ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 นัดชิงชนะเลิศ

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันฟุตบอลเพื่อตัดสินหาทีมผู้ชนะของการแข่งขัน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 ระหว่างทีมชาติสหรัฐอเมริกา ทีมชนะเลิศคอนคาแคฟโกลด์คัพ 2007 พบกับทีมชาติบราซิล ทีมชนะเลิศโกปาอาเมริกา 2007 จัดขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ณ สนามกีฬาเอลลิสปาร์ก โยฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ โดยในครึ่งเวลาแรก สหรัฐอเมริกา ขึ้นนำไปก่อนด้วยคะแนน 2–0 ก่อนที่ในครึ่งเวลาหลัง บราซิล จะทำสามประตูแซงเอาชนะไปด้วยคะแนน 2–3 นับเป็นการชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพครั้งที่ 3 ของพวกเขา

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 นัดชิงชนะเลิศ
สนามกีฬาเอลลิสปาร์ก ในโจฮันเนสเบิร์ก สนามแข่งขันในนัดดังกล่าวนี้
รายการฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009
วันที่28 มิถุนายน 2009
สนามสนามกีฬาเอลลิสปาร์ก, โจฮันเนสเบิร์ก
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
กาก้า (บราซิล)[1]
ผู้ตัดสินมาร์ติน แฮนเอสตอน (สวีเดน)[2]
ผู้ชม52,291
สภาพอากาศกลางคืนฟ้าสดใส
10 องศาเซลเซียส (50 องศาฟาเรนไฮต์)
26% ความชื้น
2005
2013

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ แก้

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่จัดขึ้นทุกสี่ระหว่างทีมชาติชาย 8 ทีมที่ชนะการแข่งขันชิงแชมป์ทวีปจากทั้งหกทวีป ประเทศเจ้าภาพ และทีมชนะเลิศฟุตบอลโลก[3][4] โดยทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศประจำปีนี้ได้สำเร็จ ได้แก่ สหรัฐ และบราซิล โดยทั้งคู่เคยพบกันมาแล้ว 13 ครั้ง รวมทั้งในรอบแบ่งกลุ่มของฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 1999 และ 2003 และในรอบแพ้คัดออกของฟุตบอลโลก 1994[5][6] โดยบราซิลชนะสิบสองนัดในขณะที่ สหรัฐชนะบราซิลได้เพียงนัดเดียวในรอบรองชนะเลิศของคอนคาเคฟโกลด์คัพ 1998 ด้วยคะแนน 1–0[7][8]

โดย สหรัฐ ได้เข้ามาเล่นในการแข่งขันนี้จากการชนะเลิศ คอนคาแคฟโกลด์คัพ 2007 ที่ประเทศของเขาเป็นเจ้าภาพ โดยผ่านเข้ามาแข่งขันเป็นลำดับที่ 4 ส่วนบราซิลได้จากการชนะเลิศ โกปาอาเมริกา 2007 ที่เวเนซุเอลา เข้ามาแข่งขันเป็นลำดับที่ 6[9] ก่อนหน้านี้บราซิลเคยคว้าแชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชั่นส์คัพสองครั้งในปี 1997 และ 2005 ในขณะที่ สหรัฐอเมริกา ได้ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศครั้งแรกในการแข่งขันระดับทีมชุดใหญ่นอกภูมิภาคอเมริกาเหนือ[10][11] ทั้งสองทีมได้ลงเล่นในกลุ่มบี ในรอบแบ่งกลุ่ม เช่นกันกับ อียิปต์ แชมป์แอฟริกันคัพออฟเนชันส์ และอิตาลี แชมป์ฟุตบอลโลก[12]

รอบแบ่งกลุ่ม แก้

ในนัดแรกของสหรัฐอเมริกา ที่ฟรีสเตต พวกเขาต้องพบกับแชมป์โลกอย่าง ทีมชาติอิตาลี ถึงแม้ว่าพวกเขาจะขึ้นนำก่อนจาก แลนดอน โดโนแวน จากลูกโทษ ในนาทีที่ 41[13] แต่พวกเขาก็เสียประตูในครึ่งเวลาหลังถึงสามประตู จากดานีเอเล เด รอสซี และจูเซปเป รอสซี ทำให้พวกเขาแพ้ไปด้วยคะแนน 1–3 ขณะที่ บราซิล ลงเล่นพบกับอียิปต์ โดยพวกเขาขึ้นนำเร็วตั้งแต่ 5 นาทีแรกจากกากา และถูกตีเสมอจากโมฮาเหม็ด ซีดาน ก่อนที่ลูอีส ฟาเบียนู และฮวน จะทำคนละหนึ่งประตูทำให้บราซิลขึ้นนำอีกครั้ง ก่อนที่จะถูกตีเสมอจาก ซีดาน และ ชอว์กี ในนาทีที่ 54 และ 55 แต่สุดท้าย กากา ก็สามารถทำประตูให้บราซิลเอาชนะด้วยคะแนน 4–3 ได้จากลูกโทษ หลังจากผู้ตัดสินมองว่า อะห์มัด อัลมุฮัมมะดี เจตนาใช้แขนปัดสกัดลูกยิงของลูซียู[14][15]

ในนัดที่สองทั้ง สหรัฐ และบราซิล ต้องพบกันที่ลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ โดยเป็นบราซิลที่เอาชนะไปได้ด้วยคะแนน 0–3 จากไมกง ที่เปิดฟรีคิกด้วยระยะ 35 หลาให้กับเฟลิเป เมโล ทำประตูในนาทีที่ 7 ก่อนที่จะถูกขึ้นนำห่างไปอีกครั้งในนาทีที่ 20 หลังจาก ดามาคัส บีสลี่ย์ เสียการครอบครองบอลจากลูกเตะมุมของสหรัฐ ให้กับ รามีริส เลี้ยงบอลและส่งต่อให้ โรบินยู ยิงผ่านทิม ฮาวเวิร์ดเข้าประตู ในนาทีที่ 57 ซาช่า เคลสตาน ได้นับใบแดงและทำให้ทีมเสียโมเมนตัมที่พวกเขาได้รับในครึ่งหลัง ก่อนที่จะเสียประตูสุดท้ายให้กับบราซิลในอีกห้านาทีต่อมาจากไมกง[16] แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะแพ้สองนัดแรก แต่พวกเขาก็ยังมีสิทธิ์ที่จะผ่านเข้ารอบหลังจาก อียิปต์ แพ้ให้กับอิตาลี[17]

ในนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม สหรัฐ สามารถเอาชนะ อียิปต์ ได้ด้วยคะแนน 3–0 จากการทำประตูของ ชาร์ลี เดวีส์ ไมเคิล แบรดลีย์ และคลินต์ เดมป์ซีย์ คนละหนึ่งลูประตู ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถเก็บสามคะแนนได้และมีประตูได้เสียเพิ่มขึ้นมาเป็นติดลบ 2 และทีมชาติอียิปต์มีประตูได้เสียลดลงเป็นติดลบ 3 ขณะที่ บราซิล ก็สามารถเอาชนะอีตาลี ได้ด้วยคะแนน 3–0 เช่นกัน จากการทำประตูของลูอีส ฟาเบียนู สองประตูและการทำเข้าประตูตัวเองของอันเดรีย ดอสเซนา กองหลังของอิตาลีอีกหนึ่งประตู ทำให้อิตาลีมีเพียงสามคะแนน เช่นกันกับ อียิปต์ และสหรัฐ และอิตาลีมีประตูได้เสียติดลบ 2 เช่นกันกับสหรัฐ ทำให้ต้องไปวัดกันที่ประตูได้ ซึ่งสหรัฐยิงได้สี่ประตู ขณะที่ อิตาลีทำได้เพียงสามประตู ทำให้สหรัฐผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกต่อไป

