ดี๋ ดอกมะดัน
ดี๋ ดอกมะดัน มีชื่อจริงว่า สภา ศรีสวัสดิ์ (เดิมชื่อ ศุภกรณ์) (เกิดที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2494 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) จบการศึกษาประกาศนียบัตรขั้นสูง วิทยาลัยครูยะลา
ดี๋ ดอกมะดัน | |
---|---|
ชื่อเกิด | ศุภกรณ์ ศรีสวัสดิ์ |
เกิด | 19 เมษายน พ.ศ. 2494[1] อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (58 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | รัตตินันท์ จิราโรจน์เจริญ (เลิกรา) (2520 - 2525) เสาวลักษณ์ ศรีสวัสดิ์ (2530 - 2552) |
อาชีพ | นักแสดง ตลก |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2518 - 2550 |
พระสุรัสวดี | ดาราประกอบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2526 จากเรื่อง มหาเฮง |
ฐานข้อมูล | |
IMDb | |
ThaiFilmDb |
ประวัติ
แก้เริ่มอาชีพจากการเป็นครูที่จังหวัดยะลา และต่อมาเป็นโฆษกวงดนตรีลูกทุ่งชื่อดังต่าง ๆ จากนั้นก็ได้เป็นตลกด้วยการชักชวนของเตี้ย เมืองใต้ แสดงบนเวทีคอนเสิร์ตลูกทุ่ง ใช้ชื่อหลายชื่อ แต่ไม่ประสบความสำเร็จถึงขั้นขีดสุดนานถึง 30 ปีเต็ม ต่อมาเริ่มมามีชื่อเสียง[2]กับคณะเด๋อ ดู๋ ดี๋ ในปี พ.ศ. 2518 และเป็นพิธีกรในรายการพลิกล็อกคู่กับปัญญา นิรันดร์กุล ต่อมาได้รับเป็นนายกสมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทย [3]
ในกลางปี พ.ศ. 2545 ปรากฏเป็นข่าวอื้อฉาวว่า ดี๋ ดอกมะดันถูกตรวจพบว่ามีปัสสาวะสีม่วงขณะอยู่ในผับ จึงต้องสงสัยว่าเสพยาเสพติด แต่เจ้าตัวได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยบอกว่าเป็นยาแก้หอบหืด ซึ่งต่อมาเรื่องเสพยาเสพติดนี้ก็ได้ถูกพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริงและศาลก็ได้ยกฟ้อง[4]จากนั้นก็มีข่าวว่าได้ตบปาก ต้อย แอ๊คเนอร์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มายา ชาแนลถึงเลือดกลบปาก จนถูกกล่าวหาว่าเป็นตลกมาเฟีย เนื่องจากไม่พอใจที่ได้พาดหัวว่า ตลกดังอักษรย่อ ”ด “ หิ้วนักข่าวสาวเข้าม่านรูด ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องล้อเล่นกันมานานถึง 17 ปี
ในทางการเมือง ในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 ดี๋ ดอกมะดันได้เข้าร่วมกับทางพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย และได้ขึ้นเวทีปราศรัยและนำคณะตลกแสดงบนเวทีด้วย[5]
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สภา ศรีสวัสดิ์ และลงเล่นการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์โดยลงสมัครเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตห้วยขวาง ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่อย่างใด
