เศรษฐา ศิระฉายา
เศรษฐา ศิระฉายา (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565) ชื่อเล่น ต้อย เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำ พ.ศ. 2554[1] พิธีกร นักแสดง อดีตนักร้องนำวงดิอิมพอสซิเบิ้ล และอดีตประธานมูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโส
เศรษฐา ศิระฉายา | |
---|---|
![]() เศรษฐาเมื่อปี 2550 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | เศรษฐา ศิระฉายา |
รู้จักในชื่อ | ต้อย (ชื่อเล่น) |
เกิด | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 |
ที่เกิด | จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (77 ปี) |
แนวเพลง | ป๊อบ, สตริงคอมโบ |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง, พิธีกร, ผู้กำกับภาพยนตร์ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2509 – 2565 |
ค่ายเพลง | มุกดาพันธ์ กรุงไทย เมโทร นิธิทัศน์ โปรโมชั่น |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ดิอิมพอสซิเบิ้ล |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2554 – สาขาศิลปะการแสดง (ขับร้องเพลงไทยสากล) |
ประวัติแก้ไข
เศรษฐา เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ที่จังหวัดพระนคร ประเทศไทย จบมัธยมปลายจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรโครงการพิเศษ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีและปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
การทำงานแก้ไข
เศรษฐาเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุประมาณ 16 ปี ด้วยการขนเครื่องดนตรีในวงดนตรีตามคำชักชวนของน้าชายของเขา สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ชื่อดังในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ต่อมาเศรษฐาได้ฝึกหัดทักษะด้านดนตรีแบบครูพักลักจำ จนกระทั่งได้ก้าวขึ้นมาเป็นนักร้องตามสถานบันเทิงต่าง ๆ เช่น ตั้งวงหลุยส์กีต้าร์เกิร์ล กระทั่งได้รวมตัวกับเพื่อน ๆ นักดนตรีตั้งวงดนตรี Holiday J-3 ร่วมกับวินัย พันธุรักษ์, พิชัย ทองเนียม, อนุสรณ์ พัฒนกุล และสุเมธ อินทรสูต ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น Joint Reaction และเปลี่ยนอีกครั้งในชื่อ ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles) ซึ่งเป็นชื่อการ์ตูนชื่อดังของอเมริกาในสมัยนั้น โดยเขารับบทบาทเป็นนักร้องนำ พ.ศ. 2512 ดิอิมพอสซิเบิ้ลสามารถคว้าถ้วยพระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดวงสตริงคอมโบ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งผลให้เริ่มเป็นที่นิยมและเป็นจุดเปลี่ยนให้เศรษฐาได้เข้ามาสัมผัสโลกภาพยนตร์เป็นครั้งแรก เมื่อเขาและเพื่อน ๆ ได้รับการทาบทามจากเปี๊ยก โปสเตอร์ ให้มาร่วมบรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโทน (2513)
