แอร์บัส เอ321นีโอ
แอร์บัส เอ321นีโอ (อังกฤษ: Airbus A321neo) เป็นรุ่นของอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของแอร์บัส เอ321 และ เอ320นีโอ โดยคำว่า "นีโอ (Neo)" เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า "ตัวเลือกเครื่องยนต์แบบใหม่ (New Engine Option)" เอ321นีโอเป็นเครื่องบินที่มีลำตัวยาวที่สุดในตระกูลเอ320นีโอ และเป็นรุ่นที่ใหม่ที่สุดของเอ321 โดยเอ321ซีอีโอเดิมเข้าประจำการ กับลุฟท์ฮันซ่าในปี 1994[2] โดยทั่วไปจะมีความจุผู้โดยสาร 180 ถึง 220 ที่นั่งในการจัดเรียงแบบ 2 ชั้น โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 244 ที่นั่งในการจัดเรียงแบบความหนาแน่นสูง[3]
แอร์บัส เอ321นีโอ | |
---|---|
แอร์บัส เอ321นีโอ ของวิซซ์แอร์ ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ |
บริษัทผู้ผลิต | แอร์บัส |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | วิซซ์แอร์ อินดิโก อเมริกันแอร์ไลน์ ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ |
จำนวนที่ผลิต | 1,339 ลำ (เมษายน ค.ศ. 2024)[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 2016-ปัจจุบัน |
เริ่มใช้งาน | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 โดยเวอร์จินอเมริกา |
เที่ยวบินแรก | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 |
พัฒนาจาก | แอร์บัส เอ321 แอร์บัส เอ320นีโอ |
แอร์บัสได้ประกาศโครงการพัฒนาแอร์บัส เอ321นีโอในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 เพื่อทดแทนแอร์บัส เอ321ซีอีโอ[4] โดยจะมีตัวเลือกเครื่องยนต์รุ่นใหม่และมีการติดตั้งปลายปีกแบบชาร์กเล็ตเป็นมาตรฐาน เครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม ลีป-1เอ หรือ แพรตแอนด์วิทนีย์ พีดับเบิลยู1000จี ที่ติดตั้งบนเอ321นีโอจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดเชื้อเพลิงไป 20% ต่อผู้โดยสารหนึ่งคน นอกจากนี้แล้วยังมีพิสัยการบินที่มากขึ้น 500 ไมล์ทะเล (930 กม.; 580 ไมล์) หรือน้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้น 2 ตัน (4,400 ปอนด์) เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้า ในภายหลังโบอิงเปิดตัวเครื่องบินลำตัวแคบรุ่นใหม่อย่างโบอิง 737 แมกซ์ เพื่อแข่งขันกับเอ321นีโอ[5]
แอร์บัสเริ่มผลิตเอ321นีโอในปี 2016 โดยมีฐานการผลิตหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานฟิงเกนแวร์เดอร์ในฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี เวอร์จินอเมริกาเริ่มให้บริการเอ321นีโอเที่ยวบินแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 มีคำสั่งซื้อสำหรับเอ321นีโอทั้งหมด 6,257 ลำกับ 85 สายการบิน โดยส่งมอบไปแล้ว 1,310 ลำ[1]
การพัฒนา
แก้แอร์บัสได้ประกาศโครงการพัฒนาแอร์บัส เอ321นีโอในเดือนธันาวคม ค.ศ. 2010 เป็นเวลา 16 ปีหลังการเริ่มใช้เอ321ซีอีโอ เอ321นีโอเป็นรุ่นที่สองของเครื่องบินตระกูล เอ321 แอร์บัสใช้เวลาในการพัฒนาจนถึงเที่ยวบินแรกเพียง 6 ปีเท่านั้น เนื่องจากโครงการนี้เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพเท่านั้น ไม่ใช่การออกแบบเครื่องบินใหม่ทั้งหมดที่จะใช้เวลามากกว่า
เที่ยวบินแรกของแอร์บัส เอ321นีโอเกิดขึ้นที่ฮัมบวร์ค ด้วยเครื่องบินต้นแบบที่จดทะเบียนในเยอรมนี เครื่องบินต้นแบบนี้ใช้เครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม ลีป-1เอ เที่ยวบินแรกใช้เวลา 29 นาทีในการทดสอบต่างๆ แอร์แคปเป็นลูกค้ารายแรกของรุ่นในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2011 โดยอินดิโกเป็นสายการบินแรกที่สั่งซื้อ โดยสั่งซื้อ 304 ลำในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2011 เอ321ลำแรกเข้าประจำการกับเวอร์จินอเมริกาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 ซึ่งผนวกกิจการกับอะแลสกาแอร์ไลน์ในปี 2018 และนำเครื่องบินของเวอร์จินอเมริกามาระจำการ
