มาตามนัด เป็นเกมโชว์ ผลิตโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด รัชฟิล์ม ทีวี ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ถึง 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาแล้วสามครั้ง โดยจะคงคำว่า มาตามนัด ไว้เสมอคือ มาตามนัด (2527 - 2535, 2537 - 2538) ก้าว-ห้า-มาตามนัด (2535 - 2536) และ มาตามนัด ฮาวมัช (2536 - 2537) โดยมีการเล่นเกมที่ได้รับความนิยมคือ ใบ้คำ วาดภาพ และเปิดป้าย[ต้องการอ้างอิง] เพื่อหาผู้ชนะประจำสัปดาห์ (เดอะวินเนอร์) และชิงของรางวัลสูงสุดเป็นรถยนต์

มาตามนัด
โลโก้ตัวหนังสือรายการมาตามนัด
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยห้างหุ้นส่วนจำกัดรัชฟิล์มทีวี
เสนอโดยดูข้างล่าง
บรรยายโดยอํารุง เกาไศยนนท์ (2527-2532) จักรกฤษณ์ หาญวิชัย (2532-2538)
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดเสนีย์ ฉัตรวิชัย
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน1,562 ตอน
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอรัชฟิล์ม
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ออกอากาศ5 มิถุนายน พ.ศ. 2527 –
14 สิงหาคม พ.ศ. 2538

ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 รายการกลับมาออกอากาศอีกครั้ง ในชื่อใหม่ว่า มาตามนัด รีเทิร์น ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยมีบริษัท ฟันแอนด์ฟอร์จูน จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการ ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 18:00-19:00 น. แต่ได้สิ้นสุดออกอากาศเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติ แก้

2527–2528 : อภิชาติ-อัจฉราพรรณ แก้

รายการ มาตามนัด ได้นำตัวอย่างรูปแบบเกมโชว์ชื่อ "Pyramid" จากสหรัฐมาดัดแปลง และมีการตั้งคำถามให้เข้ากับบรรยากาศและรสนิยมของคนไทย เพื่อการนำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ หรือ หลังข่าวภาคค่ำ[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นช่วงที่สถานีโทรทัศน์ทุกช่องเสนอละครหรือภาพยนตร์ แต่เนื่องจากละครของรัชฟิล์มทีวีไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงนำรายการเกมโชว์มาเสนอในช่วงเวลาดังกล่าวจนได้ผล[ต้องการอ้างอิง] โดยนัดแรกเริ่มออกอากาศวันที่ 5-7 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยมีอภิชาติ หาลำเจียก กับอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ เป็นพิธีกร เดิมทีรายการวางตัวพิธีกรไว้เป็นอภิชาติ กับพรพรรณ เกษมมัสสุ แต่เนื่องจากถ่ายทำเทปแรกไปแล้ว พรพรรณไม่สามารถทำหน้าที่ให้ดีได้ จึงเปลี่ยนพิธีกรหญิงเป็นอัจฉราพรรณในที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

เกมการแข่งขันในยุคแรก กำหนดให้มีผู้แข่งขันสัปดาห์ละ 5 ท่าน ซึ่งมาจากความมีชื่อเสียงทางด้านการแสดง และทางบ้านที่ส่งจดหมายสมัครเข้าร่วมรายการ โดยเริ่มเกมการตอบปัญหาในวันแรก ด้วยคำถาม 15 ข้อ พิธีกรจะอ่านคำถาม ถ้าตอบถูกจะได้คะแนนหรือแย่งคะแนนจากผู้เข้าแข่งขันที่เลือกคำถาม ตอบผิดติดลบหรือโดนแย่งคะแนน วันที่สองเป็นการ "ใบ้คำ" โดยเหลือผู้เล่นเพียง 4 คน แบ่งเป็นทีมละ 2 คน โดยกำหนดให้เป็นผู้ใบ้คำและผู้ทาย ทีมใดทายคำได้คะแนนมากที่สุดจะผ่านเข้ารอบในวันสุดท้าย ซึ่งเป็นการแข่งรถจำลอง เพื่อหาผู้ชนะเพียงคนเดียวหรือ "The Winner" เข้ารอบแจ็กพอต โดยถ้าหากเปิดแผ่นป้ายต่อรูปรถเก๋งให้เต็มคันจะได้รับของรางวัลสูงสุดเป็นรถเก๋ง และผู้เข้าแข่งขันที่ร่วมรายการทุกคน จะได้รับของรางวัลปลอบใจ ซึ่งจะมีเกมรอบสะสมรางวัล (โบนัส) ในแต่ละวัน

มาตามนัดเป็นรายการแรกของวงการโทรทัศน์ไทย ที่ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยดำเนินรายการ[1] ผสานกับการดำเนินรายการของคู่พิธีกร ที่อาศัยไหวพริบปฏิภาณและเป็นกันเองมาก จึงได้รับความสนใจและความนิยมเพิ่มมากขึ้น[ต้องการอ้างอิง] โดยการแข่งขันเกมในแต่ละครั้ง จะมีการถ่ายทำในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ที่สตูดิโอรัชฟิล์ม ก่อนการออกอากาศประมาณ 2 สัปดาห์[ต้องการอ้างอิง] โดยบุญชาย ศิริโภคทรัพย์ ผู้บริหาร 72 โปรโมชั่น เจ้าของรายการโลกดนตรี ก็เคยเป็นผู้กำกับรายการมาตามนัดในยุคแรก