ดิอิมพอสซิเบิ้ลยังคงชนะเลิศการประกวดวงสตริงคอมโบอีก 2 ครั้งติดต่อกัน หลังจากนั้นและได้บรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง อาทิ ดวง (2514), สวนสน (2514), ระเริงชล (2515), ตัดเหลี่ยมเพชร (2518) ฯลฯ กลายเป็นวงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง พ.ศ. 2518 หลังกลับมาจากการไปทัวร์ที่ต่างประเทศ เศรษฐาก็ได้รับการชักชวนจากจุรี โอศิริ ให้มาแสดงภาพยนตร์อย่างจริงจังครั้งแรกคือเรื่อง ฝ้ายแกมแพร (2518) แต่ก็ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมมาครองจากผลงานดังกล่าวได้ทันที
พ.ศ. 2519 ดิอิมพอสซิเบิ้ลประกาศยุบวงอย่างเป็นทางการ เศรษฐาจึงก้าวเข้าสู่โลกมายาอย่างเต็มตัว มีบทบาทโดดเด่นทั้งการเป็นพิธีกรและนักแสดง นับเป็นดารายอดฝีมือคนหนึ่งซึ่งสามารถรับบทบาทได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นบทดี บทร้าย บทตลก ส่งผลให้มีผลงานออกมามากมายจวบจนปัจจุบัน โดยเรื่องที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งคือชื่นรัก (2522) ซึ่งเขาได้รับบทพระเอกประกบคู่กับอรัญญา นามวงศ์ นางเอกชื่อดัง เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ให้ทั้งคู่กลายเป็นคู่ชีวิตกันในเวลาต่อมา
พ.ศ. 2554 เศรษฐา ศิระฉายา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)[2]
การป่วยและเสียชีวิตแก้ไข
ช่วงบั้นปลายชีวิต เศรษฐาเข้ารับการรักษามะเร็งปอด หลังจากตรวจพบใน พ.ศ. 2562[3] ระหว่างนั้นในปี พ.ศ. 2564 เขาเคยป่วยด้วยโรคโควิด-19 และได้รับการรักษาจนไม่มีเชื้อโควิดในร่างกายแล้ว[4] แต่ในที่สุด เศรษฐาก็เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ เวลา 04:41 นาที หลังจากกลับไปรักษาอาการมะเร็งปอดด้วยเคมีบำบัด สิริอายุ 77 ปี[3][5]
การนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบลายก้านแย่ง เป็นเครื่องเกียรติยศบรรจุศพ โดยโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศโทภักดี แสงชูโต รองอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์ อัญเชิญพวงมาลาหลวง, พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และพวงมาลาของพระบรมวงศานุวงศ์ไปตั้งที่หน้าหีบศพ มีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[6] โดยโปรดให้พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณเป็นประธานในพิธี ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
ผลงานแก้ไข
พิธีกรแก้ไข
- รายการมาตามนัด (คู่กับญาณี จงวิสุทธิ์) ทาง ท.ท.บ. 5 และ โมเดิร์นไนน์ทีวี (10 มิถุนายน พ.ศ. 2529 – มิถุนายน พ.ศ. 2537, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556)[7]
- รายการน่ารักน่าลุ้น ทาง ท.ท.บ. 5 (พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2538)
- รายการทีวีเกม '28 ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2528)
- รายการพีเพิลเกม ทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
