เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 8

อากาศยานใบพัดระดับภูมิภาคสองเครื่องยนต์

เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา ดีเอชซี-8 หรือ แดช-8 (อังกฤษ:De Havilland Canada Dash 8) เป็นเครื่องบินระดับภูมิภาคที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1984 โดยเดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา (ดีเอชซี) โดยขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ใบพัดแพรตแอนด์วิทนีย์ แคนาดา พีดับเบิลยู100 จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งได้พัฒนาต่อจากรุ่นแดช 7 รุ่นก่อนหน้า โดยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการบินและต้นทุนการดำเนินงานที่ลดลง แต่ไม่มีประสิทธิภาพการบินขึ้นและลงจอดในระยะสั้น (STOL)

เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 8
คิว-ซีรีย์
บทบาทเครื่องบินประจำภูมิภาคแบบเครื่องยนต์ใบพัด
ชาติกำเนิดแคนาดา
บริษัทผู้ผลิตเดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา (1983–1992)
บอมบาร์ดิเอร์ แอโรสเปซ (1992–2019)
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา (2019–ปัจจุบัน)
บินครั้งแรก20 มิถุนายน ค.ศ. 1983
เริ่มใช้ค.ศ. 1984 โดย นอร์ออนแทร์
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักควอนตัสลิงค์
เวสต์เจ็ตเอนคอร์
แอร์แคนาดาเอ็กซ์เพรส
ไวเดอร์โรว์
ช่วงการผลิตค.ศ. 1983– ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต1258 ลำ (มีนาคม 2019)
มูลค่าซีรีย์ 200: 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ซีรีย์ 300: 14.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ซีรีย์ 400: 32.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
พัฒนามาจากเดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา ดีเอชซี-7

เดิมทีแดช 8 มีให้เลือกสามขนาด ได้แก่ รุ่น -100 ซึ่งรองรับผู้โดยสารได้ 37-40 คน และผลิตจนถึงปี 2005; รุ่น -200 ซึ่งเปิดตัวในปี 1995 และสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุด 50-56 คนและผลิตจนถึงปี 2009 และรุ่น -300 เป็นรุ่นขยายที่มีความจุผู้โดยสารอยู่ที่ 68-90 คน และผลิตตั้งแต่ปี 1989 ถึง 2009 โดยในปี 1999 ได้มีการเปิดตัวรุ่น -400 ที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุด 68-90 คน และยังคงผลิตอยู่ในปัจจุบัน

ในปี 1992 บอมบาร์ดิเอร์ได้เข้าซื้อดีเอชซีจากโบอิง ก่อนจะเปิดตัว แดช 8 "คิวซีรีย์" รุ่นปรับปรุงของรุ่นแดช 8 เดิมในปี 1997 ปัจจุบันแดช 8 ยังคงใช้งานโดยสายการบินต่างๆ ทั่วโลกสำหรับการเดินทางทางอากาศในระดับภูมิภาค การขนส่งสินค้า และการใช้งานทางทหาร ในปี 2019 โครงการแดช 8 ก็ได้กลับมาใช้ชื่อของเดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดาอีกครั้ง หลังจากลองวิวเอวิเอชั่นแคปิตอลซื้อโครงการมาจากบอมบาร์ดิเอร์

การพัฒนา แก้

จุดเริ่มต้น แก้

 
แดช 8-100 ในลวดลายของดีเอชซีในงานฟรานโบโรห์แอร์โชว์ ค.ศ. 1984

ในปี 1970 เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดาได้ลงทุนพัฒนาโครงการดีเอชซี 7 โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการบินขึ้นและลงจอดในระยะสั้น ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของบริษัท การใช้เครื่องยนต์กำลังปานกลาง 4 เครื่องพร้อมใบพัดขนาดใหญ่ 4 ใบพัดทำให้ระดับเสียงรบกวนลดลง เมื่อรวมกับคุณสมบัติ STOL ที่ยอดเยี่ยม ทำให้ดีเอชซี 7 เหมาะสำหรับปฏิบัติการจากท่าอากาศยานในเมืองขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม มีผู้ให้บริการดีเอชซี 7 เพียงไม่กี่สายการบินเท่านั้น เพราะสายการบินระดับภูมิภาคส่วนใหญ่สนใจในต้นทุนการดำเนินงานมากกว่าประสิทธิภาพการลงจอดระยะสั้น