แอร์บัส เอ321นีโอมีฐานการผลิตขั้นสุดท้ายอยู่ที่ฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนีเหมือนกับเอ321ซีอีโอ ชิ้นส่วนของเครื่องบินถูกผผลิตในหลายๆ ประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ หนึ่งในชิ้นส่วนสำคัญคือเครื่องยนต์ โดยเอ321นีโอจะมีตัวเลือกเครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม ลีป-1เอที่เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างจีอีแอโรสเปซสัญชาติอเมริกันและซาฟรานแอร์คราฟท์เอ็นจินสัญชาติฝรั่งเศส หรือ แพรตแอนด์วิทนีย์ พีดับเบิลยู1000จี เอ321นีโอมีความยาวของลำัวเครื่องบินเท่ากับเอ321ซีอีโอแต่มีประสิทธิภาพและการประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น เอ321นีโอมีพืสัยการบิน 3,995 ไมล์ทะเล (7,399 กิโลเมตร) และมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 97 ตัน (97 000 กก./213 848 ปอนด์) และมีแรงขับเคลื่อน 24,500–35,000ปอนด์ฟอร์ซ (109–156 kN)
เอ321นีโอได้รับการรับรองกับเครื่องยนต์เพรตแอนด์วิทนีย์ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2016 และได้รับการรับรองจาก EASA และเอฟเอเอสำหรับเครื่องยนต์ลีป ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2017 เวอร์จินอเมริการับมอบแอร์บัส เอ321นีโอลำแรกจากรับมอบจากฮัมบวร์ค โดยมีความจุผู้โดยสาร 184 ที่นั่งและใช้เครื่องยนต์ลีป และเข้าประจำการในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2017
ลักษณะ
แก้อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้างที่มีการจัดเรียงล้อลงจอดแบบรถสามล้อที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สองเครื่อง มีระบบครีบและหางเสือเดียว เอ321นีโอมีการปรับปรุงเครื่องยนต์และถังเชื้อเพลิงที่ใหญ่ขึ้นกว่าเอ321ซีอีโอรุ่นก่อนหน้า และมีการปรับปรุงโครงสร้างของเครื่องบินและลำตัวเครื่องบินที่ถูกขยายออกไป
เคบินเฟลกซ์
แก้แอร์บัสเคบินเฟลกซ์ (อังกฤษ: Airbus Cabin-Flex : ACF) คือรูปแบบการจัดเรียงห้องโดยสารใหม่บนแอร์บัส เอ321นีโอ ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนที่นั่งจาก 220 ที่นั่งเป็น 240 ที่นั่ง[6] ห้องโดยสารรูปแบบใหม่นี้จะไม่มีการติดตั้งประตูทางออกคู่หน้าปีก (R2/L2) และจะทดแทนด้วยทางออกฉุกเฉินบริเวณปีกอีกหนึ่งคู่ จากการออกแบบห้องโดยสารใหม่นี้ ประสิทธิภาพการเผาผลาญเชื้อเพลิงต่อที่นั่งจะเพิ่มขึ้น 6% และจะเพิ่มอีกมากกว่า 20% พร้อมกับเครื่องยนต์ใหม่และชาร์กเล็ต[7] การดัดแปลงเคบินเฟลกซ์จะส่งผลให้น้ำหนักโดยรวมเพิ่มขึ้น 100 กก.[8] โดยเริ่มแรกลำตัวเครื่องจะถูกสร้างออกมาในรูปแบบห้องโดยสารดั้งเดิมเหมือนกับเอ321 ซีอีโอ คือ มีการติดตั้งประตูทางออก 4 คู่ จนกว่าจะสามารถเลือกรูปแบบของแอร์บัสเคบินเฟลกซ์ได้[9]
-
เอ321นีโอ ของลากงปาญญีลำนี้ ไม่มีการติดตั้งทางออกฉุกเฉิน 2 ใน 4 และประตู R3/L3 (ที่นั่ง: 76, สูงสุด: 165)
-
เอ321นีโอ ของสตาร์ลักซ์แอร์ไลน์ลำนี้ มีการติดตั้งทางออกฉุกเฉินทั้ง 4 ประตู แต่ไม่มีการติดประตู R3/L3 (ที่นั่ง:188, สูงสุด: 195)[10]
-
เอ321นีโอ ของบริติชแอร์เวย์ลำนี้ มีการติดตั้งประตู R3/L3 แต่ไม่มีการติดตั้งทางออกฉุกเฉิน 2 ใน 4 (ที่นั่ง/สูงสุด: 220)
-
เอ321นีโอ ของเจ็ตบลูแอร์เวย์ลำนี้ มีการติดตั้งทางออกทั้ง 10 ประตูของเคบินเฟลกซ์ (ที่นั่ง: 200, สูงสุด: 244)[11]
รุ่น
แก้เอ321นีโอ