- รายการไทยมุง ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
- รายการสามโช๊ะโป๊เชะ ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
- รายการต่อหน้าต่อตา ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
- รายการกูรูเกม ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2549)
- รายการพีเพิลทูไนท์ ทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2539)
- รายการเศรษฐาโชว์ (พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2540)
- รายการดวงกับดาว ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2542)
- รายการยังคลับ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น แบบ เด็ก เด็ก) ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
- พิธีกรบนเวทีคอนเสิร์ตในรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ทุกซีซั่น ทางยูบีซี, ไอทีวี, โมเดิร์นไนน์ทีวี, ทรูวิชั่นส์ และทรูโฟร์ยู (พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2558)
- พิธีกรบนเวทีคอนเสิร์ตในรายการ เดอะ มาสเตอร์ ทางยูบีซี, ทรูวิชั่นส์ (พ.ศ. 2553)
ละครโทรทัศน์แก้ไข
- ตุ๊กตาเสียกบาล (พ.ศ. 2519)
- ขบวนการคนใช้ (พ.ศ. 2520)
- รักประกาศิต (พ.ศ. 2520)
- เธอจ๋า รักฉันไหม (พ.ศ. 2521)
- ดาวเรือง (พ.ศ. 2522)
- ฝ้ายแกมแพร (พ.ศ. 2522)
- คุณผู้หญิง (พ.ศ. 2523)
- ชื่นชีวานาวี (พ.ศ. 2523)
- ห้วงรัก เหวลึก (พ.ศ. 2523)
- พล นิกร กิมหงวน (พ.ศ. 2523)
- ศิขริน เทวินตา (พ.ศ. 2523)
- สี่แผ่นดิน (พ.ศ. 2523)
- ชาวเขื่อน (พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2524)
- เมียหลวง (พ.ศ. 2524)
- ทิพย์ (พ.ศ. 2524)
- หลิวลู่ลม (พ.ศ. 2525)
- สามหัวใจ (พ.ศ. 2525)
- พ่อปลาไหล (พ.ศ. 2526)
- ผู้กองอยู่ไหน (พ.ศ. 2526)
- กาแกมหงส์ (พ.ศ. 2528)
- โซ่เกียรติยศ (พ.ศ. 2529)
- บ้านวังแดง (พ.ศ. 2530)
- เลขานินทานาย (พ.ศ. 2530)
- เดชแม่ยาย (พ.ศ. 2530)
- นายจ๋าเลขาขอโทษ (พ.ศ. 2531)
- ตะกายดาว (พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2533)
- เขยบ้านนอก (พ.ศ. 2532)
- เกิดจากวัด (พ.ศ. 2532)
- คนค้นคน (พ.ศ. 2533)
- พระเอกในความมืด (พ.ศ. 2533)
- โก๋ตี๋กี๋หมวย (พ.ศ. 2533)
- ปีศาจหรรษา (พ.ศ. 2534)
- พ่อปลาไหล แม่พังพอน (พ.ศ. 2534)
- เขยบ้านนอก ภาค 2 (พ.ศ. 2535)
- เมียนอกกฎหมาย (พ.ศ. 2535)
- กาในฝูงหงส์ (พ.ศ. 2535)
- เคหาสน์ดาว (พ.ศ. 2535)
- สนทนาประสาจน (พ.ศ. 2537)
- ครึ่งของหัวใจ (พ.ศ. 2538)
- ทานตะวัน (พ.ศ. 2540)
- ตุ๊ ต๊ะ ต๋อม แต๋ม สุภาพบุรุษตัว "ต" (พ.ศ. 2541)
- พ่อปลาไหล (พ.ศ. 2541)
- หัวใจและไกปืน (พ.ศ. 2541)
- กิจกรรมชายโสด (พ.ศ. 2542)
- ขุนช้างขุนแผน (พ.ศ. 2542)
- สามี (พ.ศ. 2542)
- เก็บแผ่นดิน (พ.ศ. 2544)
- เขยบ้านนอก (พ.ศ. 2544)
- วิมานกุหลาบ (พ.ศ. 2544)
- สามีตีตรา (พ.ศ. 2544)
- เสือ 11 ตัว (พ.ศ. 2544)
- สะใภ้ไร้ศักดินา (พ.ศ. 2544)
- แชมเปี้ยนสะบัดช่อ (พ.ศ. 2545)