รอบรองชนะเลิศ แก้

สหรัฐอเมริกา เผชิญหน้ากับผู้ชนะกลุ่มเออย่าง สเปน แชมป์ทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 2008 และเป็นทีมเต็งที่จะคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2010[18][19] สหรัฐ ชนะการแข่งขันด้วยคะแนน 2–0 ทำลายสถิติการไม่แพ้ใครของสเปนที่เริ่มในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006[20] และผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกในการแข่งขันทีมชุดใหญ่ระหว่างทวีป เดอะนิวยอร์กไทม์ส ขนานนามว่า "ปาฎิหารย์บนพื้นหญ้า" หรือ "miracle on grass"[11][21] ในนัดนี้ สหรัฐ เริ่มต้นการแข่งขันด้วยแรงกดดันในช่วงต้นและทำให้สไตล์การครอบครองกองกลางของสเปนหยุดชะงัก โจซี อัลติดอร์ ทำประตูแรกของเกมในนาทีที่ 27[20] สหรัฐ สามารถที่จะป้องกันการทำประตูของสเปนที่สร้างโอกาสการทำประตูถึง 18–9 ครั้ง และทำประตูที่สองได้ในนาทีที่ 74 ด้วยการผ่านบอลของ แลนดอน โดโนแวน ที่ทำให้ ฌาราร์ต ปิเก และเซร์ฆิโอ ราโมส หักเหไปด้านหน้า ทำให้ คลินต์ เดมป์ซีย์ ไปแย่งบอลจากปีเกที่ไม่สารถครองครองบอลได้แล้วยิงผ่านมือของ อิเกร์ กาซิยัส จากระยะสั้นไปเป็น 2–0[11][22]

ขณะที่ บราซิล ต้องพบกับเจ้าภาพอย่าง แอฟริกาใต้ รองแชมป์กลุ่ม A โดยชนะไปได้วยคะแนน 1–0 การแข่งขันยังคงไร้การทำประตูเป็นเวลา 88 นาทีแม้บราซิลพยายามที่จะทำประตูหลายครั้ง ก่อนที่ ดาเนียล อัลวีส ตัวสำรองจะเตะฟรีคิกจากมุมไกลผ่านมือของ อีตูเมเลง คูเน เข้าไปเป็นประตูเดียวในนัดนี้

สหรัฐอเมริกา รอบ บราซิล
คู่แข่งขัน สกอร์ รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่งขัน สกอร์
  อิตาลี 1–3 แมตซ์ 1   อียิปต์ 4–3
  บราซิล 0–3 แมตซ์ 2   สหรัฐอเมริกา 3–0
  อียิปต์ 3–0 แมตซ์ 3   อิตาลี 3–0
กลุ่ม บี รองแชมป์กลุ่ม
ทีม เล่น
ชนะ
เสมอ
แพ้
ได้
เสีย
ต่าง
คะแนน
  บราซิล 3 3 0 0 10 3 +7 9
  สหรัฐ 3 1 0 2 4 6 −2 3
  อิตาลี 3 1 0 2 3 5 −2 3
  อียิปต์ 3 1 0 2 4 7 −3 3
ตารางคะแนนรอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม บี แชมป์กลุ่ม
ทีม เล่น
ชนะ
เสมอ
แพ้
ได้
เสีย
ต่าง
คะแนน
  บราซิล 3 3 0 0 10 3 +7 9
  สหรัฐ 3 1 0 2 4 6 −2 3
  อิตาลี 3 1 0 2 3 5 −2 3
  อียิปต์ 3 1 0 2 4 7 −3 3
คู่แข่ง สกอร์ รอบแพ้คัดออก คู่แข่ง สกอร์
  สเปน 2–0 รอบรองชนะเลิศ   แอฟริกาใต้ 1–0

การแข่งขัน แก้

สรุป แก้

ดุงกา ผู้จัดการทีมของบราซิล เลือกที่จะใช้รูปแบบ 4–2–3–1 ที่ทีมเคยใช้ในการแข่งขันครั้งก่อน ขณะที่ บ็อบ แบรดลีย์ ผู้จัดการทีมของสหรัฐอเมริกา เลือกใช้แผน 4–4–2[23] โดยเปลี่ยนผู้เล่นหนึ่งคนคือ ไมเคิล แบรดลีย์ เนื่องจากถูกลงโทษแบนหลังจากโดนใบแดงในรอบรองชนะเลิศและถูกแทนที่โดย เบนนี เฟลฮาเบอร์ ในรายการเริ่มต้น[24][25] ในพิธีก่อนการแข่งขันฟีฟ่าให้นักเตะทั้งสองทีมยืนให้เกียรติ มาร์ค วิเวียนโฟเอ กองกลางชาวแคเมอรูน ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชั่นส์คัพ 2003[26] โดยมีมาร์ค สก็อตต์โฟเอ ลูกชายอ่านข้อความเพื่อรำลึกถึงพ่อของเขา[41]

