แอร์บัส เอ330
แอร์บัส เอ330 (อังกฤษ: Airbus A330) เป็นอากาศยานลำตัวกว้าง ผลิตโดยแอร์บัส มีความจุมาก เป็นอากาศยานที่มีพิสัยบินระยะปานกลางถึงระยะไกล โครงสร้างของ แอร์บัส 330 ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการออกแบบโครงสร้าง ใช้วัสดุผสมยุคใหม่และอัลลอยด์ที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบาเป็นพิเศษมาประกอบเป็นตัวโครงสร้างและพื้นผิว ซึ่งสามารถลดน้ำหนักของตัวเครื่องลงได้มาก ลดค่าบำรุงรักษาและยังประหยัดน้ำมัน การออกแบบปีกที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ได้สมรรถนะที่ดีทั้งขณะที่บินขึ้นและร่อนลงจอด และยังทำความเร็วได้เหมาะสมกับอัตราบรรทุกและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
![]() แอร์บัส เอ 330-300 ของการบินไทย | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง |
---|---|
ชาติกำเนิด | ยุโรป |
บริษัทผู้ผลิต | แอร์บัส |
บินครั้งแรก | 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 |
เริ่มใช้ | 17 มกราคม ค.ศ. 1994 กับแอร์ อินเตอร์ |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | เตอร์กิชแอร์ไลน์ แอร์ไชน่า ไชน่าอีสเทิร์น เดลต้าแอร์ไลน์ |
ช่วงการผลิต | ค.ศ. 1992-ปัจจุบัน |
จำนวนที่ผลิต | 1,525 ณ เดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2021 |
มูลค่า | เอ330-200: 229 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] เอ330-300: 253.7 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] เอ330-200F: 232.2 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] |
พัฒนามาจาก | แอร์บัส เอ300 |
แบบอื่น | เอ330F เอซีเจ330 เอ330MRTT |
พัฒนาต่อเป็น | แอร์บัส เอ330 นีโอ แอร์บัส เบลูกาเอ็กซ์แอล |
ลักษณะแก้ไข
แอร์บัส เอ330-200แก้ไข
แอร์บัส เอ330-200 เป็นเครื่องบินรุ่นที่สั้นกว่าของ แอร์บัส เอ330-300 และมีความคล้าายคลึงกับ แอร์บัส เอ340-200
ในปีค.ศ. 1990 แอร์บัสขาย เอ340-200 ไม่ได้มากนัก (สร้างเพียง 28 ลำเท่านั้น) ดังนั้น แอร์บัสจึงใช้ลำตัวของ เอ340-200 และยึดปีกและเครื่องยนต์ของ แอร์บัส เอ330-300 สิ่งนี้ทำให้เครื่องบินมีประสิทธิภาพมากขึ้นและ ได้รับความนิยมมากกว่า เอ340-200 มาก
หางเสือของ เอ330-200 นั้นสูงกว่ารุ่น 300 เล็กน้อย เพื่อสร้างแรงบิดเช่นเดียวกับ เอ330-300
มี MTOW (น้ำหนักเครื่องสูงสุด) เท่ากับ เอ330-300 จึงสามารถกินน้ำมันได้มากกว่า ซึ่งหมายความว่า แอร์บัส เอ330-200 สามารถบินได้ไกลกว่า เอ330-300 โดยรุ่น 200 นั้นมีระยะทาง 12,500 กม. ซึ่งเท่ากับ 6,750 ไมล์ทะเล
แอร์บัส เอ330 มีตัวเลือกเครื่องยนต์สามแบบ เครื่องยนต์ General Electric CF6-80E, เครื่องยนต์ Pratt & Whitney PW4000, หรือเครื่องยนต์ Rolls-Royce เทรนต์ 700 สองเครื่อง (ลำละสองเครื่อง)
แอร์บัส เอ330-300แก้ไข
แอร์บัส เอ330-300 เริ่มทำงานในปี 1993 เป็นเครื่องบิน เอ330 ประเภทแรก แข่งขันกับโบอิง 777-200 และ โบอิง 767-400อีอาร์ มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทน แอร์บัส เอ300 มีลำตัวคล้ายกับ เอ300-600 แต่มีปีกและระบบใหม่
รองรับผู้โดยสารได้ 295 คนใน 3 ชั้น หรือ 335 คนใน 2 ชั้น หรือ 440 คนในชั้นเดียว สามารถบินได้สูงถึง 5,650 ไมล์ทะเล (10,500 กิโลเมตร)
มีเครื่องยนต์ General Electric CF6-80E สองเครื่อง เครื่องยนต์ Pratt & Whitney PW4000 สองเครื่อง หรือเครื่องยนต์ Rolls Royce เทรนต์ 700 สองเครื่อง เครื่องยนต์ทั้งหมดได้รับการจัดอันดับ ETOPS ที่ ETOPS-180 ซึ่งหมายความว่า เอ330-300 สามารถบินได้ถึง 180 นาทีจากสนามบินที่สามารถลงจอดได้
แอร์บัส เอ330นีโอแก้ไข
แอร์บัส เอ330-800แก้ไข
แอร์บัส เอ330-800 มีพื้นฐานมาจาก เอ330-200 โดยมีการปรับเปลี่ยนห้องโดยสาร เครื่องยนต์เทรนต์ 7000 ของ Rolls Royceที่ใหญ่ขึ้น และการปรับปรุงด้านอากาศพลศาสตร์[2] เที่ยวบินแรกของ A330-800 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[3] แอร์บัส เอ330-800 สองลำแรกได้ส่งมอบให้กับลูกค้าของสายการบิน คูเวตแอร์เวย์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2563