- จ้าวไตรภพ (พ.ศ. 2545)
- 18 - 80 เพื่อนซี้ไม่มีซั้ว (พ.ศ. 2546)
- ตราบฟ้าสิ้นดาวสาวแก่ (พ.ศ. 2546)
- รักพันลึก (พ.ศ. 2546)
- กิเลสมาร (พ.ศ. 2546)
- เขยมะริกัน (พ.ศ. 2547)
- รัตตมณี ร.ศ.220 (พ.ศ. 2547)
- เขียวหวาน 2001 (พ.ศ. 2547)
- คุณชายทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. 2548)
- แผ่นดินหัวใจ (พ.ศ. 2548)
- วีรกรรมทำเพื่อเธอ (พ.ศ. 2549)
- เขยใหญ่สะใภ้เล็ก (พ.ศ. 2549)
- ตี๋ตระกูลซ่ง (พ.ศ. 2549)
- รังนกบนปลายไม้ (พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2550)
- ตากสินมหาราช (พ.ศ. 2550)
- โบตั๋นกลีบสุดท้าย (พ.ศ. 2551)
- หาบของแม่ (พ.ศ. 2551)
- ดินเนื้อทอง (พ.ศ. 2551)
- แม่ค้าขนมหวาน (พ.ศ. 2553)
- ก๊วนกามเทพ (พ.ศ. 2553)
- เจ้าสาวไร่ส้ม (พ.ศ. 2553)
- ล่าผีปอบ (พ.ศ. 2553)
- สะใภ้เจ้าสัว (พ.ศ. 2553)
- เขยบ้านนอก (พ.ศ. 2553)
- 7 ประจัญบาน (พ.ศ. 2553)
- ปลาไหลป้ายแดง (พ.ศ. 2554)
- สองผู้ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 2554)
- นายสุดซ่าส์ ข้าสุดแสบ (พ.ศ. 2554)
- ต้มยำลำซิ่ง (พ.ศ. 2555)
- สะใภ้พญายม (พ.ศ. 2555)
- ตะวันยอดรัก (พ.ศ. 2555)
- เล่ห์ร้อยรัก (พ.ศ. 2555)
- ก้นครัวตัวแสบ (พ.ศ. 2555)
- คุณชายพุฒิภัทร (พ.ศ. 2556)
- คุณชายรัชชานนท์ (พ.ศ. 2556)
- แผนร้ายพ่ายรัก (พ.ศ. 2556)
- ชาติเจ้าพระยา (พ.ศ. 2556)
- อย่าลืมฉัน (พ.ศ. 2557)
- ทรายสีเพลิง (พ.ศ. 2557)
- ครอบครัวตึ๋งหนืดตืดขั้นเทพ (พ.ศ. 2558)
- ขอเป็นเจ้าสาวสักครั้งให้ชื่นใจ (พ.ศ. 2558)
- อตีตา (พ.ศ. 2559)
- ท่านชายกำมะลอ (พ.ศ. 2559)
- True Love Story เพราะเธอคือรัก คนที่คุณก็รู้ว่าใคร (พ.ศ. 2559)
- เพชรกลางไฟ (พ.ศ. 2560)
- บัลลังก์ดอกไม้ (พ.ศ. 2560)
- ชั่วโมงต้องมนต์ (พ.ศ. 2561)
- ริมฝั่งน้ำ (พ.ศ. 2561)
- วัยแสบสาแหรกขาด โครงการ 2 ช่อง 3 (พ.ศ. 2562)
- พระจันทร์ซ่อนดาว (ฉายออนไลน์) (พ.ศ. 2564)
ผู้จัดละครแก้ไข
ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละคร ร่วมกับพุทธิดา ศิระฉายา บริษัท ทรัพย์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
ละครโทรทัศน์ | ||||
---|---|---|---|---|
ปี พ.ศ. | เรื่อง | นักแสดงนำ | ออกอากาศ | หมายเหตุ |
2563 | ร้อยป่า | กฤตฤทธิ์ บุตรพรม เกศรินทร์ น้อยผึ้ง เจสสิก้า สมปอง ณทรรศชัย จรัสมาส เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค กฤษฎา สุภาพพร้อม พูลภัทร อัตถปัญญาพล พิชยดนย์ พึ่งพันธ์ ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ |
ช่อง 7 เอชดี | |
2565 | สายเลือดสองหัวใจ | มิกค์ ทองระย้า วริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศร ชยิสรา วัฒนะนาวิน ณทรรศชัย จรัสมาส รวิศชา ปัญจวิชญ์ แก้วใส คริสตัล |
ภาพยนตร์แก้ไข
- โทน (2513)
- รักกันหนอ (2514)
- หนึ่งนุช (2514)
- ดวง (2514)
- ค่าของคน (2514)
- สะใภ้หัวนอก (2514)
- สวนสน (2515)