โดยในรอบแจ็คพอต ในปี พ.ศ. 2528 - 2529 จะเป็นการเปิดป้าย 15 แผ่นป้าย โดยสามารถเปิดป้ายสะสมต่อไปเรื่อย ๆ โดยห้ามเจอ " ผู้สนับสนุนรายการ , รถยนต์ , มาตามนัด " เลย แต่ถ้าในกรณีเปิดเจอป้าย " ผู้สนับสนุนรายการ " โอกาสเปิดป้ายจะเหลือแค่ 2 ครั้งทันที และถ้าในกรณีเปิดเจอป้าย " รถยนต์ " หรือ " มาตามนัด " โอกาสเปิดป้ายจะเหลือแค่ครั้งเดียวทันทีและจะได้เช็คของขวัญปลอบใจไปแทน (วิธีทำแจ็คพอตแตกคือ พยายามทำให้ป้ายทั้ง 3 ป้ายดังกล่าวอยู่ในช่วงสุดท้ายให้ได้ " ผู้สนับสนุนรายการ " + " รถยนต์ " + " มาตามนัด ")

2529–2536 : เศรษฐา-ญาณี แก้

ในปี พ.ศ. 2529 เศรษฐา ศิระฉายา และญาณี จงวิสุทธิ์ เข้ามาเป็นพิธีกรคู่ต่อมา ในเทปซึ่งออกอากาศระหว่างวันที่ 10-12 มิถุนายน ซึ่งถือเป็นการพบกันครั้งแรกของคู่พิธีกรนี้ โดยที่ทั้งคู่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย โดยเฉพาะญาณีเป็นพิธีกรหน้าใหม่ของวงการ[2]

รูปแบบการแข่งขันเกม มีการปรับเปลี่ยนอยู่หลายครั้ง ตามความนิยมและเทคนิคการนำเสนอ โดยเกมวันแรก เป็นการตอบคำถามจากพิธีกรและจากวีทีอาร์ และจากการวาดภาพโดยอู๊ดดี้ เกมวันที่สองยังคงเป็นการใบ้คำ เกมวันสุดท้าย เปลี่ยนเป็นการวาดภาพและทายภาพ โดยผู้แข่งขันกันเอง และรอบแจ็กพอต แบบแรกเป็นการเปิดป้ายคำว่า "มาตามนัด" ให้ครบ และแบบที่สองเป็นการจับคู่ตัวตั้งและตัวตามให้ตรงกัน โดยเป็นยุคที่รายการประสบความสำเร็จถึงขีดสุด สามารถครองตำแหน่งรายการยอดนิยมอันดับ 1 อยู่หลายปี[ต้องการอ้างอิง] ส่งผลให้เศรษฐาและญาณี กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำรายการไปด้วย จนยุติการดำเนินรายการร่วมกัน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2536

อนึ่งในยุคนี้ รายการยังเคยจัดทำเทปพิเศษ โดยออกอากาศพร้อมกันทางไทยทีวีสีช่อง 3 ,ททบ.5, ช่อง 7 สี และช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ในช่วงเวลากลางวันคือ 13.00-14.00 น. เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา[ต้องการอ้างอิง] โดยมีเหล่าดาราจากค่ายต่าง ๆ มาร่วมเล่นเกม

สำหรับยุคนี้ เริ่มมีการใช้พิธีกรภาคสนาม และวิทยากรประจำรายการ เพื่อเพิ่มเสน่ห์และสีสันให้กับรายการ อันได้แก่ นารากร ติยายน เคยเป็นพิธีกรภาคสนามช่วง ลุยตามนัด ของเกมในวันแรก ส่วน "อู๊ดดี้" หรือ บัณฑิต ทนุโวหาร เข้ามาเป็นผู้วาดภาพการ์ตูนปริศนา ในช่วงท้ายของเกมวันแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531[3] และจักรกฤษณ์ หาญวิชัย เป็นโฆษกในช่วงวีทีอาร์ รวมทั้งบรรยายผู้สนับสนุนรายการ

โดยในรอบแจ็คพอตจะมีการเปลี่ยนไปดังนี้

ในปี พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2530 จะเป็นการเปิดป้าย 15 แผ่นป้าย (ต่อมาเพิ่มเป็น 16 แผ่นป้าย) เหมือนกับยุคก่อนหน้านี้โดยจะต้องหาป้ายรถยนต์และป้ายโลโก้รายการมาตามนัดให้ครบ 2 ป้ายจึงจะแจ็คพอตแตก แต่ถ้าในกรณีเปิดเจอป้าย " ผิดนัด " โอกาสที่จะเปิดป้ายก็จะเหลือแค่ 2 ครั้งทันทีและได้เช็คของรางวัลปลอบใจ 20,000 บาททันที

