แอล อัล อิสราเอลแอร์ไลน์ หรือ แอล อัล (ฮีบรู: אל על, "สู่ท้องฟ้า" หรือ "Skywards") เป็นสายการบินแห่งชาติของอิสราเอล ให้บริการเที่ยวบินในประเทศ, ระหว่างประเทศ และเที่ยวบินขนส่งสินค้า มีจุดหมายปลายทางในทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้ ,แอฟริกา, เอเชีย, และออสเตรเลีย มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน กรุงเทลอาวีฟ[1]

แอล อัล อิสราเอลแอร์ไลน์
אל על
IATA ICAO รหัสเรียก
LY ELY EL AL
ก่อตั้งพ.ศ. 2491 (75 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน
สะสมไมล์มัตมิด
ขนาดฝูงบิน43 (+ 4 สั่งซื้อ) รวมทั้งเที่ยวบินสินค้า
จุดหมาย43
สำนักงานใหญ่ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน
เซ็นทรัลดิสทริสต์, อิสราเอล
บุคลากรหลัก
เว็บไซต์www.elal.co.il

ฝูงบินในปี พ.ศ. 2553 เป็นเครื่องของโบอิงทั้งหมด 40 ลำ ไล่ตั้งแต่รุ่น 737-700 ถึง รุ่น 747-400 รวมทั้ง 747-400F และ 747-200F ซึ่งปฏิบัติการโดยฝ่ายขนส่งแอล อัล มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ชั้นหนึ่งท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน

นับตั้งแต่เที่ยวบินทางการครั้งแรกจากเจนีวาสู่เทลอาวีฟ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 แอล อัลขยายสุดหมายปลายทางไปสู่ 48 จุดหมาย ใน 5 ทวีป ทั้งยังเป็นสายการบินแห่งชาติของอิสราเอล สายการบินแอล อัลมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม เช่น การอพยพชาวยิวออกจากเอธิโอเปีย และเยเมน และประเทศอื่นที่ชาวยิวตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย แอล อัลยังเคยสร้างสถิติเที่ยวบินที่มีผู้โดยสารมากที่สุด ซึ่งเคยทำไว้ในปฏิบัติการโซโลมอน

แอล อัลเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสายการบินที่มีสถิติความปลอดภัยมากที่สุดในโลก จากมาตรการความปลอดภัยในการป้องกันการจี้เครื่องบินของสลัดอากาศหลายครั้ง แต่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่สลัดอากาศกระทำสำเร็จ[2][3]

การรักษาความปลอดภัย (Security) แก้ไข

เนื่องจาก สายการบินแอล อัล ตกเป็นเป้าหมายในการก่อการร้ายมานานหลายทศวรรษ ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ แอล อัล จำต้องปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดทั้งบนพื้นดินและบนอากาศยาน จึงเกิดกระแสวิจารณ์ความไม่สะดวกในการใช้บริการ และเป็นประเด็นถกเถียงในเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด[4] แต่อย่างไรนั้นความมีชื่อเสียงด้านมาตรการรักษาความปลอดภัย ทำให้ แอล อัล ได้รับรางวัลสายการบินที่มีมาตราฐานการรักษาความปลอดภัยสูงที่สุดในโลก ในปี ค.ศ. 2008 จากนิตยสาร "โกลบอล แทรเวลเลอร์"[5]

มาตรการการรักษาความปลอดภัยในสนามบิน แก้ไข

สายการบินกำหนดให้ผู้โดยสารต้องรายงานตัวสามชั่วโมงก่อนออกเดินทาง อาคารผู้โดยสารของแอล อัล ทั่วโลกมีการเฝ้าระวังความปลอดภัยอย่างเข้มงวด มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบและกำลังทหาร ตำรวจ ติดอาวุธครบมือออกตรวจตราวัตถุระเบิด บุคคลผู้มีพฤติกรรมที่น่าสงสัย และภัยคุกคามอื่นๆ กระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสารจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด ผู้โดยสารทุกคนจะต้องผ่านการสอบถามคำถามด้านการรักษาความปลอดภัย จากเจ้าหน้าที่ถึงสาเหตุในการเดินทางเพื่อประเมินความเสี่ยง โดยเจ้าหน้าที่มักจะถามว่า ผู้โดยสารมาจากไหน มีเหตุผลอะไรในการเดินทาง ตลอดจนถามถึงอาชีพการงาน และสอบถามถึงสัมภาระของผู้โดยสารว่าเป็นผู้บรรจุเองหรือไม่

ที่เคาเตอร์เช็คอินผู้โดยสารทุกคนจะต้องผ่านการตรวจสอบบัตรโดยสารและหนังสือเดินทางอย่างละเอียดโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสายการบิน ผู้ที่ยังมิได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยอาจถูกปฏิเสธไม่ให้เช็คอิน ที่ด่านตรวจหนังสือเดินทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบชื่อและนามสกุลของผู้โดยสารโดยใช้ฐานข้อมูลของ สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา, สำนักข่าวกรองความปลอดภัยแคนาดา, สก็อตแลนด์ยาร์ด, สำนักความปลอดภัยอิสราเอล และองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ สัมภาระผู้โดยสารจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดและบางครั้งอาจต้องตรวจสอบด้วยมือ นอกจากนี้สัมภาระความเสี่ยงสูงต้องผ่านการเข้าห้องปรับความดันเพื่อทดสอบหาระเบิดแสวงเครื่องที่ทำงานโดยอาศัยหลักความกดอากาศหรือความดันขณะบิน[6] แม้จะเป็นสนามบินในต่างประเทศเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของสายการบินก็ยังทำการตรวจสอบสัมภาระเองทั้งหมด[7]