ชีวิตส่วนตัวเคยใช้ชีวิตคู่กับนางรัตตินันท์ จิราโรจน์เจริญ และก็เลิกรากันไป ต่อมาสมรสกับนางเสาวลักษณ์ ศรีสวัสดิ์ มีบุตรสาว 2 คน คือ พรรณวรินทร์ ศรีสวัสดิ์ (บีม) บุตรสาวคนโตที่เป็นนักแสดงชื่อดัง กับ มนชญา ศรีสวัสดิ์ (เบล) ปัจจุบันบุตรสาวทั้งสองเปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็น วรานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ และ ชยานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ [6] ซึ่งบุตรสาวทั้ง 2 คนนี้เกิดกับนางรัตตินันท์ หรือภรรยาคนแรกของ ดี๋ ดอกมะดัน
ต่อมา ดี๋ ดอกมะดัน ได้ป่วยเป็นโรคหอบอย่างหนักเนื่องจากสูบบุหรี่หนักและอยู่กับสุนัขของตนมาอยู่ในห้องของตนเอง เริ่มเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 จนกระทั่งเวลาประมาณ 5 นาฬิกาของเช้าวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ดี๋ เสียชีวิตที่โรงพยาบาลสินแพทย์ แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร หลังจากทนทุกข์ทรมานด้วยโรคหอบอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน[7] โดยมีผลงานชิ้นสุดท้ายคือ การรับบทเป็น ขุนเดช ในภาพยนตร์ไตรภาคชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ผลงานภาพยนตร์
แก้- 2522: สาวใช้แม่เอ๊ย
- 2522: 2 ผู้ยุ่งเหยิง รับบท ลูกเสือ
- 2523: ทายาทลูกทุ่ง รับบท ดี๋
- 2524: ผู้ใหญ่อ้วน กำนันผอม
- 2524: เจ้าพ่อเซียงกง
- 2524: จู้ฮุกกรู รับบท ดี๋
- 2524: แม่กาวาง
- 2524: ครูวิบาก
- 2525: คนึงหา
- 2525: อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง
- 2525: กระท่อมนกบินหลา
- 2525: ลำตัดรำเตะ รับบท ดี๋
- 2525: นักเลงคอมพิวเตอร์ รับบท แหย
- 2525: คุณย่าเซ็กซี่
- 2525: แววมยุรา รับบท นายจ้าง
- 2525: คุณนายซาอุ
- 2525: กุนซืออ้วน
- 2526: ร.รักส์ ปักใจ รับบท เจ๋ง
- 2526: พ่อตาจิ๊กโก๋
- 2526: ผู้แทนนอกสภา รับบท มหาจำรูญ เรืองศาสตร์
- 2526: ความรักของบัวทอง
- 2526: ไผ่ลำพอง
- 2526: ไอ้ทุยลุยกรุง
- 2526: รักกันวันละนิด
- 2526: พยัคฆ์ยี่เก รับบท พี่น้องกัน
- 2526: น.ส. เย็นฤดี รับบท ครูพร
- 2526: มหาเฮง
- 2526: ผู้ใหญ่บ้านกลองยาว
- 2526: วีรบุรุษสงคราม รับบท นักรบ
- 2526: ยูงรำแพน
- 2526: แม่ดอกกระถิน รับบท ไอ้นึก
- 2526: เงิน เงิน เงิน รับบท แดง
- 2526: แม่ยอดกะล่อน
- 2526: ไอ้ป.4 (ไม่มีเส้น) รับบท อิทธิพล
- 2526: เลขาคนใหม่ รับบท บุญมี
- 2526: นิสิตใหม่
- 2526: สวรรค์บ้านนา รับบท ดี๋
- 2526: เขยสี่ทิศ
- 2526: กำนันสาว รับบท หยอย
- 2526: เล่นไม่ยาก
- 2527: เสือตกถัง รับบท จ่าเต็มยศ
- 2527: สารวัตรต๊อก รับบท ร.ต.ท. ชัย
- 2527: สาวใจแตก รับบท ทิดจ้อย สรณา
- 2527: หอสาว รับบท สำราญ
- 2527: แหกค่ายโลกีย์
- 2527: เฮฮาเมียนาวี รับบท พ.ท. เหี้ยว นักรัก
