เลาดาแอร์
เลาดาแอร์ (อังกฤษ: Lauda Air) เป็นสายการบินสัญชาติออสเตรีย โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา[1] โดย นิกิ เลาดา อดีตแชมป์โลกฟอร์มูลาร์วัน ได้ก่อตั้งสายการบินนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1979 ในช่วงเวลาต่อมา เลาดาแอร์ได้กลายเป็นสายการบินเช่าเหมาลำในเครือของออสเตรียนแอร์ไลน์ ต่อมาในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2013 กิจการของเลาดาแอร์ได้ถูกโอนย้ายไปยังออสเตรียนเอ็มฮอลิเดย์[2]
| |||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1979 (45 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | ค.ศ. 1985 (39 ปี) | ||||||
เลิกดำเนินงาน | เมษายน ค.ศ. 2013 (ผนวกเข้ากับออสเตรียนแอร์ไลน์) | ||||||
ฐานการบิน | เวียนนา | ||||||
ท่าหลัก | กราทซ์ อินส์บรุค ลินทซ์ | ||||||
สะสมไมล์ | เลาดาพอยท์ | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
บริษัทลูก | เลาด้าแอร์อิตาลี | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 66 | ||||||
จุดหมาย | 38 | ||||||
บริษัทแม่ | ออสเตรียนแอร์ไลน์กรุ๊ป | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ชเวแชต, ออสเตรีย | ||||||
บุคลากรหลัก | ยาน อัลเบรชต์, CEO คาร์สเตน เบนซ์, COO นิกิ เลาดา (ผู้ก่อตั้ง) | ||||||
เว็บไซต์ | http://www.laudaair.com |
ประวัติ
แก้เลาดาแอร์ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1979 โดยอดีตแชมป์แข่งรถฟอร์มูลาร์วัน นิกิ เลาดา และเริ่มดำเนินการในปีค.ศ. 1985 โดยเริ่มดำเนินการเป็นบริการเช่าเหมาลำ เครื่องบินเจ็ตประเภทแรกของเลาดาแอร์คือ บีเอซี 1-11 โดยเครื่องบินเหล่านี้เช่าจากทารอม เลาดาเปิดสำนักงานใหญ่ในชเวแชต ประเทศออสเตรีย[3]
เลาดาแอร์กลายเป็นบริษัทในเครือของออสเตรียนแอร์ไลน์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 และมีพนักงาน 35 คนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 ในปี 2005 เที่ยวบินของเลาดาแอร์ได้รวมเข้ากับสายการบินออสเตรียนแอร์ไลน์ และป้ายชื่อ "เลาดาแอร์" เป็นผู้ดำเนินการเที่ยวบินเช่าเหมาลำภายในกลุ่มสายการบินออสเตรียน
เลาดาแอร์ได้ผนวกเข้ากับออสเตรียนแอร์ไลน์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012[4] เครื่องบินทุกลำในฝูงบินของเลาดาแอร์นี้ถูกย้ายไปยังออสเตรียนแอร์ไลน์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างสายการบินออสเตรียน
เลาดาร์แอร์เริ่มยกเลิกเที่ยวบินฤดูร้อนในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2013 ก่อนถูกแทนที่ด้วย "ออสเตรียนเอ็มฮอลิเดย์" [1][2]
จุดหมายปลายทาง
แก้สายการบินออสเตรียนแอร์ไลน์ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทาง 38 แห่งภายใต้ชื่อเลาดาแอร์เป็นประจำจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013[5]
ฝูงบิน
แก้เลาดาแอร์เคยมีเครื่องบินในฝูงดังนี้:[6]
เครื่องบิน | ประจำการ | ปลดประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
แอร์บัส เอ320-200 | 1999 | 2005 | |
บีเอซี 1-11-500 | 1980s | 1990s | |
โบอิง 737-200 | 1985 | 2013 | |
โบอิง 737-300 | |||
โบอิง 737-400 | |||
โบอิง 737-600 | |||
โบอิง 737-700 | |||
โบอิง 737-800 | |||
โบอิง 767-300อีอาร์ | 1990 | 1991 | หนึ่งลำเกิดอุบัติเหตุในเที่ยวบินที่ 004 |
2007 | |||
โบอิง 777-200อีอาร์ | 1997 | 2005 | |
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ-100 | 1994 | 2004 | โอนย้ายไปยังออสเตรียนแอโรว์ |
ฟอกเกอร์ เอฟ-27 เฟรนด์ชิป | 1985 | 1994 |
เลาดาเอ็กซ์คลูทีฟ
แก้เลาดาแอร์ให้บริการฝูงบินซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินเจ็ตขนาดเล็ก 3 ลำ ได้แก่ เซสนา ไซเทชั่นทู (9 ที่นั่ง), บอมบาร์ดิเอร์ เลียร์ 60 (7 ที่นั่ง) และ แดสซอล์ท ฟอลคอน 20 (12 ที่นั่ง) เครื่องบินทุกลำใช้สำหรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำส่วนตัว[7]
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
แก้- เที่ยวบินที่ 004 ในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 โบอิง 767-300อีอาร์ ได้ดำเนินเที่ยวบินจากฮ่องกงไปยังเวียนนา โดยมีจุดแวะพักที่กรุงเทพมหานคร หลังจากขึ้นบินจากท่าอากาศยานดอนเมืองได้ไม่นาน เครื่องบินได้ตกลงสู่อุทยานแห่งชาติพุเตย สาเหตุเกิดจากการตัวย้อนกลับแรงขับตัวใดตัวหนึ่งได้เกิดกางออกขณะบิน ทุกคนบนเที่ยวบินเสียชีวิต
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Lauda Air on ch-aviation". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 2.0 2.1 Um 17:07, 10 01 2013 (2013-01-10). "AUA-Ferienmarke „myHoliday" ersetzt die Lauda Air". Die Presse (ภาษาเยอรมัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1991/1991%20-%200781.html?search=%22Lauda%20Air%22
- ↑ "Austrian bids farewell to the 737", Airliner World, p. 6, June 2013
- ↑ http://www.laudaair.com/site/fileadmin/Bilder/Downloads/Lauda_Flugplan_So-11_v1_.pdf
- ↑ "Lauda Air Fleet Details and History". www.planespotters.net.
- ↑ Aomd88 (2014-08-08). "Airline memorabilia: Lauda Air (1997)". Airline memorabilia.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Lauda Air
- เว็บไซต์ทางการ (Archive)