เซาเดีย
เซาเดีย (อังกฤษ: Saudia; อาหรับ: السعودية) หรือชื่อเดิม ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศซาอุดีอาระเบีย[2][3] โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซในญิดดะฮ์ เซาเดียให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางกว่า 100 แห่งในตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินเช่าเหมาลำส่วนมากจะให้บริการในช่วงเราะมะฎอนและฮัจญ์ เซาเดียเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรทางการบินสกายทีมตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เป็นสายการบินหลักในตะวันออกกลางที่เข้าร่วมหนึ่งในสามกลุ่มพันธมิตรทางการบิน เซาเดียเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งขององค์การสายการบินอาหรับ[4]
| |||||||
ก่อตั้ง | กันยายน ค.ศ. 1945 (79 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | ญิดดะฮ์ รียาด | ||||||
เมืองสำคัญ | อัลมะดีนะฮ์ | ||||||
สะสมไมล์ | Al Fursan Loyalty | ||||||
พันธมิตรการบิน | สกายทีม สกายทีมคาร์โก | ||||||
บริษัทลูก | ฟลายอดีล | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 163 | ||||||
จุดหมาย | 140 | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้ช่วงแรก
แก้หลังจากการเข้าพบสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูดของประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์แห่งสหรัฐในปี 1945 ประเทศซาอุดีอาระเบียเกิดการพัฒนาด้านการเดินอากาศ โรเซอร์เวลต์ได้มอบเครื่องบินดักลาส ดีซี-3 หนึ่งลำไว้เป็นของขวัญ จึงมีการนำเครื่องบินลำดังกล่าวมาทำการบินพร้อมกับการจัดตั้งสายการบินซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945[5] ภายใต้การดูแลของกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบีย ได้มีการทำสัญญากับทรานส์เวิล์ดแอร์ไลน์ในการดำเนินการบินให้ในช่วงแรก
ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์มีฐานการบินในท่าอากาศยานอัล-กันดารา ท่าอากาศยานหลักของญิดดะฮ์ในอดีต สายการบินมีการทำเที่ยวบินพิเศษจากเมืองลิดดา (ล็อด) ในปาเลนสไตน์ (ปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียนในเวลาต่อมา) สู่ญิดดะฮ์เพื่ออำนวยความสะดวกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของผู้แสวงบุญชาวมุสลิมตามข้อกำหนดในช่วงการอาณัติโดยอังกฤษ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 ซาอุดีอาระเบียนเริ่มปฏิบัติการโดยใช้เครื่องบินดีซี-3 จำนวน 5 ลำในเส้นทางญิดดะฮ์-รียาด-โฮฟุฟ-ดาห์ราน เริ่มให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศในเส้นทางญิดดะฮ์และไคโร และเริ่มให้บริการสู่เบรุต การาจี[6] และดามัสกัสในปี 1948 สายการบินได้เริ่มนำเครื่องบินบริสตอล 170 มาประจำการ เป็นการช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า
ในปี ค.ศ. 1962 ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์รับมอบโบอิง 720 จำนวน 2 ลำ นับเป็นสายการบินแห่งที่สี่ในภูมิภาคที่นำอากาศยานไอพ่นมาให้บริการ ตามมิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์และไซปรัสแอร์เวย์ที่เริ่มให้บริการเดอ ฮาวิลแลนด์ คอมเม็ทในปี 1960 และแอล อัลที่ให้บริการโบอิง 707 ในปี 1961[7] โดยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ได้รับจดทะเบียนเป็นบริษัท โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อลลงนามพร้อมกับทั้งประกาศให้สายการบินเป็นบริษัทอิสระโดยสมบูรณ์ ในนามบริษัทอิสระ ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ได้สั่งซื้อเครื่องบินดีซี-6 และโบอิง 707 รวมถึงได้เข้าร่วมกับองค์การสายการบินอาหรับ และเริ่มให้บริการเที่ยวบินสู่ชัรญะฮ์ เตหะราน คาร์ทูม มุมไบ ตริโปลี ตูนิส ราบัต เจนีวา แฟรงก์เฟิร์ต และลอนดอน
ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เปลี่ยนชื่อเป็นเซาเดียในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1972 พร้อมกับทั้งมีการเปลี่ยนแปลงลวดลายอากาศยาน นอกจากนี้ได้มีสั่งซื้อโบอิง 737 และฟอกเกอร์ เอฟ-28 โดยนำ 737 ทดแทนที่ดักลาส ดีซี-9 ที่เก่ากว่า พร้อมทั้งเริ่มให้บริการโบอิง 747 อากาศยานโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานั้น เป็นครั้งแรกในปี 1977 โดยเช่าจากมิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์สามลำ เพื่อนำไปใช้ในเส้นทางสู่ลอนดอน สายการบินได้เริ่มเที่ยวบินขนส่งสินค้าทั้งหมดครั้งแรกระหว่างซาอุดีอาระเบียและยุโรป และมีการนำล็อคฮีด แอล-1011 และแฟร์ไชลด์ เอฟเอช-27 มาให้บริการ ในช่วงเวลาเดียวกันเซาเดียได้เพิ่มบริการอื่นๆ เช่น อาระเบียนเอกซ์เพรส 'เที่ยวบินไม่มีการจอง' ระหว่างญิดดะฮ์และรียาด ฝ่ายบริการการบินพิเศษ (Special Flight Services; SFS) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยการบินพิเศษของเซาเดียที่ให้บริการเที่ยวบินพิเศษสำหรับราชวงศ์และหน่วยงานของรัฐ และเริ่มให้บริการเที่ยวบินสู่โรม ปารีส มัสกัต คาโน และสต็อกโฮล์ม
ในช่วงทศวรรษ 1980 เซาเดียเปิดเส้นทางบินสู่จาการ์ตา เอเธนส์ กรุงเทพฯ ธากา โมกาดิชู ไนโรบี นครนิวยอร์ก มาดริด สิงคโปร์ มะนิลา เดลี อิสลามาบาด โซล แบกแดด อัมสเตอร์ดัม โคลัมโบ นิซ ลาฮอร์ บรัสเซลส์ ดาการ์ กัวลาลัมเปอร์ และไทเป และเปิดตัวที่นั่งช้นธุรกิจในชื่อ ฮอไรซันคลาส มีการเปิดศูนย์ขนส่งสินค้ากลางที่บรัสเซลส์และไทเป และมีการเพิ่มแอร์บัส เอ300, โบอิง 747 และ เซสนา ไซเทชันเข้าในฝูงบิน ต่อมาในปี 1989 สายการบินเริ่มให้บริการไปยังลาร์นากาและอาดดิสอาบาบา ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1982 เซาเดียเริ่มให้บริการเที่ยวบินตรงจากญิดดะฮ์สู่นครนิวยอร์กโดยใช้โบอิง 747 เอสพี ตามด้วยเส้นทางรียาด-นิวยอร์ก ในทศวรรษ 1990 เซาเดียเริ่มทำเส้นทางบินสู่ออร์แลนโด เจนไน แอสมารา วอชิงตัน ดี.ซี. โจฮันเนสเบิร์ก อะเล็กซานเดรีย มิลาน มาลากา และซานา พร้อมทั้งมีการเริ่มให้บริการเครื่องบินโบอิง 777, เอ็มดี-90 และเอ็มดี-11 และเปิดตัวอัตลักษณ์องค์กรใหม่ในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 ซึ่งมาพร้อมกับลวดลายอากาศยาน เครื่องแบบพนักงานต้อนรับ และห้องโดยสารที่ถูกออกแบบใหม่ทั้งหมด โดยได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์อีกครั้ง
กิจการองค์กร
แก้กรรมสิทธิ์บริษัท
แก้เซาเดียมีรัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด[8]
บริษัทลูก
แก้- เซาเดียคาร์โก เป็นสายการบินขนส่งสินค้าในเครือของเซาเดีย สายการบินจะทำการบินขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่า 71 แห่งในทั้ง 6 ทวีป[9]