 
แดช 8 ของนอร์ออนแทร์ ลูกค้าเปิดตัวของโครงการ

ในปี 1980 เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดาตอบสนองต่อความต้องการด้วยการลดประสิทธิภาพการบินขึ้นและลงจอดในระยะสั้นลงและปรับโครงสร้างพื้นฐานของแดช 7 เพื่อให้สามารถใช้เครื่องยนต์ที่ทรงพลังกว่าสองเครื่องยนต์ ซึ่งได้ใช้เครื่องยนต์พีดับเบิลยู100 ของแพรตแอนด์วิทนีย์ แคนาดาที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยเพิ่มกำลังจากเครื่องยนต์พีที6 ได้มากกว่าสองเท่า โดยใช้ชื่อรุ่นว่า แดช 8

แดช 8 ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1983 บินครั้งแรกในวันที่ 20 มิถุนายน และได้รับการรับรองสำหรับ พีดับบิลยู120 ในวันที่ 16 ธันวาคม[1] แดช 8 ลำแรกได้ส่งมอบให้กับนอร์ออนแทร์ในปี 1984 และให้กับเพียตมอนต์แอร์ไลน์ สายการบินสัญชาติสหรัฐแรกที่รับมอบเครื่องบินรุ่นนี้

การเปิดตัว แก้

ในปี 1986 โบอิงได้เข้าซื้อดีเอชซี เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการผลิตที่ฐานการผลิตในท่าอากาศยานดาว์นสวิว[2] และเพื่อวางตัวในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อแข่งขันในคำสั่งซื้ออากาศยานใหม่ของแอร์แคนาดา ในเวลานั้นแอร์แคนาดาเป็นบริษัทชั้นนำของแคนาดา จึงมีการแข่งขันกันระหว่างโบอิงและแอร์บัสผ่านช่องทางทางการเมืองเพื่อทำสัญญา แต่ในที่สุดแอร์บัสก็ได้รับคำสั่งซื้อแอร์บัส เอ320 จำนวน 34 ซึ่งได้เกิดข้อขัดแย้งมากมายจากสัญญานี้ หลังจากความล้มเหลวในการแข่งขัน โบอิงขายเดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดาทันที ก่อนถูกซื้อโดยบอมบาร์ดิเอร์ ในปี 1992[3]

ลักษณะ แก้

 
ห้องโดยสารในการจัดเรียงที่นั่งแบบ 2-2

คุณสมบัติที่โดดเด่นของการออกแบบ แดช-8 คือ ลักษณะหางแบบ T-Tail เพื่อไม่ให้ส่วนท้ายหลุดออกมาในระหว่างการขึ้นบิน ปีกที่มีอัตราส่วนกว้างยาวที่ค่อนข้างมาก และเครื่องยนต์ที่มีลักษณะเรียวยาว สำหรับการเก็บล้อลงจอด

การออกแบบ แดช-8 มีประสิทธิภาพกว่า แดช-7 ซึ่งราคาต่อลำก็ถูกลงและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อยกว่ามากเนื่องจากมีเครื่องยนต์เพียงสองเครื่องยนต์เท่านั้น

การแข่งขันในตลาดการบินภูมิภาค แก้

การเปิดตัวอากาศยานไอพ่นระดับภูมิภาคได้เปลี่ยนตลาดการบินระดับภูมิภาคไปโดยสิ้นเชิง แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าเครื่องบินใบพัด แต่เครื่องบินไอพ่นสามารถทำให้สายการบินให้บริการเที่ยวบินในเส้นทางที่ไม่สามารถใช้เครื่องบินใบพัดได้ เครื่องบินใบพัดมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงที่ต่ำกว่าและสามารถทำงานได้จากทางวิ่งที่สั้นกว่าเครื่องบินไอพ่น แต่มีค่าบำรุงรักษาเครื่องยนต์ที่สูงกว่า พิสัยการบินที่สั้นกว่า และบินช้ากว่า[4]

