ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี
ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy International Airport) หรือเดิมคือท่าอากาศยานไอเดิลไวล์ด (Idlewild Airport) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ตั้งอยู่ในเขตชุมชนจาเมกา, ควีนส์ ทางตะวันออกเฉียงใต้นิวยอร์กซิตี อยู่ห่างจากตอนใต้ของเกาะแมนแฮตตันประมาณ 19 กิโลเมตร (12 ไมล์)
ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||||||||||
การใช้งาน | Public | ||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | City of New York[1] | ||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | Port Authority of New York and New Jersey[1] | ||||||||||||||||||||||
พื้นที่บริการ | New York City | ||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | Southern Queens, NY | ||||||||||||||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 13 ฟุต / 4 เมตร | ||||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | [2] | ||||||||||||||||||||||
FAA airport diagram as of 20 November 2008 | |||||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ | |||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
สถิติ (2010) | |||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
เจเอฟเค เป็นประตูหลักสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางมายังสหรัฐ[5] และยังเป็นจุดขนส่งสินค้าที่สำคัญของประเทศอีกด้วย[6]
ท่าอากาศยานแห่งนี้บริหารงานโดยการท่าเรือนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี (Port Authority of New York and New Jersey) ซึ่งเป็นผู้ดูแลท่าอากาศยานแห่ง 3 แห่ง ในเขตเมืองนิวยอร์กซิตีและปริมณฑล ได้แก่ นูอาร์ก ลิเบอร์ตี, ลากวาเดีย และเทเตอร์โบโร โดยทั้งหมดนี้เจเอฟเคเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นฐานการให้บริการของเจ็ตบลู แอร์เวย์ รวมทั้งเป็นท่าอากาศยานหลักของเดลต้า แอร์ไลน์ และอเมริกัน แอร์ไลน์
ในปีพ.ศ. 2547 จำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศขาออกจากเจเอฟเคมีสัดส่วนร้อยละ 17 ของผู้โดยสารชาวอเมริกันที่เดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าท่าอากาศยานอื่นๆในสหรัฐ ในปีพ.ศ. 2543 เจเอฟเคให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศโดยเฉลี่ย 50,000 คนต่อวัน เส้นทางบินเจเอฟเค-ลอนดอน ฮีทโธรว์ เป็นเส้นทางระหว่างประเทศจากอเมริกาที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด มีจำนวนกว่า 2.9 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2543[2] เก็บถาวร 2006-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ส่วนจุดหมายปลายทางหลักอื่นๆ ในเที่ยวบินระหว่างประเทศของเจเอฟเค ได้แก่ ปารีส , แฟรงค์เฟิร์ต และโตเกียว นอกจากมีสายการบินเกือบ 100 บริษัท จาก 50 ประเทศทั่วโลกให้บริการเส้นทางมายังเจเอฟเค
