ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี

ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี (IATA: DELICAO: VIDP) เป็นสนามบินหลักของเขตเมืองหลวงของเดลี ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ที่ปาลาม ห่างจากตัวเมืองนิวเดลีทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 16 กิโลเมตร (9.9 ไมล์) ตั้งชื่อตามนางอินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีของอินเดีย ในปัจจุบันเป็นสนามบินหลัก และมีผู้โดยสารมากที่สุดของอินเดีย[2]

ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี
ประติมากรรมภายในอาคารผู้โดยสารแสดงมุทราต่าง ๆ
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานDelhi International Airport Private Limited (DIAL)
พื้นที่บริการเดลี และปริมณฑล
ที่ตั้งอำเภอเดลีตะวันตกเฉียงใต้ เดลี อินเดีย
ฐานการบินแอร์อินเดีย
โกแอร์
อินดิโก
เจทแอร์เวย์
สไปซ์เจ็ท
เหนือระดับน้ำทะเล777 ฟุต / 237 เมตร
เว็บไซต์www.newdelhiairport.in
แผนที่
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Location_map บรรทัดที่ 522: Unable to find the specified location map definition: "Module:Location map/data/India airport" does not exist
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
10/28 12,500 3,810 ยางมะตอย
09/27 9,229 2,813 ยางมะตอย
11/29 14,534 4,430 ยางมะตอย
สถิติ (เม.ย. 2011 - มี.ค. 2012)
จำนวนผู้โดยสาร35,881,965
จำนวนเครื่องบิน345,143
จำนวนสินค้า600,045
แหล่งข้อมูล: Airport Authority of India[1][1][1]

หลังจากการเปิดใช้อาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ หรือ อาคาร 3 ท่าอากาศยานแห่งนี้จึงได้กลายเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้ และเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค พร้อมศักยภาพในการขนส่งผู้โดยสารกว่า 46 ล้านคนต่อปี และมีเป้าหมายที่ 100 ล้านคนต่อปีภายในปีค.ศ. 2030 โดยเมื่อรวมกับท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปติ ศิวาชีที่มุมไบ จะสามารถขนส่งผู้โดยสารมากกว่าครึ่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ [3][4][5] โดยมีบริษัท เดลี อินเตอร์แนชันนัล แอร์พอร์ต ไพรเวท จำกัด (Delhi International Airport Private Limited (DIAL)) เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นที่จะทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นฐานการบินนานาชาติ [6]

ในปีค.ศ. 2011 - ค.ศ. 2012 ท่าอากาศยานอินทิรา คานธี ได้รองรับผู้โดยสารเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 35.88 ล้านคน[7] และโครงการต่อเติมในอนาคตจะเพิ่มขีดศักยภาพให้สามารถรับได้ถึง 100 ล้านคนต่อปีในปีค.ศ. 2030[8] โดยมีอาคารผู้โดยสาร 3 ที่สามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นถึง 34 ล้านคนต่อปีตั้งแต่การเปิดกีฬาคอมมอนเวลท์ (Commonwealth Game) ในปีค.ศ. 2010 ซึ่งอาคารผู้โดยสาร 3 นี้เคยได้ถูกบันทึกเป็นอาคารผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลก[9] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 ได้มีการเฉลิมฉลองการเปิดทางขึ้นลงของเครื่องบินที่มีความยาวถึง 4.43 กิโลเมตร ต่อมาในปีค.ศ. 2010 ได้รับรางวัลท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกอันดับที่ 4 ประเภทผู้โดยสาร 15-25 ล้านคน และรางวัล Best Improved Airport ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดย Airport Council International[10] และในปีค.ศ. 2011 ได้รับรางวัลท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกอันดับที่ 2 ประเภทผู้โดยสาร 25-40 ล้านคน[11] และในปีค.ศ. 2011 ได้รับการบันทึกเป็นอันดับที่ 27 ของท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสาร ด้วยจำนวนผู้โดยสารทั้งสิ้น 34,729,467 คน โดยถือว่าเป็นการเติบโตถึงร้อยละ 17.8 จากปีที่ผ่านมา[12]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Traffic stats for 2011
  2. Delhi Airport busier than Mumbai by 40 flights a day
  3. Saurabh Sinha, TNN, 10 July 2008, 03.54am IST (2008-07-10). "Delhi beats Mumbai to become busiest airport". Timesofindia.indiatimes.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. "Delhi's IGIA edges ahead of Mumbai's CSIA as country's busiest airport". Domain-b.com. 2008-09-01. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
  5. "Travel Biz Monitor: Mumbai airport gets ready for new innings". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-18. สืบค้นเมื่อ 2013-06-06.
  6. Business Standard (2011-11-07). "Not a stopover to snub, Delhi now wants to be a transit hub". Business-standard.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24.
  7. "Airports Authority Of India" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2012-05-30.
  8. Sky's the limit for India flight boom
  9. [1]
  10. [2] เก็บถาวร 2012-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "Crowning glory: IGI second best in world". The Times of India. February 15, 2012. สืบค้นเมื่อ February 15, 2012.
  12. Simon Rogers (2012-05-04). "The world's top 100 airports: listed, ranked and mapped | News | guardian.co.uk". Guardian. สืบค้นเมื่อ 2012-10-29.