อูย์เตร์

สายการบินสัญชาติรัสเซีย

อูย์เตร์ (รัสเซีย: ОАО «Авиакомпания «ЮТэйр») เป็นสายการบินสัญชาติรัสเซีย โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติวนูคาวาในมอสโกและท่าอากาศยานนานาชาติซูร์กุตในซูร์กุต และมีสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานฮันตี-มันซิสค์[3] อูย์เตร์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 72 แห่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมถึงบริการเฮลิคอปเตอร์และเที่ยวบินเช่าเหมาลำพิเศษที่ให้บริการโดยอากาศยานปีกตรึงและเฮลิคอปเตอร์สนับสนุนการขนส่งทางอากาศให้กับโครงการน้ำมันและก๊าซในไซบีเรีย

เจเอสซี "อูย์เตร์เอวิเอชัน"
ПАО «Авиакомпания «ЮТэйр»
IATA ICAO รหัสเรียก
UT[1] UTA[2] UTAIR[1]
ก่อตั้งกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 (57 ปี) (ภายใต้แอโรฟลอต)
28 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี)
ท่าหลักมอสโก–วนูคาวา
ซูร์กุต
บริษัทลูกอูย์เตร์-คาร์โก
ขนาดฝูงบิน58
จุดหมาย53
การซื้อขายMCX:UTAR
สำนักงานใหญ่รัสเซีย ฮันตี-มันซิสค์ ประเทศรัสเซีย
บุคลากรหลัก
เว็บไซต์utair.ru

ประวัติ

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการแอโรฟลอตทูเมนเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซที่เติบโตอย่างรวดเร็วในไซบีเรียตะวันตก[4] ซึ่งต่อมาจะถูกยุบและทดแทนด้วย ทูเมนาเวียทรานส์เอวิเอชัน (ทีอะที) ในปี 1991 [5] และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอูย์เตร์ในปี 2002[5] สายการบินมีการแบ่งอัตราการถือหุ้นให้กับฝ่ายบริหารเขตฮันตี-มันซิสกี้ (23%), ฝ่ายบริหารเมืองซูร์กุต (19%), ผู้ถือหุ้นและบริษัทในรัสเซีย (33%), สหพันธรัฐรัสเซีย (2%) และนักลงทุนเอกชนต่างชาติ (20%)

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 อูย์เตร์ได้ประกาศแผนการที่จะทดแทนตูโปเลฟ ตู-134 ด้วยเครื่องบินซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100[6] และในเดือนธันวาคมได้สั่งซื้อเป็นจำนวน 24 ลำโดยมีกำหนดเข้าประจำการในปี 2013[7]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 อูเตร์ประสบปัญหาทางการเงินและไม่สามารถชำระเงินประกันได้[8] จนได้ประกาศแผนฟื้นฟูกิจการ โดยได้ลดจำนวนฝูงบินกว่า 50 ลำในปี 2015 และได้ยังยกเลิกคำสั่งซื้อซุคฮอยซูเปอร์เจ็ต 100 ทั้งหมดอีกด้วย[9] รวมถึงได้ยุติการให้บริการสายการบินลูกอูย์เตร์เอกซ์เพรส[10]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2015 ได้มีการขายอาเซอร์แอร์และอูย์เตร์-ยูเครน ซึ่งเป็นสายการบินลูกของสายการบิน ให้กับบริษัทการท่องเที่ยว Anex Tourism Group สัญชาติตุรกี[11]เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2017 อูย์เตร์ได้ประกาศรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อจาก อูย์เตร์เอวิเอชัน เป็น อูเตร์[12]

เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2022 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้จำกัดเที่ยวบินบนเครื่องบินที่ผลิตในสหรัฐอเมริกาสำหรับแอโรฟลอต, อาวิอาสตาร์, อาเซอร์แอร์, เบลาเวีย, รอซิยาห์แอร์ไลน์ และอูย์เตร์ โดยสหรัฐถูกมองว่าต้องการเรียกคืนทรัพย์สินทางปัญญา[13] เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน สหรัฐได้ขยายข้อจำกัดกับสายการบินทั้ง 6 สาย หลังจากตรวจพบการละเมิดมาตรการคว่ำบาตร โดยผลกระทบจากข้อจำกัดดังกล่าวคือเครื่องบินที่ผลิตในสหรัฐจะต้องถูกระงับการบินทั้งหมด[13]

จุดหมายปลายทาง

แก้

ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 อูย์เตร์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 72 แห่งในเอเชียและยุโรป

ข้อตกลงการบินร่วม

แก้

ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 อูย์แตร์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้::[14]