มาตรการความปลอดภัยบนเที่ยวบิน แก้ไข

ในทุกเที่ยวบินระหว่างประเทศจะมีแอร์ มาร์แชลหรือเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบซุกซ่อนอาวุธแฝงตัวไปกับผู้โดยสาร[8] นักบินส่วนใหญ่ของแอล อัล จะเป็นอดีตนักบินของกองทัพอากาศอิสราเอล[9] ห้องนักบินได้ติดตั้งประตูนิรภัยแน่นหนาสองชั้น เพื่อป้องกันบุคคลไม่ได้รับอนุญาตเข้าห้องนักบินและมีระบบรหัสลับสำหรับการผ่านเข้าออก ประตูห้องนักบินที่สองจะเปิดได้ก็ต่อเมื่อประตูที่หนึ่งปิดแล้วเท่านั้น บุคคลที่จะเข้าห้องนักบินทุกคนจะต้องรับการตรวจค้นจากกัปตันเครื่องหรือผู้ช่วยนักบินที่หนึ่ง พื้นห้องโดยสารได้รับการเสริมเหล็กกล้าเพื่อป้องกันระหว่างห้องโดยสารกับห้องสัมภาระ[10]

จากเหตุการลอบโจมตีอากาศยานของอิสราเอลในปี 2002[11] ทำให้อากาศยานบางลำ(ขึ้นกับระดับภัยคุกคามของเส้นทางการบิน)ของแอล อัล ได้รับการติดตั้งระบบต่อต้านจรวดนำวิถีด้วยอินฟราเรด (IRCM) เรียกว่า"ไฟลท์การ์ด"[12][13][14][15] ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทอุตสาหกรรมการบินอิสราเอล เพื่อป้องกันตัวจากขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ

ฝูงบิน แก้ไข

ฝูงบินของแอล อัลทั้งหมดเป็นเครื่องบินที่ผลิตโดยโบอิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 13.1 ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554) [16][17]

 
แอล อัล โบอิง 777-200อีอาร์ (พ.ศ. 2553)
 
แอล อัล โบอิง 747-200บี (พ.ศ. 2547)
 
แอล อัล โบอิง 737, ทะเบียน 4X-EKA (พ.ศ. 2553)
ฝูงบินแอล อัล
ฝูงบินโดยสาร
อากาศยาน จำนวน สั่งซื้อ พิจารณา ผู้โดยสาร
F J Y รวมทั้งสิ้น
โบอิง 737-700
2
16
88
104
โบอิง 737-800
16
16
126
142
โบอิง 737-900อีอาร์
4
2
16
144
160
โบอิง 747-400
6
8
52
348
408
โบอิง 757-200
5
16
162
178
โบอิง 767-200อีอาร์
2
24
167
191
โบอิง 767-300อีอาร์
6
20
215
235
โบอิง 777-200อีอาร์
6
12
35
232
279
ฝูงบินสินค้า
โบอิง 747-200เอฟ
2
N/A
โบอิง 747-400เอฟ
1
N/A
Total 43 4 2

อ้างอิง แก้ไข

  1. Orme, William A. Jr. "El Al at a Turning Point; A Mirror of Israel's Divisions Prepares to Go 49% Public." The New York Times. March 5, 1999. C1, New York Edition. 1. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553.
  2. "El Al secure because it must be". CNN. 2002-07-05. สืบค้นเมื่อ 2016-05-15.
  3. Walt, Vivienne (2001-01-10). "Unfriendly skies are no match for El Al". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2007-04-29.
  4. Walt, Vivienne (2001-01-10). "Unfriendly skies are no match for El Al". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2007-04-29.
  5. "EL AL named most secure airline". เยรูซาเร็มโพสต์. 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-06.[ลิงก์เสีย]
  6. "El Al Decompression Chamber". Simcoe Engineering Group Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 2016-05-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. "El Al wants to do own bag screening at Newark". USA Today. 2006-05-12. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07.
  8. "El Al sets security standards". BBC News. 2002-07-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07.
  9. "Model for air travel security may be El Al". CNN. 2001-09-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-24. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07.
  10. Silver, Eric (2006-08-15). "Flying under the eagle eyes of El Al's famed high security". New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2006-08-15.
  11. "Kenyan police find Mombasa missiles". BBC News. 2002-12-06.
  12. Vause, John (24 May 2004). "Missile defense for El Al fleet". CNN. สืบค้นเมื่อ 2007-11-30.
  13. WILLIAMS, DAN (02/16/06 18:10). "El Al Fits Fleet with Anti-Missile System". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-28. สืบค้นเมื่อ 2007-11-30. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. "IAI/Elta's "Flight Guard" Commercial Aircraft Protection System Funded". Israeli Aerospace Industries. 2003-09-08.
  15. "El Al Airlines installs anti-missile systems on passenger aircraft". Haaretz. 2006-02-15. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07. El Al, Israel's national carrier and largest airline
  16. "Israel Travel — Our Fleet". สืบค้นเมื่อ 2010-01-18.
  17. "El Al fleet list at planespotters.net". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-30. สืบค้นเมื่อ 2011-08-10.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข