แอร์อินเดีย

สายการบินแห่งชาติของประเทศอินเดีย

แอร์อินเดีย (ฮินดี: एअर इंडिया) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศอินเดีย โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธีในนิวเดลี และมีสำนักงานใหญ่ในคุรุคราม[1] แอร์อินเดียให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 102 แห่งในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลียและแอฟริกา สายการบินนับเป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของทวีปเอเชีย แอร์อินเดียเป็นสมาชิกของพันธมิตรทางสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์

แอร์อินเดีย
एअर इंडिया
IATA ICAO รหัสเรียก
AI AIC AIR INDIA
ก่อตั้ง15 ตุลาคม ค.ศ. 1932 (91 ปี) (ในชื่อ ทาทาแอร์ไลน์)
เริ่มดำเนินงาน29 กรกฎาคม ค.ศ. 1946 (77 ปี)
ท่าหลักเดลี
ท่ารองมุมไบ
เมืองสำคัญอัห์มดาบาด
เบงคลูรู
เจนไน
ไฮเดอราบาด
โกจจิ
โกลกาตา
ติรุวนันตปุรัม
สะสมไมล์ฟลายอิงรีเทิร์น
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
บริษัทลูกแอร์อินเดียคาร์โก
แอร์อินเดียเอ็กซ์เพรส
อัลไลแอนซ์แอร์
ขนาดฝูงบิน134 (ไม่รวมสายการบินลูก)
จุดหมาย84
บริษัทแม่แอร์อินเดียลิมิเต็ด (ทาทากรุ๊ป)
สำนักงานใหญ่อินเดีย คุรุคราม, รัฐหรยาณา, ประเทศอินเดีย
บุคลากรหลักN. Chandrasekaran (ประธาน)
Campbell Wilson (ซีอีโอและกรรมการผู้จัดการ)
ผู้ก่อตั้งเจ. อาร์. ดี. ทาทา
เว็บไซต์www.airindia.com

ประวัติ แก้

 
ทาทาแอร์ไลน์

แอร์อินเดียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1932 โดยจาฮังกีร์ ราตันจี ดาดับ ทาทาภายใต้ชื่อในขณะนั้นว่า "ทาทาแอร์ไลน์" ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มบริษัททาทากรุ๊ป[2] โดยในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1932 เป็นวันเริ่มให้บริการครั้งแรก โดยการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ ระหว่างเมืองการาจีสู่เมืองมุมไบ โดยผ่านเมืองอาห์เมราบัด และบินกลับสู่เมืองมัทราส (เจนไน) ผ่านเมืองเบลลารี โดยนักบินอดีตทหารอากาศกองทัพสหราชอาณาจักร

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ธุรกิจการบินพาณิชย์ในอินเดียกลับมาให้บริการอีกครั้ง ทาทาแอร์ไลน์ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 และเปลี่ยนชื่อเป็น "แอร์อินเดีย" ในปี 1948 ภายหลังอินเดียได้รับเอกราช รัฐบาลอินเดียได้เข้ามาถือหุ้นในสายการบิน 51% ทำให้แอร์อินเดียมีสถานะเป็นสายการบินแห่งชาติอินเดีย โดยมีชื่อว่า "แอร์อินเดีย อินเตอร์แนชันแนล" และได้เริ่มเปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศขึ้น โดยในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ได้เปิดเส้นทางบินจากมุมไบสู่ลอนดอน ผ่านเมืองไคโรและเจนีวา โดยใช้เครื่องบิน ล็อกฮีด คอนสเตลเลชัน แอล-749A (VT-CQP) นับเป็นเที่ยวบินระยะไกลระหว่างประเทศเที่ยวแรก และในปี 1950 เปิดเส้นทางสู่ไนโรบี โดยผ่านเมืองเอเดน

ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1953 รัฐบาลอินเดียได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของสายการบิน ซึ่งรัฐบาลอินเดียพิจารณว่าเป็นธุรกิจที่สำคัญและต้องการที่จะเป็นผู้ควบคุมอุตสาหกรรมการบินอินเดียในขณะนั้น ขณะเดียวกันนั้นการบริการเที่ยวบินภายในประเทศของแอร์อินเดียได้ถูกโอนไปให้อินเดียนแอร์ไลน์ และในปี ค.ศ. 1954 ได้สั่งซื้อเครื่องบิน แอล-1049 ซูเปอร์คอนสเตลเลชัน และเปิดเส้นทางการบินสู่ กรุงเทพ ฮ่องกง และสิงคโปร์

ปี 1960 แอร์อินเดียอินเตอร์แนชันแนลได้เข้าสู่ยุคไอพ่นเมื่อได้รับมอบโบอิง 707-420 และเปิดเส้นทางการบินสู่เมืองนิวยอร์กผ่านเมืองลอนดอน และเปลี่ยนชื่อเป็นแอร์อินเดียดังเช่นปัจจุบัน ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1962 และในวันที่ 11 มิถุนายน ปีเดียวกัน แอร์อินเดียเป็นสายการบินแรกในโลกที่ให้บริการโดยเครื่องบินไอพ่นทั้งหมด

จุดหมายปลายทาง แก้

 
  จุดหมายปลายทางปัจจุบัน
  จุดหมายปลายทางในอดีต
  อินเดีย

พันธมิตรทางการบิน แก้

แอร์อินเดียเป็นสมาชิกของพันธมิตรทางการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ลำดับที่ 27 ในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2011[3][4]

