แอร์บัส เอ350

อากาศยานลำตัวกว้างขนาดกลาง

แอร์บัส เอ350 (อังกฤษ: Airbus A350) เป็นอากาศยานขนาดกลางลำตัวกว้าง แบบใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะไกล พัฒนาโดยแอร์บัส เอส.อาร์.เอส. เพื่อแข่งขันกับ โบอิง 777 และโบอิง 787 ทั้งนี้เพื่อทดแทนรุ่น เอ 330 และเอ 340 เช่นกัน แอร์บัส เอ350 นั้นถือเป็นอากาศยานที่พัฒนาโดยแอร์บัสรุ่นแรกที่ผลิตมาจากวัสดุผสมจากคาร์บอนไฟเบอร์ โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 280 คน ถึง 366 คน ตามแต่ละรุ่น

แอร์บัส เอ350


แอร์บัส เอ350-900 ของการบินไทย
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง
ชาติกำเนิดยุโรป
บริษัทผู้ผลิตแอร์บัส
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกาตาร์แอร์เวย์
คาเธ่ย์แปซิฟิก
สิงคโปร์แอร์ไลน์
เดลต้าแอร์ไลน์
จำนวนที่ผลิต585 ลำ (ข้อมูล ณ เดือน ม.ค. 2023)
ประวัติ
สร้างเมื่อค.ศ. 2010–ปัจจุบัน[1]
เริ่มใช้งาน15 มกราคม ค.ศ. 2015 โดยกาตาร์แอร์เวย์
เที่ยวบินแรก14 ธันวาคม ค.ศ. 2013[2]

ในการริเริ่มการพัฒนาในช่วงแรกใน ค.ศ. 2004 นั้น มีเพื่อใช้ส่วนประกอบใหม่ที่มีอากาศพลศาสตร์ที่ดีขึ้น โดยตั้งใจมาติดตั้งกับลำตัว และเครื่องยนต์ของเครื่องบินรุ่น เอ330 ตามแต่เดิม ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 ทางแอร์บัสจึงได้เริ่มพัฒนาอากาศยานรุ่นใหม่อย่างจริงจังอันเป็นผลมาจากความต้องการของตลาด โดยตั้งชื่อว่า เอ350 เอ็กซ์ดับบลิวบี (XWB) ซึ่งย่อมาจาก Extra Wide Body หรือ ลำตัวกว้างพิเศษ โดยมีต้นทุนการพัฒนาถึง 11,000 ล้าน ยูโร ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ได้มีคำสั่งซื้อทั้งหมด 858 ลำ จากลูกค้าทั้งหมด 46 รายทั่วโลก เครื่องบินต้นแบบได้ทำการบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2013 จากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการรับรองด้านความปลอดภัยจากสำนักงานความปลอดภัยทางการบินแห่งยุโรปในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 และจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติในอีกสองเดือนถัดมา และได้เริ่มทำการบินพาณิชย์เป็นครั้งแรกเมื่อ 15 มกราคม ค.ศ. 2015 กับสายการบินกาตาร์

การพัฒนา

แก้

แบบแรก

แก้

ทันทีที่โบอิงเปิดตัว 7E7 ดรีมไลน์เนอร์ (หรือปัจจุบันคือ 787) และอ้างว่าสามารถประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับเครื่องบินขนาดเดียวกัน ซึ่งก็คือ เอ 330 แอร์บัสไม่ได้ตอบรับอะไรนอกจากกล่าวว่า 787 เป็นเพียงการตอบรับต่อตลาด เอ 330 ของโบอิงเท่านั้น แต่สายการบินต่างๆ ต่างเร่งให้แอร์บัสพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ ผลที่ได้ก็คือ เอ 330-200ไลท์ แต่ไม่ได้รับความสนใจจากสายการบิน แอร์บัสจึงลงทุนพัฒนาแบบใหม่ทั้งหมด และได้ออกมาเป็น เอ350 โดยแบบแรกเริ่มของ 350 มีความคล้ายคลึงกับ 330 อยู่มาก เนื่องจากใช้สายการผลิตลำตัวเดียวกัน แต่ลักษณะปีก, เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ปรับสมดุล ได้รับการออกแบบใหม่

ทั้งนี้ 350 จะออกมา 2 รุ่น คือ -800 สามารถจุผู้โดยสารได้ 253 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 3 ชั้นบิน มีพิสัยบิน 16,300 กิโลเมตร (8,800 ไมล์ทะเล) และรุ่น -900 สามารถจุผู้โดยสารได้ 300 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 3 ชั้นบิน มีพิสัยบิน 13,890 กิโลเมตร (7,500 ไมล์ทะเล) โดยทั้งสองรุ่นออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับ 777-200ER และ787-9