ฝูงบิน

แก้
 
โบอิง 737-800 ของอูย์เตร์ในลวดลายใหม่
 
โบอิง 767-200อีอาร์ของอูย์เตร์ในลวดลายเก่า

ฝูงบินปัจจุบัน

แก้

ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 อูย์เตร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[18][19]

ฝูงบินของอูย์เตร์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
B E รวม อ้างอิง
เอทีอาร์ 72-500 15 70 70 [20]
โบอิง 737-400 6 6 144 150 [21] รวม RA-73069 (MSN 28478) โบอิง 737 คลาสสิกลำสุดท้าย[22]
โบอิง 737-500 19 8 108 116 [23]
126 126
โบอิง 737-800 15 8 165 173 [24]
โบอิง 767-200อีอาร์ 3 249 249 [25] หนึ่งในผู้บริการรายใหญ่ที่สุด
รวม 58

อูย์เตร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 20.4 ปี

ฝูงบินในอดีต

แก้
 
ซีอาร์เจ200แอลอาร์ของอูย์เตร์
 
ตูโปเลฟ ตู-154เอ็มของอูย์เตร์

อูย์เตร์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:[26]

ฝูงบินในอดีตของอูย์เตร์
เครื่องบิน เริ่มประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
แอร์บัส เอ321-200 2013 2015 อากาศยานแอร์บัสเพียงชนิดเดียวของสายการบิน
อานโตนอฟ อาน-24 1993 2014
เอทีอาร์ 42-300 2005 2014
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ100แอลอาร์ 2010 2014
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ200แอลอาร์ 2010 2014
โบอิง 757-200 2010 2015
โบอิง 767-300 2014 2015
ตูโปเลฟ ตู-134 1999 2014
ตูโปเลฟ ตู-154เอ็ม 1992 2014 หนึ่งในผู้ให้บริการสุดท้ายของรัสเซีย
ยาโกเลฟ ยัค-40 1992 2012
ยาโกเลฟ ยัค-42 2006 2013

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Federal State Unitary Enterprise "State Air Traffic Management Corporation", Airline Reference, Vol. 1, Russian Federation, 20 February 2007, p. 500
  2. ICAO Doc 8585
  3. "2010 Annual Report." (Archive) UTair Aviation. 58. Retrieved on 27 February 2012. "Airport, Khanti-Mansiysk, Tyumen region, 628012 Russian Federation". - Russian (Archive): "628012, Российская Федерация, город Ханты-Мансийск, аэропорт"
  4. Wragg 2007, p. 181.
  5. 5.0 5.1 Mills 2016, p. 52.
  6. "UTAir selects two Superjet variants to replace Tu-134s". สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
  7. "Utair purchases 24 Sukhoi jets". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-20. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
  8. Doff, Natasha (20 November 2014). "UTair Misses Bond Payment in Russia Funding-Crunch Sign". Bloomberg.
  9. "Superjet Boost". Airliner World: 10. October 2015.
  10. "Russia suspends UTair-Express' AOC". ch-aviation. สืบค้นเมื่อ 4 November 2015.
  11. ch-aviation.com - Russia's UTair Group offloads Azur Air unit to Turkey's ATG 7 December 2015
  12. "Авиакомпания "ЮТэйр" - Встречайте новый Utair". www.utair.ru (ภาษารัสเซีย). ПАО «Авиакомпания «ЮТэйр». สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
  13. 13.0 13.1 "US Broadens Restrictions on Belarus National Airline After Violations". Voice of America (ภาษาอังกฤษ). 2022-06-16.
  14. "Авиакомпания "ЮТэйр" - Авиакомпании-партнёры". utair.ru (ภาษารัสเซีย). Utair. สืบค้นเมื่อ 3 November 2017.
  15. Liu, Jim (26 April 2019). "FlyOne / Utair begins codeshare partnership from March 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  16. Yuri Plokhotnichenko (2 June 2018). ""Руслайн" совместно с Utair намерен летать из Москвы в Саратов". travel.ru.
  17. "Profile on UTair Aviation". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-01. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
  18. "Utair aircrafts [sic]". Utair. สืบค้นเมื่อ 2 July 2022.
  19. "UTair Aviation Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-12.
  20. "ATR 72-500 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
  21. "Boeing 737-400 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
  22. planespotters.net - RA-73069 UTair Aviation Boeing 737-400 retrieved 2 July 2022
  23. "Boeing 737-500 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
  24. "Boeing 737-800 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
  25. "Boeing 767-200 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
  26. "ЮТэйр Авиапарк". russianplanes.net.

บรรณานุกรม

แก้
  • Wragg, David W. (2007). The World's Major Airlines (ภาษาอังกฤษ). Sutton: Sutton Publishing. p. 303. ISBN 9780750944816.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ UTair Aviation