และแม้ว่าเจเอฟเคจะเป็นที่รับรู้กันว่าเป็นท่าอากาศยานหลักทั้งของนิวยอร์กซิตีและสหรัฐ แต่เจเอฟเคก็ยังให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเส้นทางไปยังฝั่งตะวันตกของประเทศ ในปีพ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับการใช้บริการผู้โดยสารจำนวน 41 ล้านคน ส่วนท่าอากาศยานนูอาร์ก ลิเบอร์ตี ให้บริการ 33 ล้านคน และท่าอากาศยานลากวาเดียให้บริการ 26 ล้านคน รวมแล้วมีผู้มาใช้บริการท่าอากาศยานในเขตเมืองนิวยอร์กกว่า 100 ล้านคน ทำให้น่านฟ้านครนิวยอร์กมีการจราจรทางอากาศหนาแนที่สุดในประเทศ ทะลุผ่านสถิติของน่านฟ้าเมืองชิคาโก
ประวัติ
แก้ท่าอากาศยานแห่งนี้บริหารงานโดยการท่าเรือนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี เช่าพื้นที่จากเมืองนิวยอร์กซิตี มาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2490 การก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใช้เงินจำนวนถึง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปัจจุบัน ได้มีการประเมินแล้วว่าทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจถึง 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการว่าจ้างงานถึง 207,000 ตำแหน่ง
การก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อพ.ศ. 2485 ด้วยเนื้อที่เพียง 4 ตารางกิโลเมตร (1,000 เอเคอร์) บนสนามกอล์ฟไอเดิลไวล์ด ชื่อของท่าอากาศยานจึงใช้ชื่อตามสนามกอล์ฟว่า ท่าอากาศยานไอเดิลไวล์ด
เที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกให้บริการวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 และได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานใหม่ในวันที่ 31 กรกฎาคม ในปีเดียวกันว่า ท่าอากาศยานนานาชาตินิวยอร์ก แต่อย่างไรก็ตามชื่อ "ไอเดิลไวล์ด" ก็ยังถูกใช้เรียกโดยทั่วไปและยังคงใช้รหัสสนามบิน IATA ว่า IDL
ในขณะที่อุตสาหกรรมการบินเติบโตขึ้น ไอเดิลไวล์ดเองก็เติบโตตามไปด้วย และด้วยความสำคัญของการเป็นศูนย์กลางธุรกิจระดับโลกของนิวยอร์ก ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจึงต้องเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการ จึงขยายพื้นที่ไปถึง 16 ตารางกิโลเมตร (4,000 เอเคอร์) และสร้างอาคารผู้โดยสารเป็น 8 หลังในเวลาต่อมา ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านสายการบินต่างไม่ว่าจะเป็นแพนแอม , ทีดับเบิลยูเอ, อีสเทิร์นแอร์ไลน์, เนชั่นเนลแอร์ไลน์, ทาวเวอร์แอร์ และฟลายอิงไทเกอร์ไลน์ ทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้กลายศูนย์กลางการบินระดับโลก
อาคารผู้โดยสารชั่วคราวที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 เป็นอาคารผู้โดยสารเพียงหลังเดียวจนกระทั่ง พ.ศ. 2500 จึงได้เปิดอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศขึ้น ส่วนอาคารหลังอื่นๆสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2501-2515 อาคารแต่ละหลังออกแบบโดยสายการบินหลักของท่าอากาศยาน
