เจแปนแอร์ไลน์

สายการบินแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น

เจแปนแอร์ไลน์ (Japan Airlines) หรือ บริษัท สายการบินญี่ปุ่น มหาชนจำกัด (ญี่ปุ่น: 日本航空株式会社 (Nihon Kōkū Kabushiki-gaisha)) หรือ เจเอแอล (JAL) เป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่นรองจากสายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ มีศูนย์การบินอยู่สองแห่งในโตเกียวคือท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะกับท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (ฮาเนดะ) และอีกสองแห่งในจังหวัดโอซากะคือท่าอากาศยานนานาชาติคันไซและท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (อิตามิ) ปัจจุบันมีเส้นทางบินระหว่างประเทศ 33 จุดหมายในทวีปเอเชีย, อเมริกา, ยุโรป และโอเชียเนีย และมีเส้นทางบินในประเทศ 59 จุดหมาย

เจแปนแอร์ไลน์
IATA ICAO รหัสเรียก
JL JAL Japanair
ก่อตั้ง1 สิงหาคม ค.ศ. 1951 (73 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ
ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว
ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ
ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ
เมืองสำคัญท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์
สะสมไมล์JAL Mileage Bank
พันธมิตรการบินวันเวิลด์
ขนาดฝูงบิน173
จุดหมาย125
บริษัทแม่เจแปนแอร์ไลน์ คอร์ปปอเรชั่น
สำนักงานใหญ่เขตชินางาวะ โตเกียว ญี่ปุ่น
บุคลากรหลักฮารูกะ นิชิมัตสึ (ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
รายได้ลดลง JP¥1.411 trillion (2019)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง JP¥96.5 billion (2019)[1]
รายได้สุทธิ
ลดลง JP¥57.4 billion (2019)[1]
เว็บไซต์www.jal.com

สายการบินก่อตั้งในรูปแบบบริษัทเอกชนเมื่อ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1951 จากการผลักดันของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเริ่มบินเส้นทางภายในประเทศจากเครื่องบินที่เช่ามา ถือเป็นสายการบินภายในประเทศแห่งแรกของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาในปีค.ศ. 1953 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตรากฎหมายอนุมัติให้แจแปนแอร์ไลน์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยโอนทรัพย์และหนี้จากบริษัทเดิมทั้งหมด ตั้งแต่นั้นมาสายการบินนี้ก็ได้กลายเป็นสายการบินประจำชาติของญี่ปุ่น หลังดำเนินกิจการได้กว่าสามทศวรรษก็มีการแปรรูปสายการบินให้เป็นเอกชนเต็มตัวในปีค.ศ. 1987 เจแปนแอร์ไลน์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชินางาวะ กรุงโตเกียว

สายการบินเจแปนแอร์ไลน์มีประวัติเสียเครื่องบินทุกประเภทรวม 11 ลำแบ่งเป็นเครื่องขนส่งอากาศยานหนึ่งลำ เครื่องบินใช้ฝึกอบรม 2 ลำ[2] [3] เครื่องขนส่งผู้โดยสารและสินค้า 8 ลำ ในจำนวน 8 ลำ มีหนึ่งลำที่เสียเครื่องบินไปโดยไม่มีผู้โดยสารอยู่บินเครื่องได้แก่ เจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 404

ปลายทางของเจแปนแอร์ไลน์
  ญี่ปุ่น
  ประเทศปลายทาง

ฝูงบิน

แก้
ฝูงบินของเจแปนแอร์ไลน์
รุ่นอากาศยาน ประจำการ สั่งซื้อ ขอเช่า จำนวนที่นั่ง หมายเหตุ
F J W Y รวม
แอร์บัส เอ350-900 18[4] 25 TBA 1 ลำได้ประสบอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกันที่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวฮาเนดะ (JA13XJ)
แอร์บัส เอ350-1000 13[4] TBA
โบอิง 737-800 50 15 10 20 145 165 เส้นทางบินในประเทศ
12 132 144 เส้นทางบินในประเทศ
โบอิง 767-300 6 42 219 261 เส้นทางบินในประเทศ
โบอิง 767-300ER 31 5 42 205 252 เส้นทางบินในประเทศ
42 219 261
30 207 237 รีโนเวทจากเส้นทางระหว่างประเทศเป็นเส้นทางในประเทศ
30 197 227
24 175 199 เส้นทางบินในประเทศ/ "Sky Suite II"
โบอิง 777-200 12 14 82 279 375 เส้นทางบินในประเทศ
โบอิง 777-200ER 11 56 40 149 245
28 284 312
โบอิง 777-300 4 78 422 500
โบอิง 777-300ER 13 8 49 40 147 244
โบอิง 787-8 25 [5] 25 42 144 186
38 35 88 161
โบอิง 787-9 8 17[6] 44 35 116 195
MRJ90 30[7] TBA ส่งมอบในปี 2021[7]
ทั้งหมด 170 93 60

ภาพฝูงบิน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Consolidated Financial Statements Japan Airlines Co.,Ltd. and Subsidiaries (PDF) (Report). Japan Airlines. June 2020. p. 3. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  2. JA8023
  3. Japan Airline Flight 90
  4. 4.0 4.1 "News & Events single - Airbus, a leading aircraft manufacturer". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-06. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
  5. "JAL SKY SUITE 787 Service To Include New Boeing 787-9 International Service" (Press release). Japan Airlines. 21 January 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-03-03.
  6. "JAL orders 20 B787-9 Dreamliner aircraft". Business Traveller. 12 April 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-12. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
  7. 7.0 7.1 "JAL Signs Definitive Agreement for Purchase of 32 MRJ Aircraft ~Deliveries Scheduled to Commence in 2021~" (Press release). Tokyo: Japan Airlines. 28 January 2015. สืบค้นเมื่อ 23 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้