ในปี พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2533 จะเป็นการเปิดป้าย " ตัวตั้ง ตัวตาม " (ตัวตั้งจากผู้สนับสนุนรายการ 16 แผ่นป้าย และตัวตามจากหมายเลข 1-16) โดยกติกาคือจะต้องหาตัวตั้งและตัวตามให้ตรงกัน 4 คู่ จึงจะแจ็คพอตแตก หากตรงกัน 3 คู่รับสร้อยคอทองคำ 10,000 บาท แต่ในกรณีเปิดไม่ตรงกันทางรายการจะมีเช็คของรางวัลปลอบใจ 20,000 บาททันที แต่ในบางนัดก็จะเล่นกันแบบเป็นคู่ โดยเดอะวินเนอร์จะเลือกตัวตั้ง 3 แผ่นป้าย ตัวตาม 4 ป้าย โดยจะต้องตรงกัน 2 คู่ จึงจะแจ็คพอตแตก ส่วนรองเดอะวินเนอร์ เลือกตัวตั้ง 2 แผ่นป้าย ตัวตาม 3 ป้าย โดยจะต้องตรงกันทุกคู่ จึงจะแจ็คพอตแตก

ในปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นไปกติกาจะคล้ายกับยุคก่อน เพียงแต่ปรับกติกาคือ จะมีตัวตั้งจากผู้สนับสนุนรายการ 16 แผ่นป้าย โดยจะแบ่งเป็น 4X4 ช่อง โดยเดอะวินเนอร์จะได้ในส่วนสีแดง 2 ส่วน รองเดอะวินเนอร์จะได้ในส่วนสีน้ำเงิน 1 ส่วน และรอบนี้คนทางบ้านก็สามารถลุ้นรถยนต์ได้เช่นกันในส่วนสีเหลือง 1 ส่วน และตัวตาม 32 ป้าย โดยแบ่งเป็นเดอะวินเนอร์ 16 ป้าย ในส่วนสีแดง และรองเดอะวินเดอร์ 16 ป้ายในส่วนสีน้ำเงิน โดยการเลือกจะสลับกันคนละ 4 ครั้ง โดยถ้าเปิดป้ายตรงกับช่องไหนช่องนั้นก็จะถูกปิดทันที โดยจะต้องเปิดป้ายให้ครบ 4 ช่อง ใน 1 ส่วน จึงจะแจ็คพอตแตกทันทีแต่ถ้าเปิดได้ตรงกัน 3 ช่อง ใน 1 ส่วน เดอะวินเนอร์จะได้รับเช็คของรางวัล 20,000 บาททันที และทั้ง 8 ป้ายทั้ง ไม่ซ้ำกันเลยจะได้รับเพิ่มไปอีก 20,000 บาทเพิ่มและของรางวัลทั้งหมดที่เปิดได้ในรอบนี้

ในปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536 กติกาจะเหมือนกับยุคปี พ.ศ. 2534 ทุกประการเพียงแต่จะต้องไปลุ้นรถยนต์จากผู้สนับสนุนรายการเป็นรุ่นอะไรอีกด้วย และป้ายในปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536 จากที่เดิมเป็นป้ายมีรางสอดใส่เหมือนกับยุคปี พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534 เป็นป้ายผลักอีกด้วย โดยกติกาในรอบลุ้นรถยนต์นั้นจะมีป้ายทั้งหมด 7 ป้าย โดยแต่ละป้ายนั้นจะเป็นรุ่นของรถยนต์ที่สนับสนุนรายการอีกด้วย

2536–2537 : มาตามนัด ฮาวมัช แก้

รายการได้เปลี่ยนชื่อเป็น มาตามนัด ฮาวมัช เริ่มออกอากาศเดือนเมษายน พ.ศ. 2536 พร้อมทั้งเปลี่ยนพิธีกรฝ่ายหญิง เป็นจริญญา หาญณรงค์ (ในหน้าที่ผู้ช่วยพิธีกรเท่านั้น)

โดยเกมการแข่งขันวันแรก เป็นการตอบคำถามจากเทปรายการฮาวมัช ของประเทศญี่ปุ่น จำนวน 4 ข้อ โดยให้ผู้แข่งขันทั้ง 5 คน ทายว่าสิ่งของชิ้นนั้นมีราคาเท่าไร ผู้ช่วยพิธีกร (จริญญา ต่อมาคือ นนทิยา และ ณัฏฐพล ตามลำดับ) จะระบุอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินในขณะนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณของผู้เล่น

ผู้ที่ทายราคาใกล้เคียงกับราคาจริงในแต่ละข้อ จะได้พินสะสมไปข้อละ 1 พิน พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาทจากทางรายการ กรณีทายราคาถูกต้อง ทางรายการจะเรียกว่า Hole in One และจะได้รับทองคำหนัก 5 บาทในข้อนั้น ผู้เข้าแข่งขันที่สะสมพินได้มากที่สุด 2 ท่านในแต่ละสัปดาห์จะผ่านเข้ารอบสู่การแข่งขันวันที่สอง ซึ่งต้องแข่งกับทีมผู้ท้าชิงเพิ่มอีก 2 คน

นอกจากนั้นแล้ว ผู้เข้าแข่งขันทั้งห้าคนยังสามารถสะสมพินต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ทางรายการจะบันทึกพินสะสมของผู้แข่งขันแต่ละท่านไว้ กรณีที่มาร่วมรายการบ่อย ๆ ผู้เข้าแข่งขันคนใดสะสมได้ครบ 12 พิน ก็จะได้รับทองคำ 5 บาท เช่นเดียวกับผู้ที่ได้ Hole in One