อาคารเวิร์ลพอร์ต แพนแอม (the Worldport (Pam Am)) เปิดใช้เมื่อพ.ศ. 2505 ปัจจุบันคืออาคารผู้โดยสาร 3 ประกอบด้วยหลังคารูปวงรีขนาดใหญ่ แขวนด้วยสายเคเบิลอยู่กับเสา 32 ต้น ส่วนของหลังคาครอบคลุมพื้นที่อาคารและพื้นที่รอขึ้นเครื่อง และยังมีทางเชื่อม (Jetway) หรืองวงช้าง เชื่อมต่อกับอาคารและเครื่องบิน
อาคารสายการบินทีดับเบิลยูเอ (the TWA Flight Center) เปิดใช้ในปีพ.ศ. 2505 เช่นกัน ปัจจุบันอาคารผู้โดยสาร 5 ออกแบบโดย Eero Saarinen มีรูปร่างเป็นสัญลักษณ์แทนการบิน เป็นอาคารผู้โดยสารที่ได้ชื่อว่ามีเอกลักษณ์โดดเด่นแห่งหนึ่งของโลก หลังจากที่ดับเบิลยูเอถอดตัวออกไป ก็ไม่ได้ใช้งานอีกเลย โดยอาคารหลังนี้จะเป็นส่วนหนึ่งกับอาคารผู้โดยสาร 5 หลังใหม่ที่กำลังก่อสร้างโดยเจ็ตบลู
ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อพ.ศ. 2506 เพียง 1 เดือนหลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ท่าอากาศยานแห่งนี้จึงได้รับรหัสสนามบิน IATA ใหม่เป็น JFK และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ก็มักจะใช้ตัวย่อนี้เรียกเป็นชื่อท่าอากาศยานกันติดปาก
ในปีพ.ศ. 2513 เนชั่นเนลแอร์ไลน์ ได้เปิดใช้อาคารซันโดรม (Sundrome) ซึ่งออกแบบโดย Pei Cobb Freed & Partners ปัจจุบันคืออาคารผู้โดยสาร 6 และใช้งานโดยเจ็ตบลู ในเวลาต่อมาการจราจรทางอากาศของนิวยอร์กมีปริมาณมากขึ้น จึงมีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร 3 และ 5 ใหม่ในช่วงปีพ.ศ. 2513-2522 เพื่อรองรับเครื่องบิน โบอิง 747 ส่วนเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง คองคอร์ด ซึ่งบริติช แอร์เวย์และแอร์ฟรานซ์ เปิดให้บริการเส้นทางบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยความเร็วเหนือเสียงจากเจเอฟเค ตั้งแต่พ.ศ. 2520 จนถึงพ.ศ. 2546 ปีที่ทั้งสองสายการบินยกเลิกการให้บริการเครื่องบินคองคอร์ด เจเอฟเคเป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเครื่องบินคองคอร์ดต่อปีมากที่สุดในโลก
ในปีพ.ศ. 2541 ได้มีการก่อสร้างระบบขนส่งระบบรางแอร์เทรน เจเอฟเค ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2546 ทางรถไฟนี้เชื่อมต่ออาคารผู้โดยสารแต่ละอาคารกับระบบรถไฟใต้ดินของนิวยอร์กและรถไฟชานเมืองกับโฮวาร์ดบีชและโอโซนปาร์ค
ช่วงเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เจเอฟเคเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานแรกๆในสหรัฐที่หยุดการให้บริการชั่วคราว
วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550 เจเอฟเคเป็นท่าอากาศยานแห่งแรกในสหรัฐที่รองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ที่มีผู้โดยสารเดินทางมาด้วย ณ อาคารผู้โดยสาร 1 ซึ่งการบินทดสอบครั้งนี้บรรทุกผู้โดยสารมากกว่า 500 คน ดำเนินการโดยลุฟต์ฮันซาและแอร์บัส
