เจ็ตสตาร์แอร์เวย์
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์ (Jetstar Airways) เป็นสายการบินราคาประหยัด[1]สัญชาติออสเตรเลีย มีฐานอยู่ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย[2][3] โดยเป็นบริษัทย่อยของสายการบินควอนตัส โดยมีจุดประสงค์เพื่อแข่งขันกับสายการบินเวอร์จินออสเตรเลีย (Virgin Australia) โดยเจ็ตสตาร์นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์สองแบรนด์ของควอนตัส[4] โดยมีควอนตัสเป็นสายการบินที่ให้การบริการบนเครื่องแบบเต็มรูปแบบ และเจ็ตสตาร์เป็นสายการบินราคาประหยัดเพื่อสนองตลาดการบินในราคาที่ต่ำกว่า
| |||||||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2546 (21 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานนานาชาติเมลเบิร์น | ||||||
เมืองสำคัญ | เด็นปาร์ซาร์ เพิร์ท แอดิเลด | ||||||
สะสมไมล์ | Qantas Frequent Flyer | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 68 | ||||||
จุดหมาย | 34 | ||||||
บริษัทแม่ | ควอนตัส | ||||||
สำนักงานใหญ่ | เมลเบิร์น ออสเตรเลีย | ||||||
บุคลากรหลัก | Gareth Evans (ประธานบริหารกลุ่ม) | ||||||
เว็บไซต์ | http://www.jetstar.com |
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์นั้นให้บริการทั้งภายในประเทศในระดับภูมิภาค และในระดับนานาชาติโดยมีฐานอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเมลเบิร์น[5] โดยใช้เครื่องบินหลักๆ คือ แอร์บัส เอ 320, แอร์บัส เอ 330 และ โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ เจ็ตสตาร์มีคู่แข่งคนสำคัญคือ สายการบินเวอร์จินออสเตรเลีย และไทเกอร์แอร์ออสเตรเลีย สายการบินราคาประหยัดซึ่งถือหุ้นจำนวน 60% โดยเวอร์จินออสเตรเลีย[6]
นอกจากเจ็ตสตาร์แอร์เวย์แล้ว ควอนตัสยังถือหุ้นหลักๆในสายการบินในเครือ ได้แก่ เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์, แวลูแอร์, เจ็ตสตาร์แปซิฟิก, เจ็ตสตาร์เจแปน และ เจ็ตสตาร์ฮ่องกง
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินของเจ็ตสตาร์แอร์เวย์ ประกอบด้วยเครื่องบินต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2556)
เครื่องบิน | ประจำการ | สั่งซื้อ | จำนวนที่นั่ง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
J | Y | ทั้งหมด | ||||
2 | เครื่องบินที่สั่งซื้อจะถูกโอนย้ายไปยังเจ็ตสตาร์เจแปน | |||||
แอร์บัส เอ320นีโอ | 45 | 186 | 186 | |||
แอร์บัส เอ321เอลอาร์ | 0 | 28 | 0 | 232 | 232 | เริ่มต้นส่งมอบในปีค.ศ. 2022 |
335 [8] | ทดแทนเครื่องบินแอร์บัส เอ 330[9] | |||||
^Note 1 สายการบินควอนตัสได้สั่งซื้อเครื่องบินในตระกูลแอร์บัส เอ 320 จำนวน 110 ลำในปีค.ศ. 2011 โดย 11 ลำจะใช้โดยควอนตัสที่ให้บริการในเอเชียเป็นหลัก และอีก 99 ลำให้กับบริษัทในกลุ่มเจ็ตสตาร์[10] โดยประกอบด้วยแอร์บัส เอ 320 จำนวน 320 ลำ และแอร์บัส เอ 320 นีโอ จำนวน 78 ลำ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Our Company". Jetstar. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
- ↑ "Corporate addresses". Jetstar Airways. สืบค้นเมื่อ 12 August 2009.
- ↑ "Terms of use." Jetstar. Retrieved on 25 December 2010. "Licensed Address: 473 Bourke St, Melbourne Vic 3000"
- ↑ "Qantas: The Australian flag carrier undergoes a metamorphosis as it attains 90 years of operations". Airline Leader. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
- ↑ "Directory: World Airlines". Flight International. 2007-04-03. p. 98.
- ↑ "Tiger air becomes part of Virgin". News Life Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-22. สืบค้นเมื่อ 29 July 2013.
- ↑ "About Qantas - Media Room - Media Releases - New aircraft on order to focus on domestic growth". Qantas.com.au. สืบค้นเมื่อ 2013-01-17.
- ↑ "First Jetstar 787 in final assembly". Australian Aviation. 2013-06-05. http://australianaviation.com.au/2013/06/first-jetstar-787-in-final-assembly/%22First+Jetstar+787+in+final+assembly%22.+Australian+Aviation.+2013-06-05.
- ↑ Creedy, Steve (17 November 2011). "Jetstar banks on Dreamliner 'weapon'". The Australian. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ "Qantas and Airbus sign huge A320 order". Australian Aviation. สืบค้นเมื่อ 29 July 2013.