ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ภาพยนตร์ชุดไทยมี 6 ภาค

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ กำกับการแสดงโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มี 6 ภาค ทุนสร้าง 700 ล้านบาท (ในครั้งแรกกำหนดให้มี 5 ภาค[1][2]) เป็นภาคต่อจากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท โดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้วางเป้าหมายเรื่องนี้ไว้ว่าจะต้องทำให้ดีกว่าภาพยนตร์เรื่อง "สุริโยไท" ในทุกด้าน โดยมีขอบเขตการทำงานใหญ่กว่า อลังการกว่า ฉากต่าง ๆ มีความยิ่งใหญ่อลังการกว่า นักแสดงหลัก และนักแสดงประกอบมีจำนวนมากกว่า เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ มากกว่า[3] ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา[4]

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
บทภาพยนตร์หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
สุเนตร ชุตินธรานนท์
อำนวยการสร้างหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล(ภาค 5-6)
คุณากร เศรษฐี
นักแสดงนำดูด้านล่าง
ผู้บรรยายทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ(ภาค 1)
มนตรี เจนอักษร(ภาค 5-6)
กำกับภาพณัฐวุฒิ กิตติคุณ(ภาค 1-2)
สตานิสลาฟ ดอร์ซิก
ตัดต่อหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล
ดนตรีประกอบริชาร์ด ฮาร์วีย์(ภาค 1,2,4)
แซนดี้ แม็คลาเลนด์(ภาค 1-3)
รอส คัลลัม(ภาค 3)
เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน(ภาค 5-6)
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉายพ.ศ. 2550 – 2558
ประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ภาษาพม่า
ภาษามอญ
ทุนสร้าง700 ล้านบาท(6 ภาค)
ก่อนหน้านี้สุริโยไท
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

เนื้อเรื่อง แก้

องค์ประกันหงสา แก้

ประกาศอิสรภาพ แก้

ยุทธนาวี แก้

ศึกนันทบุเรง แก้

ยุทธหัตถี แก้

อวสานหงสา แก้

ตัวละครและนักแสดง แก้

ตัวละคร ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
องค์ประกันหงสา
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ประกาศอิสรภาพ
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยุทธนาวี
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ศึกนันทบุเรง
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยุทธหัตถี
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
อวสานหงสา
2550 2554 2557 2558
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์ พลตรีวันชนะ สวัสดี
ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์ (วัยเด็ก)
พลตรีวันชนะ สวัสดี พลตรีวันชนะ สวัสดี
ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์ (วัยเด็ก)
มณีจันทร์ สุชาดา เช็คลีย์ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
สุชาดา เช็คลีย์ (วัยเด็ก)
ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
สุชาดา เช็คลีย์ (วัยเด็ก)
ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
สุชาดา เช็คลีย์ (วัยเด็ก)
ออกพระราชมนู / บุญทิ้ง จิรายุ ละอองมณี นพชัย ชัยนาม
จิรายุ ละอองมณี (วัยเด็ก)
นพชัย ชัยนาม นพชัย ชัยนาม
จิรายุ ละอองมณี (วัยเด็ก)
นพชัย ชัยนาม นพชัย ชัยนาม
จิรายุ ละอองมณี (วัยเด็ก)
พระมหาเถรคันฉ่อง สรพงศ์ ชาตรี
พระสุพรรณกัลยา เกรซ มหาดำรงค์กุล
กล้วยไม้ พิกุลแย้ม (วัยเด็ก)
เกรซ มหาดำรงค์กุล
พระเจ้านันทบุเรง จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
พระมหาอุปราชามังสามเกียด โชติ บัวสุวรรณ นภัสกร มิตรเอม
ท้าววรจันทร์ อำภา ภูษิต
นัดจินหน่อง สิริพงษ์ แพทย์วงษ์ นาวาอากาศเอกจงเจต วัชรานันท์
พระยาพิชัยรณฤทธิ์ อานนท์ สุวรรณเครือ
สมเด็จพระเอกาทศรถ กรัณย์ เศรษฐี พลตรี วินธัย สุวารี
พระวิสุทธิกษัตริย์ ปวีณา ชารีฟสกุล  
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ฉัตรชัย เปล่งพานิช  
มางจาชโร เจ้าเมืองจาปะโร ทีปกร อัครวุฒิวรกุล ชลัฏ ณ สงขลา  
พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา สมภพ เบญจาธิกุล  
ขุนเดช ดี๋ ดอกมะดัน  
พระราเมศวร สถาพร นาควิลัย   สถาพร นาควิลัย  
สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช รอน บรรจงสร้าง  
เจ้าฟ้าเมืองคัง ชุมพร เทพพิทักษ์  
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ศรัณยู วงศ์กระจ่าง  
สมเด็จพระมหินทราธิราช สันติสุข พรหมศิริ  
ออกญาจักรี ไพโรจน์ ใจสิงห์  
พระเทพกษัตรี ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์  
เลอขิ่น อินทิรา เจริญปุระ  
พระยาเกียน   ประดิษฐ์ ภักดีวงษ์  
พระชัยบุรี   ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง
พระศรีถมอรัตน์   พันโทคมกริช อินทรสุวรรณ
ออกญาเสนาภิมุข   คะซุกิ ยะโนะ
ขุนรัตนแพทย์   โกวิทย์ วัฒนกุล
ออกญาราชวังสรรค์   นาวาอากาศตรีกัมปนาท อั้งสูงเนิน
ซักแซกยอถ่าง   เรืองยศ โกมลเพ็ชร  
หมอกมู   อภิรดี ภวภูตานนท์   อภิรดี ภวภูตานนท์  
พระยาราม   ศักราช ฤกษ์ธำรงค์  
คุณยายตาบอด   เดือนเต็ม สาลิตุล  
ขุนรามเดชะ ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
ฐากูร การทิพย์
ฐากูร การทิพย์
เสือหาญฟ้า   ดอม เหตระกูล  
นายมหานุภาพ (ไอ้ขาม)   ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ  
หมอกใหม่   ญาณิกา ทองประยูร  
พระยาพะสิม   ครรชิต ขวัญประชา
นรธาเมงสอ   ชลิต เฟื่องอารมย์  
นันทจอถิง   หม่อมหลวงรังษิธร ภาณุพันธ์  
มูเตอ   เกศริน เอกธวัชกุล  
ท้าวโสภา   พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์  
พระศรีสุพรรณมาธิราช   ดิลก ทองวัฒนา  
พญาละแวก   เศรษฐา ศิระฉายา  
เจ้าหญิงรัตนาวดี   อคัมย์สิริ สุวรรณศุข   อคัมย์สิริ สุวรรณศุข  
อังกาบ   ศิรพันธ์ วัฒนจินดา   ศิรพันธ์ วัฒนจินดา  
พระยาเชียงราย   พงษ์อมร ณ สงขลา  
ขุนพลอย   พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม  
พระยาเชียงแสน   มงคล อุทก  
ล่ามจีน   รอง เค้ามูลคดี  
นายกองหงสาวดี (มดแดง)   วิสา ทิพพะรังสี  
สเรนันทสู   ศิกษก บรรลือฤทธิ์  
พระยาจันโต   ทินธนัท เวลส์ช  
นายกองพม่า   สุรศักดิ์ วงษ์ไทย  
พลับพลึง   ไอรินทร์ สุรังค์สุริยกุล  
โหราธิบดีหงสาวดี   จรัล เพ็ชรเจริญ  
ครูบาเฒ่า   ถนอม นวลอนันต์  
เมงเกงสอ   รัชนี ศิระเลิศ
เมงเยสีหตู   นิรุตติ์ ศิริจรรยา
เม้ยมะนิก   เต็มฟ้า กฤษณายุธ

การผลิต แก้

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ที่ ค่ายสุรสีห์ กาญจนบุรี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีบวงสรวงเปิดกล้องภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในบริเวณกองพลทหารราบที่ 9 (ค่ายสุรสีห์) ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์ จัดการถ่ายทำถวายให้ทอดพระเนตรโดย เปิดกล้องด้วยฉากขบวนเสด็จของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดา ที่เมืองอโยธยา โดยมีนักแสดงกว่า 1,000 คน ร่วมเข้าฉาก[5]

