ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนี

ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsche Fußballnationalmannschaft der Frauen) เป็นตัวแทนสำหรับประเทศเยอรมนีในการแข่งขันฟุตบอลหญิงระหว่างประเทศและกำกับงานโดยสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (เดเอ็ฟเบ) โดยในช่วงแรกเรียกในชื่อ "เยอรมนีตะวันตก" ในภาษาอังกฤษอย่างไม่เป็นทางการ โดยทีมนี้เข้าแข่งขันระดับนานาชาติในปี ค.ศ. 1982 ภายหลังการรวมประเทศเยอรมนีใน ค.ศ. 1990 ทีมสมาคมฟุตบอลเยอรมันก็ยังคงอยู่กับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนี
Shirt badge/Association crest
ฉายาดีนาทีโอนาเลล์ฟ
(ชาติที่สิบเอ็ด)
สมาคมสมาคมฟุตบอลเยอรมัน
(ดอยทเชอร์ฟุสส์บัลล์-บุนด์, เดเอ็ฟเบ)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนMartina Voss-Tecklenburg
กัปตันAlexandra Popp
ติดทีมชาติสูงสุดเบียร์กิท พรินซ์ (214 ครั้ง)
ทำประตูสูงสุดเบียร์กิท พรินซ์ (128 ประตู)
รหัสฟีฟ่าGER
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 6 ลดลง 4 (25 สิงหาคม 2023)[1]
อันดับสูงสุด1 (ตุลาคม ค.ศ. 2003 – ค.ศ. 2007, ธันวาคม ค.ศ. 2014 – มิถุนายน ค.ศ. 2015, มีนาคม ค.ศ. 2017)
อันดับต่ำสุด4 (มีนาคม ค.ศ. 2022)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติเยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก 5–1 สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์
(โคเบลนซ์ ประเทศเยอรมนีตะวันตก; 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982)
ชนะสูงสุด
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 17–0 คาซัคสถาน ธงชาติคาซัคสถาน
(วีสบาเดิน ประเทศเยอรมนี; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011)
แพ้สูงสุด
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 6–0 เยอรมนี ธงชาติเยอรมนี
(ดีเคเตอร์ สหรัฐอเมริกา; 14 มีนาคม ค.ศ. 1996)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 1991)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2003, 2007)
ชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม12 (ครั้งแรกใน 1989)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1989, 1991, 1995, 1997, 2001, 2005, 2009, 2013)
ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนีในปี ค.ศ. 2012

ทีมชาติเยอรมนีเป็นหนึ่งในทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลหญิง ทีมนี้เคยเป็นแชมป์โลกถึงสองสมัย โดยชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2003 และ 2007 เยอรมนีเป็นหนึ่งในสองประเทศที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกทั้งชายและหญิง (อีกทีมคือ สเปน) ทีมนี้ยังชนะฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปมาแล้วถึงแปดสมัยจากการแข่งขันทั้งหมดสิบเอ็ดสมัย โดยได้เป็นแชมป์ติดต่อกันถึงหกสมัย ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนียังชนะการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิก โดยได้อันดับสามใน ค.ศ. 2000, 2004 และ 2008 รวมถึงเบียร์กิท พรินซ์ ได้ทำสถิติเป็นผู้ปรากฏตัวและทำประตูสูงสุดตลอดกาล พรินซ์ยังเป็นเจ้าของสถิติระดับนานาชาติ เธอได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปีถึงสามสมัยและเป็นผู้ทำประตูฟุตบอลโลกหญิงสูงสุด

สิ่งที่น่าฉงนที่สุดของทีมฟุตบอลหญิงในประเทศเยอรมนีรวมถึงการแข่งขันอย่างเป็นทางการ คือการถูกห้ามการแข่งโดยสมาคมฟุตบอลเยอรมันถึงจนกระทั่งปี ค.ศ. 1970 แต่แล้วทีมฟุตบอลหญิงก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงใน ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นเวลาที่ทีมนี้ได้รับเลือกให้เป็นทีมแห่งปีของเยอรมนี ส่วนซิลฟีอา ไนด์ ได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งแต่ ค.ศ. 2005 โดยรับช่วงต่อจากทีนา ทอยเน หลังจากเก้าปีของการทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของเธอ ตามข้อมูลเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนีได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 2 ของอันดับโลกหญิงฟีฟ่า

