ฟลายดูไบ (อาหรับ: فلاي دبي) เป็นสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ [1] โดยมีฐานการบินหลักและสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ฟลายดูไบให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 94 แห่งใน 46 ประเทศภายในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เอเชีย, และยุโรปจากดูไบ[2]

ฟลายดูไบ
فلاي دبي
IATA ICAO รหัสเรียก
FZ FDB SKYDUBAI
ก่อตั้ง19 มีนาคม 2008; 16 ปีก่อน (2008-03-19)
เริ่มดำเนินงาน1 มิถุนายน 2009; 14 ปีก่อน (2009-06-01)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ
เมืองสำคัญท่าอากาศยานนานาชาติอัล มักตุม
สะสมไมล์เอมิเรตส์สกายวาร์ด
ขนาดฝูงบิน63
จุดหมาย94
บริษัทแม่รัฐบาลดูไบ
สำนักงานใหญ่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ
ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
บุคลากรหลัก
เว็บไซต์flydubai.com

ประวัติ แก้

 
โบอิง 737-800 ลำแรกของฟลายดูไบ (A6-FDA)

รัฐบาลดูไบได้ก่อตั้งฟลายดูไบในปีค.ศ. 2008[1] โดยได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติการจากเอมิเรตส์ [3] ในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ฟลายดูไบได้มีคำสั่งซื้อโบอิง 737-800 จำนวน 50 ลำในงานฟาร์นโบโรห์แอร์โชว์ พร้อมกับสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อเป็นโบอิง 737-900อีอาร์ เครื่องบินลำแรกได้ถูกส่งมอบให้สายการบินในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 และได้มีการเริ่มให้บริการในเดือนมิถุนายน โดยให้บริการไปยังเบรุตและอัมมาน

ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 ฟลายดูไบได้เปิดตัวที่นั่งชั้นธุรกิจ[4] ซึ่งมาพร้อมกับรวมสิทธิ์เข้าใช้ห้องรับรองธุรกิจ, จอขนาด 12 นิ้วพร้อมภาพยนตร์มากกว่า 300 เรื่อง และปลั๊กไฟที่ใช้งานร่วมกันได้ในกว่า 170 ประเทศ โดยจะมีการติดตั้งที่นั่งนี้ 12 ที่นั่งบนเครื่องบิน[5][6]

ด้วยคำสั่งการห้ามบินของโบอิง 737 MAX ทั่วโลก แผนการขยายตัวของฟลายดูไบได้รับผลกระทบเป็นอย่างหนัก เพราะสายการบินมีเครื่องบินดังกล่าวประจำการอยู่ 11 ลำและคำสั่งซื้อ 220 ลำ ณ เวลานั้น โดยผู้บริหารของฟลายดูไบได้ทำสัญญาต่อรองกับโบอิง แต่รายละเอียดของข้อตกลงยังคงเป็นความลับ[7]

จุดหมายปลายทาง แก้

ฟลายดูไบให้บริการจุดหมายปลายทางมากกว่า 90 แห่ง[8][9] ปัจจุบันสายการบินมีท่าหลักเพียงแห่งเดียวและดำเนินการจากอาคารผู้โดยสาร 2 ของท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ[10] อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับสายการบินที่กำลังเติบโตและการขยายตัวของสายการบินแห่งชาติที่ DXB ฟลายดูไบเริ่มให้บริการเที่ยวบินออกจากท่าอากาศยานนานาชาติอัล-มักตุม (DWC) ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2015 สายการบินเริ่มต้นด้วยเที่ยวบิน 70 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังอัมมาน, เบรุต, จิตตะกอง, โดฮา, กาฐมาณฑุ, คูเวต, และมัสกัตจาก DWC

ข้อตกลงการบินร่วม แก้

ฟลายดูไบทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบิน แก้

 
โบอิง 737-800 ของฟลายดูไบ
 
โบอิง 737 แมกซ์ 8 ของฟลายดูไบ

ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 ฟลายดูไบมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้: [14][15][16]