แก้เอ321นีโอเป็นรุ่นที่ลำตัวยาว โดยมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากรุ่นเอ321ซีอีโอ คือ เพิ่มความแข็งแรงบริเวณฐานล้อ และพื้นที่ปีก และการปรับปรุงเล็กน้อยอื่นๆ อันเนื่องมาจากน้ำหนักบรรทุกที่สูงขึ้น ILFC (International Lease Finance Corporation) เป็นลูกค้าที่เปิดตัวรายแรกของรุ่น โดยมีคู่แข่งสำคัญ คือ โบอิง 737 แมกซ์ 9 และ 737 แมกซ์ 10 สำหรับสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว เอ 321นีโอ ได้รับคำสั่งซื้อมากกว่า[12][13]
เอ321นีโอได้รับการรับรองกับเครื่องยนต์เพรตแอนด์วิทนีย์ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2016 และได้รับการรับรองจาก EASA และเอฟเอเอสำหรับเครื่องยนต์ลีป ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2017 เวอร์จินอเมริการับมอบแอร์บัส เอ321นีโอลำแรกจากรับมอบจากฮัมบวร์ค โดยมีความจุผู้โดยสาร 184 ที่นั่งและใช้เครื่องยนต์ลีป และเข้าประจำการในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2017
เฉพาะในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 แอร์บัส เอ321นีโอ ได้รับคำสั่งซื้อ 1,920 ลำ ซึ่งมากกว่าคำสั่งซื้อสำหรับเอ32ซีอีโอรุ่นก่อนหน้า โดยเอ321นีโอมีคำสั่งซื้อคิดเป็น 32% ของคำสั่งซื้อตระกูลเอ320นีโอทั้งหมด ในขณะที่เอ321 ดั้งเดิมคิดเป็น 22% ของคำสั่งซื้อตระกูลเอ320ซีอีโอ ภายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2022 เอ321นีโอมีคำสั่งซื้อคิดเป็นกว่า 53% ของคำสั่งซื้อในตระกูลเอ320นีโอทั้งหมด
เอ321 แอลอาร์
แก้ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2014 แอร์บัสเริ่มพัฒนารุ่นย่อยของแอร์บัส เอ321นีโอ ซึ่งจะมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 97 ตัน (214,000 ปอนด์) ด้วยที่นั่งสูงสุด 164 ที่นั่ง พร้อมถังเชื้อเพลิงเสริมสามถัง โดยมีชื่อว่าแอร์บัส เอ321 แอลอาร์ (LR : Long Range) เอ321 แอลอาร์นี้มีพิสัยการบินมากกว่า 100 ไมล์ทะเล (190 กม.; 120 ไมล์) ซึ่งมากกว่าโบอิง 757- 200 และยังมีต้นทุนการเดินทางและต้นทุนต่อที่นั่งต่ำกว่าโบอิง 757-200 ถึง 27% และ 24% ตามลำดับ โดยมีกำหนดเปิดตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ค.ศ. 2018 สองปีหลังจาก เอ321 นีโอ[14]
อาร์เคียได้รับแอร์บัส เอ321 แอลอาร์ลำแรกในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 ซึ่งบรรจุที่นั่ง 220 ที่นั่ง โดยสายการบินได้นำเครื่องบินนี้ไปให้บริการเที่ยวบินจากเทลอาวีฟไปลอนดอน นอกจากนี้แล้ว ยังมีสายการบินอื่นๆได้นำเอ 321 แอลอาร์ไปให้บริการบนเที่ยวบินระยะไกล เช่น เจ็ตบลูแอร์เวย์ใช้เอ321 แอลอาร์ในการบินเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังดับลิน ประเทศไอร์แลนด์[15] หรือแอร์อัสตานาได้นำเครื่องบินรุ่นนี้มาให้บริการเที่ยวบินจากอัสตานามายังกรุงเทพมหานคร[16]
เอ321 เอ็กซ์แอลอาร์
แก้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 แอร์บัสระบุว่ากำลังศึกษารุ่นเอ321 แอลอาร์ที่มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต้องการล้อลงจอดที่แข็งแรงขึ้น ด้วยห้องโดยสารที่มีความหนาแน่นผู้โดยสารต่ำ คาดว่าจะมีพิสัยการบินประมาณ 5,000 ไมล์ทะเล (9,300 กม.)[17] โดยได้มีแผนที่จะเริ่มพัฒนาโครงการในปี ค.ศ. 2019 และจะเริ่มให้บริการในปี ค.ศ. 2021 - 2022 ถังเชื้อเพลิงกลางจะถูกขยายให้ใหญ่ขึ้น โดยจะติดตั้งรวมกับลำตัวเครื่องบิน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 ได้มีการขยายพิสัยการบินเพิ่มเติมประมาณ 200 - 300 ไมล์ทะเล[18]