สหรัฐอเมริกาขึ้นนำก่อนในนาทีที่ 10 จาก โจนาธาน สเปคเตอร์ ด้วยเท้าขวาจากลูกเปิดบอลนอกกรอบเขตโทษของ คลินท์ เดมป์ซีย์ จากนั้น ทิม ฮาวเวิร์ด ผู้รักษาประตู ได้ทำการเซฟสำคัญหลายครั้งเพื่อรักษคะแนนการนำของพวกเขา ท่ามกลางการโจมตีของบราซิลอย่างหนัก สหรัฐ ใช้ประโยชน์จากการโต้กลับของ ริคาร์โด คลาร์ก วิ่งผ่านเส้นครึ่งสนามและผ่านไปยัง แลนดอน โดโนแวน ยิงจากนอกเขตโทษทำประตูได้สำเร็จในนาทีที่ 27[27] เกมจบครึ่งแรกโดยสหรัฐขึ้นนำ 2-0 โดยเป็นที่ตกตลึงของนักวิจารณ์ฟุตบอลเป็นอย่างมาก[28][29]

บราซิล ไล่ขึ้นมาเป็น 2–1 ในนาทีแรกของครึ่งเวลาหลังจาก ลูอีส ฟาเบียนู ตะหวัดบอลทำทำประตูในกรอบเขตโทษ, ในนาทีที่ 60 กาก้า โหม่งบอลผ่านเส้นประตู แต่ทิม ฮาวเวิร์ด สามารถปัดออกไปได้ โดยทีมงานผู้ตัดสินตัดสินไม่ให้ประตูดังกล่าว โดยภาพช้าแสดงให้เห็นว่าบอลข้ามเส้นไปแล้วทั้งใบ[24][27] ก่อนที่ บราซิล จะได้ประตูตีเสมอได้ในนาทีที่ 74 จากฟาเบียนู ที่ยิงซ้ำลูกบอลที่ชนคานออกมาจากลูกโกม่งของกาก้า ในนาทีที่ 84 เอลาโน เปิดเตะมุมให้กับ ลูซิอู ยิงเข้าประตูทำให้บราซิลแซงเอาชนะไปได้ด้วยคะแนน 2–3[24]

รายละเอียด แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
สหรัฐอเมริกา
 
 
 
 
 
 
 
 
บราซิล
GK 1 ทิม ฮาวเวิร์ด
RB 21 โจนาธาน สเป็คเตอร์
CB 5 โอกูชี่ ออนเยวู
CB 15 เจล เดเมริค
LB 3 คาร์ลอส โบคาเนกรา (กัปตัน)   19'
CM 13 รีการ์โด คลาร์ก   88'
CM 22 เบนนี่ ไฟล์ฮาเบอร์   75'
RW 8 คลินต์ เดมป์ซีย์
LW 10 แลนดอน โดโนแวน
SS 17 โจซี่ อัลติดอร์   75'
CF 9 ชาร์ลี เดวีส์
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น:
DF 2 โจนาทาน บอนสเตอิน   75'
MF 16 ซาช่า เคลสตาน   75'
FW 4 โคนอว์ ซาเซ   88'
ผู้จัดการทีม:
บ็อบ แบรดลีย์
 
GK 1 ชูลีอู เซซาร์ ซัวรีช จี อิชปิงโดลา
RB 2 ไมกง โดกลัส ซีเซนังดู
CB 3 ลูซีอู (กัปตัน)   69'
CB 14 ลุยเซา
LB 16 อังเดร ซังตูช   36'   66'
CM 8 ชิลเบร์ตู ซิลวา
CM 5 ฟีลีปี แมลู   25'
RM 18 รามีริส   67'
AM 10 กาก้า
LW 11 โรบินยู
CF 9 ลูอีส ฟาเบียนู
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น:
DF 13 ดานีแยล อัลวิส   66'
MF 7 อูลานู   67'
ผู้จัดการทีม:
ดังกา

