ฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐ

ฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐ (อังกฤษ: United States women's national soccer team) หรือมักเรียกในชื่อ ยูเอสดับเบิลยูเอ็นที (USWNT) เป็นตัวแทนให้แก่สหรัฐในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ ทีมนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลสหรัฐ และเข้าแข่งขันในรายการของคอนคาแคฟ (สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และแคริบเบียน) ทีมชาติสหรัฐชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงที่จัดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1991 และได้เป็นมหาอำนาจของฟุตบอลหญิงนับจากนั้น[1] ปัจจุบัน ทีมนี้ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับแรกของโลกโดยอันดับโลกหญิงฟีฟ่า[2] ทีมนี้ยังชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 1999, รางวัลเหรียญทองโอลิมปิกหญิงสี่สมัย (ค.ศ. 1996,[3] 2004,[4] 2008[5] และ 2012) รวมถึงแอลการ์ฟคัพเก้าสมัย (ค.ศ. 2000, 2003, 2004, 2005, 2007, 2008, 2010, 2011 และ 2013)

ฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐ
Shirt badge/Association crest
ฉายาทีมยูเอสเอ
ดาวและพริ้ว
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลสหรัฐ
สมาพันธ์คอนคาแคฟ
(ทวีปอเมริกาเหนือ)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนจิล เอลลิส
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนโอมิด นามาซี
พอล โรเจอร์ส
กัปตันคริสตี แรมโพนี
ติดทีมชาติสูงสุดคริสติน ลิลลี (352 ครั้ง)
ทำประตูสูงสุดแอบบี วอมแบค (183 ประตู)
รหัสฟีฟ่าUSA
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน2 Steady (27 มีนาคม 2015)
อันดับสูงสุด1 (ธันวาคม 2014)
อันดับต่ำสุด2 (ธันวาคม 2014 -)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 1–0 สหรัฐ ธงชาติสหรัฐ
(เยโซโล ประเทศอิตาลี; 18 สิงหาคม ค.ศ. 1985)
ชนะสูงสุด
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 14–0 สาธารณรัฐโดมินิกัน ธงชาติสาธารณรัฐโดมินิกัน
(แวนคูเวอร์ ปรเทศแคนาดา; 20 มกราคม ค.ศ. 2012)
แพ้สูงสุด
ธงชาติบราซิล บราซิล 4–0 สหรัฐ ธงชาติสหรัฐ
(หางโจว ประเทศจีน; 27 กันยายน ค.ศ. 2007)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1991)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ  : 1991, 1999, 2015, 2019
คอนคาแคฟแชมเปียนชิพ
& โกลด์คัพ
เข้าร่วม7 (ครั้งแรกใน 1991)
ผลงานดีที่สุดผู้ชนะ  : 1991, 1993, 1994 2000, 2002, 2006

ตลอดจนเกียรติยศอื่น ๆ อีกมากมาย โดยทีมนี้ได้รับการรับเลือกให้เป็นทีมแห่งปีของคณะกรรมการโอลิมปิกสหรัฐในปี ค.ศ. 1997 และ 1999 นอกจากนี้ นิตยสารสปอร์ตสอิลลัสเตรเต็ด ยังเลือกให้ทั้งทีมเป็นนักกีฬายอดเยี่ยมแห่งปี 1999[6]

อ้างอิง

แก้
  1. "Combating a myth from Women's World Cup '91". Sports Illustrated. สืบค้นเมื่อ 2012-08-01.
  2. "FIFA World Ranking for USA Women". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2014-07-12.
  3. "U.S. Women's Soccer Team Wins Gold". WashingtonPost.com. 1996-08-02. สืบค้นเมื่อ 2012-08-01.
  4. "SI.com – Wambach gives U.S. veterans golden parting gift in extra time – Thursday August 26, 2004 7:26PM". Sportsillustrated.cnn.com. 2004-08-26. สืบค้นเมื่อ 2012-08-01.
  5. Homewood, Brian (2008-08-22). "U.S. retain gold against Brazil in women's soccer | Reuters". In.reuters.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-28. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
  6. Michael Bamberger (1999-12-20). "Michelle Akers and the 19 other members of the World – 12.20.99 – SI Vault". Sportsillustrated.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้