- ฟลายอดีล เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติซาอุดีอาระเบียซึ่งมีฐานอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซในญิดดะฮ์ เซาเดียได้ประกาศตั้งสายการบินราคาประหยัดนี้ตามแผนการเติบโต SV2020 ของสายการบิน[10][11][12] โดยจะมุ่งเป้าไปที่ผู้โดยสารที่เดินทางภายในประเทศ, ผู้แสวงบุญในพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ[13]
อัตลักษณ์องค์กร
แก้ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2023 เซาเดียได้เปิดตัวอัตลักษณ์องค์กรใหม่ในงานอิเวนต์ในญิดดะฮ์ โดยเป็นการดัดแปลงอัตลักษณ์เก่าในช่วงปี 1971 ถึง 1996 ให้มีความทันสมัยมากขึ้น[14][15] เซาเดียได้เปิดตัวโลโก้ ลวดลายอากาศยาน เครื่องแบบพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและพนักงานภาคพื้น ฯลฯ ที่ออกแบบใหม่ทั้งหมด[16] อัตลักษณ์ใหม่นี้จะนำเสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรมในแง่การบริการ โดยมุ่งเน้นด้านดิจิทัลเป็นหลัก และเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์ประจำชาติของประเทศให้แก่ผู้ใช้บริการ ด้วยการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และการบริการทั้งหมด มีการออกแบบและสร้างกลิ่นห้องโดยสารและเพลงต้อนรับใหม่ เพื่อให้สะท้อนถึงวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประเทศมากขึ้น รวมถึงอาหารบนเที่ยวบินที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอาหารท้องถิ่น อัตลักษณ์ใหม่นี้สอดคล้องกับแผนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเชิงกลยุทธ์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์วิชั่น 2030 ของซาอุดีอาระเบีย
เซาเดียเลือกใช้ชุดสีประกอบอัตลักษณ์ที่สะท้องถึงความเป็นตัวตน เอกลักษณ์ของประเทศ และเป้าหมายของสายการบิน โดยมีสามสีหลัก ดังนี้:
โลโก้
แก้จากอัตลักษณ์ใหม่ของสายการบิน ได้มีการเปลี่ยนแปลงโลโก้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นการปรับเปลี่ยนโลโก้ของสายการบินที่ใช้ในช่วงปี 1971 ถึง 1996 โดยจะเป็นภาพสัญลักษณ์ตัดทอนตราแผ่นดินของซาอุดีอาระเบีย และชื่อสายการบิน เซาเดีย เป็นภาษาอังกฤษและอาหรับในรูปแบบตัวพิมพ์ที่ใหม่ถูกดัดแปลงจากโลโก้ดั้งเดิม ทั้งหมดใช้สีเขียว
ลวดลายอากาศยาน
แก้- ลวดลายปัจจุบัน (ค.ศ. 2023–ปัจจุบัน)
ลวดลายรูปแบบปัจจุบันจะมีโลโก้สายการบินสีขาวบนพื้นหลังสีเขียวบริเวณแพนหางของเครื่องบิน ปลายปีกมีสีเขียวพร้อมโลโก้สีขาวบริเวณส่วนล่าง ลวดลายใหม่นี้เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 บนโบอิง 787-10[17] โดยเครื่องบินใหม่ที่จะเข้ามาประจำการกับเซาเดียทุกลำจะมีลวดลายนี้ทั้งหมด
รางวัล
แก้เซาเดียได้รับเลือกให้เป็นสายการบินที่มีการพัฒนามากที่สุดในโลกประจำปี ค.ศ. 2017 และ 2020 โดยสกายแทร็กซ์
จุดหมายปลายทาง
แก้ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 เซาเดียให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทาง 121 แห่งทั่วโลก โดยมีแผนที่จะให้บริการ 250 จุดหมายปลายทางภายในปี 2030
ข้อตกลงการบินร่วม
แก้ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 เซาเดียได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:[18]
- แอโรฟลอต
- แอร์ฟรานซ์[19]
- แอร์มอริเชียส
- เช็กแอร์ไลน์[20]
- สายการบินเอทิฮัด[21]
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์[22]
- ฟลายอดีล[23]
- การูดาอินโดนีเซีย[24]
- กัลฟ์แอร์[25]
- อิตาแอร์เวย์[26]
- เคนยาแอร์เวย์
- โคเรียนแอร์[27]
- เคแอลเอ็ม
- คูเวตแอร์เวย์