ข้อตกลงการบินร่วม แก้

ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 แอร์อินเดียมีข้อตกลงการทำการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[5]

ข้อตกลงระหว่างสายการบิน แก้

ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 แอร์อินเดียมีข้อตกลงระหว่างสายการบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบิน แก้

ฝูงบินปัจจุบัน แก้

ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2023 แอร์อินเดียมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[9]

เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
F C W Y รวม อ้างอิง
แอร์บัส เอ319-100 10 8 114 122 [10]
144 144 [11]
แอร์บัส เอ320-200 4 12 138 150 [12]
5 168 168
แอร์บัส เอ320นีโอ 27 70 12 150 162 หนึ่งลำอยู่ในลวดลายสตาร์อัลไลแอนซ์
15 186 186
แอร์บัส เอ321-200 13 12 170 182 [13]
แอร์บัส เอ321นีโอ 2 140 12 180 192 [14]
2 232 232
แอร์บัส เอ350-900 2 18 28 24 264 316 เริ่มส่งมอบปลายปี 2023[15]
แอร์บัส เอ350-1000 20 รอประกาศ สั่งซื้อพร้อม 10 ตัวเลือก[16]
โบอิง 777-200แอลอาร์ 3 8 35 195 238 [17] จะถูกปลดประจำการภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024[18]
5 28 48 212 288 เช่าพร้อมกับที่นั่งเดลตาวันและคอมฟอร์ต+[19]
โบอิง 777-300อีอาร์ 13 4 35 303 342 [20] จะได้รับการปรับปรุงห้องโดยสารใหม่ตั้งแต่กลางปี 2024[21][22]

หนึ่งลำอยู่ในลวดลายสตาร์อัลไลแอนซ์ หนึ่งลำอยู่ในลวดลายเฉลิมฉลองอินเดีย

6 8 40 280 328 ทั้งหมดเคยประจำการกับสายการบินเอทิฮัด[23][24]
โบอิง 777-9 10 รอประกาศ [25]
โบอิง 787-8 27 18 238 256 [26] จะได้รับการปรับปรุงห้องโดยสารใหม่ตั้งแต่กลางปี 2024[22]

หนึ่งลำอยู่ในลวดลายสตาร์อัลไลแอนซ์

โบอิง 787-9 20 รอประกาศ สั่งซื้อพร้อม 20 ตัวเลือก[25]
รวม 134 278

แอร์อินเดียมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.4 ปี

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Address & Contact Numbers within India เก็บถาวร 2010-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Indian Airlines. สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553.
  2. "Tata Airlines to Air India: Is the Maharajah set for a home flight?". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2017-06-22.
  3. "Air India to join Star Alliance July 11 | Aviation Week Network". aviationweek.com.
  4. "STAR ALLIANCE AND AIR INDIA RECOMMENCE INTEGRATION PROCESS - Star Alliance". web.archive.org. 2013-12-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-16. สืบค้นเมื่อ 2023-08-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "Codeshare partner agreements | Air India". www.airindia.com.
  6. "AIR INDIA ADDS AIX CONNECT CODESHARE FROM AUGUST 2023". Aeroroutes. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
  7. "Air India enters into interline partnership with Alaska Airlines for 32 destinations in US, Mexico, Canada". Business Today. 4 November 2023. สืบค้นเมื่อ 4 November 2023.
  8. "Air India enters into interline partnership with Bangkok Airways". The Times of India. 7 September 2023. สืบค้นเมื่อ 7 September 2023.
  9. "Air India Fleet Details and History". www.planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 2023-04-16.
  10. "Airbus 319 (Mixed Configuration)". Air India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-30.
  11. "Airbus 319 (Single Configuration)". Air India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-04.
  12. "A320-214 CEO (Mixed configuration)". Air India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-04.
  13. "Air India Airbus A321". Air India. 2019-08-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-04.
  14. "Air India Begins A321neo Scheduled Service From June 2023". AeroRoutes. 12 June 2023.
  15. "Tata-Owned Air India To Induct 30 Planes Over Next 15 Months". NDTV. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022.
  16. "Rolls-Royce announces biggest ever order of Trent XWB-97 engines as Air India signs MOU for 68 (plus 20 options) and 12 Trent XWB-84 engines". Rolls Royce (Press release). 2023-02-14.
  17. "Air India Boeing 777-200LR". Air India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-04.
  18. "Air India to lease three 777-300 ER from Singapore Airlines". The Economic Times. 2023-07-22. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  19. "Tata-Owned Air India To Induct 30 Planes Over Next 15 Months". NDTV. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022.
  20. "Air India Boeing 777-300ER (77W)". Air India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-04.
  21. "Air India plans to refurbish legacy wide-body fleet". 8 December 2022.
  22. 22.0 22.1 "Onboard WiFi & brand new interiors on Air India planes soon". The Times of India. 2023-05-29. สืบค้นเมื่อ 2023-05-30.
  23. "Air India leases 6 more aircraft to enhance operations: Induction of aircraft in the first half of 2023, 36 aircraft leased so far to boost connectivity on domestic, international routes" (PDF). Air India. 7 December 2022. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  24. "OE-IUG ALTAVAIR AIRFINANCE BOEING 777-300ER". planespotters.net.
  25. 25.0 25.1 "Air India Selects Up to 290 Boeing Jets to Serve Its Strategy for Sustainable Growth". Boeing (Press release). 2023-02-14.
  26. "Air India B787-8 Configuration" (PDF).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้