โบอิง 747-8 เป็นรุ่นล่าสุดของโบอิง 747 ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง ซึ่งพัฒนามาจากโบอิง 747-400 ก่อนหน้าที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เครื่องบินรุ่นนี้จะรู้จักกันในชื่อ 747 แอดวานซ์

โบอิง 747-8
บทบาทอากาศยานลำตัวกว้าง
ชาติกำเนิดสหรัฐอเมริกา
บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง
บินครั้งแรก747-8F: 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
747-8I: 20 มีนาคม พ.ศ. 2554
เริ่มใช้747-8F: 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554, กับคาร์โกลักซ์
747-8I: 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555, กับลุฟต์ฮันซา
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักลุฟต์ฮันซา
โคเรียนแอร์
คาร์โกลักซ์
คาเธ่ย์แปซิฟิค คาร์โก
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2551–2565
จำนวนที่ผลิต130 ลำ (เมื่อ พ.ย. 2561)
มูลค่า747-8I: 402.9 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
747-8F: 403.6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
พัฒนามาจากโบอิง 747-400
แบบอื่นโบอิง วีซี-25B
เปรียบเทียบขนาดเครื่องบินขนาดใหญ่

ประวัติ แก้

ก่อนหน้านี้ โบอิงมีโครงการพัฒนาเครื่องบิน 747 ในชื่อรุ่น 747X (มาจาก Experimental) และ 747-400XQLR (มาจาก Experimental Quiet Long-Range) แต่แล้วก็ได้ยุติโครงการไป แล้วหันมาพัฒนารุ่น 747 แอดวานซ์แทน ซึ่งต่อมาจึงได้กลายเป็น 747-8 โดยนำเอาเทคโนโลยีของ787มาใช้ร่วมกัน

โบอิงได้กล่าวไว้ว่า เครื่องบินรุ่นใหม่นี้ จะมีเครื่องที่เงียบ ประหยัดต้นทุน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ารุ่นอื่นๆ นอกจากนี้ด้วยประสิทธิภาพโดยรวม จะสามารถแข่งขันกับเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ได้

ทั้งนี้เครื่อง 747-8 จะเป็นเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโบอิง มีระยะพิสัยการบินใกล้เคัยงกับ เอ 380 และเป็นทางเลือกให้กับหลายสายการบิน เพื่อให้บริการในเส้นทางที่มีผู้โดยสารใช้บริการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งมอบที่ล่าช้าของ เอ 380 ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ 747-8 มากขึ้น

โบอิงวางแผนที่จะผลิต 747-8 ออกมา 2 รุ่น คือ 747-8I (หรือ 747-8 Intercontinental) เป็นเครื่องบินโดยสารโดยมีลุฟต์ฮันซาเป็นลูกค้าส่งมอบรายแรก และ747-8F (หรือ 747-8 Freighter) เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าโดยมีคาร์โกลักซ์ และนิปปอนคาร์โกแอร์ไลน์เป็นลูกค้าส่งมอบสองรายแรก นอกจากนี้โบอิงยังผลิตรุ่น 747-8 ที่ตกแต่งพิเศษเป็นเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวอีกด้วย