- มาเลเซียแอร์ไลน์[28]
- มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์
- โอมานแอร์
- รัวยาแลร์มาร็อก
- เวียดนามแอร์ไลน์
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินปัจจุบัน
แก้ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 เซาเดียมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[29][30][31][32]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
F | J | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ320-200 | 37 | — | – | 12 | 120 | 132 | |
132 | 144 | ||||||
20 | 90 | 110 | |||||
แอร์บัส เอ321-200 | 15 | — | – | 20 | 145 | 165 | |
แอร์บัส เอ321นีโอ | 7 | 67 | – | 20 | 168 | 188 | สั่งซื้อพร้อม 35 ตัวเลือก[33][34] |
แอร์บัส เอ321เอกซ์แอลอาร์ | — | 15[34] | รอประกาศ | ||||
แอร์บัส เอ330-200 | 1 | — | – | – | 366 | 366 | |
แอร์บัส เอ330-300 | 35 | — | – | 36 | 262 | 298 | |
252 | 288 | ||||||
30 | 300 | 330 | |||||
โบอิง 747-400 | 2 | — | 16 | – | 447 | 463 | ให้บริการโดยแอร์แอตแลนตาไอซ์แลนดิก ใช้ในเที่ยวบินฮัจญ์ |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 37 | — | 12 | 36 | 242 | 290 | หนึ่งลำสวมลวดลายย้อนยุคคริสต์ทศวรรษ1970 |
– | 30 | 351 | 381 | ||||
383 | 413 | ||||||
12 | 393 | 405 | |||||
โบอิง 787-9 | 13[35] | 49[36][37] | – | 24 | 274 | 298 | สั่งซื้อพร้อม 10 ตัวเลือก[37] |
โบอิง 787-10 | 8 | – | 24 | 333 | 357[38] | ||
ฝูงบินของเซาเดียคาร์โก | |||||||
โบอิง 747-400BDSF | 2 | — | สินค้า | ให้บริการโดยแอร์แอตแลนตาไอซ์แลนดิก[39] | |||
โบอิง 747-400F | 2 | — | |||||
โบอิง 777F | 4 | — | สินค้า | ||||
รวม | 163 | 131 |
เซาเดียมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.3 ปี
ฝูงบินในอดีต
แก้เซาเดียเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:[40]
เครื่องบิน | รวม | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ300-600 | 11 | 1984 | 2008 | ลูกค้าเปิดตัว |
แอร์บัส เอ330-300 | 1 | 2017 | 2023 | HZ-AQ30 ถูกทำลายในเที่ยวบิน SV458 ระหว่างความขัดแย้งในประเทศซูดาน พ.ศ. 2566[41][42] |
โบอิง 707-320 | ไม่ทราบ | 1969 | 1997 | |
โบอิง 720 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | |
โบอิง 727-100 | 1 | 1976 | 2000s | ดำเนินการสำหรับการบินหลวงซาอุดีอาระเบีย |
โบอิง 727-200 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | |
โบอิง 737-200 | 26 | 1972 | 2007 | |
โบอิง 747-100 | 19 | 1981 | 2010 | |
โบอิง 747-100B | 32 | 1979 | 2012 | |
1 | 1996 | HZ-AIH ตกในเที่ยวบิน SV763 | ||
โบอิง 747-200F | 7 | 1981 | 2012 | |
โบอิง 747-300 | 19 | 1983 | 2013 | 8 ลำถูกจัดเก็บ ลำแรกถูกใช้เป็นเครื่องบินขนส่งสำหรับรัฐบาลและลูกค้าวีไอพี |
โบอิง 747-300SF | 1 | 2014 | 2015 | |
โบอิง 747-8F | 2 | 2013 | 2021 | ปล่อยเช่าสำหรับสายการบินอื่นโดยผู้เช่า[43] |
โบอิง 747 เอสพี | 2 | 1981 | 1992 | |
โบอิง 757-200 | 10 | 2008 | 2011 | ทั้งหมดถูกเช่า |
โบอิง 767-200อีอาร์ | 5 | 2003 | 2012 | |
โบอิง 767-300อีอาร์ | 6 | 2012 | 2012 | |
โบอิง 777-200อีอาร์ | 23 | 1997 | 2019 | |
คอนแวร์ 340 | ไม่ทราบ | 1960s | 1970s | |
เอ็มบราเออร์ อีอาร์เจ-170 | 15 | 2005 | 2016 | ทั้งหมดถูกจัดเก็บ |