ประวัติ แก้

ประวัติช่วงต้น แก้

ใน ค.ศ. 1955 สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ตัดสินใจไม่อนุญาตให้มีการแข่งขันฟุตบอลหญิงในทุกสโมสรที่ประเทศเยอรมนีตะวันตก โดยได้มีคำอธิบายของสมาคมฟุตบอลเยอรมันที่อ้างว่า "กีฬาห้าวนี้มีฐานเดิมจากต่างประเทศ เมื่อพิจารณาถึงผู้หญิงโดยธรรมชาติ" และได้กล่าวว่า "ร่างกายและจิตวิญญาณย่อมจะได้รับความเสียหาย" นอกจากนี้ "ยังเป็นการแสดงถึงการฝ่าฝืนในด้านสมบัติของผู้ดีและความเหมาะสม"[2] ทั้ง ๆ ที่มีการห้ามนี้ ก็ยังมีการแข่งขันระหว่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการขึ้นกว่า 150 ครั้งในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1970 การห้ามแข่งของฟุตบอลหญิงได้รับการเพิกถอนในการประชุมประจำปีของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน[3]

ฟุตบอลหญิงทีมชาติได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในคริสต์ทศวรรษ 1970 สมาคมฟุตบอลเยอรมันยังคงไม่เกี่ยวข้องในฟุตบอลหญิงมาอย่างยาวนาน ในปี ค.ศ. 1981 ฮอร์สท์ แอร์. ชมิดท์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสมาคมฟุตบอลเยอรมันได้รับเชิญให้ส่งทีมดังกล่าวสู่การแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลกอย่างไม่เป็นทางการ ชมิดท์ยอมรับคำเชิญแต่ได้ปกปิดความจริงที่ว่าเยอรมนีตะวันตกไม่มีฟุตบอลหญิงทีมชาติในขณะนั้น[3] เพื่อหลีกเลี่ยงความอัปยศอดสู สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ส่งทีมแชมป์สโมสรเยอรมันอย่างแบร์กิชกลัดบาค 09 ซึ่งเป็นทีมที่ได้ชนะการแข่งขันรายการดังกล่าว[4] เมื่อเห็นถึงความจำเป็น สมาคมฟุตบอลเยอรมันจึงได้จัดตั้งทีมชาติหญิงขึ้นในปี ค.ศ. 1982 แฮร์มันน์ นอยเบอร์เกอร์ ซึ่งเป็นประธานของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน ได้แต่งตั้ง เกโร บีซันซ์ ผู้เป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยกีฬาโคโลญ ให้เข้ามาจัดตั้งทีม[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "The FIFA/Coca-Cola Women's World Ranking". FIFA. 25 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
  2. Theweleit, Daniel. Mannschaftsporträt Deutschland. Bundeszentrale für politische Bildung. 10 September 2007. Retrieved 5 August 2008. "Diese Kampfsportart der Natur des Weibes im wesentlichen fremd ist", "Körper und Seele erleiden unweigerlich Schaden", "verletze es Schicklichkeit und Anstand." (เยอรมัน)
  3. 3.0 3.1 Hoffmann, Eduard and Nendza, Jürgen. Geschichte des Frauenfußballs. Bundeszentrale für politische Bildung. 1 May 2006. Retrieved 5 August 2008. (เยอรมัน)
  4. Hoffmann, Eduard and Nendza, Jürgen. (2005). "Verlacht, verboten und gefeiert – Zur Geschichte des Frauenfußballs in Deutschland", Landpresse, p. 48. (เยอรมัน)
  5. Kittmann, Matthias. Aus einer Peinlichkeit wurden Weltmeisterinnen. Die Welt. 22 August 2007. Retrieved 7 August 2008. (เยอรมัน)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้