- ระเริงชล (2515)
- ลานสาวกอด (2515)
- จันทร์เพ็ญ (2515)
- สายชล (2516)
- ฝ้ายแกมแพร (2518)
- พ่อม่ายทีเด็ด (2520)
- มนต์รักแม่น้ำมูล (2520)
- คนละทาง (2520)
- รักคุณเข้าแล้ว (2520)
- คู่ทรหด (2520)
- แผลเก่า (2520)
- เมืองอลเวง (2520)
- ทรามวัยใจเด็ด (2520)
- ชื่นชีวานาวี (2520)
- วัยเสเพล (2520)
- เก้าล้านหยดน้ำตา (2520)
- 123 ด่วนมหาภัย (2520)
- พ่อครัวหัวป่าก์ (2521)
- คนหลายเมีย (2521)
- รักเต็มเปา (2521)
- คู่รัก (2521)
- 4 อันตราย (2521)
- เพลงรักเพื่อเธอ (2521)
- ใครว่าข้าชั่ว (2521)
- รักเธอเท่าช้าง (2521)
- อีโล้นซ่าส์ (2521)
- โก๋บ้านนอกกี๋บางกอก (2521)
- รักระแวง (2521)
- หอหญิง (2521)
- กาม (2521)
- วัยแตกเปลี่ยว (2521)
- แตกหนุ่มแตกสาว (2521)
- ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง (2521)
- ยิ้มสวัสดี (2521)
- หัวใจกุ๊กกิ๊ก (2521)
- ผ้าขี้ริ้วหัวเราะ (2521)
- สิงห์สะเปรอะ (2521)
- จำเลยรัก (2521)
- ตึ่งนั้ง (2521)
- แผ่นเสียงตกร่อง (2522)
- ฐานันดร 4 (2522)
- ไอ้ติงต๊อง (2522)
- บี้ บอด ใบ้ (2522)
- มนุษย์ 100 คุก (2522)
- นักรักรุ่นกระเตาะ (2522)
- กามเทพหลงทาง (2522)
- ชื่นรัก (2522)
- ร้ายก็รัก (2522)
- ลูกทาส (2522)
- รักประหาร (2522)
- อยู่อย่างเสือ (2522)
- พลิกล็อก (2522)
- พ่อกระดิ่งทอง (2522)
- สมบัติเจ้าคุณปู่ (2522)
- วิมานไฟ (2522)
- แดร๊กคูล่าต๊อก (2522)
- ผมรักคุณ (2522)
- ฝนตกแดดออก (2523)
- เดิมพันชีวิต (2523)
- ผีหัวขาด (2523)
- ผิดหรือที่จะรัก (2523)
- ลูกทุ่งดิสโก้ (2523)
- บัวสีน้ำเงิน (2523)
- ถึงอย่างไรก็รัก (2523)
- ทหารเกณฑ์ ภาค 1 (2523)
- กิ่งทองใบตำแย (2523)
- จากครูด้วยดวงใจ (2523)
- ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน (2523)
- เมียสั่งทางไปรษณีย์ (2523)
- หยาดพิรุณ (2523)
- พ่อจ๋า (2523)
- อาอี๊ (2523)
- รุ้งเพชร (2523)
- ยอดตาหลก (2523)
- ทหารเกณฑ์ ภาค 2 (2523)
- สุดทางรัก (2524)
- สิงห์คะนองปืน (2524)
- ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
- หาเมียให้ผัว (2524)
- พ่อปลาไหล (2524)
- รักครั้งแรก (2524)
- กามนิต วาสิฎฐี (2524)
- ยอดรักผู้กอง (2524)
- เขยขัดดอก (2524)
- จู้ฮุกกรู (2524)
- คำอธิษฐานของดวงดาว (2524)
- แม่กาวาง (2524)
- ทหารเรือมาแล้ว (2524)
- หญิงก็มีหัวใจ (2524)
- พระเอกรับจ้าง (2525)
- เพชฌฆาตหน้าเป็น (2525)
- ยอดเยาวมาลย์ (2525)
- กระท่อมนกบินหลา (2525)
- รักข้ามรุ่น (2525)
- ตามรักตามฆ่า (2525)
- มนต์รักก้องโลก (2526)
- พระจันทร์สีเลือด (2526)
- พระจันทร์เปลี่ยนสี (2526)
- ล่าข้ามโลก (2526)
- สงครามเพลง (2526)
- รักกันวันละนิด (2526)
- ทุ่งปืนแตก (2526)
- เงิน เงิน เงิน (2526)
- แม่ยอดกะล่อน (2526)
- ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 9 (2526)
- ไอ้แก้วไอ้ทอง (2526)
- แม่ดอกกระถิน (2526)
- ดวงนักเลง (2526)
