน์
- ลุฟท์ฮันซ่า[12]
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม[13]
- ตัปแอร์ปูร์ตูกัล[14]
- ตารอม[15]
- ยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
- อุซเบกิสถานแอร์เวย์
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินปัจจุบัน
แก้ณ เดือนกรกฎคม ค.ศ. 2024 แอร์บอลติกมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[16][17][18]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ220-300 | 48 | 42 | 145 | ลูกค้าเปิดตัว[19][20] เครื่องบินสามลำสวมลวดลาย "กลุ่มรัฐบอลติก" (ลัตเวีย, เอสโตเนีย และ ลิทัวเนีย)[21] |
148 | ||||
รวม | 48 | 42 |
แอร์บอลติกมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 4 ปี
ฝูงบินในอดีต
แก้แอร์บอลติกเคยให้บริการเครื่องบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:
เครื่องบิน | เครื่องบินทดแทน | หมายเหตุ |
---|---|---|
แอร์บัส เอ319-100 | — | เช่ามาจาก เช็กแอร์ไลน์ เป็นเวลาสามเดือน |
แอฟโร อาร์เจ-70 | — | |
โบอิง 737-300 | แอร์บัส เอ220-300 | [26] |
โบอิง 737-500 | แอร์บัส เอ220-300 | |
โบอิง 757-200 | — | |
บอมบาร์ดิเอร์ เดช 8 คิว-400 | — | [26] |
บริติชแอโรสเปซ 146-200 | — | เช่าเป็นเวลาสามเดือน |
ฟอกเกอร์ 50 | บอมบาร์ดิเอร์ คิว-400 | |
แซ้บ 340 | ฟอกเกอร์ 50 |
ลวดลายพิเศษ
แก้ในการเฉลิมฉลอง แอร์บอลติดได้มีการสร้างลวดลาย "กลุ่มรัฐบอลติก" (ลัตเวีย, เอสโตเนีย และ ลิทัวเนีย) บนเครื่องบินแอร์บัส เอ220 สามลำ[21]
-
ลวดลายปัจจุบันของแอร์บัส เอ220
-
ลวดลายพิเศษ "ลัตเวีย 100" โดยแสดงธงชาติประเทศลัตเวีย
-
ลวดลายพิเศษแสดงธงชาติเอสโตเนียบนหนึ่งในแอร์บัส เอ220 ของสายการบิน
-
ลวดลายพิเศษแสดงธงชาติลิทัวเนียบนหนึ่งในแอร์บัส เอ220 ของสายการบิน
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Our History เก็บถาวร 2013-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. airBaltic
- ↑ "New Headquarters and Crew Centre for airBaltic | airBaltic". www.airbaltic.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Pamatinformācija par aviokompāniju | airBaltic". www.airbaltic.com (ภาษาลัตเวีย).
- ↑ "Basic company information | airBaltic". www.airbaltic.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "airBaltic Codeshare Airlines". www.airbaltic.com. สืบค้นเมื่อ 21 April 2020.
- ↑ Liu, Jim (20 April 2018). "airmalta / airBaltic begins codeshare service in S18". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 20 April 2018.
- ↑ Liu, Jim (24 April 2019). "airBaltic / airmalta expands codeshare network from April 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
- ↑ Liu, Jim (24 April 2019). "airBaltic / Air Serbia expands codeshare network in S19". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
- ↑ "airBaltic and Emirates announce codeshare agreement". 25 November 2021. สืบค้นเมื่อ 3 December 2021.
- ↑ Liu, Jim (22 November 2017). "Etihad / airBaltic expands codeshare partnership in W17". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
- ↑ "ITA Airways and airBaltic Announce Codeshare Agreement" (PDF). ITA Airways (Press release). สืบค้นเมื่อ 25 January 2022.
- ↑ https://www.routesonline.com/news/29/breaking-news/295256/lufthansa-and-airbaltic-begin-codeshare-relationship/
- ↑ Liu, Jim (24 May 2019). "airBaltic resumes SAS codeshare partnership from June 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 24 May 2019.
- ↑ Liu, Jim (14 June 2018). "airBaltic / TAP Air Portugal begins codeshare service from June 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 14 June 2018.
- ↑ Liu, Jim (23 November 2017). "airBaltic / TAROM expands codeshare routes in W17". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 23 November 2017.
- ↑ "Fleet - About Us - airBaltic". www.airbaltic.com.
- ↑ "Orders & Deliveries". Airbus. 30 June 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2021.
- ↑ "Please refresh this page | Planespotters.net". www.planespotters.net.
- ↑ Gregory Polek (14 December 2016). "Bombardier's CS300 Enters Service with Air Baltic". Aviation International News.
- ↑ Harper, Lewis (20 July 2018). "Pictures: Air Baltic receives first Airbus A220-branded jet". Flight Global.
- ↑ 21.0 21.1 "Air Baltic A220 wears Lithuanian colors". aerotelegraph.com. 8 August 2019.
- ↑ "AirBaltic fleet list at planespotters.net". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-23. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
- ↑ "Air Baltic Accelerates Fleet Renewal Plans". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 2022-01-30.
- ↑ "airBaltic opts to acquire CSeries aircraft as part of turnaround effort".
- ↑ "airBaltic's Boeing 737s Won't Return When Operations Resume". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-04-02. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ 26.0 26.1 "airBaltic approves new business plan". www.airbaltic.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.