แอร์บัส เอ321นีโอ

(เปลี่ยนทางจาก แอร์บัสเคบินเฟลกซ์)

แอร์บัส เอ321นีโอ (อังกฤษ: Airbus A321neo family) เป็นรุ่นของอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของแอร์บัส เอ321 และ เอ320นีโอ โดยคำว่า "นีโอ (Neo)" เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า "ตัวเลือกเครื่องยนต์แบบใหม่ (New Engine Option)" เอ321นีโอเป็นเครื่องบินที่มีลำตัวยาวที่สุดในตระกูลเอ320นีโอ และเป็นรุ่นที่ใหม่ที่สุดของเอ321 โดยเอ321ซีอีโอเดิมเข้าประจำการ กับลุฟท์ฮันซ่าในปี 1994[3] โดยทั่วไปจะมีความจุผู้โดยสาร 180 ถึง 220 ที่นั่งในการจัดเรียงแบบ 2 ชั้น โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 244 ที่นั่งในการจัดเรียงแบบความหนาแน่นสูง[4]

แอร์บัส เอ321นีโอ
บทบาทอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ
บริษัทผู้ผลิตแอร์บัส
บินครั้งแรก9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016
เริ่มใช้31 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 โดยเวอร์จินอเมริกา
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักวิซซ์แอร์
อินดิโก
อเมริกันแอร์ไลน์
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์
ช่วงการผลิตค.ศ. 2016-ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต1,310 ลำ (มีนาคม ค.ศ. 2024)[1]
มูลค่า124.4 ล้านเหรียญสหรัฐ[2]
พัฒนามาจากแอร์บัส เอ321
แอร์บัส เอ320นีโอ

แอร์บัสได้ประกาศโครงการพัฒนาแอร์บัส เอ321นีโอในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 เพื่อทดแทนแอร์บัส เอ321ซีอีโอ[5] โดยจะมีตัวเลือกเครื่องยนต์รุ่นใหม่และมีการติดตั้งปลายปีกแบบชาร์กเล็ตเป็นมาตรฐาน เครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม ลีป-1เอ หรือ แพรตแอนด์วิทนีย์ พีดับเบิลยู1000จี ที่ติดตั้งบนเอ321นีโอจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดเชื้อเพลิงไป 20% ต่อผู้โดยสารหนึ่งคน นอกจากนี้แล้วยังมีพิสัยการบินที่มากขึ้น 500 ไมล์ทะเล (930 กม.; 580 ไมล์) หรือน้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้น 2 ตัน (4,400 ปอนด์) เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้า ในภายหลังโบอิงเปิดตัวเครื่องบินลำตัวแคบรุ่นใหม่อย่างโบอิง 737 แมกซ์ เพื่อแข่งขันกับเอ321นีโอ[6]

แอร์บัสเริ่มผลิตเอ321นีโอในปี 2016 โดยมีฐานการผลิตหลักอยู่ที่ฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี เวอร์จินอเมริกาเริ่มให้บริการเอ321นีโอเที่ยวบินแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 มีคำสั่งซื้อสำหรับเอ321นีโอทั้งหมด 6,257 ลำกับ 85 สายการบิน โดยส่งมอบไปแล้ว 1,310 ลำ[1]

การพัฒนา แก้

แอร์บัสได้ประกาศโครงการพัฒนาแอร์บัส เอ321นีโอในเดือนธันาวคม ค.ศ. 2010 เป็นเวลา 16 ปีหลังการเริ่มใช้เอ321ซีอีโอ เอ321นีโอเป็นรุ่นที่สองของเครื่องบินตระกูล เอ321 แอร์บัสใช้เวลาในการพัฒนาจนถึงเที่ยวบินแรกเพียง 6 ปีเท่านั้น เนื่องจากโครงการนี้เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพเท่านั้น ไม่ใช่การออกแบบเครื่องบินใหม่ทั้งหมดที่จะใช้เวลามากกว่า