- 7 พระกาฬ (2526)
- เห่าดง (2526)
- มหาเฮง (2526)
- มดตะนอย (2527)
- เสือลากหาง (2527)
- สัจจะมหาโจร (2527)
- แล้วเราก็รักกัน (2527)
- อีแต๋น ไอเลิฟยู (2527)
- ลูกสาวคนใหม่ (2527)
- เด็กปั๊ม (2527)
- ถล่มเจ้าพ่อ (2527)
- เลดี้ฝรั่งดอง (2527)
- รักสุดหัวใจ (2527)
- หลานสาวเจ้าสัว (2528)
- หยุดโลกเพื่อเธอ (2528)
- รักคือฝันไป (2528)
- ครูสมศรี (2529)
- เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529)
- แม่ดอกรักเร่ (2529)
- เฮงได้ เฮงดี รักนี้ (2530)
- พรหมจารีสีดำ (2530)
- ก้อ...โอเคนะ (2530)
- พ่อมหาจำเริญ (2531)
- คนกลางเมือง (2531)
- ครูไหวใจร้าย (2532)
- ห้าวเล็ก ๆ (2532)
- วิมานมะพร้าว (2534)
- ตุ๊ ต๊ะ ต๋อม แต๋ม สุภาพบุรุษตัว ต. (2537)
- มัจจุราชตามล่าข้าไม่สน (2541)
- โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน (2542)
- เก๋า เก๋า (2549)
- คู่แรด (2550)
- บิ๊กบอย (2553)
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (2554)
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554)
- ขรัวโต (2558)
ผลงานกำกับการแสดงแก้ไข
- แม่ยอดกะล่อน (2526)
- รักสองต้องห้าม (2528)
- พ่อมหาจำเริญ (2531)
- เขยบ้านนอก (2533)
- บ้านเล็ก (2535)
- เขยบ้านนอก ภาค 2 (2535)
- คู่แท้ 2 โลก (2540)
ชีวิตส่วนตัวแก้ไข
เศรษฐาเคยสมรสกับแอร์โฮสเตส ต่อมาสมรสกับอรัญญา นามวงศ์[8] มีบุตรสาวหนึ่งคน (คือ พุทธธิดา ศิระฉายา หรืออิ๊ฟ สมรสกับเติมศักดิ์ ศักดาพร นักธุรกิจ ผู้สร้างละครโทรทัศน์ในสังกัดช่อง 3 และช่อง 7)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[9]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[10]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[11]
รางวัลที่ได้รับแก้ไข
- พ.ศ. 2553 : รางวัลพระราชทานบันเทิงเทิดธรรม (พ.ศ. 2553) จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- พ.ศ. 2553 : รางวัลการเชิดชูบุคคล ทางด้านผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2553
- พ.ศ. 2554 : รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)
คอนเสิร์ตแก้ไข
- คอนเสิร์ต SAF ร่วมกับ มูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโส
- คอนเสิร์ต มนต์เพลงคาราบาว
- คอนเสิร์ต ดิอิมพอสซิเบิ้ล 2008 อินดอร์สเตเดี้ยมหัวหมาก
- คอนเสิร์ต เฟรมส์ ออฟ เมโลดี้ 50 ปี แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ 2009
- คอนเสิร์ต 70 ยังแจ๋ว เศรษฐา ศิระฉายา”' (5 พฤศจิกายน 2557)
- คอนเสิร์ต The Impossibles' 50th Anniversary Concert
- คอนเสิร์ต UBC Fantasia : ปฏิบัติการเร่ขายฝัน In Concert
- คอนเสิร์ต Love, Hope & Happiness Concert
- คอนเสิร์ต The Love Song is Forever
- คอนเสิร์ต 49 ปี รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส
- คอนเสิร์ต เพลงรักข้ามเวลา
- คอนเสิร์ต The End of The Im