เกมวันที่สอง เป็นเกมใบ้คำและเกมวาดภาพ ซึ่งใช้กติกาเดียวกันกับยุคก่อน ๆ ทีมที่ทำคะแนนรวมทั้งสองเกมได้มากกว่า จะได้เข้ารอบเกมตอบคำถามปรัศนี ซึ่งมีคู่พี่น้องดาวตลก คือ เทพ และ น้อย โพธิ์งาม เป็นปรัศนีประจำเกมนี้ (บางครั้งจะมีนักแสดงตลกท่านอื่นมาทำหน้าที่แทน กรณีที่เทพหรือน้อยไม่สะดวกร่วมรายการในสัปดาห์นั้น ๆ ) โดยมีคำถาม 3 ข้อ ข้อละ 2 ตัวเลือก ให้ผู้เล่นที่ผ่านเข้ารอบมาทายว่าคำตอบที่ถูกต้องคือคำตอบของปรัศนีท่านใด หากทายถูกจะได้คะแนน 1, 2 และ 3 คะแนนตามลำดับ

หากครบ 3 ข้อแล้วคะแนนเสมอกัน จะมีคำถามสำรองเกี่ยวกับข้อมูลสถิติ ใครที่ตอบได้ใกล้เคียงที่สุดจะเป็น เดอะ วินเนอร์ ประจำสัปดาห์[4]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 รายการมีอายุครบ 10 ปี และเศรษฐาขอลาออกจากพิธีกร จึงมีการเปลี่ยนพิธีกรใหม่ โดยให้อนุรักษ์ พลอยเพชร และนนทิยา จิวบางป่า อดีตนักร้องชื่อดังมาดำเนินรายการแทน

2537–2538 : สันติสุข - ณัฐสิมา - ณัฏฐพล แก้

เนื่องจากอนุรักษ์ และ นนทิยาไม่สามารถทำหน้าที่พิธีกรได้ดีเท่าที่ควร[ต้องการอ้างอิง] จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมใหม่อีกครั้ง และกลับมาใช้ชื่อ "มาตามนัด" ตามเดิม พร้อมเปลี่ยนพิธีกรจากคู่เป็นทีม ได้แก่ สันติสุข พรหมศิริ, ณัฏฐพล กรรณสูต และ ณัฐสิมา คุปตะวาทิน (เดิมเป็นพิธีกรรับเชิญประจำสัปดาห์) และในปี พ.ศ. 2538 รายการลดวันออกอากาศ เหลือเพียงวันจันทร์ เวลา 22.00-23.00 น. โดยในรอบแจ็คพอตจะเป็นการเปิดป้าย 8 จาก 16 แผ่นป้าย โดยจะต้องหาล้อรถยนต์ให้ครบ 4 ป้ายจึงจะแจ็คพอตแตก แต่ถ้าเปิดเจอโจรล้อรถก็จะโดนยึดไป 1 ป้าย โดยป้ายล้อรถจะมีมูลค่าป้ายละ 10,000 บาท จากนั้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จสวรรคต มาตามนัดร่วมถวายความอาลัย ด้วยการประมวลภาพของรายการที่ผ่านมา หลังจากนั้นเป็นการจัดเกมโชว์นัดพิเศษ[ต้องการอ้างอิง] โดยเทปสุดท้ายของรายการ ออกอากาศในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ก่อนเปลี่ยนเป็นรายการ "น้ำใจ"[ต้องการอ้างอิง] รวมจำนวนครั้งที่ออกอากาศทั้งสิ้น 1,562 ตอน

2555–2556 : มาตามนัด รีเทิร์น แก้

มาตามนัด
 
ตราสัญลักษณ์ประจำรายการโทรทัศน์มาตามนัด รีเทิร์น
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยฟันแอนด์ฟอร์จูน
เสนอโดยเศรษฐา ศิระฉายา
ญาณี จงวิสุทธิ์
บรรยายโดยจักรกฤษณ์ หาญวิชัย
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างดวงมณี ศรีทัศนีย์
สถานที่ถ่ายทำมูนสตาร์สตูดิโอ
ความยาวตอน50 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายโมเดิร์นไนน์ทีวี
ออกอากาศ6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 –
26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบแรก ใช้เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม - 25 ธันวาคม 2555[ต้องการอ้างอิง] มีการนำการแข่งขันที่เคยใช้ในยุคเศรษฐา - ญาณี มาเล่นกันอีกครั้ง โดยได้มีการพลิกแพลงและเพิ่มกติกาให้เหมาะสมกับเวลาออกอากาศ โดยในวันแรก จะทำการแข่งขันสองเกม เกมแรก คือ "อยากถาม" ซึ่งมีคำถามทั้งสิ้น 5 ข้อด้วยกัน ญาณีจะอ่านคำตอบทั้งหมด 3 คำตอบ หลังจากนั้น เศรษฐาจะอ่านคำถามให้ฟัง แล้วให้กดสัญญาณไฟ ทีมที่กดไฟได้และตอบถูก จะได้รับ 2 คะแนน แต่ถ้าตอบผิด อีกทีมจะมีสิทธิ์ตอบ ถ้าตอบถูกจะได้ 1 คะแนน โดย 1 ใน 5 ข้อนั้น จะเป็นคลิปคำถามจากทางบ้านที่ส่งเข้ามาร่วมสนุกและให้แขกรับเชิญทาย ในเกมที่สองจะเป็นเกมใบ้คำ กติกาคือ หนึ่งหมวดจะมีคำ 25 คำ แต่ละคู่ต้องใบ้คำที่ปรากฏให้ได้มากที่สุด ในเวลาที่กำหนด (60/90 วินาที) ถ้าถูกได้คำละ 1 คะแนน แต่ถ้าฟาวล์ คำนั้นจะไม่นับคะแนน หากคะแนนเสมอกันจะต้องใบ้คำใน 30 วินาที หลังจากนั้นจะนำคะแนนทั้งสองรอบมารวมกันและรอบตัดสิน ทีมที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้รับรางวัลสะสม 30,000 บาท ทีมที่แพ้จะได้รางวัลสะสม 15,000 บาท แต่ทั้ง 4 คน จะได้เข้าไปเล่นในวันถัดไป โดยจะมีการจับสลากเพื่อจับคู่ใหม่นอกรอบ