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 เอ321 เอ็กซ์แอลอาร์ได้รับการเสนอไปยังแอร์ทรานแซทและแอร์แคป โดยแอร์ทรานแซทสามารถเข้าถึงจุดหมายปลายทางของยุโรปใต้ เช่น สปลิตในประเทศโครเอเชียจากมอนทรีออลและโทรอนโตโดยใช้เอ 321 เอ็กซ์แอลอาร์ได้[19] ในเดือนพฤศจิกายน แอร์บัสระบุว่าเอ321 เอ็กซ์แอลอาร์ จะมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดมากกว่า 100 ตัน (220,000 ปอนด์) และมีพิสัยการบิน 700 ไมล์ทะเล (1,300 กม.) โดยพิสัยมากกว่าเอ321 แอลอาร์ที่มีปีกและเครื่องยนต์เดียวกัน[20] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 แอร์แคนาดาแสดงความสนใจที่จะใช้เครื่องบินลำตัวแคบสำหรับเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และกำลังพิจารณาหาตัวเลือกต่างๆ รวมถึงแอร์บัส เอ321 เอ็กซ์แอลอาร์ และโบอิง 737 แมกซ์[21]
ผู้ให้บริการ
แก้ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 มีแอร์บัส เอ321นีโอจำนวน 1,310 ลำให้บริการกับ 88 สายการบิน ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดห้าอันดับแรกคือ วิซซ์แอร์ (102), อินดิโก (94), อเมริกันแอร์ไลน์ (80), ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (56), และเตอร์กิชแอร์ไลน์ (54).[1]
คำสั่งซื้อและการส่งมอบ
แก้2011 | 2012 | 2013 | 2014 | 2015 | 2016 | 2017 | 2018 | 2019 | 2020 | 2021 | 2022 | 2023 | 2024 | เอ321นีโอ | |
คำสั่งซื้อ | 119 | 81 | 341 | 183 | 346 | 287 | 532 | 360 | 965 | 208 | 616 | 530 | 1562 | 86 | 6,257 |
การส่งมอบ | – | – | – | – | – | – | 20 | 102 | 168 | 178 | 199 | 264 | 317 | 62 | 1,310 |
ข้อมูลจำเพาะ
แก้รุ่น | เอ321นีโอ[22] | เอ321 แอลอาร์ | เอ321 เอกซ์แอลอาร์ |
---|---|---|---|
นักบิน | สอง | ||
ที่นั่ง (การจัดเรียงสองชั้น) | 206 (16J @ 36 in + 190Y @ 30 in)[23] | ||
การจัดเรียงที่นั่งสูงสุด | 244 @ 28 in[24][25] | ||
ความจุสินค้า | 51.70 m3 (1,826 cu ft) / 10×LD3-45s[a] | ||
ความยาว | 44.51 m (146 ft) | ||
ความยาวปีก | 35.80 m (117 ft 5 in) [b] | ||
ปีก | พื้นที่: 122.4 m2 (1,318 sq ft), ปีกทำมุม 25° กับลำตัวเครื่อง[26] | ||
ความสูง | 11.76 m (38.6 ft) | ||
ลำตัวเครื่อง | 3.95 โดย 4.14 m (13.0 โดย 13.6 ft) width × height, 3.70 m (12.1 ft) wide cabin | ||
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด | 93.5 t (206,100 lb) | 97 t (213,800 lb) | 101 t (222,700 lb) |
น้ำหนักบรรทุกขึ้นบินสูงสุด | 25.5 t (56,200 lb): 3-2-1 | ||
ความจุเชื้อเพลิง | 23,490 L (6,205 US gal)[c][27] | 32,853 L (8,679 US gal)[d] | 45,753–48,874 L (12,087–12,911 US gal)[e] |
เครื่องยนต์ (×2) | ซีเอฟเอ็ม ลีป-1A, 78 in (2.0 m) fan แพรตแอนด์วิทนีย์ พีดับเบิลยู1000จี-JM, 81 in (2.1 m) fan | ||
แรงผลักดัน (×2)[28] | 143.05–147.28 kN (32,160–33,110 lbf) | ||
ความเร็ว | ขณะบิน: มัค 0.78 (516kn; 956 กม./ชม.; 594 ไมล์/ชม.)[29] สูงสุด: มัค 0.82 (542kn; 1,005 กม./ชม.; 624 ไมล์/ชม.) [28] | ||
เพดานบิน | 39,100–39,800 ft (11,900–12,100 m)[28] | ||
พิสัยการบิน | 3,500 nmi (6,480 km; 4,030 mi)[30] | 4,000 nmi (7,410 km; 4,600 mi)[f] | 4,700 nmi (8,700 km; 5,410 mi) |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
แก้รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
แก้เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
แก้อ้างอิง
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ไม่มีถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติม
- ↑ รวมปลายปีกแบบชาร์กเลต
- ↑ ไม่มีถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติม
- ↑ เอ321 แอลอาร์พร้อมถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติมสามถัง
- ↑ พร้อมถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติม
- ↑ ความจุผู้โดยสาร 206 ที่นั่ง
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Airbus O&D". Airbus S.A.S. 31 March 2024. สืบค้นเมื่อ 9 April 2024.