ข้อมูลจำเพาะ แก้

ข้อมูล 747-8I 747-8F
นักบิน 2
ความจุผู้โดยสาร 467 (จัดแบบ 3 ชั้นบิน) N/A
ความยาว 76.4 เมตร (250 ฟุต 8 นิ้ว)
ความกว้างของปีก 68.5 เมตร (224 ฟุต 7 นิ้ว)
ความสูง 19.5 เมตร (64 ฟุต 2 นิ้ว)
ความกว้างของห้องนักบิน 6.1 เมตร (20.1 ฟุต)
น้ำหนักบรรทุกเปล่า 185,972 กิโลกรัม (410,000 ปอนด์) ? กิโลกรัม (? ปอนด์)
น้ำหนักบรรทุกโดยไม่บรรจุเชื้อเพลิง 276,691 กิโลกรัม (610,000 ปอนด์) 318,422 กิโลกรัม (702,000 ปอนด์)
น้ำหนักสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้น 439,985 กิโลกรัม (970,000 ปอนด์)
ความเร็วปกติ 0.855 มัก 0.845 มัก
พิสัยบิน เมื่อบรรทุกเต็มลำ 14,815 กิโลเมตร (8,000 ไมล์ทะเล) 8,275 กิโลเมตร (4,475 ไมล์ทะเล)
ความจุสินค้า 161.5 ตารางเมตร (5,705 ตรางฟุต) 854.3 ตารางเมตร (30,177 ตารางฟุต)
เพดานบิน 13,100 เมตร (43,000 ฟุต)
เครื่องยนต์ GEnx-2B67
แรงผลักดัน 296 กิโลนิวตัน (66,500 ปอนด์ฟอร์ซ)

การสั่งซื้อและส่งมอบ แก้

ณ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ลูกค้าที่สั่งผลิตเครื่องบินรุ่นนี้คือ:

วันที่ สายการบิน เริ่มให้บริการ รุ่น หมายเหตุ
747‑8I 747‑8F Options
15 พฤศจิกายน 2548   คาร์โกลักซ์ [1] 2552   10 (10) ลูกค้าส่งมองรายแรกของรุ่น 747-8 Freighter
  นิปปอนคาร์โกแอร์ไลน์ [2] 2552   8 6 ลูกค้าส่งมอบรายแรกของรุ่น 747-8 Freighter
30 พฤษภาคม, 2549   โบอิงบิซิเนสเจ็ต [3] 2553 1     ลูกค้าวีไอพี ไม่ระบุชื่อ
11 กันยายน, 2549   แอตลาสแอร์ [4] 2553   12 14  
15 กันยายน, 2549   โบอิงบิซิเนสเจ็ต [5] 2553 1     ลูกค้าวีไอพี ไม่ระบุชื่อ
26 กันยายน, 2549   โบอิงบิซิเนสเจ็ต [6] 2553 1     ลูกค้าวีไอพี ไม่ระบุชื่อ
30 กันยายน, 2549   เอมิเรตส์ สกายคาร์โก [7] 2553   10    
6 พฤศจิกายน, 2549   โบอิงบิซิเนสเจ็ต 2553 1     ลูกค้าวีไอพี ไม่ระบุชื่อ
30 พฤศจิกายน, 2549   Guggenheim Aviation Partners [8] 2552   4 2  
6 ธันวาคม, 2549   ลุฟต์ฮันซา [9] เก็บถาวร 2009-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [10] 2553 20   20 ลูกค้าส่งมอบรายแรกของรุ่น 747-8 Intercontinental
28 ธันวาคม, 2549   โกเรียนแอร์ [11] 2553   5    
9 มีนาคม, 2550 ไม่สามารถระบุได้ [12]     6  
12 มีนาคม, 2550   โวลกา-ดเนปร์ [13]     5 (5) ให้บริการโดยแอร์บริดจ์คาร์โก
19 มีนาคม 2550   คาร์โกลักซ์ [14] เก็บถาวร 2008-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2552   3 2  
10 กรกฎาคม 2550   โบอิงบิซิเนสเจ็ต 1     ลูกค้าวีไอพี ไม่ระบุชื่อ
27 กรกฎาคม 2550 ไม่สามารถระบุได้ [15]   2    
8 พฤศจิกายน 2550   คาเธย์แปซิฟิก [16] 2552   10 (14)  
12 พฤศจิกายน 2550   ดูไบ แอโรสเปช เอนเตอร์ไพรซ์ [17] 2554   5    
รวม 25 80 44 (29)  
รวมทั้งหมด 105

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน แก้

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน แก้

เครื่องบินที่คล้ายกัน แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

[[หมวดหมู่:อากาศยานเชิงพาณิชย์]