รุ่น แก้

ซีรีย์ 100 แก้

 
แดช 8-100 ของไวเดอร์โรว์

ซีรีย์ 100 เป็นรุ่นดั้งเดิมสำหรับผู้โดยสาร 37 ถึง 39 คนของ Dash 8 ที่เข้าประจำการในปี 1984 ใช้เครื่องยนต์แพรตแอนด์วิทนีย์ แคนาดา พีดับเบิลยู120 และรุ่นต่อมาใช้พีดับเบิลยู121 กำลังเครื่องยนต์สูงสุดคือ 1,800 แรงม้า (1,340 กิโลวัตต์)

ดีเอชซี-8-101

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW120 หรือ PW120A สองเครื่อง และมีน้ำหนักเครื่องขึ้น 33,000 ปอนด์ (15,000 กก.)

ดีเอชซี-8-102

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW120A หรือ PW121 สองเครื่อง และมีน้ำหนักเครื่องขึ้น 34,500 ปอนด์ (15,650 กก.)

ดีเอชซี-8-103

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW121 สองเครื่อง และน้ำหนักเครื่อง 34,500 ปอนด์ (15,650 กก.) (สามารถปรับเปลี่ยนได้สำหรับน้ำหนักเครื่องขึ้น 35,200 ปอนด์ [15,950 กก.])

ดีเอชซี-8-102A

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW120A สองเครื่อง พร้อมการตกแต่งภายในใหม่

ดีเอชซี-8-106

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW121 สองเครื่อง และน้ำหนักเครื่องขึ้น 36,300 ปอนด์ (16,450 กก.)

ดีเอชซี-8-100PF

ดีเอชซี-8-100 แปลงเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าโดย วอยเยเจอร์เอวิเอชั่น ด้วยความจุสินค้า 10,000 ปอนด์ (4,536 กิโลกรัม)[5]

ดีเอชซี-8M-100

เครื่องบินสองลำสำหรับการเฝ้าระวังมลพิษทางทะเล ดำเนินการโดยกรมการขนส่งของแคนาดาซึ่งติดตั้งระบบเฝ้าระวัง MSS 6000[6]

ซีซี-142

รุ่นขนส่งทางทหารสำหรับกองทัพอากาศแคนาดาในยุโรป

ซีที-142

รุ่นฝึกเดินเรือสำหรับกองทัพแคนาดา ใช้ในการฝึกอบรม ACSOs และ AESOPs ของแคนาดาและประเทศพันธมิตร[7]

อี-9เอ วิดเจ็ต

 
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา อี-9เอ วิตเต็ต

เครื่องบินควบคุมน่านฟ้าของกองทัพอากาศสหรัฐฯ โดยจะใช้ในการตรวจสอบบริเวณน่านน้ำและน่านฟ้าในอ่าวเม็กซิโก ระหว่างการทดสอบการยิงจริงของขีปนาวุธยิงทางอากาศและกิจกรรมทางทหารที่เป็นอันตรายอื่นๆ[8] วิดเจ็ต E-9A นั้นติดตั้งเรดาร์ AN/APS-143(V)-1 ที่สามารถตรวจจับวัตถุในน้ำที่มีขนาดเล็กเท่ากับบุคคลในแพชูชีพได้ในระยะสูงสุด 25 ไมล์[9]

ซีรีย์ 200 แก้

 
ซีรีย์ 200 ของควอนตัสลิงค์

ซีรีย์ 200 ยังคงใช้ห้องโดยสารเหมือนกับรุ่น 100 ดั้งเดิม แต่ได้รับการปรับเครื่องยนต์ใหม่เพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซีรีย์ 200 ใช้เครื่องยนต์แพรตแอนด์วิทนีย์ แคนาดา พีดับเบิลยู123 ที่ทรงพลังกว่าซึ่งมีกำลัง 2,150 แรงม้า (1,600 กิโลวัตต์)

ดีเอชซี-8-201

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW123C สองเครื่อง

ดีเอชซี-8-202

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW123D สองเครื่อง

คิว 200

รุ่นอัพเกรดของ DHC-8-200 พร้อมระบบ ANVS (Active Noise and Vibration Suppression)