- ↑ "So wurde Norddeutschland mit dem Airbus A321 zur Boomregion des Flugzeugbaus". stern.de (ภาษาเยอรมัน). 2023-09-21. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
- ↑ "A321neo | A320 | Aircraft | Airbus Aircraft". aircraft.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
- ↑ "A321 The New Long Ranger". www.key.aero (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-19. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
- ↑ "Boeing Introduces 737 MAX With Launch of New Aircraft Family". MediaRoom. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
- ↑ Curran, Andrew (2022-01-31). "What Is The Airbus A321neo's 'Cabin Flex' Configuration?". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Airbus Sees A321neo Exceeding 20% Fuel Burn Improvement". AviationWeek. 12 June 2014. Archived from the original on 14 July 2014. Retrieved 13 July 2014.
- ↑ "Airbus Launches Long-Range A321neo Version | Aviation Week Network". web.archive.org. 2020-07-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ 2022-11-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Fehrm, Bjorn (2015-01-19). "A321neo configurations and A320 production". Leeham News and Analysis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Kirby, Mary (2016-08-18). "Airbus explains how Cabin-Flex enables dense A321neo layouts". Runway Girl (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Kirby, Mary (2016-08-18). "Airbus explains how Cabin-Flex enables dense A321neo layouts". Runway Girl (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Airbus wins hot Wizz competition: 110 A321neos and with it the Paris Air Show Leeham
- ↑ Airbus switches underline trend to A321neo Flightglobal
- ↑ Hamilton, Scott (2014-10-21). "Exclusive: Airbus launches "A321neoLR" long range to replace 757-200W". Leeham News and Analysis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Pickett, Riley (2022-08-24). "Why JetBlue Could Be Eyeing Non-Stop Flights To Dublin". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Pickett, Riley (2022-08-24). "Why JetBlue Could Be Eyeing Non-Stop Flights To Dublin". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Airbus Studying Higher-Capacity A321neo | Aviation Week Network". aviationweek.com.
- ↑ "Business Aviation 2000-03-20 | Aviation Week Network". aviationweek.com.
- ↑ "Air Transat considers Airbus A321XLR for longer routes". Airlinerwatch. 12 October 2018. Archived from the original on 6 March 2020.
- ↑ Kaminski-Morrow2018-11-13T13:01:53+00:00, David. "Airbus indicates A321XLR would have over 100t MTOW". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Air Canada would study Airbus, Boeing for transatlantic narrowbody needs". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-01-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-18.
- ↑ "Airbus Family figures" (PDF). Airbus. July 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ "Airbus Launches Long-Range A321neo Version". Aviation Week. 13 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ "A321neo | A320 | Aircraft | Airbus Aircraft". aircraft.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2023-09-14.
- ↑ Machado, João (2022-05-09). "Opinion: 244 seats in an A321 is a good thing, actually". Aviacionline.com. สืบค้นเมื่อ 2023-09-14.
- ↑ "Airbus Aircraft Data File". Civil Jet Aircraft Design. Elsevier. July 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ "A321 aircraft characteristics – airport and maintenance planning" (PDF). Airbus. ธันวาคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 ธันวาคม 2021.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 "Type Certificate Data Sheet" (PDF). EASA. 22 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 March 2019. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
- ↑ "Airbus A320neo Technology". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2016.
- ↑ "Airbus A321XLR". Airbus. 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 July 2023.