ฟอกเกอร์ เอฟ-28 | 2 | 1980 | 1986 | |
ล็อคฮีด แอล-1011-200 | 17 | 1975 | 1998 | HZ-AHP ถูกจัดแสดงอยู่ในในพิพิธภัณฑ์การเดินอากาศรียาด |
1 | 1980 | HZ-AHK ถูกทำลายในเที่ยวบิน SV163 | ||
ล็อคฮีด แอล-1011-500 | 2 | 1970s | ไม่ทราบ | ดำเนินการสำหรับการบินหลวงซาอุดีอาระเบีย |
แมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-8 | 37 | 1977 | 1998 | |
แมคดอนเนลลล์ ดักลาส ดีซี-10 | 1 | 1975 | 1990s | |
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 | 2 | 1998 | 2013 | ดำเนินการสำหรับการบินหลวงซาอุดีอาระเบีย |
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11F | 4 | 1998 | 2014 | ทั้งหมดถูกจัดเก็บ |
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-90-30 | 29 | 1998 | 2013 | สองลำถูกจัดเก็บ |
ฝูงบินอื่น
แก้เซาเดียมีฝูงบินสำหรับการบริการเช่าเหมาลำ, ขนส่งสำหรัลรัฐบาลและลูกค้าวีไอพี, การฝึกหัดบิน ฯลฯ ดังนี้:
เครื่องบิน | รวม | คำสั่งซื้อ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
บีชคราฟท์ โบนันซา | 6 | — | ใช้สำหรับการฝึกหัดบิน |
ดาสซอลท์ ฟัลคอน 900 | 2 | — | ใช้สำหรับรัฐบาล |
ดาสซอลท์ ฟัลคอน 7เอกซ์ | 4 | — | ใช้สำหรับการขนส่งเช่าเหมาลำ |
กัลฟ์สตรีม ไฟว์ | 6 | — | ใช้สำหรับรัฐบาล |
ฮอกเกอร์ 400 เอกซ์พี | 6 | — | ใช้สำหรับรัฐบาล |
เครื่องบิน | รวม | คำสั่งซื้อ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
แอร์บัส เอซีเจ318 | 1 | — | HZ-AS99 |
แอร์บัส เอ340-200เอกซ์ | 1 | — | ไม่สวมลวดลายเซาเดีย |
1 | |||
โบอิง 747-300 | 1 | — | |
โบอิง 747-400 | 1 | — | ไม่สวมลวดลายเซาเดีย |
โบอิง 757-200 | 1 | — | ใช้สำหรับโรงพยาบาลเคลื่อนที่
ไม่สวมลวดลายเซาเดีย |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 1 | — | ไม่สวมลวดลายเซาเดีย |
โบอิง 787-8 | 2 | — | ไม่สวมลวดลายเซาเดีย |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ تعيين إبراهيم العمر مديراً للخطوط الجوية السعودية [Appointment of Ibrahim Al-Omar as Director of Saudi Airlines] (ภาษาอาหรับ). 23 ตุลาคม 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ตุลาคม 2020.
- ↑ "Saudia outlines 2017 fleet delivery plan | Airframes content from ATWOnline". Aviation Week. 21 มกราคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2023.
- ↑ "Saudi Arabian Airlines Ground Services Company: Private Company Information - Businessweek". web.archive.org. 5 มิถุนายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2023.
- ↑ "AACO | Member Airlines". AACO: Arab Air Carriers Organization - الإتحاد العربي للنقل الجوي (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Economy and Infrastructure" (PDF). Saudi Embassy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2014.
- ↑ "Preview unavailable - ProQuest". www.proquest.com.
- ↑ "El Al Brief History | Israel Airline Museum". www.israelairlinemuseum.org.
- ↑ "Saudia Group Airline Group Profile | CAPA". centreforaviation.com.
- ↑ "Saudia Cargo launches priority express service to Europe | Air Cargo Next" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 11 ตุลาคม 2018.