 
ซีรีย์ 300 ของเอเอ็นเอ

ซีรีย์ 300 แก้

ซีรีส์ 300 จะมีห้องโดยสารที่ยาวขึ้น 3.43 เมตร (11.3 ฟุต) จากซีรีส์ 100/200 เดิม และมีความจุผู้โดยสาร 50–56 คน ซีรีย์ 300 ยังคงใช้เครื่องยนต์แพรตแอนด์วิทนีย์ แคนาดา พีดับเบิลยู123 กำลังเครื่องยนต์จัดอันดับอยู่ระหว่าง 2,380 แรงม้า (1,774 กิโลวัตต์) และ 2,500 แรงม้า (1,864 กิโลวัตต์)[10]

ดีเอชซี-8-301

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW123 สองเครื่อง

ดีเอชซี-8-311

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW123A สองเครื่อง พร้อมการตกแต่งภายในใหม่ นอกจากนี้ การออกแบบล้อลงจอดได้เปลี่ยนเป็นการออกแบบ โดยด้านหลังที่ลาดเอียงเล็กน้อยซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการพุ่งชน

ดีเอชซี-8-314

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW123B สองเครื่อง

ดีเอชซี-8-315

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ PW123E สองเครื่อง

ดีเอชซี-8-300เอ

รุ่นพิเศษของดีเอชซี-8-300 พร้อมเพย์โหลดที่เพิ่มขึ้น

คิว300

รุ่นอัพเกรดของดีเอชซี-8-300 ที่มีระบบ ANVS (Active Noise and Vibration Suppression)

ดีเอชซี-8-300 MSA

รุ่นพิเศษ โดนมีการอัพเกรดด้วย L-3 สำหรับแพลตฟอร์มการเฝ้าระวังทางทะเล

อาร์โอ-6เอ

รุ่นพิเศษสำหรับกองทัพสหรัฐสำหรับ ดีเอชซี-8-315 สำหรับกองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นฐานการลาดตระเวน

ซี-147เอ

รุ่นพิเศษสำหรับกองทัพสหรัฐสำหรับ ดีเอชซี-8-315 สำหรับกองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นแพลตฟอร์มกระโดด[11]

ซีรีย์ 400 แก้

ซีรีส์ 400 จะมีห้องโดยสารที่ยาวขึ้น 6.83 เมตร (22.4 ฟุต) มีหางที่ใหญ่กว่า แข็งแรงกว่า และมีความจุ 68–90 คน ซีรีย์ 400 ใช้เครื่องยนต์แพรตแอนด์วิทนีย์ แคนาดา พีดับเบิลยู150เอ ที่ให้กำลัง 4,850 แรงม้า (3,620 กิโลวัตต์) เครื่องบินมีความเร็วการบินปกติ 360 นอต (667 กม./ชม.) ซึ่งสูงกว่ารุ่นก่อน 60–90 นอต (111–166 กม./ชม.) และมีเพดานบิน 25,000 ฟุต (7,600 ม.) สำหรับรุ่นมาตรฐาน

ดีเอชซี-8-400

รองรับผู้โดยสารสูงสุด 68 คน

ดีเอชซี-8-401

รองรับผู้โดยสารสูงสุด 70 คน

ดีเอชซี-8-402

รองรับผู้โดยสารสูงสุด 78 คน

คิว 400

ขยายและปรับปรุงรุ่นผู้โดยสาร 70–78 ที่เข้าใช้งานในปีพ.ศ. 2543 มีการเพิ่มระบบ ANVS (Active Noise and Vibration Suppression)

คิว 400 เน็กซ์เจน

รุ่นย่อยของ Q400 ที่ปรับปรุงห้องโดยสาร ไฟส่องสว่าง หน้าต่าง ช่องเก็บของเหนือศีรษะ ล้อขึ้นฝั่ง รวมถึงค่าเชื้อเพลิงและค่าบำรุงรักษาที่ลดลง

ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการเปิดตัวรุ่นความจุพิเศษซึ่งสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุด 86 คน และเปิดตัวโดยนกแอร์ กับคำสั่งซื้อ 2 ลำ[12] รุ่นความจุพิเศษได้รับการปรับปรุงในปีพ.ศ. 2559 โดยมีที่นั่งที่เว้นระยะห่างมากขึ้นเพื่อรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 90 คน[13] โดยลำแรกถูกส่งมอบให้กับ สไปซ์เจ็ต ในเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2561[14]

คิว 400-MR

เครื่องบิน Q400 จำนวน 2 ลำที่ปรับให้เข้ากับบทบาทการวางระเบิดน้ำในฐานะเรือบรรทุกอากาศสำหรับดับเพลิงทางอากาศโดย Cascade Aerospace สำหรับ Sécurité Civile ของฝรั่งเศส[15] เรือบรรทุกน้ำมันนี้สามารถบรรทุกสารหน่วงไฟ โฟม หรือน้ำได้ 2,600 แกลลอน (9,800 ลิตร) และเดินทางด้วยความเร็ว 340 นอต (630 กม./ชม.)