แต่สายการบินต่าง ๆ ก็วิจารณ์ 350 ว่าเป็นเพียงการอุดรูตลาด 787 เท่านั้น และแอร์บัสควรจะออกแบบลำตัวเครื่องใหม่ทั้งหมด แอร์บัสก็รับฟังข้อคิดเห็น และกลับไปพัฒนาโครงการใหม่อีกครั้ง

รุ่นลำตัวกว้างพิเศษ (XWB)

แก้
 
แอร์บัส เอ350

ผลจากคำวิจารณ์ แอร์บัสจึงได้พัฒนาเครื่องบินใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับ โบอิง 777 และโบอิง 787 โดยเครื่องรุ่นใหม่จะมีลำตัวที่กว้างกว่าเดิม สามารถจุผู้โดยสารได้ 9 คนต่อแถว สำหรับที่นั่งชั้นประหยัด เมื่อเทียบกับ 787 ที่จุได้ 8–9 คนต่อแถว และ 777 ที่จุได้ 9–10 คนต่อแถว และแอร์บัสได้เปิดตัวเครื่องรุ่นใหม่ในงาน ฟาร์นโบโรแอร์โชว์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 และเรียกชื่อรุ่นว่า เอ350 XWB (มาจาก Xtra Wide Body) และอ้างว่าสามารถประหยัดตุ้นทุนได้มากกว่า 787 ถึงร้อยละ 10

เครื่องรุ่นใหม่นี้ได้รับการสนองตอบอย่างดี โดยมีสิงคโปร์แอร์ไลน์ ที่ส่งคำสั่งซื้อเพียง 4 วันหลังจากการเปิดตัว ถึง 20 ลำ และพิจารณาไว้อีก 20 ลำ ทั้งนี้แอร์บัสจะออก เอ350 ออกมา 3 รุ่น คือ -900 ซึ่งจะเป็นุร่นแรกของ 350 จะเริ่มให้บริการใน ค.ศ. 2013 จากนั้นจึงจะออกรุ่น -800 และ -1000 ภายหลังประมาณ 12 เดือน และ 24 เดือน ตามลำดับ

รุ่น

แก้

ในขณะที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 2006 อากาศยานแอร์บัส เอ350 ประกอบด้วยรุ่นย่อยทั้งหมดถึงสามรุ่นย่อย โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มเข้าประจำการได้ใน ค.ศ. 2013 ต่อมาในงานปารีสแอร์โชว์ใน ค.ศ. 2011 ได้มีการประกาศเลื่อนการเข้าประจำการของรุ่น เอ350-1000 ไปอีกสองปี คือช่วงกลางปี ค.ศ. 2017 ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 ได้เลื่อนขึ้นไปอีกสองปี คือช่วงกลางปี ค.ศ. 2014 ก่อนหน้าที่จะเริ่มประจำการรุ่นย่อย 900 เมื่อ 15 มกราคม ค.ศ. 2015

เอ350-900

แก้
 
แอร์บัส เอ350-900 ของอิตาแอร์เวย์

เอ350-900 ซึ่งเป็นรุ่นย่อยแรกมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้นถึง 280 ตัน โดยสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 325 โดยมีพิสัยบินกว่า 8,100 ไมล์ทะเล (15,000 กม.) โดยแอร์บัสกล่าวว่า โบอิง 777-200ER ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงนั้นมีน้ำหนักมากกว่าถึง 16% กินน้ำมันมากกว่า 30% และมีต้นทุนการปฏิบัติการสูงกว่าถึง 25%[3] โดยรุ่นย่อย 900 นั้นผลิตเพื่อแข่งขันโดยตรงกับ โบอิง 777 และ 787[4] (รุ่น 777-200ER/LR รุ่น 787-8 และ รุ่น 787-10) โดยผลิตเพื่อทดแทนรุ่น แอร์บัส เอ340-300 และ แอร์บัส เอ340-500

รุ่นย่อย 900ER ซึ่งเป็นรุ่นที่มีพิสัยบินไกลขึ้น ได้ถูกเสนอขึ้น โดยมีเครื่องยนต์ที่ให้พละกำลังมากกว่า มีโครงสร้างที่แข็งแรงขึ้น รวมทั้งฐานล้อที่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดขณะขึ้นบินได้มากขึ้นถึง 308 ตัน มีพิสัยบินไกลขึ้น 800 ไมล์ทะเล (1,500 กม.)

