ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง เป็นภาพยนตร์ภาคที่สี่ในภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำหนดฉายในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์อย่างเป็นทางการ | |
กำกับ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
บทภาพยนตร์ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ |
อำนวยการสร้าง | หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา คุณากร เศรษฐี |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | สตานิสลาฟ ดอร์ซิก |
ตัดต่อ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมราชวงศ์หญิงปัทมนัดดา ยุคล |
ดนตรีประกอบ | ริชาร์ด ฮาร์วีย์ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล |
วันฉาย | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 |
ความยาว | 132 นาที |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ภาษา | ภาษาไทย ภาษาพม่า ภาษามอญ |
ทำเงิน | 131.6 ล้านบาท (เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่) |
ก่อนหน้านี้ | ยุทธนาวี |
ต่อจากนี้ | ยุทธหัตถี |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
เนื้อเรื่อง
แก้ภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง ถ่ายทอดเรื่องราวอันเป็นผลจากการปราชัยของหงสาวดีในคราวศึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งทำให้พระเจ้านันทบุเรงทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวร และในความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา จึงทรงยกทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์มาย่ำยีราชธานีสยาม กองทัพกษัตริย์ของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงมีความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่น่าเกรงขามกว่าทุกศึก ประกอบด้วยช้าง 3,200 ทัพ ม้า 12,000 และไพร่ราบซึ่งมีจำนวนถึง 252,000 คน โดยมีนายทัพผู้ปรีชาสามารถมาร่วมรบ ทั้งพระมหาอุปราชา, มางจาชโร เจ้าเมืองจาปะโร และลักไวทำมูทหารกล้า โดยพระเจ้านันทบุเรงตั้งทัพหลวงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ขนอนปากคู ทัพมังมอดราชบุตร์กับพระยาพระรามตั้งที่ทุ่งมะขามหย่อง ทัพพระยานครตั้งที่ปากน้ำพุทธเลา ทัพนันทสูตั้งที่ขนอนบางลาง ทัพพระเจ้าตองอูตั้งทุ่งชายเคือง ทัพพระมหาอุปราชาตั้งที่ขนอนบางตะนาว
กิตติศัพท์ความยิ่งใหญ่น่าเกรงขามของพระเจ้าหงสาที่ยกทัพเข้ามานี้ เมื่อไทยเห็นว่าเป็นศึกใหญ่เหลือกำลังจะต่อสู้เอาไชยชนะได้กลางแปลง จึงเอาพระนครเป็นที่มั่นให้ต้อนคนเข้าพระนคร จัดทัพเป็นกองโจรคอยเที่ยวตัดลำเลียงเสบียงอาหารข้าศึกอยู่ทุกหนทุกแห่ง การป้องกันพระนครคราวนี้ให้ขุดลำแม่น้ำเป็นคูพระนครทางตะวันออกสำเร็จ ก่อกำแพงด้านตะวันออก ขยายลงไปจนริมน้ำเหมือนกับด้านอื่น ๆ ตั้งปืนใหญ่ประจำป้อมแลกำแพงแข็งแรงเหมือนกันหมดทุกด้านมีปืนใหญ่น้อยกระสุน ดินดำและเครื่องศัตราวุธเสบียงอาหารบริบูรณ์ เสบียงอาหารที่จะขนเข้าพระนครไม่ได้ก็ให้ทำลายเสีย มิให้เป็นกำลังแก่ข้าศึก