- คอนเสิร์ต Elvis And Me ตี๋ จีระศักดิ์
- คอนเสิร์ต ขออภัยในทุกลีลา By ชมพู ฟรุ๊ตตี้
- คอนเสิร์ต วันแห่งความรักของผู้ชายชื่อ เศรษฐา ศิระฉายา
- คอนเสิร์ต 89 ปี ชาลี อินทรวิจิตร
- คอนเสิร์ต 93 ปี ชาลี อินทรวิจิตร
- คอนเสิร์ต 99 ปี ชาลี อินทรวิจิตร
- คอนเสิร์ต กล่อมกรุง
- คอนเสิร์ต กล่อมกรุง 2
- คอนเสิร์ต เพลงคู่ ครูเพลง
- คอนเสิร์ต The Hill's The Life
- คอนเสิร์ต เศรษฐา ศิระฉายา & The Impossibles
- คอนเสิร์ต GREEN CONCERT #10 The Lost Love Songs
- คอนเสิร์ต Boyd Kosiyabong (บอย โกสิยพงษ์) : Million ways to love
- คอนเสิร์ต สุเทพโชว์ The Unforgettable
- คอนเสิร์ต พระเอ๊ก..พระเอก
- คอนเสิร์ต 30 ปี พิ้งค์แพนเตอร์
- คอนเสิร์ต The innocent concert
- คอนเสิร์ต สองวัยใจเดียวกัน
- คอนเสิร์ต The Possible Dream
- คอนเสิร์ต 60 ปี ชีวิตละคร นพพล โกมารชุน
- คอนเสิร์ต MUSIC NEVER DIES by เศรษฐา ศิระฉายา
- คอนเสิร์ต BOYd50th #3 MILLION WAYS TO LOVE - LIVE 2019
- คอนเสิร์ต 'สองวัยใจเดียวกัน' ครั้งที่ 2
- คอนเสิร์ต พลังแห่งรัก สุเทพ วงศ์กำแหง
- คอนเสิร์ต Be My Guest The Alzheimer Comedy
ผลงานอื่น ๆแก้ไข
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
- เพลงเหมือนเคย อัลบั้ม Million Ways to Love Part 1
- เพลงขวานไทยใจหนึ่งเดียว
- อัลบั้มมนต์เพลงคาราบาว 25 ปี
- เพลงพ่อแห่งแผ่นดิน
- เพลงขอความสุขคืนกลับมา
- เพลงจากก้อนดิน สู่ก้อนบุญ
- เพลงครองแผ่นดินโดยธรรม
- เพลงเจ้าฟ้าของคนเดินดิน
- เพลงเดิมพันที่ยิ่งใหญ่
- เพลงแผ่นดินของเรา
- เพลงมองบนฟ้า
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ดิ อิมพอสสิเบิ้ล ตอนที่ 1
- ↑ เปิดประวัติ “เศรษฐา ศิระฉายา” จากเด็กขนเครื่องดนตรีสู่ศิลปินแห่งชาติ
- ↑ 3.0 3.1 "อาลัย ต้อย เศรษฐา ตำนาน "มาตามนัด" จากไปแล้ว ย้อนวันวานให้คนคิดถึง". www.thairath.co.th. 2022-02-20.
- ↑ 'อาต้อย เศรษฐา' เปิดใจครั้งแรกหลังหายป่วยโควิด เผยโชคดีที่รู้ไว พร้อมชวนคนไทยฉีดวัคซีน, สืบค้นเมื่อ 2022-02-20
- ↑ matichon (2022-02-20). "สิ้นอีกหนึ่งตำนาน 'ต้อย เศรษฐา' ในวัย 77 ปี หลังรักษาตัวจากมะเร็งปอด". มติชนออนไลน์.
- ↑ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ อาต้อย เศรษฐา ศิลปินแห่งชาติ (คลิป)
- ↑ กระทู้สำคัญ-พลิกหน้าอดีต "มาตามนัด... 25 ปี"
- ↑ 30 ปี...รักไม่มีจาง "เศรษฐา-อรัญญา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๑ (จำนวน ๕,๗๙๐ ราย) เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๘. 25 กุมภาพันธ์ 2552.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๒ (จำนวน ๕,๘๒๖ ราย) เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๒๘. 28 มกราคม 2553.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๕ (จำนวน ๕,๘๒๖ ราย) เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๒๘. 28 มกราคม 2556.