แอร์บัส เอ330-900แก้ไข
แอร์บัส เอ330-900 มีการนำลำตัวเครื่องบินของ เอ330-300 มาใช้ โดยที่นั่งเพิ่ม 10 ที่นั่ง เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพห้องโดยสาร[4] ด้วยเครื่องยนต์เทรนต์ 7000 ที่ทันสมัยและปีกเครื่องบินที่ออกแบบใหม่ เครื่องบินลำนี้จะเผาผลาญเชื้อเพลิงต่อที่นั่งน้อยลง 14% เมื่อเทียบกับ เอ330-300 ในระยะทาง 4,000 ไมล์ทะเล ควรเดินทาง 6,550 ไมล์ทะเล (12,130 กม.) พร้อมผู้โดยสาร 287 คนในรูปแบบมาตรฐาน[5]
เครื่องบินขนส่งแก้ไข
แอร์บัส เอ330-200Fแก้ไข
เนื่องจาก แอร์บัส เอ300-600F และ แอร์บัส เอ310F เริ่มเก่าและบริษัทต่างๆ หยุดสั่งซื้อเครื่องบินรุ่นดังกล่าว แอร์บัสจึงตัดสินใจสร้างเครื่องบินขนส่งสินค้าลำใหม่เพื่อทดแทน เริ่มให้บริการเครื่องบินในช่วงปี พ.ศ. 2543-2544 เครื่องบินถูกพูดถึงอีกครั้งในงาน 2006 ฟาร์นโบโร แอร์โชว์ แอร์บัสได้รับอนุญาตให้ขายเครื่องบินในเดือนมกราคม 2550 และเครื่องบินลำแรกออกจากโรงงานเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 เครื่องบินลำแรกบินเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552
แอร์บัสได้รับคำสั่งซื้อเครื่องบิน เอ330-200F จำนวน 67 ลำ ลูกค้าที่สั่งซื้อเครื่องบินมากที่สุดคือ อินเทอร์พิด เอวิเอชั่น กรุ๊ป ซึ่งสั่งซื้อเครื่องบินไปแล้ว 20 ลำ
แอร์บัส เอ330P2Fแก้ไข
โครงการดัดแปลงเครื่องบินขนส่งสินค้า เอ330P2F เปิดตัวที่งาน สิงค์โปร์ แอร์โชว์ ปี 2555 เป้าหมายของการเปิดตัวในปี 2559 แอร์บัสจึงประมาณความต้องการของตลาดสำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้า 2,700 ลำในระยะเวลา 20 ปี ครึ่งหนึ่งของสินค้าขนาดกลางเหล่านี้ รวมทั้งการแปลง 900 รายการ[6]
แอร์บัสเบลูกา เอกซ์เอลแก้ไข
แอร์บัสเริ่มออกแบบเครื่องบินทดแทนสำหรับเบลูก้าในเดือนพฤศจิกายน 2014 เบลูก้า XL เอ330-743L มีพื้นฐานมาจากแอร์บัส เอ330 และมีพื้นที่มากกว่ารุ่นก่อนถึง 30%[7][8] เช่นเดียวกับ แอร์บัสเบลูกา รุ่นก่อน เบลูกา เอกซ์เอล มีส่วนขยายที่ส่วนบนของลำตัวเครื่องบิน และสามารถรองรับปีก เอ350 สองปีกแทนที่จะเป็นหนึ่งปีก เครื่องบินใหม่นี้ออกจากสายการผลิตในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 และทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยได้เริ่มดำเนินการระหว่างโรงงานต่างๆ ของแอร์บัสในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563[9]
เครื่องบินองค์กรแก้ไข
เอซีเจ330แก้ไข
แอร์บัส เอ330-200 ได้ออกตัวในชื่อ แอร์บัส คอเพอร์เรต เจ็ต และในรุ่นพิสัยการบินสูงพิเศษในชื่อ "แอร์บัส เอ330-200 พรีสติช"[10] โดยมีพิสัยการบิน 15,400 กม. (8,300 ไมล์ทะเล) พร้อมความจุผู้โดยสาร 50 คน[11]
เครื่องบินการทหารแก้ไข
แอร์บัส เอ330 MRTTแก้ไข
แอร์บัส เอ330 MRTT คือเครื่องบินบรรทุกน้ำมัน ซึ่งหมายความว่าเครื่องบินจะมีการบนนทุกเชื้อเพลิงไอพ่นเป๋นจำนวนมากเพื่อเติมให้กับเครื่องบินลำอื่นกลางอากาศ
เครื่องบินดังกล่าวได้รับคำสั่งซื้อจากกองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF), กองทัพอากาศของสหราชอาณาจักร (RAF), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, และซาอุดีอาระเบีย
ข้อมูลจำเพาะแก้ไข
A330-200 | A330-300 |
---|---|
เริ่มทำการบิน 13 สิงหาคม 1997 | เริ่มทำการบิน 2 พฤศจิกายน 1992 |
ความยาวปีก 197 ft. 10 in. / 60.3 m | ความยาวปีก 197 ft. 10 in. / 63.6 m |
ความยาว 193 ft. 7 in. / 59.0 m1 | ความยาว 208 ft. 10 in. / 59.0 m |
ความสูง 58 ft. 8 in. / 17.89 m | ความสูง 54 ft. 11 in. / 16.7 m |
เพดานบิน 41,000 ft. | เพดานบิน 41,000 ft. |
ระยะทำการบิน 6,500 nm / 11,850 km | ระยะทำการบิน 5,600 nm / 10,400 km |
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 513,670 lbs / 232,997 kg | น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 513,670 lbs / 232,997 kg |