- 2527: 7 ทะโมน
- 2527: ท.ทหารอดทน รับบท ทหาร
- 2527: สวัสดีคุณนาย รับบท มะเหง็ก เข็กกระบาล
- 2527: ขอโทษที ที่รัก รับบท ดี๋
- 2527: บ้านสาวโสด รับบท เมธี
- 2527: รักที่ต้องรอ
- 2527: รักต้องโกย
- 2527: ไอ้ถึกเกณฑ์ทหาร รับบท ทหาร
- 2527: แตนป่าแตก
- 2527: เด็กปั๊ม
- 2527: รักที่ถูกลืม
- 2527: ขาวผ่องจ้าวสังเวียน
- 2527: อิทธิฤทธิ์น้ำมันพราย รับบท นายปลอมคนใหม่
- 2527: เขี้ยวฉลาม
- 2527: ยันต์สู้ปืน รับบท เสือเผ่น แพแดง
- 2527: น.ส. ลูกหว้า
- 2527: คาดเชือก รับบท ไอ้แพม
- 2527: วัยระเริง
- 2527: สาลิกาลิ้นทอง
- 2528: ลูกสาวป้าแช่ม รับบท หมอปรีชา
- 2528: หอใหม่ รับบท สำราญ
- 2528: พยาบาลที่รัก รับบท นายแพทย์
- 2528: นักรบ 3 สลึง รับบท นักรบ
- 2528: ตะวันยิ้มแฉ่ง รับบท นายเลิมเป็นคนสูบยา
- 2528: ปลัดเพชรบ่อพลอย
- 2528: รักตะลุมบอน รับบท นักสีบ
- 2528: ทับทิมโทน
- 2528: คุณแหท่านหอย
- 2528: แม่หมอน้ำมันพราย
- 2528: นักเลงสิบล้อ รับบท นายกำแพง
- 2529: ไอ้งอดยอดทหาร รับบท ทหาร
- 2529: หักเหลี่ยมแดร็กคูล่า รับบท หัวหน้าของเขา
- 2529: ตำรวจเหล็ก
- 2529: น.ส.กาเหว่า
- 2529: ลุยรำมะนา
- 2530: ขอทานขาดทุน
- 2530: สาว X รอรัก
- 2530: เรารักกันนะ
- 2530: พี่น้อง 2 แสง
- 2531: พ่อมหาจำเริญ
- 2532: ดิฉันไร้เสน่หา
- 2533: ฉลุยโครงการ 2 รับบท หมอต๊อง (รับเชิญ)
- 2533: คนเลี้ยงช้าง รับบท จำรัส คนขายไอศครีม
- 2533: เพชรพระอุมา รับบท มือปืนโจรป่า
- 2533: คุกมหาสนุก
- 2533: โหดเนื้อหิน รับบท กำนันเชือด
- 2533: ชะตาคน
- 2533: หนุก รับบท พ่อของแว่น
- 2534: นัดกับผีตอน 4 ทุ่ม
- 2534: คุณมืดกับคุณระมัด
- 2535: ป้อ สำหรับบางวัน
- 2536: ฮัลโหล ขอรบกวนหน่อยนะ รับบท ดี๋
- 2537: มนต์เพลงนักเลงบ้านนอก
- 2538: คู่กรรม รับบท ตาผล
- 2539: เด็กระเบิดยืดแล้วยึด รับบท ผสม
- 2544: โรงแรมผี รับบท มหาแม่น
- 2545: 7 ประจัญบาน รับบท จ่าแสง
- 2545: ผีหัวขาด รับบท เจ้าของบ่อน
- 2546: คนปีมะ รับบท สารวัตร
- 2546: ดึก ดำ ดึ๋ย รับบท นายอำเภอ
- 2546: ปล้นก็ปล้นวะ
- 2547: ฟอร์มาลินแมน รักเธอเท่าฟ้า รับบท นายหัวกวง
- 2547: คนเล่นผี รับบท อาจารย์โกง
- 2549: บุปผาราตรี เฟส 2 รับบท ดี๋
- 2550: ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคองค์ประกันหงสา รับบท เศรษฐี
- 2550: ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคประกาศอิสรภาพ รับบท เศรษฐี
ละครโทรทัศน์
แก้- 2524: จิตแพทย์หมายเลข 7 ช่อง 7
- 2530: ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ช่อง 3
- 2530: ดาวเรือง ช่อง 3
- 2530: หนุ่มทิพย์ ช่อง 7
- 2533: แม่นาคพระโขนง ช่อง 3
- 2533: มัจจุราชฮอลิเดย์ ช่อง 3
- 2533: กตัญญูประกาศิต ช่อง 3