 
เอ321นีโอลำต้นแบบ

เที่ยวบินแรกของแอร์บัส เอ321นีโอเกิดขึ้นที่ฮัมบวร์ค ด้วยเครื่องบินต้นแบบที่จดทะเบียนในเยอรมนี เครื่องบินต้นแบบนี้ใช้เครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม ลีป-1เอ เที่ยวบินแรกใช้เวลา 29 นาทีในการทดสอบต่างๆ แอร์แคปเป็นลูกค้ารายแรกของรุ่นในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2011 โดยอินดิโกเป็นสายการบินแรกที่สั่งซื้อ โดยสั่งซื้อ 304 ลำในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2011 เอ321ลำแรกเข้าประจำการกับเวอร์จินอเมริกาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 ซึ่งผนวกกิจการกับอะแลสกาแอร์ไลน์ในปี 2018 และนำเครื่องบินของเวอร์จินอเมริกามาระจำการ

แอร์บัส เอ321นีโอมีฐานการผลิตขั้นสุดท้ายอยู่ที่ฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนีเหมือนกับเอ321ซีอีโอ ชิ้นส่วนของเครื่องบินถูกผผลิตในหลายๆ ประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ หนึ่งในชิ้นส่วนสำคัญคือเครื่องยนต์ โดยเอ321นีโอจะมีตัวเลือกเครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม ลีป-1เอที่เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างจีอีแอโรสเปซสัญชาติอเมริกันและซาฟรานแอร์คราฟท์เอ็นจินสัญชาติฝรั่งเศส หรือ แพรตแอนด์วิทนีย์ พีดับเบิลยู1000จี เอ321นีโอมีความยาวของลำัวเครื่องบินเท่ากับเอ321ซีอีโอแต่มีประสิทธิภาพและการประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น เอ321นีโอมีพืสัยการบิน 3,995 ไมล์ทะเล (7,399 กิโลเมตร) และมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 97 ตัน (97 000 กก./213 848 ปอนด์) และมีแรงขับเคลื่อน 24,500–35,000ปอนด์ฟอร์ซ (109–156 kN)

เอ321นีโอได้รับการรับรองกับเครื่องยนต์เพรตแอนด์วิทนีย์ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2016 และได้รับการรับรองจาก EASA และเอฟเอเอสำหรับเครื่องยนต์ลีป ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2017 เวอร์จินอเมริการับมอบแอร์บัส เอ321นีโอลำแรกจากรับมอบจากฮัมบวร์ค โดยมีความจุผู้โดยสาร 184 ที่นั่งและใช้เครื่องยนต์ลีป และเข้าประจำการในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2017

ลักษณะ แก้

อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้างที่มีการจัดเรียงล้อลงจอดแบบรถสามล้อที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สองเครื่อง มีระบบครีบและหางเสือเดียว เอ321นีโอมีการปรับปรุงเครื่องยนต์และถังเชื้อเพลิงที่ใหญ่ขึ้นกว่าเอ321ซีอีโอรุ่นก่อนหน้า และมีการปรับปรุงโครงสร้างของเครื่องบินและลำตัวเครื่องบินที่ถูกขยายออกไป

