สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (พม่า: နိုင်ငံတော်အေးချမ်းသာယာရေးနှင့်ဖွံ့ဖြိုးရေးကောင်စီ, อังกฤษ: State Peace and Development Council, อักษรย่อ SPDC) เป็นเครื่องมือการปกครองของประเทศพม่า เดิมใช้ชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council) หรือ สลอร์ก (SLORC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2531 หลังความวุ่นวายทางการเมืองที่ดำเนินมานับตั้งแต่มีการยกเลิกธนบัตรบางชนิดโดยไม่มีการชดใช้จากรัฐบาล การดำเนินการดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับนักศึกษา ประกอบกับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรง ความไม่พอใจแพร่กระจายออกไปจนกระทั่งเกิดการประท้วงและปะทะกันจนนองเลือดในที่สุด ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากทหารใช้กำลังปราบปรามโดยไม่ยับยั้ง

สหภาพพม่า
(1988-2011)
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
(2011)

ပြည်ထောင်စုမြန်မာနိုင်ငံတော်
(1988–2011)
ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်‌
(2011)
1988–2011
เพลงชาติ
เมืองหลวงย่างกุ้ง (1988–2006)
เนปยีดอ (2006–2010)
ภาษาทั่วไปพม่า
ศาสนา
ศาสนาพุทธเถรวาท
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐ ภายใต้เสนาธิปไตย เผด็จการทหาร
ประธาน 
• 1988-1992
ซอ หม่อง
• 1992-2011
ตาน ฉ่วย
รองประธาน 
• 1988-1992
ตาน ฉ่วย
• 1992-2011
หม่อง เอ
นายกรัฐมนตรี 
• 1988-1992
ซอ หม่อง
• 1992-2003
ตาน ฉ่วย
• 2003-2004
ขิ่น ยุ้นต์
• 2004-2007
โซ วิน
• 2007-2011
เต็ง เส่ง
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
18 กันยายน 1988
• เปลี่ยนชื่อจาก "Burma" เป็น "Myanmar" (เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเท่านั้น)
18 มิถุนายน 1989[1]
23 กรกฎาคม 1997
15 สิงหาคม 2007
7 พฤศจิกายน 2010
• ออง ซาน ซูจีได้รับการปล่อยตัว
13 พฤศจิกายน 2010
• เปลี่ยนชื่อเป็น "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า"
31 มกราคม 2011[2][3]
• ยุบเลิก
30 มีนาคม 2011
เอชดีไอ (2011)0.526
ต่ำ
สกุลเงินจัต
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์95
รหัส ISO 3166MM
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ พม่า

รัฐบาลกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ท่ามกลางความแปลกใจของประชาชน ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านไร้ความหมาย เมื่อสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐปฏิเสธการเปิดประชุมสภาใหม่

การเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 หลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน โดยเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งภายในอาเซียนเองและต่างประเทศ นอกจากนี้การเปลี่ยนชื่อดังกล่าวยังถูกมองว่าเป็นการพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของนานาชาติ แม้ว่าการเปลี่ยนชื่อจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวาระสำคัญของชาติ แต่ลักษณะอำนาจนิยมของรัฐบาลยังคงมีอยู่

อ้างอิง

แก้
  1. Article 2, The Adaptation of Expressions Law, 18 มิถุนายน 1989 เก็บถาวร 26 มกราคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Article 1(b),2(a), The Law Relating to Adaptation of Expressions, 2011, 27 มกราคม 2011 (ในภาษาอังกฤษ)
  3. ၂၀၀၈ ဖွဲ့စည်းပုံအခြေခံဥပဒေ [2008 Constitution], Constitutional Tribunal of the Union of Myanmar, Online Law Library (ภาษาพม่า), มีนาคม 2018, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 เมษายน 2022, ဖွဲ့စည်းပုံအခြေခံဥပဒေပြဋ္ဌာန်းချက်များနှင့်အညီ ၂၀၀၈ ဖွဲ့စည်းပုံအခြေခံဥပဒေသည် ပထမအကြိမ် ပြည်ထောင်စုလွှတ်တော်စတင်ကျင်းပသည့် ၃၁-၁-၂၀၁၁ ရက်နေ့တွင် စတင်အာဏာတည်ခဲ့သည်။
  • ไมเคิล ลีเฟอร์, จุฬาพร เอื้อรักสกุล (แปล-เรียบเรียง), พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548, หน้า 547, 550, ISBN 974-571-921-8

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้