- 2533-2534: ล่องเรือหารัก ช่อง 3
- 2534: เขาวานให้หนูเป็นสายลับ ช่อง 3
- 2534: บ้านสาวโสด ช่อง 3
- 2534: จ่ากองร้อย ช่อง 3
- 2534: วนิดา ช่อง 3 (รับเชิญ)
- 2534-2535: เขยล้นเข่ง ช่อง 3
- 2535: โทน ช่อง 3
- 2535: สี่แยกนี้อายุน้อย ช่อง 3
- 2535: ทางโค้ง ช่อง 3
- 2535: บ้านเล็ก ช่อง 3
- 2536: นายทองย้อย ช่อง 3
- 2536: อีเปรี้ยวตลาดแตก ช่อง 9
- 2536: ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก ช่อง 3
- 2537: แม่นาคพระโขนง ช่อง 5
- 2537: วิมานมะพร้าว ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2537: ระเริงชล ช่อง 3
- 2537: ซุปเปอร์ปั๊ม ช่อง 3
- 2537: สนทนาประสาจน ช่อง 5
- 2538: ขบวนการญาติเยอะ ช่อง 3
- 2538: วิมานลวง ช่อง 5
- 2538: ขอโทษที ไม่มีเวลาโง่ ช่อง 7
- 2539: ดาวเรือง ช่อง 3
- 2539: ระเบิดเถิดเทิง ยุควาไรตี้โชว์ ช่อง 5
- 2540: กระท่อมไม้ไผ่ ช่อง 7
- 2540: นางเอก ช่อง 5
- 2541: ม่วยจ๋า ช่อง 7
- 2541: กัลปังหา ช่อง 3
- 2541: สะพานรักสารสิน ช่อง 3
- 2542: เงาอโศก ช่อง 7
- 2542: 4 ผู้ยุ่งเหยิง ช่อง 7
- 2542: มะปรางข้างรั้ว ช่อง 7
- 2542: กิจกรรมชายโสด ช่อง 7
- 2542: พ่อ ตอน ชีวิตที่พอเพียง ช่อง 5
- 2543: เทพบุตรสลัม ช่อง 7
- 2545: รวมพลคนใช้ ช่อง 3
- 2545: จารชนยอดรัก ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2545: ระเบิดเถิดเทิง ตอน หงส์ท้อง ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2545: สุสานคนเป็น ช่อง 7
- 2546: นางโชว์ ช่อง 3
- 2546: น.ส.สัปเหร่อ ช่อง 3
- 2546: บ้านนี้ผีไม่ปอบ ช่อง 3
- 2546: เจ้านายวัยกระเตาะ ช่อง 3 (รับเชิญ)
- 2549: ผู้พิทักษ์รักเธอ ช่อง 5
- 2549: ระเบิดเถิดเทิง ตอน มาตามสัญญา ช่อง 9 (รับเชิญ)
คอนเสิร์ต
แก้- คอนเสิร์ต ร่วมน้ำใจอาลัยจุ๋มจิ๋ม (30 ตุลาคม 2536)
เพลง
แก้- 2522: ตลาดหัวเราะ หัวเราะลูกเดียว คณะเด๋อ ดู๋ ดี๋ 1-4
โฆษณา
แก้- 2527: ครีมขัดรถ ดิงโก้
มิวสิควีดีโอ
แก้- เพลง อย่าห่วงฉันเลย ของ พิมพ์โพยม เรืองโรจน์ (2537)
- เพลง เปลี่ยนเมียเปลี่ยนแผล ของ ยอดรัก สลักใจ (2541)
อ้างอิง
แก้- ↑ ตลกชื่อดัง"ดี๋ ดอกมะดัน"เสียชีวิตแล้ว, จากเว็บไซต์ คมชัดลึก, สืบค้นวันที่ 2 ก.ค. 2552
- ↑ ชีวประวัติ ดี๋ ดอกมะดัน
- ↑ ตลก'ดี๋'สิ้นลมสงบเมียร่ำไห้ดูใจไม่ทัน
- ↑ เรื่องจริงหลังเวทีกู้ชาติ กับ "ดี๋ ดอกมะดัน"[ลิงก์เสีย]
- ↑ เรื่องจริงหลังเวทีกู้ชาติ กับ "ดี๋ ดอกมะดัน"[ลิงก์เสีย] จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ นิตยสาร Her World 72 (วางแผง 4 ก.พ.) เดือนกุมภาพันธ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ด่วน!! "ดี๋ ดอกมะดัน" สิ้นลมอย่างสงบแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-04. สืบค้นเมื่อ 2009-07-02.