เคบินเฟลกซ์ แก้

แอร์บัสเคบินเฟลกซ์ (อังกฤษ: Airbus Cabin-Flex : ACF) คือรูปแบบการจัดเรียงห้องโดยสารใหม่บนแอร์บัส เอ321นีโอ ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนที่นั่งจาก 220 ที่นั่งเป็น 240 ที่นั่ง[7] ห้องโดยสารรูปแบบใหม่นี้จะไม่มีการติดตั้งประตูทางออกคู่หน้าปีก (R2/L2) และจะทดแทนด้วยทางออกฉุกเฉินบริเวณปีกอีกหนึ่งคู่ จากการออกแบบห้องโดยสารใหม่นี้ ประสิทธิภาพการเผาผลาญเชื้อเพลิงต่อที่นั่งจะเพิ่มขึ้น 6% และจะเพิ่มอีกมากกว่า 20% พร้อมกับเครื่องยนต์ใหม่และชาร์กเล็ต[8] การดัดแปลงเคบินเฟลกซ์จะส่งผลให้น้ำหนักโดยรวมเพิ่มขึ้น 100 กก.[9] โดยเริ่มแรกลำตัวเครื่องจะถูกสร้างออกมาในรูปแบบห้องโดยสารดั้งเดิมเหมือนกับเอ321 ซีอีโอ คือ มีการติดตั้งประตูทางออก 4 คู่ จนกว่าจะสามารถเลือกรูปแบบของแอร์บัสเคบินเฟลกซ์ได้[10]

รุ่น แก้

เอ321นีโอ แก้

 
แอร์บัส เอ321นีโอของเดลตาแอร์ไลน์

เอ321นีโอเป็นรุ่นที่ลำตัวยาว โดยมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากรุ่นเอ321ซีอีโอ คือ เพิ่มความแข็งแรงบริเวณฐานล้อ และพื้นที่ปีก และการปรับปรุงเล็กน้อยอื่นๆ อันเนื่องมาจากน้ำหนักบรรทุกที่สูงขึ้น ILFC (International Lease Finance Corporation) เป็นลูกค้าที่เปิดตัวรายแรกของรุ่น โดยมีคู่แข่งสำคัญ คือ โบอิง 737 แมกซ์ 9 และ 737 แมกซ์ 10 สำหรับสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว เอ 321นีโอ ได้รับคำสั่งซื้อมากกว่า[13][14]

เอ321นีโอได้รับการรับรองกับเครื่องยนต์เพรตแอนด์วิทนีย์ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2016 และได้รับการรับรองจาก EASA และเอฟเอเอสำหรับเครื่องยนต์ลีป ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2017 เวอร์จินอเมริการับมอบแอร์บัส เอ321นีโอลำแรกจากรับมอบจากฮัมบวร์ค โดยมีความจุผู้โดยสาร 184 ที่นั่งและใช้เครื่องยนต์ลีป และเข้าประจำการในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2017

เฉพาะในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 แอร์บัส เอ321นีโอ ได้รับคำสั่งซื้อ 1,920 ลำ ซึ่งมากกว่าคำสั่งซื้อสำหรับเอ32ซีอีโอรุ่นก่อนหน้า โดยเอ321นีโอมีคำสั่งซื้อคิดเป็น 32% ของคำสั่งซื้อตระกูลเอ320นีโอทั้งหมด ในขณะที่เอ321 ดั้งเดิมคิดเป็น 22% ของคำสั่งซื้อตระกูลเอ320ซีอีโอ ภายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2022 เอ321นีโอมีคำสั่งซื้อคิดเป็นกว่า 53% ของคำสั่งซื้อในตระกูลเอ320นีโอทั้งหมด

เอ321 แอลอาร์ แก้

 
อาร์เคียเริ่มให้บริการแอร์บัส เอ321 แอลอาร์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018

ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2014 แอร์บัสเริ่มพัฒนารุ่นย่อยของแอร์บัส เอ321นีโอ ซึ่งจะมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 97 ตัน (214,000 ปอนด์) ด้วยที่นั่งสูงสุด 164 ที่นั่ง พร้อมถังเชื้อเพลิงเสริมสามถัง โดยมีชื่อว่าแอร์บัส เอ321 แอลอาร์ (LR : Long Range) เอ321 แอลอาร์นี้มีพิสัยการบินมากกว่า 100 ไมล์ทะเล (190 กม.; 120 ไมล์) ซึ่งมากกว่าโบอิง 757- 200 และยังมีต้นทุนการเดินทางและต้นทุนต่อที่นั่งต่ำกว่าโบอิง 757-200 ถึง 27% และ 24% ตามลำดับ โดยมีกำหนดเปิดตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ค.ศ. 2018 สองปีหลังจาก เอ321 นีโอ[15]