ดีเอชซี-8 MPA-D8

พ.ศ. 2550 ดัดแปลงเพื่อใช้เป็นเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล PAL Aerospace ร่วมมือกันเพื่อนำเสนอตัวแปรนี้ในชื่อ DHC-8 MPA P4[16]

ดีเอชซี-8-402PF

รุ่นดัดแปลงสำหรับสินค้าบรรทุกพาเลทที่มีน้ำหนักบรรทุก 9000 กก.

คิว 400ซีซี

รุ่นคอมโบบรรทุกสินค้า รองรับผู้โดยสารได้ 50 คน พร้อมน้ำหนักบรรทุก 3720 กก. (8200 ปอนด์) โดยส่งมอบให้ลูกค้าเปิดตัว "ริวคิวแอร์คอมมิวเตอร์" เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2558

ผู้ให้บริการ แก้

ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 มีเครื่องบินแดช 8 จำนวน 844 เครื่องที่ให้บริการในสายการบิน: ซีรีย์ 100 จำนวน 143 ลำ, ซีรีย์ 200 จำนวน 42 ลำ, ซีรีย์ 300 จำนวน 151 ลำ และ คิว 400 จำนวน 508 ลำ[17] และมีคำสั่งซื้อตกค้าง 56 ลำ[18]

คำสั่งซื้อและการส่งมอบ แก้

คำสั่งซื้อและการส่งมอบ
รุ่น คำสั่งซื้อ การส่งมอบ
ซีรีย์ 100 299 299
ซีรีย์ 200 105 105
ซีรีย์ 300 267 267
ซีรีย์ 400 645 587
รวม 1,316 1,258

ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2019[19]

ข้อมูลจำเพาะ แก้

 
ภาพถ่ายมุมล่างของแดช 8
รุ่น ซีรีย์ 100/200[20] ซีรีย์ 300[21] ซีรีย์ 400[22]
นักบิน 2
ลูกเรือ (ไม่รวมนักบิน) 1 1-2 2-3
ความจุผู้โดยสาร

(มาตราฐาน)

37 50@30–33"[23] 82@30"
ความจุผู้โดยสารสูงสุด[24] 40 56 90@28"
ความยาว 73 ft / 22.25 m 84 ft 3 in / 25.70 m 107 ft 9 in / 32.8 m
ความสูง 24 ft 7 in / 7.49 m 27 ft 5 in / 8.4 m
ความยาวปีก 85 ft / 25.89 m 90 ft / 27.4 m 93 ft 3 in / 28.4 m
พื้นที่ผิวปีก 585 ft² / 54.40 m2 605 ft² / 56.20 m2 689 ft² / 64 m2
ความกว้าง Fuselage 8 ft 10 in / 2.69 m, cabin 8 ft 3 in / 2.52 m
ความยาวของห้องโดยสาร 30 ft 1 in / 9.16 m 41 ft 6 in / 12.60 m 61 ft 8 in / 18.80 m
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 36,300 lb / 16,466 kg
-100: 34,500 lb (15,600 kg)[25]
43,000 lb / 19,505 kg 67,200 lb / 30,481 kg
น้ำหนักเครื่องเปล่า 23,098 lb / 10,477 kg 26,000 lb / 11,793 kg 39284 lb / 17819 kg [26]
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 8,921 lb / 4,647 kg 13,500 lb / 6,124 kg 18,716 lb / 8,489 kg
ความจุเชื้อเพลิงสูงสุด 835 U.S. gal / 3,160 L 1,724 U.S. gal / 6,526 L[27]
เครื่องยนต์ 2 × PW123C/D
-100: 2 × PW120[25]
2 × PW123/B/E 2 × PW150
พลังงาน 2,150 hp (1,600 kW)
-100: 1,800 hp (1,300 kW)[25]
2,380–2,500 hp (1,770–1,860 kW) 5,071 shp / 3,781 kW
ความเร็วการบิน 289 kn / 535 km/h
-100: 270 kn; 500 km/h[25]
287 kn / 532 km/h 300–360 kn / 556–667 km/h
เพดานบิน 25,000 ft / 7,620 m 27,000 ft / 8229 m
พิสัยการบิน 1,125 nmi / 2,084 km
-100: 1,020 nmi; 1,889 km[25]
924 nmi / 1,711 km 1,100 nmi / 2,040 km
ความยาวทางวิ่งในการขึ้นบิน 3,280 ft / 1,000 m 3,870 ft / 1,180 m 4,675 ft / 1,425 m
ความยาวทางวิ่งในการลงจอด 2,560 ft / 780 m 3,415 ft / 1,040 m 4,230 ft / 1,289 m