เครื่องยนต์ CF6-80E1 -or- PW 4000 -or- RRTrent 700 2 เครื่อง | เครื่องยนต์ CF6-80E1 -or- PW 4000 -or- RR Trent 700 2 เครื่อง |
ความเร็ว 0.82 มัค | ความเร็ว 0.82 มัค |
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญแก้ไข
อุบัติเหตุแก้ไข
- 30 มิถุนายน 1994 แอร์บัส เอ330-300 ของแอร์บัส ได้ตกลงขณะทำการทดสอบ เหตุการณ์ได้นำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตทั้ง 7 คนบนเครื่อง
- 1 มิถุนายน 2009 แอร์ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 447 ได้ตกลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกใต้ขณะเดินทางจากรีโอเดจาเนโร ไปยังปารีส คาดว่าเกิดจากข้อผิดพลาดของระบบ นำมาสู่การร่วงหล่นจากท้องฟ้า (Stall) ส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดเสียชีวิต
- 12 พฤษภาคม 2010 อัฟริกิยาห์แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 771 ได้ตกลงขณะทำการลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติไตรโพลิ มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ คาดว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากอาการหลงทิศ, ความผิดพลาดของนักบิน, และการบริหารจัดการลูกเรือที่ไม่ดีพอ
อุบัติการณ์แก้ไข
เกี่ยวกับความผิดพลาดของระบบของเครื่องบินแก้ไข
- ควอนตัส เที่ยวบินที่ 72 เกิดการ่วงหล่นจากท้องฟ้าถึง 2 ครั้ง ขณะทำการบินในเส้นทางบินระหว่างสิงค์โปร์และเพิร์ท เครื่องบินลงจอดอย่างปลอดภัยที่ฐานทัพอากาศเลียร์มอนต์ คาดว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์
เกี่ยวกับระบบจ่ายเชื้อเพลิงและเครื่องยนต์แก้ไข
- 24 สิงหาคม 2001 แอร์ทรานแซท เที่ยวบินที่ 236 ได้มีน้ำมันเครื่องรั่วไหลขณะดำเนินเที่ยวบินไปปารีส จึงทำให้ต้องลงจอดฉุกเฉินที่ฐานทัพอากาศอะซอเรส บริเวณมหาสมุทรแแอตแลนติก[12]
- 13 เมษายน 2010 คาเธ่ย์ แปซิฟิก เที่ยวบินที่ 780 เกิดเหตุเครื่องยนต์ล้มเหลว จากสารเจือปนในน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้เครื่องบินต้องลงจอดด้วยความมเร็วสูงที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง[13]
เกี่ยวกับการปล้นจี้และสงครามแก้ไข
- 25 พฤษภาคม 2000 ฟิลิปินส์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 812 เกิดการปล้นจี้บนเที่ยวบินโดยผู้ก่อการร้าย เหนือเมืองอันตีโปโลของฟิลิปปินส์ ทุกคนบนเที่ยวบินรอดชีวิตยกเว้นผู้ก่อการร้ายที่โดดลงจากเครื่องบินไป[14]
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกันแก้ไข
รุ่นที่ใกล้เคียงกันแก้ไข
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกันแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "New Airbus aircraft list prices for 2015". 13 January 2015. สืบค้นเมื่อ 6 March 2015.
- ↑ "First A330-800 successfully completes maiden flight | Airbus". www.airbus.com.
- ↑ "First A330-800 successfully completes maiden flight | Airbus". www.airbus.com.
- ↑ "First A330-900 successfully completes maiden flight". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
- ↑ "First A330-900 successfully completes maiden flight" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-11-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
- ↑ First A330-P2F successfully completes maiden flight
- ↑ Airbus wing station plan hints at A330 Beluga
- ↑ Airbus starts A330 Beluga development
- ↑ Airbus starts A330 Beluga development
- ↑ Airbus launches new VIP widebody cabin-concept
- ↑ media_object_file_A330_200_specifications
- ↑ Airbus A330-243
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-11.
- ↑ "BBC News | ASIA-PACIFIC | Philippines hijacker bails out". news.bbc.co.uk.