เอ350-1000

แก้
 
แอร์บัส เอ350-1000 ของบริติชแอร์เวย์

รุ่นย่อย 1000 ถือเป็นรุ่นย่อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีความยาวถึง 74 เมตร สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 366 คน ในการจัดผังที่นั่งแบบสามชั้นโดยสาร และมีพิสัยบินถึงกว่า 8,000 ไมล์ทะเล (14,800 กม.) โดยสามารถจัดได้ถึง 9 ที่นั่งในแต่ละแถว ทำให้สามารถทดแทนอากาศยานรุ่น เอ 340-600 และแข่งขันโดยตรงกับ โบอิง 777-300ER และโบอิง 777-9 โดยแอร์บัสคาดการณ์ว่าอากาศยานรุ่นนี้จะมีน้ำหนักเบากว่าโบอิง 777-900 ถึง 35 ตัน สามารถประหยัดต้นทุนได้กว่า 15% ต่อเที่ยว และต้นทุนต่อที่นั่งที่น้อยกว่าถึง 7% โดยมีพิสัยบินที่ไกลกว่าถึง 400 ไมล์ทะเล[5] โดยเมื่อนำมาเทียบกับอากาศยานรุ่นโบอิง 777-300ER ซึ่งสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 360 คนนั้น แอร์บัสกล่าวว่าจะลดการใช้เชื้อเพลิงได้ถึง 25% ต่อที่นั่ง เมื่อใช้อากาศยานรุ่นนี้แทน ซึ่งจุผู้โดยสารได้มากสุดถึง 369 คน[6]

ด้วยความยาวที่เพิ่มขึ้นกว่ารุ่นเดิมถึง 7 เมตร สามารถจุผู้โดยสารได้มากขึ้นถึง 40 คน โดยสามารถเพิ่มพื้นที่สำหรับผู้โดยสารพรีเมียมได้อีกถึง 40% อากาศยานรุ่นนี้มีส่วนของปีกที่ใหญ่กว่ารุ่นย่อย 800/900 โดยเพิ่มพื้นที่ปีกประมาณ 4% ฐานล้อหลักประกอบด้วยชุดล้อชุดละ 6 ล้อ แทนรุ่นเดิมที่ชุดละ 4 ล้อ และเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent XWB ที่มีพละกำลังถึง 97,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ นั้นมีจุดประสงค์หลักเในการเพิ่มพิสัยบินจากเดิม

การให้บริการ

แก้

ข้อมูลจำเพาะ

แก้
รุ่น เอ350-900 เอ350-1000
นักบิน 2
ความจุผู้โดยสาร 314 (จัดที่นั่ง 3 ชั้นบิน)
366 (จัดที่นั่ง 2 ชั้นบิน)
350 (จัดที่นั่ง 3 ชั้นบิน)
412 (จัดที่นั่ง 2 ชั่นบิน)
ความยาว 66.8 เมตร
(219 ฟุต 3 นิ้ว)
73.8 เมตร
(242 ฟุต 3 นิ้ว)
ความกว้างของปีก 64 เมตร
(209 ฟุต 10 นิ้ว)
ความสูง 16.9 เมตร
(55 ฟุต 5 นิ้ว)
ความจุห้องสินค้า 36 LD3 44 LD3
น้ำหนักสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้น 265,000 กิโลกรัม
(580,000 ปอนด์)
295,000 กิโลกรัม
(650,000 ปอนด์)
ความเร็วปกติ 0.85 มัค
ความเร็วสูงสุด 0.89 มัค
พิสัยบิน เมื่อบรรทุกเต็มลำ 15,000 กิโลเมตร
(8,100 ไมล์ทะเล)
14,800 กิโลเมตร
(8,000 ไมล์ทะเล)
ความจุเชื้อเพลิง 150,000 ลิตร (39,682 แกลลอน)
เพดานบิน 13,100 เมตร (43,100 ฟุต)
เครื่องยนต์ (2×) RR Trent XWB
แรงผลักสูงสุด 84,000 ปอนด์ฟอร์ซ 97,000 ปอนด์ฟอร์ซ

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

แก้

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

แก้

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน

แก้

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "German Airbus A350 XWB Production commences" (Press release). Airbus S.A.S. 31 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2011.
  2. "Airbus confirms timing for A350 XWB First Flight". แอร์บัส. 11 มิถุนายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2016.
  3. John Leahy (19 มิถุนายน 2007). "Commercial Update" (PDF). Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 พฤษภาคม 2008.
  4. "The Market for Large Commercial Jet Transports 2011–2020" (PDF). Forecast International. กรกฎาคม 2011. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2011.
  5. "2016 Airbus annual press conference - John Leahy adjusted". Airbus. กุมภาพันธ์ 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2017.
  6. Tim Hepher (3 กรกฎาคม 2013). "Elbows fly in Airbus and Boeing battle over mini-jumbos". Reuters.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้