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน แก้

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน แก้

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน แก้

อ้างอิง แก้

  1. "NICO: Certificate Detail". wwwapps.tc.gc.ca (ภาษาอังกฤษ).
  2. Burns, John F. (1987-06-15). "A BOEING OVERHAUL IN CANADA 888>". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-04-20.
  3. Farnsworth, Clyde H. (1992-01-23). "COMPANY NEWS; Bombardier Agrees to Buy De Havilland From Boeing". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-04-20.
  4. "FLUG REVUE May 1997: Fairchild Dornier 328JET detailed". web.archive.org. 2006-05-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-09. สืบค้นเมื่อ 2023-04-20.
  5. says, Bob. "Voyageur unveils Dash 8-100 Package Freighter conversion". Skies Mag (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. http://www.sscspace.com/mss-6000-for-canada
  7. Government of Canada, National Defence (2013-04-10). "CT-142 Dash-8 | Aircraft | Royal Canadian Air Force". www.rcaf-arc.forces.gc.ca.
  8. "News". www.af.mil.
  9. John M. Guilfoil (22 กรกฎาคม 2012). "DASH 8". Blast Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2022.
  10. Staff, N. N. L. (2015-02-02). "Bombardier Q400 Aircraft Operated by Jazz Under Air Canada Express Brand" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  11. "Army Parachute Team welcomes new plane". www.army.mil (ภาษาอังกฤษ).
  12. Taylor2013-11-19T10:04:30+00:00, Ellis. "DUBAI: Thailand's Nok launches high capacity Q400". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  13. "Literature". web.archive.org. 13 กรกฎาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2022.
  14. Leeuwen, Marcel van (2018-09-21). "Bombardier Delivers First 90-seat Q400 Aircraft to SpiceJet AVIATION NEWS International Aviation News, Airshow reports, Aircraft facts, worlds largest Aviation Museum database. Civillian, Military & Space, We cover it All". AVIATION NEWS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  15. "Cascade - Q400 Airtanker Conversion". web.archive.org. 30 ตุลาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2005. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2022.
  16. Hemmerdinger2021-02-25T17:59:00+00:00, Jon. "De Havilland and PAL pitch special-mission 'P-4' Dash 8-400". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  17. "World Airline Census 2018". Flightglobal. Archived from the original on November 6, 2018. Retrieved November 14, 2018.
  18. "Program Status Report - Q Series" (PDF). June 30, 2018. Archived (PDF) from the original on August 27, 2018. Retrieved August 26, 2018.
  19. "Program Status Report - Q Series aircraft" (PDF). Bombardier Aerospace. 31 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 May 2019. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  20. "Q200" (PDF). Bombardier. 2006. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.
  21. "Q300" (PDF). Bombardier. 2006. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.
  22. "Q Series" (PDF). Bombardier. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-16. สืบค้นเมื่อ 2017-06-20.
  23. "Bombardier Q300 Seating configuration". Air New Zealand. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-06. สืบค้นเมื่อ 2017-06-20.
  24. "Type Certificate Data Sheet No. A13NM" (PDF). FAA. May 24, 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2018. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 "Dash 8 Specifications - BAE Systems". BAE systems. 2021.
  26. "Q400" (PDF). Bombardier. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.
  27. "Q400 specifications". Bombardier. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-06.