รัฐบุรุษ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
รัฐบุรุษ หรือ รัฐสตรี คือ บุคคลผู้ซึ่งเป็นผู้นำทางการเมืองหรือทางทหาร นักการทูต หรือ บุคคลสาธารณะที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ
ในประเทศไทย
แก้รัฐบุรุษอาวุโส
แก้ประเทศไทยเคยมีตำแหน่ง รัฐบุรุษอาวุโส หมายถึง บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในราชการ ในฐานะผู้นำทางการเมืองหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ได้ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยโดยทั่วไป
พระมหากษัตริย์ไทยได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องบุคคลเป็นรัฐบุรุษอาวุโสจำนวน 1 คน คือ
- ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร นายกรัฐมนตรี และผู้นำสมาชิกคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน ได้รับยกย่องเป็นรัฐบุรุษอาวุโสเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2488[1]
รัฐบุรุษ
แก้ส่วนตำแหน่ง รัฐบุรุษ หมายถึง ผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์มาโดยตลอด ไม่มีความด่างพร้อย และเป็นที่ยอมรับของประชาชน
คณะรัฐมนตรีจะมีมติเสนอชื่อให้รัฐสภาเห็นชอบแล้วทูลเกล้าฯ ถวายให้พระมหากษัตริย์ไทยยกย่องต่อไป ปัจจุบัน มีผู้ได้รับยกย่อง 1 ท่าน คือ
- พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อดีตประธานองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับยกย่องเป็นรัฐบุรุษเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่อง นายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐบุรุษอาวุโส, หน้า ๖๙๙, ตอนที่ ๗๐, เล่ม ๖๒, วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
- พระบรมราชโองการ ประกาศยกย่อง นายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐบุรุษอาวุโส จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- พระบรมราชโองการ ประกาศยกย่อง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษ จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- วารี อัมไพรวรรณ หนังสือรอบรู้ประเทศไทย