อาร์เคียได้รับแอร์บัส เอ321 แอลอาร์ลำแรกในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 ซึ่งบรรจุที่นั่ง 220 ที่นั่ง โดยสายการบินได้นำเครื่องบินนี้ไปให้บริการเที่ยวบินจากเทลอาวีฟไปลอนดอน นอกจากนี้แล้ว ยังมีสายการบินอื่นๆได้นำเอ 321 แอลอาร์ไปให้บริการบนเที่ยวบินระยะไกล เช่น เจ็ตบลูแอร์เวย์ใช้เอ321 แอลอาร์ในการบินเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังดับลิน ประเทศไอร์แลนด์[16] หรือแอร์อัสตานาได้นำเครื่องบินรุ่นนี้มาให้บริการเที่ยวบินจากอัสตานามายังกรุงเทพมหานคร[17]

เอ321 เอกซ์แอลอาร์ แก้

 
แอร์บัส เอ321 เอกซ์แอลอาร์ขณะทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์ที่ฮัมบวร์ค

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 แอร์บัสระบุว่ากำลังศึกษารุ่นเอ321 แอลอาร์ที่มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต้องการล้อลงจอดที่แข็งแรงขึ้น ด้วยห้องโดยสารที่มีความหนาแน่นผู้โดยสารต่ำ คาดว่าจะมีพิสัยการบินประมาณ 5,000 ไมล์ทะเล (9,300 กม.)[18] โดยได้มีแผนที่จะเริ่มพัฒนาโครงการในปี ค.ศ. 2019 และจะเริ่มให้บริการในปี ค.ศ. 2021 - 2022 ถังเชื้อเพลิงกลางจะถูกขยายให้ใหญ่ขึ้น โดยจะติดตั้งรวมกับลำตัวเครื่องบิน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 ได้มีการขยายพิสัยการบินเพิ่มเติมประมาณ 200 - 300 ไมล์ทะเล[19]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 เอ321 เอกซ์แอลอาร์ได้รับการเสนอไปยังแอร์ทรานแซทและแอร์แคป โดยแอร์ทรานแซทสามารถเข้าถึงจุดหมายปลายทางของยุโรปใต้ เช่น สปลิต โครเอเชีย จากมอนทรีออลและโตรอนโตจากเอ -21 เอกซ์แอลอาร์ได้[20] ในเดือนพฤศจิกายน แอร์บัสระบุว่าเอ321 เอกซ์แอลอาร์ จะมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดมากกว่า 100 ตัน (220,000 ปอนด์) และมีพิสัยการบิน 700 ไมล์ทะเล (1,300 กม.) โดยพิสัยมากกว่าเอ321 แอลอาร์ที่มีปีกและเครื่องยนต์เดียวกัน[21] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 แอร์แคนาดาแสดงความสนใจที่จะใช้เครื่องบินลำตัวแคบสำหรับเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และกำลังพิจารณาหาตัวเลือกต่างๆ รวมถึงแอร์บัส เอ321 เอกซ์แอลอาร์ และโบอิง 737 แมกซ์[22]

ผู้ให้บริการ แก้

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 มีแอร์บัส เอ321นีโอจำนวน 1,310 ลำให้บริการกับ 88 สายการบิน ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดห้าอันดับแรกคือ วิซซ์แอร์ (102), อินดิโก (94), อเมริกันแอร์ไลน์ (80), ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (56), และเตอร์กิชแอร์ไลน์ (54).[1]

คำสั่งซื้อและการส่งมอบ แก้

2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 เอ321นีโอ
คำสั่งซื้อ 119 81 341 183 346 287 532 360 965 208 616 530 1562 86 6,257
การส่งมอบ 20 102 168 178 199 264 317 62 1,310