แมนออฟเดอะแมตซ์:
กาก้า (บราซิล)[1]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
เฮนริค อันเดร์ (สวีเดน)
เฟดริง เรตตอนต์ (สวีเดน)
ผูตัดสินที่สี่:
เบนีโต อาชุนีเดร์ (เม็กซิโก)
ผูตัดสินที่ห้า:
เฮตอร์ เวร์การา (แคนาดา)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Budweiser Man of the Match: Kaka (BRA)". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 28 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-01. สืบค้นเมื่อ 29 June 2009.
  2. "USA-Brazil preview". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-29. สืบค้นเมื่อ 27 June 2009.
  3. Montague, James (19 June 2013). "A Soccer Win for Tahiti? A Goal Would Be Terrific". The New York Times. p. B15. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  4. Stevenson, Jonathan (12 June 2009). "What is the Confederations Cup?". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  5. "USA national football team: record v Brazil". 11v11.com. Association of Football Statisticians. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  6. Jones, Grahame L. (21 June 2009). "Road to South Africa may be hopeless cause for this U.S. team". Los Angeles Times. p. C4. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.  
  7. Condie, Stuart (26 June 2009). "Brazil prevails, plays U.S. for championship". The Seattle Times. Associated Press. p. C2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-22. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  8. "Old foes meet again". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 28 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  9. "FIFA Confederations Cup South Africa 2009 Qualifiers". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2008. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  10. "Soccer: Tired Brazil does just enough". The New York Times. 27 June 2005. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  11. 11.0 11.1 11.2 Goff, Steven (25 June 2009). "U.S. Shocks No. 1 Spain in Confederations Cup". The Washington Post. p. C1. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  12. Jones, Grahame L. (23 November 2008). "U.S. men's team faces tough tests". Los Angeles Times. p. D4. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.  
  13. Ashenden, Mark (15 June 2009). "USA 1–3 Italy". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  14. Ashenden, Mark (15 June 2009). "Brazil 4–3 Egypt". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  15. Ashdown, John (15 June 2009). "Egypt to protest as Webb awards Brazil winning penalty after TV replay". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  16. Longman, Jeré (18 June 2009). "A Brazilian Buzzsaw Consumes the U.S." The New York Times. p. B11. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  17. Jones, Grahame L. (19 June 2009). "U.S. simply outclassed by Brazil". Los Angeles Times. p. C4. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.  
  18. Longman, Jeré (22 June 2009). "After Fighting Out of Corner, U.S. Back in Ring at Confederations Cup". The New York Times. p. B11. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  19. Hawkey, Ian (14 June 2009). "Spain favourites for World Cup rehearsal". The Times. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  20. 20.0 20.1 Longman, Jeré (24 June 2009). "Americans Stun Spain and the Soccer World". The New York Times. p. B11. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  21. Vecesy, George (24 June 2009). "U.S. Victory Was a Miracle on Grass". The New York Times. p. A1. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  22. Jones, Grahame L. (25 June 2009). "Americans ace big Spanish test". Los Angeles Times. p. C1. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  23. Jones, Grahame L. (28 June 2009). "Brazil, in name only". Los Angeles Times. p. C6. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.  
  24. 24.0 24.1 24.2 Smyth, Rob (28 June 2009). "USA 2-3 Brazil - as it happened". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  25. Dampf, Andrew (28 June 2009). "Upstart U.S. challenges mighty Brazil". The Tennessean. Associated Press. p. C2. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019 – โดยทาง Newspapers.com.  
  26. "Fifa will stage memorial for Foe". BBC Sport. 22 June 2009. สืบค้นเมื่อ 24 June 2009.
  27. 27.0 27.1 Bell, Jack (28 June 2009). "Match Tracking Confederations Cup Final: Brazil 3, U.S. 2". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  28. Dawkins, Phil (28 June 2009). "USA 2–3 Brazil". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 August 2010.
  29. Longman, Jeré (28 June 2009). "U.S. Lets Confederations Cup Slip Away". The New York Times. p. D1. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.