ในวันที่สองนั้น มีการแข่งขันสองเกมเช่นกัน เกมแรกชื่อว่า "อยากวาด" โดยให้สมาชิกในทีมผลัดออกมาวาดภาพให้อีกคนตอบ ในเวลา 1 นาที ตอบถูกได้ภาพละ 1 คะแนน ถ้าภาพนั้นมีการแฝงการสื่อสารด้วยท่าทางหรือน้ำเสียง ภาพนั้นจะฟาวล์และไม่ได้คะแนน (แต่ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2555 มีการปรับให้ใช้ท่าทางประกอบได้เล็กน้อย เมื่อมีคำหรือพยางค์ที่ถูกหลุดออกมา แต่ยังคงห้ามพูดด้วยน้ำเสียงเช่นเดิม)[ต้องการอ้างอิง] ทีมที่มีคะแนนมากสุด จะได้เข้าไปเล่นในรอบถัดไป โดยทีมที่แพ้จะได้รับรางวัลคนละ 20,000 บาท เกมที่สอง ชื่อ "อู๊ดดี้ เกิดมาวาด" ซึ่งทีมที่เข้ามาในรอบนี้ จะต้องทายภาพวาดจากอู๊ดดี้ โดยการกดไฟตอบ ถ้าตอบถูกได้รับ 2 คะแนน แต่ถ้าตอบผิด อีกคนจะมีสิทธิ์ตอบ ถ้าตอบถูก จะได้รับ 1 คะแนน แต่ถ้าตอบผิด อู๊ดดี้จะวาดต่อไปจนกว่าจะมีผู้ตอบถูก รอบนี้จะเล่นทั้งหมดห้าภาพ ใครที่มีคะแนนมากสุดจะได้เข้ารอบแจ็คพ็อตมาตามนัด โดยทั้ง 2 คนจะได้รับรางวัลคนละ 35,000 บาท

ส่วนรอบแจ็คพ็อต จะเหมือนกับยุคเศรษฐา - ญาณี คือจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 16 แผ่นป้ายเป็นตัวตาม และผู้สนับสนุนทั้งสิ้น 16 รายเป็นตัวตั้ง เดอะวินเนอร์จะต้องเลือกผู้สนับสนุน 4 จาก 16 ราย มาเป็นตัวตั้ง และเลือก 6 แผ่นป้าย จาก 16 แผ่นป้ายตัวตาม โดยกติกาคือ ถ้าตัวตามที่เลือกมานั้น ตรงกับผู้สนับสนุนที่เป็นตัวตั้ง 4 ใน 6 แผ่นป้าย จะได้รับรถยนต์ 1 คัน แต่หากต้องการรถยนต์รุ่นที่สูงกว่า ของตราสินค้าเดียวกัน จะต้องสละสิทธิ์รับรถยนต์คันก่อนหน้านี้ แล้วเลือกตัวตั้งและตัวตามอีกอย่างละแผ่นป้าย โดยต้องเลือกมาแล้วตรงกันจึงจะได้รับรางวัลใหญ่ ทั้งนี้ในแต่ละแผ่นป้ายที่เปิดมา จะมีจำนวนเงินรางวัลในแต่ละแผ่นป้ายกำกับไว้ ซึ่งเดอะวินเนอร์จะได้รับเงินรางวัลตามที่ระบุไว้

