ฮ่องกงแอร์ไลน์
ฮ่องกงแอร์ไลน์ (อังกฤษ: Hong Kong Airlines, จีน: 香港航空公司) เป็นสายการบินซึ่งมีฐานอยู่ที่ฮ่องกง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เขตตุงชุง (Tung Chung) และมีฐานการปฏิบัติการอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ก่อตั้งในปีค.ศ. 2006 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท HNA Group
| |||||||
ก่อตั้ง | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง | ||||||
สะสมไมล์ | Fortune Wings Club | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 36[1] | ||||||
จุดหมาย | 36 | ||||||
บริษัทแม่ | HNA Group | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ![]() | ||||||
บุคลากรหลัก | Liya Wang (ประธาน) Wan Ning, Zhong Guosong (EVP) Ben Ching Ho Wong (COO) Can Zhang (CFO) | ||||||
เว็บไซต์ | www.hongkongairlines.com |
ฮ่องกงแอร์ไลน์ในปัจจุบันมีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 30 เมือง รวมถึง โกลด์ โคสต์ ออคแลนด์ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพ บาหลี ไทเป โซล โตเกียว ซัปโปะโระ โอกินาวา และรวมถึงเส้นทางบินใหม่ที่เพิ่งเริ่มในปีค.ศ. 2017 ไปยังแวนคูเวอร์ และลอส แอนเจลลิส โดยมีฝูงบินประจำการถึง 35 ลำ ซึ่งรวมถึง แอร์บัส เอ350-900 แอร์บัส เอ330-300s แอร์บัส เอ330-200s และ แอร์บัส เอ320 โดยมีอายุเฉลี่ยของอากาศยานประมาณ 5 ปี (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2017) มีเครื่องบินขนส่งสินค้าจำนวน 4 ลำ โดยใช้อากาศยานรุ่น แอร์บัส เอ330-200F[2]
จุดหมายปลายทาง
แก้ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน
แก้ฮ่องกงแอร์ไลน์มีข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน (Codeshare) กับสายการบินต่างๆ ดังนี้[3]
ฝูงบิน
แก้
ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ฮ่องกงแอร์ไลน์ มีเครื่องบินรุ่นต่างๆ ประจำการดังนี้[7][8]
อากาศยาน | จำนวนในประจำการ | อยู่ในระหว่างสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
J | Y | รวมทั้งสิ้น | |||||
แอร์บัส เอ 320-200 | 3 | — | 8 | 144 | 152 | ||
8 | — | 174 | 174 | ||||
แอร์บัส เอ330-200 | 6 | 2 | 24 | 259 | 283 | ||
3 | 18 | 246 | 264 | ||||
แอร์บัส เอ330-300 | 5 | 9 | 32 | 260 | 292 | ||
5 | 30 | 255 | 285 | ||||
แอร์บัส เอ350-900 | 3 | 18 | 33 | 301 | 334 | เข้าประจำการตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายน ค.ศ. 2017[9] | |
ฝูงบินขนส่งสินค้า | |||||||
แอร์บัส เอ330-200F | 3 | — | [10] | ||||
รวม | 36 | 29 |
บริการต่างๆ
แก้บริการในท่าอากาศยาน
แก้ห้องรับรองพิเศษ
แก้สายการบินฮ่องกงแอร์ไลน์มีห้องรับรองพิเศษจำนวนสองแห่ง คือ Club Autus และ Club Bauhinia ซึ่งทั้งสองตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
Club Autus เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2017 โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 7 ของอาคาร MFC ซึ่งเป็นอาคารหลักสำหรับสายการบินฮ่องกงแอร์ไลน์ โดยมีความกว้างถึง 1400 ตารางเมตร และมีส่วนบริการอาหารและเครื่องดื่มที่ยาวที่สุดถึง 20 เมตร เมื่อเทียบกับห้องรับรองพิเศษของสายการบินอื่นๆ ภายในท่าอากาศยาน โดยแบ่งเป็นส่วน Premier Zone สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง และ Business Zone สำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจ โดยแบ่งเป็นสัดส่วนตามลักษณะการใช้งาน รวมถึงบริเวณพักผ่อนหย่อนใจ บริเวณสำหรับครอบครัว บริเวณจุดชมวิวทิวทัศน์ ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของท่าอากาศยานยามพระอาทิตย์ตกดินแบบพาโนรามา
Club Bauhinia เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ตั้งอยู่ใกล้กับทางออกที่ 23 อาคาร 1 มีพื้นที่กว่า 506 ตารางเมตร และสามารถจุผู้โดยสารกว่า 120 คน ห้องรับรองพิเศษแห่งนี้ให้บริการเฉพาะผู้โดยสารชั้นธุรกิจ สมาชิกระดับสูง (Elite) ของ Fortune Wings Club และผู้โดยสารที่มีสิทธิใช้บริการของสายการบินพันธมิตร
บริการในห้องโดยสาร
แก้อากาศยานเกือบทั้งหมดของสายการบินมีการติดตั้งระบบเอนเตอร์เทนเมนต์ในห้องโดยสารรุ่น AVOD และมีนิตยสารท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ชื่อ "Aspire" ไว้สำหรับให้บริการผู้โดยสารในทุกที่นั่ง
บริการในอากาศยาน
แก้ฮ่องกงแอร์ไลน์ เปิดตัว บริษัท ลูก ฮ่องกง แอร์คาร์โก แคริเออร์ ใน ปี 2017 ใช้รหัว IATA เป็น RH
อ้างอิง
แก้- ↑ Hong Kong Airlines – Hong Kong to Worldwide Air tickets, Online Special Air fares and Airline Reservation. "Hong Kong Airlines - About Us & Overview - The Company Profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-31. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
- ↑ Hong Kong Airlines – Hong Kong to Worldwide Air tickets, Online Special Air fares and Airline Reservation. "Hong Kong Airlines - About Us & Overview - The Company Profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-31. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
- ↑ "Profile on Hong Kong Airlines". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-10-29.
- ↑ Van Den Driessche, Maarten (August 3, 2017). "Hong Kong Airlines signs codeshare agreement with Fiji Airways".
- ↑ http://www.livemint.com/Companies/wKGH0ojG7lX5k3SkqXBhZN/Jet-Airways-signs-code-sharing-agreement-with-Hong-Kong-Airl.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 2017-12-15.
- ↑ "Our Fleets". Hong Kong Airlines. 30 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-15.
- ↑ "Hong Kong Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net. 30 August 2017. สืบค้นเมื่อ 5 September 2017.
- ↑ 2017, UBM (UK) Ltd. "Hong Kong Airlines proposes A350 Los Angeles launch in Dec 2017". Routesonline (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2017-07-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "B-LNW Hong Kong Airlines Airbus A330-243F". Planespotters.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-11. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.