เอเรอดีวีซี
เอเรอดีวีซี (ดัตช์: Eredivisie, ออกเสียง: [ˈeː.rə.di.ˌvi.zi]) เป็นลีกฟุตบอลสูงสุดของประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1956 หลังจากเริ่มมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพในเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันอยู่อันดับ 9 ของลีกที่ดีที่สุดในยุโรป จัดอันดับโดยยูฟ่า
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1956 |
---|---|
ประเทศ | เนเธอร์แลนด์ |
สมาพันธ์ | ยูฟ่า |
จำนวนทีม | 18 |
ระดับในพีระมิด | 1 |
ตกชั้นสู่ | เอร์สเตอดีวีซี |
ถ้วยระดับประเทศ | เคเอ็นวีบี คัป โยฮัน ไกรฟฟ์ ชีลด์ |
ถ้วยระดับนานาชาติ | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ยูฟ่ายูโรปาลีก ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน (25 สมัย) (2023–24) |
ชนะเลิศมากที่สุด | อาเอฟเซ อายักซ์ (36 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | Fox Sports Eredivisie NOS (ไฮไลต์) ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, เอ็มคอตแฟมิลี |
เว็บไซต์ | Eredivisie.nl |
ปัจจุบัน: เอเรอดีวีซี ฤดูกาล 2023–24 |
ลีกนี้มีทีม 18 สโมสร โดยแต่ละทีมจะแข่งกับสโมสรอื่น 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งในฐานะทีมเหย้า อีกครั้งในฐานะทีมเยือน โดยเมื่อจบฤดูกาล ทีมที่อยู่ท้ายตารางสุดจะตกไปอยู่ในดิวิชัน 1 หรือเอร์สเตอดีวีซี (Eerste Divisie) โดยทันที ส่วนผู้ชนะในดิวิชัน 1 จะเลื่อนชั้นขึ้นมาในลีกนี้โดยทันที ส่วนอันดับ 16 และ 17 ของตารางเอเรอดีวีซี และทีมจากเอร์สเตอดีวีซี จะแข่งในรอบเพลย์ออฟ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีสโมสรจากเอเรอดีวีซีแข่งทั้งเหย้าและเยือน โดยผู้ชนะในแต่ละกลุ่มในรอบเพลย์ออฟจะได้อยู่ในลีกเอเรอดีวีซีในฤดูกาลถัดไป ส่วน 2 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยทีมชนะเลิศจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1 ในขณะที่ทีมอันดับ 2 จะต้องแข่งรอบเพลย์ออฟอีกทีหนึ่ง ส่วนอันดับ 3 จะมีสิทธิเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีกรอบเพลย์ออฟ
สโมสรที่ชนะในลีกมากที่สุดคือ อาเอฟเซ อายักซ์ (AFC Ajax)
ประวัติ
แก้เนเธอร์แลนด์มีการก่อตั้งฟุตบอลแชมเปียนชิพระดับชาติขึ้นในปี ค.ศ. 1898 โดยนำผู้ชนะเลิศในลีกท้องถิ่นมาตัดสินหาแชมป์ในระบบเพลย์ออฟระดับชาติ[1] ทุกสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็นเพียงสโมสรสมัครเล่น โดยราชสมาคมฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ (KNVB) สั่งห้ามผู้เล่นคนใดรับเงินเดือน หากพบจะตัดสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันกับผู้เล่นคนนั้นทันที[2] ต่อมา ราวคริสต์ทศวรรษที่ 1950 มีการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบฟุตบอลอาชีพขึ้นในประเทศ หลังจากที่ผู้เล่นฝีเท้าดีหลายคนต้องย้ายไปเล่นในต่างประเทศเพื่อรับค่าตอบแทนที่ดีกว่า ผู้เล่นเหล่านี้มักจะถูกสมาคมฟุตบอลตัดชื่อไม่ให้ติดทีมชาติเนเธอร์แลนด์[3] เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่เนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1953 ผู้เล่นชาวดัตช์ที่เล่นในต่างประเทศ (ส่วนใหญ่เล่นอยู่ในลีกฝรั่งเศส) ได้จัดฟุตบอลการกุศลนัดพิเศษขึ้นเพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม โดยแข่งขันกับทีมชาติฝรั่งเศส แม้จะถูกสมาคมฟุตบอลคว่ำบาตรเกมครั้งนี้ แต่ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมเนเธอร์แลนด์สามารถเอาชนะทีมชาติฝรั่งเศสได้ 2-1 เป็นจุดที่กระตุ้นให้ประชาชนชาวเนเธอร์แลนด์ได้เห็นว่า ฟุตบอลอาชีพนำมาซึ่งการประสบความสำเร็จได้[4] จากกระแสเรียกร้องนี้ เนเธอร์แลนด์จึงได้มีการจัดตั้งลีกอาชีพขึ้นเมื่อฤดูกาล 1954-55[5]โดยสมาคมนักฟุตบอลอาชีพที่ตั้งขึ้นในนาม NBVB อย่างไรก็ตาม ราชสมาคมฟุตบอลยังไม่เห็นด้วยจึงได้จัดประชุมร่วมกับประธานสโมสรของสโมสรสมัครเล่นเดิม