ข้อมูลจำเพาะ แก้

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน แก้

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน แก้

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน แก้

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ไม่มีถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติม
  2. รวมปลายปีกแบบชาร์กเลต
  3. ไม่มีถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติม
  4. เอ321 แอลอาร์พร้อมถังเชื้อเพลิงกลางเพิ่มเติมสามถัง
  5. พร้อมถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติม
  6. ความจุผู้โดยสาร 206 ที่นั่ง

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Airbus O&D". Airbus S.A.S. 31 March 2024. สืบค้นเมื่อ 9 April 2024.
  2. "New Airbus aircraft list prices for 2015". airbus.com. Airbus. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
  3. "So wurde Norddeutschland mit dem Airbus A321 zur Boomregion des Flugzeugbaus". stern.de (ภาษาเยอรมัน). 2023-09-21. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
  4. "A321neo | A320 | Aircraft | Airbus Aircraft". aircraft.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
  5. "A321 The New Long Ranger". www.key.aero (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-19. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
  6. "Boeing Introduces 737 MAX With Launch of New Aircraft Family". MediaRoom. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
  7. Curran, Andrew (2022-01-31). "What Is The Airbus A321neo's 'Cabin Flex' Configuration?". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. "Airbus Sees A321neo Exceeding 20% Fuel Burn Improvement". AviationWeek. 12 June 2014. Archived from the original on 14 July 2014. Retrieved 13 July 2014.
  9. "Airbus Launches Long-Range A321neo Version | Aviation Week Network". web.archive.org. 2020-07-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ 2022-11-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. Fehrm, Bjorn (2015-01-19). "A321neo configurations and A320 production". Leeham News and Analysis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  11. Kirby, Mary (2016-08-18). "Airbus explains how Cabin-Flex enables dense A321neo layouts". Runway Girl (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. Kirby, Mary (2016-08-18). "Airbus explains how Cabin-Flex enables dense A321neo layouts". Runway Girl (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. Airbus wins hot Wizz competition: 110 A321neos and with it the Paris Air Show Leeham
  14. Airbus switches underline trend to A321neo Flightglobal
  15. Hamilton, Scott (2014-10-21). "Exclusive: Airbus launches "A321neoLR" long range to replace 757-200W". Leeham News and Analysis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  16. Pickett, Riley (2022-08-24). "Why JetBlue Could Be Eyeing Non-Stop Flights To Dublin". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  17. Pickett, Riley (2022-08-24). "Why JetBlue Could Be Eyeing Non-Stop Flights To Dublin". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  18. "Airbus Studying Higher-Capacity A321neo | Aviation Week Network". aviationweek.com.
  19. "Business Aviation 2000-03-20 | Aviation Week Network". aviationweek.com.
  20. "Air Transat considers Airbus A321XLR for longer routes". Airlinerwatch. 12 October 2018. Archived from the original on 6 March 2020.
  21. Kaminski-Morrow2018-11-13T13:01:53+00:00, David. "Airbus indicates A321XLR would have over 100t MTOW". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  22. "Air Canada would study Airbus, Boeing for transatlantic narrowbody needs". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-01-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-18.
  23. "Airbus Family figures" (PDF). Airbus. July 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  24. "Airbus Launches Long-Range A321neo Version". Aviation Week. 13 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  25. "A321neo | A320 | Aircraft | Airbus Aircraft". aircraft.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2023-09-14.
  26. Machado, João (2022-05-09). "Opinion: 244 seats in an A321 is a good thing, actually". Aviacionline.com. สืบค้นเมื่อ 2023-09-14.
  27. "Airbus Aircraft Data File". Civil Jet Aircraft Design. Elsevier. July 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  28. "A321 aircraft characteristics – airport and maintenance planning" (PDF). Airbus. ธันวาคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 ธันวาคม 2021.
  29. 29.0 29.1 29.2 "Type Certificate Data Sheet" (PDF). EASA. 22 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 March 2019. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  30. "Airbus A320neo Technology". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2016.
  31. "Airbus A321XLR". Airbus. 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 July 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้