ต้องปล้น เป็นภาพยนตร์ไทยแนวแอ็คชั่น ที่มีทั้งฉากตลก และฉากสะท้อนชีวิต เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น เรื่องราวของเด็กหนุ่มสามคนที่วางแผนปล้นธนาคาร เพื่อชีวิตที่ดีกว่าในปัจจุบัน แต่แผนการล้มเหลว ทั้งสามถูกตำรวจตามล่า จนหนีมาซ่อนตัวที่อพาร์ทเม้นท์แห่งหนึ่ง ตัวประกันหลายคนต้องมาอยู่รวมกัน แต่ละคนมีชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ในที่สุดทั้งสองคนก็ต้องประสบกับชะตากรรมที่เกิดขึ้น เรื่องนี้เคยวางจำหน่ายครั้งแรกในรูปแบบวีดีโอเทป (VHS) จัดจำหน่ายโดยบริษัท ซีวีดี จำกัด เมื่อปีพ.ศ. 2534 ครั้งที่ 2 จำหน่ายในรูปแบบวีซีดี จัดจำหน่ายโดยบริษัท โซล่าร์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เมื่อปีพ.ศ. 2543 และครั้งที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2552 ทางบริษัท บีเคพี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้นำเอาภาพยนตร์เรื่องนี้กลับมาจำหน่ายใหม่อีกครั้งในรูปแบบวีซีดีและดีวีดีซึ่งจัดจำหน่ายอยู่ในภายใต้โปรเจกต์ The Legend Collection หนังไทยในดวงใจ และเรื่องนี้เคยนำมาฉายทางโทรทัศน์ระบบฟรีทีวีครั้งแรกทางช่อง 7 ในช่วงยอดภาพยนตร์ฯ เมื่อปีพ.ศ. 2536 และออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกเป็นครั้งแรกโดยออกอากาศผ่านทางไอบีซี ช่อง 3 ซึ่งเป็นช่องวาไรตี้ของไทย เมื่อปีพ.ศ. 2537-2539 ปัจจุบันยังออกอากาศผ่านทางทรูไทยฟิล์มของทรูวิชั่นส์นับตั้งแต่สมัยที่ยังออกอากาศผ่านทางยูบีซีเอชียนมูฟวี่ ราวปีพ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน

ต้องปล้น
กำกับชูชัย องอาจชัย
เขียนบทชนินทร ประเสริฐประศาสน์
อำนวยการสร้างเจริญ เอี่ยมพึ่งพร
ยุวดี ไทยหิรัญ
นักแสดงนำอำพล ลำพูน
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
วรเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ
จันจิรา จูแจ้ง
กำกับภาพอานุภาพ บัวจันทร์
ดนตรีประกอบบัตเตอร์ฟลาย
ผู้จัดจำหน่ายไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น
วันฉาย11 ตุลาคม พ.ศ. 2533
ความยาว104 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย

นักแสดงนำ

แก้

เรื่องย่อ

แก้

เมื่อก้องกับจ้อนสองเด็กอู่ซ่อมมอเตอร์ไซค์ ร่วมมือกับเบิ้มจับกังแบกข้าวสาร ปล้นธนาคารเพื่อหวังชีวิตที่สุขสบาย แต่แทนที่ทั้งสามจะสามารถหลบหนีลอยนวลไปอย่างสบายๆ แต่กลับต้องพบกับอุปสรรคมากมาย พร้อมกับจุดจบที่ต้องตายทั้งสามคน

การสร้าง

แก้

ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นจากเค้าโครงเรื่องจริง จากเหตุการณ์ชายหนุ่มบุกเข้าปล้นร้านทอง แล้วหนีตำรวจขึ้นไปบนแฟลต โดยบุกเข้าไปในห้องแล้วจับผู้หญิงหากินคนหนึ่งเป็นตัวประกัน แต่นำมาดัดแปลงโดยเปลี่ยนเป็นการปล้นธนาคารแทน เรื่องนี้ยังได้นักแสดงชื่อดังอีกคน คือ เกรียงไกร อุณหะนันทน์ มารับหน้าที่ออกแบบฉากภายในให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย[1]

รางวัลที่ได้รับ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. นิตยสาร ทีวีพูล ปีที่ 1 ฉบับที่ 20, 12-18 ต.ค. 2533 : หน้า 56