แผนการในอนาคต
แก้เจเอฟเคกำลังอยู่ในช่วงการปรับปรุงด้วยงบจำนวนมากถึง 10.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสาร 1 ใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว รวมถึงอาคารผู้โดยสาร 4 ที่สร้างแทนที่อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ซึ่งได้เปิดให้บริการไปเมื่อพ.ศ. 2544 ส่วนอาคารผู้โดยสาร 5 ใหม่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ แต่ก็ยังรักษาอาคารเดิมไว้ อาคารผู้โดยสาร 2 และ 3 กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะทุบทิ้งหรือปรับปรุงใหม่ และอาคารผู้โดยสาร 8 และ 9 กำลังดำเนินการเชื่อมต่อให้เป็นอาคารเดียวกัน
อาคารผู้โดยสาร และสายการบิน
แก้อาคารผู้โดยสาร 1
แก้- โคเรียนแอร์ไลน์ (โซล-อินชอน)
- เจแปนแอร์ไลน์ (โตเกียว-นาริตะ, เซาเปาลู-กัวรูลอส)
- ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง)
- ไชน่าแอร์ไลน์ (ไทเป-ไต้หวันเถาหยวน)
- ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ (เจดดาห์, ริยาดห์)
- เตอร์กิชแอร์ไลน์ (อิสัตนบูล-แอตตาตุก)
- เติร์กเมนิสถานแอร์ไลน์ (อาชกาบัต)
- รอยัลแอร์โมร็อค (คาซาบลังกา)
- ลุฟต์ฮันซา (มิวนิก, แฟรงค์เฟิร์ต)
- สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (เจนีวา, ซือริช)
- ออสเตรียนแอร์ไลน์ (เวียนนา)
- อัลอิตาเลีย (มิลาน-มาลเปนซา, โรม-ฟีอูมิชิโน)
- เอ็มเอเอ็กซ์เจ็ตแอร์เวย์ (ลอนดอน-สแตนสเต็ด)
- แอร์โคเม็ต (มาดริด)
- แอร์ไชน่า (ปักกิ่ง)
- แอร์ฟรานซ์ (ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล)
- แอโรฟลอต (มอสโก-เชเรเมเตียโว)
- แอโรเม็กซิโก (เปอบลา, เม็กซิโกซิตี)
- โอลิมปิกแอร์ไลน์ (เอเธนส์)
อาคารผู้โดยสาร 2
แก้- เดลต้า แอร์ไลน์
- เดลต้า คอนเนคชั่น ให้บริการโดย คอมแอร์
- เดลต้า คอนเนคชั่น ให้บริการโดย โชโตโกแอร์ไลน์
- เดลต้า คอนเนคชั่น ให้บริการโดย ฟรีดอมแอร์ไลน์
อาคารผู้โดยสาร 3
แก้อาคารผู้โดยสาร 4
แก้- การบินไทย (กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ)
- คอนติเนนตัล แอร์ไลน์ (ฮิวส์ตัน-อินเตอร์คอนติเนนตัล)
- คอนติเนนตัลเอ็กซ์เพรส ให้บริการโดย เอ็กซ์เพรสเจ็ตแอร์ไลน์ (คลีฟแลนด์)
- คูเวตแอร์เวย์ (คูเวตซิตี, ลอนดอน-ฮีทโธรว์)
- เคแอลเอ็ม โรยัลดัตช์ แอร์ไลน์ (อัมสเตอร์ดัม)
- แคริบเบียนแอร์ไลน์ (กูยานา, พอร์ทออฟสเปน)
- โคปาแอร์ไลน์ (ปานามาซิตี)
- เจ็ตบลูแอร์เวย์ (แคนคูน, ซานติเอโก[DR], ซานโตโดมินิโก (เริ่ม 24พฤษภาคม 2550), ซานฮวน[PR])
- เชคแอร์ไลน์ (ปราก)
- ซันคันทรีย์แอร์ไลน์ (มินนีอาโปลิส/เซนต์ปอล)
- ซูมแอร์ไลน์ (ลอนดอน-แกตวิค (เริ่ม 1 มิถุนายน 2550))
- เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ (โจฮันเนสเบิร์ก, ดาการ์)
- ทีเอซีเอ (กัวเตมาลาซิตี, ซาซัลวาดอร์, ซานเปโดรซูลา)
- ลาคซา (ซานโจเซ่[CR])