ในช่วงต้นเดือนยี่ข้าวในนายังเกี่ยวไม่เสร็จ สมเด็จพระนเรศวรจึงรับสั่งให้เจ้าพระยากำแพงเพชรยกทัพออกไปป้องกันชาวนาที่กำลังเกี่ยวข้าว พอทัพพม่าของพระมหาอุปราชยกทัพมาถึงก็ให้ทัพม้าเข้าตีจนทัพเจ้าพระยากำแพงเพชรแตกพ่ายหนีเข้าเมือง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธอย่างมาก เพราะไทยไม่เคยแตกพ่ายแพ้ต่อข้าศึกอาจทำให้ทหารขวัญเสีย พระองค์จึงมีรับสั่งประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชร แต่โชคดีที่มณีจันทร์ได้ขอชีวิตเอาไว้ การศึกครั้งนี้พม่าหมายมั่นจะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของทหารไทยจึงรักษาที่มั่นเอาไว้ได้เสมอ เสด็จออกปล้นค่ายพม่าซึ่งเป็นทัพหน้าของหงสาวดี ข้าศึกแตกพ่ายถอยหนี พระองค์จึงไล่ตีมาจนถึงค่ายของมังจาปะโร เสด็จลงจากม้าคาบพระแสงดาบแล้วนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ทรงถูกมังจาปะโรใช้หอกแทงตกลงมาข้างล่าง สมเด็จพระเอกาทศรถจึงสั่งให้เลิกกองทัพกลับพระนครทันที
พระเจ้าหงสาวดีทรงทราบการกระทำอันห้าวหาญของสมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสว่า ถ้าพระนเรศวรออกมาอีกจะต้องจับพระองค์ ให้ได้ถึงแม้ว่าจะใช้ทหารมากมายเพียงใด จึงมีรับสั่งให้ลักไวทำมูนำทหารไปจัดการพระนเรศวรทันที สมเด็จพระนเรศวรทรงออกไปตีค่ายหลวงพม่าอีก พม่าจึงใช้ทหารล่อให้พระองค์ไล่ตี เข้ามาจนถึงบริเวณที่ลักไวทำมูซุ่มรออยู่ ลักไวทำมูจะเข้ามาจับพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรจึงใช้พระแสงทวนแทงลักไวทำมูตายทันที สุดท้ายกองทัพพม่าจึงถอยทัพกลับไป ขณะเดียวกันพระราชมนูยอดทหารเอกกรุงศรีก็ถูกจับตัวไปเป็นเชลย
ตัวละคร
แก้ตัวละคร | รับบทโดย |
---|---|
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช | พล.ต.วันชนะ สวัสดี |
สมเด็จพระเอกาทศรถ | พล.ต.วินธัย สุวารี |
มณีจันทร์ | ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ |
พระราชมนู | นพชัย ชัยนาม |
พระเจ้านันทบุเรง | จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ |
มังกะยอชวา | นภัสกร มิตรเอม |
นักพระสัตถา | เศรษฐา ศิระฉายา |
พระศรีสุพรรณราชาธิราช | ดิลก ทองวัฒนา |
เล่อขิ่น | อินทิรา เจริญปุระ |
เสือหาญฟ้า | ดอม เหตระกูล |
พระยาจีนจันตุ | ชูชาติ ทรัพย์สุทธิพร |
นรธาเมงสอ พระเจ้าเชียงใหม่ | ชลิต เฟื่องอารมย์ |
มหาเถรคันฉ่อง | สรพงษ์ ชาตรี |
ไอ้ขาม | ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ |
ท้าวโสภา | พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ |
พระยากำแพงเพชร | อภิชาติ อรรถจินดา |
พระยาสีหราชเดโช | ธนา สินประสาธน์ |
พระยาพิชัย | กรุง ศรีวิไล |
พระยาสวรรคโลก | มานพ อัศวเทพ |
มูเตอ | เกศริน เอกธวัชกุล |
การออกฉาย
แก้ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง ออกฉายรอบสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ เวิลด์ ซีนีมา ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์[ต้องการอ้างอิง]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เพลงนำภาพยนตร์
แก้- ความเศร้าแห่งสงคราม (One Nation - The Sorrows of War) ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษและทำนองโดย ริชาร์ด ฮาร์วี่ย์ แปลคำร้องเป็นภาษาไทยโดย วิษณุ เอื้อชูเกียรติ ขับร้องโดย ธีรนัยน์ ณ หนองคาย[ต้องการอ้างอิง]
ข้อแตกต่างระหว่างประวัติศาสตร์กับภาพยนตร์
แก้- เหตุการณ์เข้าตีเมืองสวรรคโลกจับตัวพระยาพิชัยและออกญาสวรรคโลก น่าจะเกิดหลังเหตุการณ์ประกาศอิสรภาพไม่นานและก่อนเหตุการณ์ศึกพระยาพะสิมและเจ้าเมืองเชียงใหม่ในภาคยุทธนาวี
- แท้จริงแล้วผู้ทูลขอชีวิตออกญากำแพงเพชรคือ พระมหาธรรมราชาแต่ผู้เขียนบทเปลี่ยนเป็นให้มณีจันทร์เป็นผู้ทูลขอ
- ไม่มีหลักฐานจากแหล่งไหนบอกว่าพระราชมนู ถูกลักไวทำมูจับเป็นเชลย