แบบที่สอง ใช้เมื่อวันที่ 2 มกราคม - 30 มกราคม 2556[ต้องการอ้างอิง] เกมแรกชื่อ "อยากใบ้" จะเป็นเกมใบ้คำ กติกาเหมือนกับแบบแรก เกมที่สองชื่อ "อยากวาด" โดยให้สมาชิกในทีมผลัดออกมาวาดภาพให้อีกคนตอบ มีการปรับให้ใช้ท่าทางประกอบได้เล็กน้อย เมื่อมีคำหรือพยางค์ที่ถูกหลุดออกมา[ต้องการอ้างอิง] ในเวลา 1 นาที ตอบถูกได้ภาพละ 1 คะแนน ถ้าภาพนั้นมีการแฝงการสื่อสารด้วยท่าทางหรือน้ำเสียง ภาพนั้นจะฟาวล์และไม่ได้คะแนน หลังจากแข่งครบแล้วนำคะแนนที่ได้ในรอบอยากใบ้และอยากวาดนำมารวมกัน ทีมใดที่มีคะแนนมากสุด จะได้เข้าไปเล่นในรอบถัดไป โดยทีมที่แพ้จะได้รับรางวัลคนละ 15,000 บาท เกมที่สามคือ รอบ "อู๊ดดี้ เกิดมาวาด" กติกาเหมือนกับแบบแรก ผู้ที่มีคะแนนมากสุดจะได้เข้ารอบแจ็คพ็อต โดยทั้ง 2 คนจะได้รับรางวัลคนละ 30,000 บาท

ส่วนรอบแจ็คพ็อต จะเหมือนกับยุคเศรษฐา - ญาณี คือจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 16 แผ่นป้ายเป็นตัวตาม และผู้สนับสนุนทั้งสิ้น 16 รายเป็นตัวตั้ง เดอะวินเนอร์จะต้องเลือกผู้สนับสนุน 4 จาก 16 ราย มาเป็นตัวตั้ง และเลือก 6 แผ่นป้าย จาก 16 แผ่นป้ายตัวตาม โดยกติกาคือ ถ้าตัวตามที่เลือกมานั้น ตรงกับผู้สนับสนุนที่เป็นตัวตั้ง 4 ใน 6 แผ่นป้าย จะได้รับรถยนต์ 1 คัน ทั้งนี้ในแต่ละแผ่นป้ายที่เปิดมา จะมีจำนวนเงินรางวัลในแต่ละแผ่นป้ายกำกับไว้ ซึ่งเดอะวินเนอร์จะได้รับเงินรางวัลตามที่ระบุไว้

แบบที่สาม ใช้เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 - 26 มิถุนายน 2556[ต้องการอ้างอิง] รอบแรกมีชื่อว่า "นัดมาร้อง" เป็นเกมใหม่ โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีมจะออกมาร้องเพลงคนละ 2 เพลง โดยให้ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งใส่หูฟังที่เล่นเพลงที่กำลังทายอยู่ ผู้แข่งขันคนนั้นร้องเพลงให้เพื่อนร่วมทีมทายชื่อเพลงภายใน 10 วินาที ถ้าทายถูกก่อนหมดเวลาจะได้ 2 คะแนน แต่ถ้าหมดเวลา ทางรายการจะมีตัวเลือก 2 ข้อคือ ก/ข ถ้าตอบถูกจะได้รับ 1 คะแนน หากตอบผิดจะไม่ได้คะแนน ในรอบนี้ทีมใดมีคะแนนมากกว่า ทีมนั้นจะได้รับเงินรางวัลสะสมมูลค่า 10,000 บาท (แบ่งกันคนละครึ่ง) รอบสองมีชื่อว่า "ตามมาใบ้" เป็นเกมใบ้คำ ทีมที่ทำคะแนนรวมจากรอบ "นัดมาร้อง" และ "นัดมาใบ้" ได้มากกว่าจะผ่านเข้ารอบต่อไป ส่วนทีมที่ตกรอบจะได้รับเงินรางวัลคนละ 15,000 บาท รอบที่สามคือ "อู๊ดดี้ เกิดมาวาด" ผู้ที่มีคะแนนมากสุดจะได้เข้ารอบแจ็คพ็อต โดยทั้ง 2 คนจะได้รับรางวัลคนละ 30,000 บาท

ส่วนรอบแจ็คพ็อตจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 16 แผ่นป้ายในแผ่นป้ายมีแผ่นป้ายป้ายหน้าพิธีกร "เศรษฐา" และ "ญาณี" อย่างละ 4 แผ่นป้าย และ มีคำว่า "มา" 3 แผ่นป้าย "ตาม" 2 แผ่นป้าย "นัด" 2 แผ่นป้าย และคำว่า "Return" 1 แผ่นป้าย เดอะวินเนอร์จะต้องเลือกแผ่นป้ายมา 6 แผ่นป้าย ถ้าหากเปิดแผ่นป้ายเจอหน้าพิธีกร "เศรษฐา" หรือ "ญาณี" คนใดคนหนึ่งครบ 4 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท และถ้าหากเปิดแผ่นป้ายคำว่า "มา-ตาม-นัด-Return" จะได้รับรถยนต์โตโยต้า ออล นิว วีออส มูลค่า 589,000 บาท และในแต่ละแผ่นป้ายจะมีจำนวนเงินรางวัลกำกับไว้ ซึ่งเดอะวินเนอร์จะได้รับเงินรางวัลตามที่ระบุไว้