- ทีเอเอ็มลิฮาสเอเรียส์ (เซาเปาลู-กัวรูลอส)
- นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ (ดีทรอยส์, มินนีอาโปลิส/เซนต์ปอล)
- นอร์ทอเมริกันแอร์ไลน์ (จอร์จทาวน์, ลากอส, อักกรา)
- ปากีสถานอินเตอร์เนชั่นเนลแอร์ไลน์ (การาจี, ละฮอร์, อิสลามาบาด)
- พรีมาริสแอร์ไลน์ (จอร์จทาวน์, พอร์ทออฟสเปน)
- เม็กซิกานา (เม็กซิโกซิตี)
- ไมอะมีแอร์ (เที่ยวบินเช่าเหมาลำ)
- ยูโรฟลาย (เนเปิลส์ (เฉพาะฤดูกาล), โบโลนญา (เฉพาะฤดูกาล), ปาเลอโม (เฉพาะฤดูกาล), โรม-ฟีอูมิชิโน (เฉพาะฤดูกาล))
- รอยัลจอร์แดเนียน (อัมมาน)
- แลนแอร์ไลน์ (กัวยากิว, ซานติเอโก, ลิมา)
- เวอร์จิ้น แอตแลนติก แอร์เวย์ (ลอนดอน-ฮีทโธรว์)
- สิงคโปร์แอร์ไลน์ (แฟรงค์เฟิร์ต, สิงคโปร์)
- อิสแรร์ (เทลอาวีฟ)
- อียิปต์แอร์ (ไคโร)
- อีออสแอร์ไลน์ (ลอนดอน-สแตนสเต็ด)
- อุซเบกิสถานแอร์เวย์ (ทัชเคนต์, ริกา)
- เอ็กซ์ตราแอร์เวย์ (จอร์จทาวน์, พอร์ทออฟสเปน)
- เอเชียนาแอร์ไลน์ (โซล-อินซอน)
- เอทิฮัดแอร์เวย์ (อาบูดาบี)
- เอมิเรตส์ (ดูไบ, ฮัมบวร์ค)
- เอล อัล (เทลอาวีฟ)
- เอวิอองคา (คาลี, บาร์แรนกิลลา, เปไรรา, มาเดลลิน)
- แอร์จาเมกา (กรีเนดา, คิงส์ตัน, บาร์เบโดส, มอนเตโกเบย์, เซนต์ลูเชีย)
- แอร์อินเดีย (เชนไน, เดลี, มุมไบ, ลอนดอน-ฮีทโธรว์)
- แอร์ตาฮีตี นูอี (ปาเปเอเต)
- แอร์ลินกัส (ดับลิน, แชนนอน)
- แอโรลีเนียส์ อาร์เจนตินาส (บูโนสไอเรส-เอไซซา)
- แอโรสวิตแอร์ไลน์ (เคียฟ-โปริสปิล)
- แอลทียูอินเตอร์เนชั่นเนล (ดึสเซลดอร์ฟ)
- แอลโอทีโปลิชแอร์ไลน์ (กราโกว (เริ่ม 4 มิถุนายน 2550), รเซสโซว (เริ่ม 2 มิถุนายน 2550), วอร์ซอ)
อาคารผู้โดยสาร 6
แก้อาคารผู้โดยสาร 7
แก้- คาเธ่ย์ แปซิฟิค (แวนคูเวอร์, ฮ่องกง)
- แควนตัส (ซิดนีย์)
- บริติช แอร์เวย์ (แมนเชสเตอร์ (UK), ลอนดอน-ฮีทโธรว์)
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (ซานฟรานซิสโก, ลอสแอนเจลิส)
- ยูไนเต็ดเอ็กซ์เพรส ให้บริการโดย เมซาแอร์ไลน์ (วอชิงตัน-ดัลลเลส)
- ยูเอสแอร์เวย์
- ยูเอสแอร์เวย์ ให้บริการโดย เมซาแอร์ไลน์ (ฟีนิกซ์, ลาสเวกัส)
- ยูเอสแอร์เวย์ ให้บริการโดย อเมริกันเวสต์แอร์ไลน์ (ชาร์ล็อตต์)
- ออลนิปปอนแอร์เวย์ (โตเกียว-นาริตะ)
- ไอบีเรียแอร์ไลน์ (มาดริด)
- แอร์แคนาดา (คาลแกรี่, แวนคูเวอร์)
- ไอซ์แลนด์แอร์ (เรกจาวิก-เคฟลาวิก)
อาคารผู้โดยสาร 8
แก้- ฟินน์แอร์ (เฮลซิงกิ)
- มาเลฟฮังกาเรียนแอร์ไลน์ (บูดาเปสต์)
- อเมริกันแอร์ไลน์
อาคารผู้โดยสาร 9
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpanynj_pr
- ↑ "John F. Kennedy International Airport". Panynj.gov. สืบค้นเมื่อ 2010-03-11.
- ↑ 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อACI
- ↑ FAA Airport Master Record for JFK (Form 5010 PDF). Federal Aviation Administration. August 27, 2009.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-10-02. สืบค้นเมื่อ 2007-03-28.
- ↑ [1]