- ↑ "AACO | Saudia Airlines announces launching flyadeal, a new low-cost carrier". AACO: Arab Air Carriers Organization - الإتحاد العربي للنقل الجوي (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Saudia launches low cost Flyadeal airline". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ). 18 เมษายน 2016.
- ↑ "Saudia unveils new budget carrier, flyadeal". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Flyadeal's launch puts Saudia at higher altitude". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 19 เมษายน 2016.
- ↑ "Saudia enters a new era through major re-brand strategy". www.saudia.com. 30 กันยายน 2023.
- ↑ Ranabhat, Sharad (30 กันยายน 2023). "Saudia Unveils New Brand Identity and Livery". SamChui.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "This is how we fly". www.saudia.com. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2023.
- ↑ Habib, Abid (2 กรกฎาคม 2023). "Spotted: Saudia's Newest Boeing 787-10 Dreamliner In Stunning Retro Livery". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Saudia Airline Profile | CAPA". centreforaviation.com.
- ↑ "SAUDI AIRLINES AND AIR FRANCE TO SIGN A CODESHARE AGREEMENT" (Press release). Saudia. 21 กุมภาพันธ์ 2011.
- ↑ "Saudia / CSA Czech Airlines begins codeshare partnership from late-Dec 2018". Routesonline. 1 มกราคม 2019.
- ↑ "Etihad / Saudia plans codeshare partnership from late-Oct 2018". Routesonline. 9 ตุลาคม 2018.
- ↑ "ETHIOPIAN AIRLINES / SAUDIA BEGINS CODESHARE PARTNERSHIP FROM MID-MARCH 2023". Aeroroutes. 3 เมษายน 2023.
- ↑ "SAUDIA / FLYADEAL BEGINS CODESHARE SERVICE FROM LATE-SEP 2023". Aeroroutes. 27 กันยายน 2023.
- ↑ "Saudia expands Garuda Indonesia codeshare to Australia from Sep 2018". Routesonline. 7 กันยายน 2018.
- ↑ "Saudia Airlines activates codeshare agreement with Gulf Air". Arab News. 25 เมษายน 2021.
- ↑ "ITA Airways World - The Network". Italia Trasporto Aereo.
- ↑ "Korean Air / Saudia resumes codeshare service from March 2018". Routesonline. 14 มีนาคม 2018.
- ↑ "Malaysia Airlines, Saudi Airlines announce codesharing agreement". New Straits Times. 22 ธันวาคม 2022.
- ↑ "OUR FLEET". 26 Saudia.
- ↑ "SAUDIA Fleet". www.planespotters.net. 20 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2018.
- ↑ "Airbus Orders & Deliveries". Airbus. 31 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2021.
- ↑ "Saudi Arabian Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 3 ตุลาคม 2023.
- ↑ Kaminski-Morrow, David (18 มิถุนายน 2019). "PARIS: Saudia takes A321XLR as part of extra Airbus deal". Flight Global.
- ↑ 34.0 34.1 "Saudi Arabian Airlines to boost A320neo Family fleet up to 100". Airbus (Press release). 18 มิถุนายน 2019.
- ↑ "Boeing 787 Orders and Deliveries Report". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2019.
- ↑ Hofmann, Kurt (15 มีนาคม 2019). "Saudi Arabian Airlines evaluates widebody order". m.atwonline.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
- ↑ 37.0 37.1 "SAUDIA to Grow Long-Haul Fleet with up to 49 Boeing 787 Dreamliners". Boeing. 14 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2023.
- ↑ "Saudia temporary files Boeing 787-10 service in S20". Routesonline (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2019.
- ↑ "Saudia to wet-lease two more B747-400 freighters". ch-aviation. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2015.
- ↑ "Saudi Arabian Airlines Fleet Details and History". Plane Spotters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2014.
- ↑ Garbuno, Daniel Martínez (16 เมษายน 2023). "Saudia Airbus A330-300 & SkyUp Boeing 737-800 Damaged In Sudan Conflict". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2023.
- ↑ Hogg, Ryan. "A Saudi Arabian airline said an A330 plane was involved in an 'accident' at Khartoum airport in Sudan". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2023.
- ↑ "Saudia disposes of its two B747-8 freighters". Ch-Aviation. 2 พฤศจิกายน 2021.