ท่านมุ้ยกล่าวว่า

เหตุที่เลือกกาญจนบุรีเป็นสถานที่ถ่ายทำ เพราะสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ที่เป็นเมือง หน้าด่านที่สำคัญในการสกัดกั้นทัพพม่าก่อนที่จะเข้าถึงอยุธยาได้ เป็นเส้นทางเดินทัพทั้งทางบกและทางน้ำ มีเหตุการณ์สำคัญหลายเรื่องที่เกิดขึ้นที่นี่ในยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกอบกับทำเลที่ตั้งเหมาะสมมาก และที่สำคัญคือเราได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกเป็นอย่างดี ด้วยความพร้อมและศักยภาพทุกด้าน ทั้งพื้นที่ กำลังพล ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้การก่อสร้างดำเนินไปด้วยดี

งานสร้างภาพยนตร์ แก้

ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยิ่งใหญ่ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีการปฏิวัติวงการภาพยนตร์ไทย ได้แก่

  • ด้านเทคนิค ทั้งเทคนิคในการถ่ายทำและตัดต่อ การใช้ visual effect, special effect รวมถึงการทำ computer graphic ซึ่งมี supervisor จากต่างประเทศที่มีผลงานจาก ภาพยนตร์ระดับโลกของ Hollywood มาร่วมงาน
  • ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น Spider Cam ที่ท่านมุ้ยปรับประยุกต์ให้สามารถใช้งานได้ในรูปแบบเดียวกันกับของต่างประเทศ แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างกันหลายเท่าตัว
  • ด้าน Production มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ มาใช้ในการสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก เครื่องประดับตกแต่ง รวมทั้งเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ใน ภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ จาก WETA ประเทศนิวซีแลนด์ (ของ Peter Jackson – ผู้กำกับ) ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา และ แรงงานได้เป็นอย่างมาก ผลงานที่ผลิตออกมามีรายละเอียดที่ประณีต เหมือนจริง และในภาคที่ห้าได้มีการมิกซ์เสียงในรูปแบบ ดอลบี้ แอทมอส (Dolby Atmos) เป็นครั้งแรกของวงการภาพยนตร์ในประเทศไทย ซึ่งลิขสิทธิ์ในการทำภาพยนตร์ระบบเสียงนี้ใช้ทุนในการดำเนินการสูงมาก และมีสตูดิโอที่สามารถมิกซ์เสียงได้เพียงแค่ไม่กี่แห่งในประเทศ ซึ่งถือเป็นผลพลอยได้จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ที่ทำให้ฟิล์มต้นฉบับเสียหายทั้งหมด จนต้องดำเนินการถ่ายทำใหม่ตั้งแต่ต้น
  • ม้าศึก ม้าศึกประมาณ 30 ตัวที่ใช้ในเรื่องนี้นำเข้าจากต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) โดยเป็นม้าที่ ได้รับการฝึกสำหรับการแสดงโดยเฉพาะ มีความสามารถพิเศษ เช่น เป็นม้าล้มและมีขนาดเหมาะสม โดยบางส่วนเป็นม้าที่แสดงในเรื่อง The Last Samurai

หากเทียบกับภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท ท่านมุ้ยได้วางเป้าหมายเรื่องนี้ไว้ว่าจะต้องทำให้ดีกว่าสุริโยไทใน ทุกด้าน โดยมี scope ของการทำงานใหญ่กว่า ฉากต่าง ๆ มีความยิ่งใหญ่อลังการกว่า นักแสดงหลักและนักแสดงประกอบมีจำนวนมากกว่าและใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ มากกว่า

ในครั้งแรก ท่านมุ้ยได้มีความตั้งใจจะสร้างภาพยนตร์ชุดนี้เป็นภาพยนตร์ไตรภาค หรือ 3 ภาคเท่านั้น แต่เมื่อสร้างไปแล้วได้เกิดการขยายขึ้นเป็น 6 ภาค โดยเริ่มงานสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 หลังจากที่สุริโยไทได้เข้าฉายทันที รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงภาคสุดท้ายออกฉายถึง 13 ปี ด้วยกัน และความตั้งใจแรกท่านมุ้ยต้องการที่จะให้ชื่อในแต่ละภาคว่า ภาคแรก สูญสิ้นอิสรภาพ, ภาคสอง อิสรภาพนั้น ยากยิ่งที่จะได้มา และภาคสาม ยากยิ่งกว่าที่จะรักษาไว้[1]

อีกทั้งภาพยนตร์ชุดนี้ อาจถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เรื่องสุดท้ายที่มีถ่ายทำด้วยฟิล์ม[6]

ต่อมา หลังการฉายภาค 5 แล้ว ท่านมุ้ยไม่พอใจในฉากจบ จึงมีการสร้างภาคต่อเป็นภาค 6 อันเป็นภาคอวสาน[2]

การตอบรับ แก้

บ็อกซ์ออฟฟิศ แก้

ภาพยนตร์แบ่งเป็นหกภาค ปีที่เข้าฉาย วันที่เข้าฉายและรายได้สูงสุด แสดงในตารางด้านล่าง

ปี ชื่อภาค วันที่เข้าฉาย รายได้สูงสุด
พ.ศ. 2550 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา 18 มกราคม พ.ศ. 2550 219.06 ล้านบาท [7]
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 216.87 ล้านบาท [8]
พ.ศ. 2554 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 201.08 ล้านบาท [9]
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 131.6 ล้านบาท [10]
พ.ศ. 2557 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 206.86 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2558 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา 9 เมษายน พ.ศ. 2558 115.11 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]
รวมรายได้ 1090.58 ล้านบาท

รางวัลและเทศกาลภาพยนตร์ แก้

ภาพยนตร์ รางวัล
ภาค ๑ องค์ประกันหงสา
ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ
  • ได้รับเลือกเป็นตัวแทนภาพยนตร์ไทย ในการส่งประกวดสาขารางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม การประกวดรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80[16]
  • ได้รับเลือกฉายเปิดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ เมืองปูซาน ครั้งที่ 12[15]
  • ได้รับเลือกฉาย ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ เมืองปาล์มสปริงซ์ ครั้งที่ 19 ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ได้รับเลือกฉายในเทศกาลภาพยนตร์เอเชีย นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2551
ภาค ๓ ยุทธนาวี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "แฟนพันธุ์แท้ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". แฟนพันธุ์แท้. 23 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-13. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "มีเฮ!!! "ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาค 6" ตอนอวสาน! มาแล้ว! ปลุกเลือดรักชาติ รักแผ่นดิน". ทีนิวส์. 1 กันยายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-06. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. King Naresuan
  4. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำนานสมเด็จพระนเรศวร
  5. "King Naresuan" is a lavish drama with a screenplay that's a major challenge.
  6. "'ท่านมุ้ย'นำทีมนักแสดงวางพวงมาลา'นเรศวรมหาราช'". innnews. 27 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. สรุปรายได้ภาพยนตร์ทำเงินที่เข้าฉายในบ้านเรา ปี 2550
  8. "ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.
  9. สรุปรายได้ภาพยนตร์ทำเงินที่เข้าฉายในบ้านเรา ปี 2554
  10. สรุปรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่องที่เข้าฉายในไทยช่วงปี 2554[ลิงก์เสีย]
  11. ผลการประกาศรางวัล ไนน์ เอ็นเตอร์เทน อวอร์ด ปี 2008
  12. ประกาศรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิงครั้งที่ 16
  13. ชมรมวิจารณ์บันเทิงจัดงานเล็กๆ ต้อนรับเดือนมีนาหน้าหนาว 5 มีนาคม 2551 / ณัฎฐ์ธร กังวาลไกล
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-28. สืบค้นเมื่อ 2014-03-23.
  15. 15.0 15.1 อนันดา บุกปูซาน ร่วมงานหนังอินเตอร์
  16. Rithdee, Kong, August 24, 2007. Naresuan II reigns in Oscar race เก็บถาวร 2007-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Variety (magazine) (retrieved on August 26, 2007)
  17. "ผลรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 20". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-23.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้