เชจูแอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เชจูแอร์ (เกาหลี: 제주항공; อาร์อาร์: Jeju Hanggong) เป็นสายการบินราคาประหยัดแห่งแรกและที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้[2][3] ที่มีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชจู และมีสำนักงานใหญ่ในนครเชจู สายการบินมีชื่อตามเกาะเชจู[4] และเป็นสมาชิกแรกก่อตั้งของแวลูอัลไลแอนซ์
| |||||||
ก่อตั้ง | 25 มกราคม ค.ศ. 2005 (19 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | เชจู | ||||||
เมืองสำคัญ | |||||||
สะสมไมล์ | รีเฟรชพอยต์ | ||||||
พันธมิตรการบิน | แวลูอัลไลแอนซ์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 40[1] | ||||||
จุดหมาย | 41 | ||||||
บริษัทแม่ | เอกยังกรุ๊ป | ||||||
สำนักงานใหญ่ | นครเชจู จังหวัดเชจู ประเทศเกาหลีใต้ | ||||||
บุคลากรหลัก | คิม อี แบ (ซีอีโอ) | ||||||
เว็บไซต์ | www |
เชจูแอร์ | |
ฮันกึล | |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Jeju Hanggong |
เอ็มอาร์ | Chechu Hanggong |
ประวัติ
แก้สายการบินก่อตั้งขึ้นโดยเป็นการร่วมทุนกันระหว่างเอกยังกรุ๊ปและรัฐบาลจังหวัดเชจูเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2005 สายการบินได้รับใบอนุญาตประกอบการบินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ส่งผลให้เป็นสายการบินใหญ่ลำดับที่สามของประเทศทันที ตามหลังโคเรียนแอร์และเอเชียนาแอร์ไลน์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2005 สายการบินได้เปลี่ยนชื่อภาษาเกาหลีเป็นรูปแบบปัจจุบัน เชจูแอร์ได้สั่งซื้อเครื่องบินลำแรกเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 และเริ่มทำการบินครั้งแรกในเส้นทางโซล–กิมโปสู่เชจูในวันที่ 5 มิถุนายน โดยเมื่อสิ้นปี 2006 เชจูแอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินทั้งหมดห้าลำ[4] นอกจากบริการทางอากาศแล้ว เอกยังกรุ๊ปนี้ยังเป็นเจ้าของโรงแรมฮอลิเดย์อินน์เอกซ์เพรสในกรุงโซลอีกด้วย[5]
ในปี 2016 เชจูแอร์ได้ร่วมก่อตั้งแวลูอัลไลแอนซ์ กลุ่มพันธมิตรของสายการบินราคาประหยัดระดับนานาชาติแห่งแรกของโลก ซึ่งประกอบด้วยสายการบินราคาประหยัดแปดแห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก[6] ในปี 2017 สายการบินให้บริการผู้โดยสารมากกว่า 60 ล้านคน โดยมีรายรับอยู่ที่ 890 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีกำไรจากการดำเนินงานมากกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2018 สายการบินให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศ 7.3 ล้านคน และผู้โดยสารภายในประเทศ 4.7 ล้านคน โดยปริมาณการเดินทางภายในประเทศค่อนข้างคงที่ตั้งแต่ปี 2016 เนื่องจากสายการบินเน้นการขยายตัวระหว่างประเทศเป็นหลัก[7]
การดำเนินงานของเชจูแอร์ได้รับผลกระทบจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 สายการบินมีพนักงานประมาณ 3,100 คน[8] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2021 สายการบินได้ขายหุ้น ทำให้ระดมทุนได้ 180 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการดำเนินการทางการเงิน[9]
ในปี 2024 ในดัชนีความพึงพอใจของลูกค้าแห่งชาติ (NCSI) ซึ่งจัดโดยสำนักงานใหญ่ด้านผลิตภาพของเกาหลี เชจูแอร์อยู่ในอันดับที่หนึ่งในประเภทสายการบินราคาประหยัดเป็นปีที่สามติดต่อกัน[10]
จุดหมายปลายทาง
แก้เชจูแอร์ให้บริการเที่ยวบินตามกำหนดการสู่จุดหมายปลายทางทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น โอเชียเนีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[11]
ข้อตกลงการบินร่วม
แก้เชจูแอร์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินปัจจุบัน
แก้ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2024 เชจูแอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[1][14][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
W | Y | รวม | ||||
โบอิง 737-800 | 36 | — | 12 | 162 | 174 | |
— | 189 | 189 | ||||
โบอิง 737 แมกซ์ 8 | 2 | 38 | — | 189 | 189 | [15][16] |
ฝูงบินของเชจูแอร์คาร์โก | ||||||
โบอิง 737-800บีซีเอฟ | 2 | — | สินค้า | [17][18] | ||
รวม | 40 | 38 |
เชจูแอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 14.9 ปี
ฝูงบินในอดีต
แก้เชจูแอร์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
เครื่องบิน | จำนวน | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 8-400 | 5 | 2006 | 2010 | [1] |
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
แก้- เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2007 เชจูแอร์ เที่ยวบินที่ 502 เครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 8-400 (ทะเบียน HL5256) ได้ไถลออกนอกทางวิ่งที่ท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ ผู้โดยสารทั้ง 74 รายและลูกเรืออีก 5 รายรอดชีวิต แต่ผู้โดยสาร 6 รายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[19][20]
- เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่ง ได้ระงับเที่ยวบินของเชจูแอร์สองเที่ยว เป็นเวลา 20 และ 7 วัน ตามลำดับ เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย[21][22][20]
- เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2024 เชจูแอร์ เที่ยวบินที่ 2216 เครื่องบินโบอิง 737-8เอเอส (ทะเบียน HL8088) ดำเนินเที่ยวบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในประเทศไทย ประสบเหตุเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งหลังพยายามลงจอดโดยใช้ลำตัวเครื่องที่ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน จังหวัดช็อลลาใต้ จนพุ่งชนเข้ากับกำแพงกันเขตสนามบิน[23] บนเครื่องบินมีผู้โดยสารและลูกเรือรวม 181 คน อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 9:07 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีผู้รอดชีวิตเพียง 2 คนเท่านั้น และทั้งคู่ถูกนำส่งโรงพยาบาลในกรุงโซลในเวลาต่อมาไม่นาน[24][25] สาเหตุของการลงจอดโดยใช้ลำตัวเครื่องในครั้งนี้อาจเกิดจากการพุ่งชนกับฝูงนก ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถกางล้อลงจอดออกมาได้[26] อุบัติเหตุในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับโบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Jeju Air Fleet Details and History". planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 29 December 2024.
- ↑ "Contact Us." Jeju Air. Retrieved on March 5, 2010. "제주특별자치도 제주시 연동 301–7"
- ↑ "Jeju Head Office เก็บถาวร 2011-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Jeju Air. Retrieved on December 27, 2011. "#301-7, Yeon-dong, Jeju City, Jeju Special Self-Governing Province"
- ↑ 4.0 4.1 황, 경수. "제주항공 - 디지털제주문화대전". Encyclopedia of Korean Local Culture. สืบค้นเมื่อ 2024-07-19.
- ↑ "Jeju Air to open Holiday Inn Express Hongdae next month". The Korea Herald. 2018-08-01.
- ↑ Middleton, Rachel (2016-05-17). "World's biggest budget airline alliance takes off in Asia Pacific region". International Business Times UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-29.
- ↑ "South Korea aviation market: a decade of rapid growth driven by LCCs". CAPA. 2 June 2019.
- ↑ "Company Story".
- ↑ "Korea's AK Holdings to invest $77mn in Jeju Air share issue". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ 기자, 서영일. "제주항공, 3년 연속 국가고객만족도 조사 1위". n.news.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2024-11-13.
- ↑ 차, 은지 (2024-06-05). "취항 18주년 제주항공…국내 첫 LCC로 항공여행 대중화 '견인'". The Korea Economic Daily (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2024-07-19.
- ↑ 제주항공-濠 제트스타, 인천~골드코스트 공동운항 (ภาษาKorean). The Financial News (Financial News). 3 May 2019.
{{cite news}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Lion Air / Jeju Air Begins Codeshare Service From Dec 2024".
- ↑ "Global Airline Guide 2019 (Part One)". Airliner World. October 2019: 19.
- ↑ "South Korea's Jeju Air orders 40 Boeing planes worth $4.4 billion". Reuters. 20 November 2018.
- ↑ "제주항공, 차세대 기종 B737-8 첫 도입…40번째 항공기" [Jeju Air, adds first next generation aircraft 737-8…40th aircraft] (ภาษาKorean). Yonhap News Agency. 7 November 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Jeju Air to introduce cargo plane in first half amid prolonged pandemic". Yonhap News Agency. 13 February 2022.
- ↑ "[단독]제주항공, 화물 전용기 2호기 도입… 물류 사업 힘준다" [[Exclusive] Jeju Air Introduces Cargo Unit 2... I'm giving you strength in the logistics business] (ภาษาKorean). Donga News. 11 May 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident de Havilland Canada DHC-8-402 Q400 HL5256 Busan-Gimhae (Pusan) International Airport (PUS)". aviation-safety.net. สืบค้นเมื่อ 2020-03-16.
- ↑ 20.0 20.1 [aeroinside.com - Air safety incidents for Jeju Air retrieved 29 December 2024
- ↑ "Gov't suspends flights for failed safety procedures," Korea JoonAng Daily.
- ↑ "국토교통부, 안전규정 위반 '제주항공' 27일·'에어로케이' 6일 운항정지 처분" Korea Law News.
- ↑ Flightradar24. "Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-29.
- ↑ "Developing | 151 dead in South Korea Jeju Air plane crash". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2024-12-29. สืบค้นเมื่อ 2024-12-29.
- ↑ "Two surviving crew members were transferred to Seoul".
- ↑ "South Korea plane crash: At least 177 killed after suspected bird strike". Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-29.