ผลที่เกิดขึ้นคือ ราชสมาคมฟุตบอลและสมาคมนักฟุตบอลอาชีพได้จัดการแข่งขันแยกกัน โดยการแข่งขันแมตช์แรกระหว่างสโมสรฟุตบอลอาชีพคือแมตช์ระหว่างสโมสรอาลค์มาร์และสโมสรเฟนโล[2] หลังจากผ่านไปได้ 11 เกม สมาคมทั้งสองได้จัดประชุมกันอีกครั้งในเดือนกันยายนเพื่อเจรจารวมลีก ในที่สุด ทั้งสองลีกถูกยุบเลิกและรวมตัวกันกำเนิดลีกใหม่ในทีนที โดยมีสโมสรเดอ กราฟสคาป อัมสเตอร์ดัม อาลค์มาร์ ฟอร์ทูนา'54 ราปิดเยเซ โฮลลันด์สโปร์ต และโรดาสโปร์ต จากลีกสมาคมนักฟุตบอลอาชีพได้เข้าร่วมลีกใหม่ทันที สโมสรแรกที่ชนะเลิศการแข่งขันคือวิลเลิม ทเว[6]
ต่อมา ในฤดูกาล 1956-57 ราชสมาคมฟุตบอลได้สั่งยกเลิกลีกท้องถิ่น และก่อตั้งลีกเอเรอดีวีซีขึ้น โดยมี 18 สโมสรที่ดีที่สุดเล่นในลีกสูงสุดโดยไม่มีการเพลย์ออฟ มีสโมสรร่วมก่อตั้ง 18 สโมสร[7] และอายักซ์เป็นสโมสรแรกที่คว้าแชมป์ไปครอง[7]
ฤดูกาล 2022–23
แก้สโมสร |
เมือง | ความจุสนาม | อันดับใน
ฤดูกาล 2018-19 |
ฤดูกาลแรก
ในเอเรอดีวีซี |
จำนวนฤดูกาล
ในเอเรอดีวีซี |
แชมป์
เอเรอดีวีซี |
---|---|---|---|---|---|---|
อายักซ์ | อัมสเตอร์ดัม | 54,990 | 1 | 1956–57 | 64 | 26 |
อาแซด | อาลค์มาร์ | 17,250 | 4 | 1968–69 | 42 | 2 |
อาเดโอ เดนฮาก | เดอะเฮก | 15,000 | 9 | 1957–58 | 46 | 0 |
เอฟเซ เอเมิน | เอเมิน | 8,600 | 14 | 2018–19 | 2 | 0 |
ไฟเยอโนร์ด | รอตเทอร์ดาม | 51,137 | 3 | 1956–57 | 64 | 10 |
ฟอร์ทูนา ซิตทาร์ด | ซิตทาร์ด | 12,500 | 15 | 1968–69 | 21 | 0 |
เอฟเซ โกรนิงเงิน | โกรนิงเงิน | 22,579 | 8 | 1971–72 | 41 | 0 |
เอสเซ เฮเรินเฟน | เฮเรินเฟน | 27,224 | 11 | 1990–91 | 28 | 0 |
เฮราคลีส อัลเมโล | อัลเมโล | 12,080 | 7 | 1962–63 | 20 | 0 |
เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | ไอนด์โฮเฟน | 36,500 | 2 | 1956–57 | 64 | 21 |
สปาร์ตา รอตเทอร์ดาม | รอตเทอร์ดาม | 11,026 | เลื่อนชั้น | 1956–57 | 54 | 1 |
ตเว็นเตอ | เอ็นสเคอเด | 30,205 | เลื่อนชั้น | 1956–57 | 61 | 1 |
เอฟเซ อูเทรกต์ | ยูเทรกต์ | 23,750 | 6 | 1970–71 | 50 | 0 |
ฟีเตสเซอ | อาร์เนม | 21,248 | 5 | 1971–72 | 35 | 0 |
เฟเฟเฟ เฟนโล | เวนโล | 8,000 | 12 | 1956–57 | 23 | 0 |
แอร์กาเซ วาลไวค์ | วาลไวค์ | 7,508 | เลื่อนชั้น | 1988–89 | 24 | 0 |
วิลเลิม ทเว | ติลบืร์ค | 14,500 | 10 | 1956–57 | 43 | 0 |
เปเอเซ ซโวลเลอ | ซโวลเลอ | 14,000 | 13 | 1978–79 | 20 | 0 |
ทีมชนะเลิศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Netherlands – Regional Analysis". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
- ↑ 2.0 2.1 (ในภาษาดัตช์)"Eredivisie – ontstaan". Vak Q. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
- ↑ "Professionalism and European Games". TimeRime. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2013.
- ↑ (ในภาษาดัตช์)"De Watersnoodwedstrijd van Cor van der Hart". Sportgeschiedenis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
- ↑ "Netherlands Final Tables 1950–1954". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
- ↑ "Netherlands 1954/55". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
- ↑ 7.0 7.1 "Netherlands 1956/57". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ดัตช์)
- เอเรดิวิซี่ ฮอลแลนด์ ทางเฟซบุ๊ก