เถาะ เป็นชื่อปีที่ 4 ของรอบปีนักษัตรที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินจีน โดยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดรอบปีนักษัตรไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล และนับต่างกันระหว่างแบบจีนกับแบบไทย โดยมีพระธาตุประจำปีเกิดตามความเชื่อล้านนา คือ พระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน มีสีประจำปีคือสีเทา เป็นปีธาตุไม้ และมีทิศประจำปีคือทิศตะวันออก

เถาะ
"เถาะ" ในอักษรจีน
ภาษาจีน

ในปีนักษัตรเวียดนามและของชาวกุรุง ปีเถาะมีสัญลักษณ์เป็นแมวแทนที่กระต่าย[1] ส่วนปีนักษัตรของชาวมลายูแทนที่ด้วยกระจงหนู[2]

ปีและธาตุ แก้

ผู้ที่เกิดในช่วงปีนี้ถือว่าเกิดใน"ปีเถาะ" พร้อมกับถือสัญลักษณ์ธาตุตามนี้:[3][4]

วันที่เริ่มต้น วันที่สิ้นสุด แกนสวรรค์
29 มกราคม 1903 15 กุมภาพันธ์ 1904 เถาะน้ำ
14 กุมภาพันธ์ 1915 3 กุมภาพันธ์ 1916 เถาะไม้
2 กุมภาพันธ์ 1927 22 มกราคม 1928 เถาะไฟ
19 กุมภาพันธ์ 1939 7 กุมภาพันธ์ 1940 เถาะดิน
6 กุมภาพันธ์ 1951 26 มกราคม 1952 เถาะโลหะ
25 มกราคม 1963 12 กุมภาพันธ์ 1964 เถาะน้ำ
11 กุมภาพันธ์ 1975 30 มกราคม 1976 เถาะไม้
29 มกราคม 1987 16 กุมภาพันธ์ 1988 เถาะไฟ
16 กุมภาพันธ์ 1999 4 กุมภาพันธ์ 2000 เถาะดิน
3 กุมภาพันธ์ 2011 22 มกราคม 2012 เถาะโลหะ
22 มกราคม 2023 9 กุมภาพันธ์ 2024 เถาะน้ำ
8 กุมภาพันธ์ 2035 27 มกราคม 2036 เถาะไม้
26 มกราคม 2047 13 กุมภาพันธ์ 2048 เถาะไฟ
11 กุมภาพันธ์ 2059 1 กุมภาพันธ์ 2060 เถาะดิน
31 มกราคม 2071 18 กุมภาพันธ์ 2072 เถาะโลหะ
17 กุมภาพันธ์ 2083 5 กุมภาพันธ์ 2084 เถาะน้ำ
5 กุมภาพันธ์ 2095 24 มกราคม 2096 เถาะไม้

สำหรับปี พ.ศ.2566 ตามปฏิทินจีน วันที่เริ่มนักษัตรกระต่าย (兔) จะตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2566 และเป็นกระต่ายธาตุน้ำ (water rabbit)

ส่วนปฏิทินไทย ปีเถาะจะตรงกับวัน 22 มีนาคม 2566 (ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Tamu (Gurung) Losar Festival". ECS Nepal. 2010-07-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ 2017-06-09.
  2. Farouk Yahya (2015). "Glossary". Magic and Divination in Malay Manuscripts. Brill. pp. 296–306. ISBN 978-90-04-30172-6.
  3. "When is Chinese New Year?". pinyin.info. สืบค้นเมื่อ 13 March 2018.
  4. "Chinese Zodiac – Rabbit (Hare)". Your Chinese Astrology. สืบค้นเมื่อ 13 March 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้