รายการมาตามนัด รีเทิร์น ได้ออกอากาศเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยครั้งสุดท้ายนั้น ทางรายการฯได้ประมวลภาพแห่งความประทับใจของการออกอากาศรายการฯนี้ เท่าที่จะสามารถนำมาเผยแพร่ได้ รวมระยะเวลาการออกอากาศได้แค่ 10 เดือนเท่านั้น โดยหลังจากนั้นแล้ว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี จึงได้นำเสนอรายการ Sci Fighting วิทย์สู้วิทย์ จากเดิมที่เคยออกอากาศเป็นประจำทุกคืนวันพุธ มาออกอากาศแทนเวลาเดิมของรายการฯ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 รายการมาตามนัด รีเทิร์น จึงสิ้นสุดลง

รายละเอียดรายการในยุครีเทิร์น
เทปที่ วันที่ออกอากาศ ชื่อเดอะวินเนอร์ เงินรางวัลที่ได้รับ แขกรับเชิญอื่น
1-2 6 - 7 สิงหาคม 2555 วินัย สุขแสวง (ดีเจเจ๊แหม่ม กรีนเวฟ) 105,200 บาท
3-4 13 - 14 สิงหาคม 2555 ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (พีเค) 92,700 บาท
5-6 20 - 21 สิงหาคม 2555 นท พนายางกูร (เดอะสตาร์ # 7) 100,200 บาท
7-8 27 - 28 สิงหาคม 2555 อารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล (คัตโตะ ลิปตา) 95,000 บาท
9-10 3 - 4 กันยายน 2555 ดารณีนุช โพธิปิติ (ท๊อป) 102,500 บาท
11-12 10 - 11 กันยายน 2555 เตมีย์ คุปต์ธนโรจน์ (ดีเจคิว ซี้ดเอฟเอ็ม) 110,200 บาท
13-14 17 - 18 กันยายน 2555 พัชรศรี เบญจมาศ (กาละแมร์ ผู้หญิงถึงผู้หญิง) 115,000 บาท
15-16 24 - 25 กันยายน 2555 พัทธ์ ชนภัณฑารักษ์ (พัตโตะ ไนน์เอ็นเตอร์เทน) 115,000 บาท
17-18 1 - 2 ตุลาคม 2555 นที ธีระเสรีวงศ์ (ธงธง มกจ๊ก) 112,500 บาท
19-20 8 - 9 ตุลาคม 2555 ภิญญาพัชญ์ ด่านอุตรา (แก้ม สำนักข่าวไทย อสมท) 97,500 บาท
21-22 15 - 16 ตุลาคม 2555 กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ (ครูลิลลี) 132,900 บาท
23-24 22 - 23 ตุลาคม 2555 สมพล ปิยะพงศ์สิริ (ดีเจไก่ อีเอฟเอ็ม) 110,000 บาท
25-26 29 - 30 ตุลาคม 2555 รัตนะ ชัยชนะ (ต้น)[5] 125,000 บาท
* 5 - 6 พฤศจิกายน 2555
งดออกอากาศ เนื่องจากถ่ายทอดสด การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7
27-28 12 - 13 พฤศจิกายน 2555 เบญจพล เชยอรุณ (กอล์ฟ) 130,000 บาท
29-30 19 - 20 พฤศจิกายน 2555 คมกฤษ อ่อนพาปลื้ม (ปอนด์)[5] 110,000 บาท
31-32 26 - 27 พฤศจิกายน 2555 จุฑาธน นันท์กุลวาณิช (นัท)[5] 100,200 บาท
33-34 3 - 4 ธันวาคม 2555 เขตโสภณ สุริโยรัตนโนภาส (ซัม)[5] 120,000 บาท
35-36 10 - 11 ธันวาคม 2555 ดวงตา ตุงคะมณี (ตุ๊ก) 120,000 บาท
37-38 17 - 18 ธันวาคม 2555 โอนิรันต์ กรุณา (โอโม่ โปงลางสะออน) 110,200 บาท
39-40 24 - 25 ธันวาคม 2555 กรภพ จันทร์เจริญ (โจ๊ก โซคูล) 87,700 บาท
41 31 ธันวาคม 2555
เทปพิเศษรวมความฮารับปีใหม่
42 2 มกราคม 2556 ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ (ดีเจ ต้นหอม) 85,000 บาท
43 9 มกราคม 2556 แวร์ โซว์และลูกสาว 60,000 บาท
44 16 มกราคม 2556 กนกฉัตร มารยาทอ่อน (ไต้ฝุ่น เคพีเอ็น) 60,000 บาท
45 23 มกราคม 2556 ญาญา 60,000 บาท
46 30 มกราคม 2556 มนตรี เจนอักษร (ปุ๊) 70,000 บาท
47 6 กุมภาพันธ์ 2556 ศรา ชลาดล (นัฏ) 65,000 บาท
48 13 กุมภาพันธ์ 2556 บอม สินเจริญ 75,000 บาท

