บอมบาร์ดิเอร์ (ฝรั่งเศส: Bombardier; ออกเสียง: [bɔ̃baʁdje], บงบาร์ดีเย) เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับการบินและอวกาศของประเทศแคนาดา ก่อตั้งโดยโฌแซ็ฟ-อาร์ม็อง บงบาร์ดีเย ชาวฝรั่งเศส ในชื่อแรกว่า โลโต-แนฌบงบาร์ดีเย (L'Auto-Neige Bombardier) เมื่อ ค.ศ. 1942 ที่เมืองวาลกูร์ รัฐควิเบก ในเริ่มแรกผลิตยานยนต์หิมะ แต่ในปัจจุบันเป็นผู้ผลิตอากาศยาน รถไฟ ตลอดจนยุทธภัณฑ์รายใหญ่ของโลก

บอมบาร์ดิเอร์ อินคอร์ปอเรชัน
Bombardier Inc.
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
TSX:BBD.A, BBD.B
S&P/TSX 60 component
ISINCA0977512007 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมอวกาศ / กลาโหม / ทางรถไฟ
ก่อตั้งวาลกูร์, รัฐควิเบก, แคนาดา
(10 กรกฎาคม 1942; 82 ปีก่อน (1942-07-10))
ผู้ก่อตั้งโฌแซ็ฟ-อาร์ม็อง บงบาร์ดีเย
เลิกกิจการ29 มกราคม พ.ศ. 2564 (สำหรับ Bombardier Transportation)
สำนักงานใหญ่มอนทรีออล, รัฐควิเบก, แคนาดา แคนาดา
เบอร์ลิน, เยอรมนี เยอรมนี (Bombardier Transportation)
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักปีแยร์ โบดวง (ประธานบริษัท)
เอริก มาร์แตล (ประธานบริหาร)
แดนนี่ ดี เพอร์นา (ประธานฝ่ายขนส่ง)
ผลิตภัณฑ์อากาศยาน, รถไฟ, รถราง, บริการเครื่องบิน
รายได้เพิ่มขึ้น US$ 16.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น US$ 0.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$ 24.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง US$ 5.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)[1]
พนักงาน
เกือบ 60,000 คน (ค.ศ. 2020)
เว็บไซต์www.bombardier.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[2]
รถบัสหิมะบอมบาร์ดิเอร์, ผลิตขึ้นในปี 1952

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บริษัท อัลสตอมได้ลงนามในหนังสือสัญญาเพื่อซื้อธุรกิจรถไฟของบริษัท บอมบาร์ดิเอร์[3] โดยการควบรวมแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564[4]

บอมบาร์ดิเอร์เคยได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร ฟอบส์ เป็น 1 ใน 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลก

บอมบาร์ดิเอร์กับประเทศไทย

แก้

บอมบาร์ดิเอร์เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกว่า 30 ปี โดยได้นำโซลูชันระบบปฏิบัติการเดินรถและระบบอาณัติสัญญาณของบอมบาร์ดิเอร์มาใช้งานร่วมกับระบบรถไฟในประเทศไทยทั้งรถไฟดีเซลและระบบรถไฟฟ้า ปัจจุบันหน่วยธุรกิจระบบรางในประเทศไทยได้ถูกยุบรวมเข้ากับ บริษัท อัลสตอม ทรานสปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ตามแผนการควบรวมกิจการระหว่างบอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอรเทชั่น และอัลสตอม

ในประเทศไทยมีรถไฟฟ้าที่ใช้ระบบปฏิบัติการเดินรถของบอมบาร์ดิเอร์ ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส, รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม, รถไฟฟ้าสายสีทอง, และรถไฟทางคู่สายเหนือ โดยแบ่งเป็น 3 รุ่น ดังนี้

ในส่วนของตัวรถไฟฟ้านั้นมีการเลือกใช้ตัวรถไฟฟ้าจาก บอมบาร์ดิเอร์ รวมทั้งสิ้น 2 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าสายสีทอง โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น ดังนี้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Bombardier". Bombardier. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
  2. "Bombardier Reports Fourth Quarter and Full Year 2018 Results" (Press release). GlobeNewswire. February 14, 2019.
  3. อัลสตอม เสนอซื้อธุรกิจรถไฟ บอมบาร์ดิเอร์ หวังต่อกรจีน
  4. A transformational step for Alstom: completion of the acquisition of Bombardier Transportation