ฝูงบินของฟลายดูไบ
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
C Y รวม
โบอิง 737-800 30 189 189
12 162 174
โบอิง 737 แมกซ์ 8 46[17] 70 10 156 166
โบอิง 737 แมกซ์ 9 3 67[18] 16 156 172[19]
โบอิง 737 แมกซ์ 10 50 รอประกาศ
โบอิง 787-9 30[20][21] รอประกาศ
รวม 63 156

ฟลายดูไบมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 5 ปี

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ แก้

  • วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2015, ฟลายดูไบ เที่ยวบินที่ 215 เป็นเที่ยวบินจากดูไบไปแบกแดด โดยใช้เครื่องบินโบอิง 737-800 และมีผู้โดยสาร 154 คน เครื่องบินได้ถูกยิงขณะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้[22]
  • วันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2016, ฟลายดูไบ เที่ยวบินที่ 981 เป็นเที่ยวบินจากดูไบไปยังรอสตอฟ-นา-โดนู, ประเทศรัสเซีย โดยใช้เครื่องบินโบอิง 737-800 และมีผู้โดยสาร 55 คนและลูกเรือ 7 คน เครื่องบินได้ตกลงขณะการยกเลิกการลงจอด (โกว์-อราวนด์) ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดเสียชีวิต[23] จากการสืบสวน สาเหตุเกิดจากความผิดพลาดของนักบิน[24]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Terms and conditions." flydubai. Retrieved on 21 June 2010. "The website is owned and operated by Flydubai, whose principal office is at Dubai International Airport, Terminal 2, PO Box 353, Dubai, United Arab Emirates. Flydubai is a Dubai corporation formed by the government of Dubai in July 2008."
  2. "flydubai destinations." flydubai. Retrieved on June 27, 2013.
  3. "Other News - 06/18/2007 | Aviation Week Network". aviationweek.com.
  4. "Introducing Business Class." FlyDubai. Retrieved on June 27, 2013.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-12. สืบค้นเมื่อ 2022-08-28.
  6. "Flydubai introduces Business Class services". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ).
  7. "Budget Carrier Flydubai Slams Boeing for Loss of Business". Manufacturing.net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-03-04.
  8. https://www.flydubai.com/en/destinations/
  9. https://www.flydubai.com/en/information/about-flydubai/company-info
  10. Kingsley-Jones2010-06-28T08:00:00+01:00, Max. "Flydubai - UAE's low-cost growth driver". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  11. "Air Canada Signs Flydubai Codeshare Agreement". aviationweek.com. 18 May 2023. สืบค้นเมื่อ 21 May 2023.
  12. "Emirates / flydubai schedules codeshare launch in late-Oct 2017". Routes (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  13. "Air Canada / United Begins flydubai Codeshare in 2Q23".
  14. "Boeing: Commercial". www.boeing.com.
  15. "Flydubai Fleet Details and History". www.planespotters.net. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
  16. "Flydubai extends B737-800 leases, "explores" wet-leases".
  17. "flydubai Hasn't Seen Any Passenger Resistance To The 737 MAX". Simple Flying. 2021-12-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-31.
  18. "flydubai to add maiden B737 MAX 9 in 2H18". ch-aviation. 25 April 2018. สืบค้นเมื่อ 27 April 2018.
  19. "flydubai files 737 MAX 9 preliminary operation in 2Q19". Routesonline. 10 September 2018. สืบค้นเมื่อ 10 September 2018.
  20. "flydubai orders 30 B787-9s". Ch-aviation. 13 November 2023.
  21. https://boeing.mediaroom.com/2023-11-13-flydubai-Orders-30-Boeing-787-Dreamliners,-Its-First-Widebody-Airplanes
  22. "Boeing Hit by Gunfire in Baghdad". Airliner World: 83. March 2015.
  23. Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident Boeing 737-8KN (WL) A6-FDN Rostov Airport (ROV)". aviation-safety.net.
  24. Studenikin, Nikolay. Особое мнение представителя Росавиации [Alternative opinion of the Rosaviatsiya representative] (PDF) (in Russian). Interstate Aviation Committee. Retrieved 27 March 2016.