ระยะเวลาในการออกอากาศ แก้

สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วัน เวลา ความยาวของเวลา ช่วงระหว่าง
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก อังคาร - พฤหัสบดี
20:50 - 21:20 น.
30 นาที
5 มิถุนายน พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2530
20:55 - 21:40 น
45 นาที
พ.ศ. 2530 - 2531
20:55 - 21:55 น. 60 นาที พ.ศ. 2531
จันทร์ - พุธ พ.ศ. 2532 - 2533
20:50 - 21:35 น.
45 นาที พ.ศ. 2534
21:50 - 22:35 น.
พ.ศ. 2534 - 2535
จันทร์ - อังคาร
22:00 - 23:00 น. 60 นาที พ.ศ. 2536 - 2537
จันทร์
พ.ศ. 2538
โมเดิร์นไนน์ทีวี
จันทร์ - อังคาร
18:00 - 18:45 น.
45 นาที
6 สิงหาคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
พุธ
18:00 - 19:00 น.
60 นาที
2 มกราคม - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พิธีกร แก้

 
พิธีกรคู่แรกของรายการมาตามนัด

รายการมาตามนัด มีพิธีกรมาแล้วทั้งหมด 10 คน มีรายนามดังต่อไปนี้

ยุติออกอากาศ แก้

ช่วงที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 ส่งผลให้รายการ มาตามนัดต้องยุติการออกอากาศ ซึ่งในช่วงนั้นเทปสุดท้ายได้นำประมวลภาพของเทปต่างๆตั้งแต่เทปแรกถึงเทปสุดท้าย เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2538

รางวัลที่ได้รับ แก้

เกร็ด แก้

  • ในการถ่ายทำเพื่อการออกอากาศสัปดาห์ละ 3 วัน จะถ่ายทำกันในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ก่อนการออกอากาศประมาณ 2 สัปดาห์
  • ผู้สนับสนุนหลักของทางรายการที่จะปรากฏในทุกๆช่วงของมาตามนัด นับตั้งแต่เทปแรกจนถึงเทปสุดท้าย ได้แก่ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด , กูลิโกะ และ บริษัท อาหารยอดคุณ จำกัด
  • บุญชาย ศิริโภคทรัพย์ เจ้าของรายการ โลกดนตรี เคยเป็นผู้กำกับรายการมาตามนัด ในยุคแรก
  • นารากร ติยายน ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง เคยเป็นพิธีกรภาคสนามช่วง ลุยตามนัด หนึ่งในเกมการแข่งขันตอบปัญหาวันแรก
  • อู๊ดดี้ (บัณฑิต ทนุโวหาร) นักวาดการ์ตูนชื่อดัง เคยเป็นผู้วาดภาพปริศนาในช่วงท้ายของเกมตอบปัญหาวันแรก โดยทำหน้าที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 [6]
  • จักรกฤษณ์ หาญวิชัย เคยเป็นโฆษกให้เสียงพากย์ในช่วง VTR และช่วงผู้สนับสนุนในรายการมาตามนัด
  • วิชชุดา สวนสุวรรณ เคยเข้าไปชมการถ่ายทำรายการมาตามนัด จนตากล้องของรายการคนหนึ่งซึ่งเป็นพี่ข้างบ้าน ชักชวนให้เข้าสู่วงการแสดง [7] [8]

เทปรายการมาตามนัด แก้

เทปรายการบางส่วนของรายการมาตามนัดแต่ละยุคที่ยังหลงเหลืออยู่ใน youtube และหนึ่งในนั้นมีเทปของ ธงไชย แมคอินไตย พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง และ จารุณี สุขสวัสดิ์ เมื่อปี 2528 ซึ่ง ธงไชย เริ่มมีผลงานละครแล้ว พงษ์พัฒน์ ยังไม่ได้เข้าวงการบันเทิง เป็นเพียงผู้แข่งขันจากทางบ้าน ซึ่งแชมป์เป็นคู่ของ พงษ์พัฒน์ และ จารุณี เวลาต่อมา ธงไชย กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ของวงการบันเทิง ส่วน พงษ์พัฒน์ หลังออกรายการนี้ ไปออกรายการพลิกล็อกของเจเอสแอล เข้าตาทีมงานที่กำลังจะทำละครและได้แจ้งเกิดกับละคร เทวดาตกสวรรค์ และ เมฆินทร์พิฆาต ตามลำดับ ต่อมากลายเป็น นักแสดง นักร้อง และผู้กำกับละครที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของเมืองไทย ส่วน จารุณี สุขสวัสดิ์ มีผลงานละครและภาพยนตร์ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. สกู๊ปข่าว, "2527 ปีทองของเกมโชว์ ผู้เขย่าบัลลังก์ละครทีวี", นิตยสาร มีเดีย ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 สิงหาคม 2527, หน้า 6-13
  2. บทสัมภาษณ์ เศรษฐา-ญาณี, นิตยสาร สีสัน ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 เมษายน 2532 : หน้า 21-27
  3. นิตยสาร นักขาย ปีที่ 3 ฉบับที่ 35 ตุลาคม 2533 : หน้า 182-190
  4. อนงค์นาฏ สรคุปต์.(2537).พัฒนาการของรายการเกมโชว์ "มาตามนัด".สารนิพนธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 ผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้าน
  6. นิตยสาร นักขาย ปีที่ 3 ฉบับที่ 35 ตุลาคม 2533 : หน้า 182-190
  7. ปู วิชชุดา สวนสุวรรณ คือความทรงจำ...ที่สวยงาม
  8. ตีสิบ ปู-วิชชุดา สวนสุวรรณ กลับชาติมาเกิด เก็บถาวร 2010-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน women.mthai.com