หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

พระอนุวงศ์ไทย

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485) หรือ ท่านชายมุ้ย (แต่ส่วนใหญ่มักเรียกท่านสั้น ๆ ว่า ท่านมุ้ย) เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา ถือเป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐาน ลำดับที่ 5 ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ประสูติ29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (81 ปี)
หม่อม
พระบุตร
ราชสกุลยุคล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
พระมารดาหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา

พระประวัติ แก้

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม (ท่านชายมุ้ย) ประสูติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา (สุฤทธิ์) เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมหม่อมมารดาสี่องค์ ได้แก่

ท่านทรงคุ้นเคยกับการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เนื่องจากตามเสด็จพระบิดา และมารดา ผู้บุกเบิกภาพยนตร์ไทย และก่อตั้งบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ซึ่งผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2481

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ศึกษาชั้นมัธยมที่วชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมที่โรงเรียนจีลอง แกรมม่า สคูล เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส วิชาเอกสาขาธรณีวิทยา และวิชาโท สาขาภาพยนตร์ เป็นเพื่อนร่วมห้องเรียนกับฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา และโรมัน โปลันสกี้ ในระหว่างศึกษาชั้นปริญญาตรีทรงฝึกงานเป็นผู้ช่วยในทีมงานของ มีเรียน ซี. คูเปอร์ [1] ผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ช้าง (1927) และ คิงคอง (1933)

เริ่มนิพนธ์บท และกำกับละครโทรทัศน์ เรื่อง "ผู้หญิงก็มีหัวใจ" ในปี พ.ศ. 2511 ถวายพระบิดา จากนั้นทรงก่อตั้งบริษัท พร้อมมิตรภาพยนตร์ (จากชื่อซอยพร้อมมิตร ถนนสุขุมวิท ที่ตั้งของวังละโว้และโรงถ่ายละโว้ภาพยนตร์ของพระบิดา) มีผลงานกำกับละครโทรทัศน์ "ห้องสีชมพู" (2512) , "เงือกน้อย" (2515) , และ"หมอผี" (2516)

ทรงกำกับภาพยนตร์ "มันมากับความมืด" เป็นเรื่องแรก เมื่อ พ.ศ. 2514 และ ทรงได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่น พ.ศ. 2516 จากเรื่องเขาชื่อกานต์ และส่งให้สรพงศ์ ชาตรี เป็นพระเอกยอดนิยมต่อมา

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม โปรดการดำน้ำ ทรงใช้เวลาว่างในการดำน้ำตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งในประเทศไทย และระหว่างทรงศึกษาชั้นมัธยมที่ออสเตรเลีย และศึกษาธรณีวิทยาที่สหรัฐอเมริกา โดยทรงอธิบายถึงสาเหตุที่เลือกเรียนวิชาธรณีวิทยา สืบเนื่องจากความประทับใจในธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการดำน้ำ ทรงนิพนธ์หนังสือบอกเล่าประสบการณ์ในการดำน้ำ ชื่อ โลกสีคราม ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 88 เล่มหนังสือดี ประเภทสารคดี ของโครงการวิจัย หนังสือดีวิทยาศาสตร์ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) [1]

ด้านสุขภาพ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ทรงมีโรคประจำองค์ คือ เบาหวาน, โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยรังสิตได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ การเมือง แด่ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล โดยได้รับปริญญานี้พร้อมกับ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ และ นายสนธิ ลิ้มทองกุล สื่อมวลชนผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ให้หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมเป็นบุคคลล้มละลาย[2] ต่อมาได้รับการปลดให้พ้นจากการจากการเป็นบุคคลล้มละลาย นับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2562[3]

ชีวิตส่วนพระองค์ แก้

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม เสกสมรสกับหม่อมศริยา ยุคล ณ อยุธยา (บุษปวณิช) พระสหายนักศึกษาไทยที่พบกัน ณ มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2505 ประเทศสหรัฐอเมริกา[1][4] มีโอรส - ธิดา 2 คน คือ

ต่อมาเสกสมรสกับวิยะดา อุมารินทร์ (ตรียะกุล) นักแสดง มีโอรส 1 คน คือ

ต่อมาเสกสมรสกับ หม่อมภรณี ยุคล ณ อยุธยา (เจตสมมา) มีธิดา 1 คน คือ

  • หม่อมราชวงศ์สุทธิภาณี ยุคล (คุณหญิงนุ่น)

ต่อมาเสกสมรสกับหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา (เศรษฐี) อดีตนักแสดง มีโอรส - ธิดา 2 คน คือ

ผลงานในวงการบันเทิง แก้

กำกับภาพยนตร์ แก้

 
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ขณะร่วมงานแถลงข่าวกรณีรัฐบาลสนับสนุนการสร้างภายนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 และ 4 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 8 สิงหาคม 2552
  1. มันมากับความมืด (2514)
  2. เขาชื่อกานต์ (2516)
  3. เทพธิดาโรงแรม (2517)
  4. ผมไม่อยากเป็นพันโท (2518)
  5. ความรักครั้งสุดท้าย (2518)
  6. เทวดาเดินดิน (2519)
  7. นางแบบมหาภัย (2519)
  8. รักคุณเข้าแล้ว (2520)
  9. ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520)
  10. ล่า (2520)
  11. กาม (2521)
  12. อุกาฟ้าเหลือง (2523)
  13. เครือฟ้า (2523)
  14. นายฮ้อยทมิฬ (2523)
  15. ถ้าเธอยังมีรัก (2524)
  16. มือปืน (2526)
  17. ไอ้เก่ง (2526)
  18. ล็อตเตอรี่ (2527)
  19. หน่วย 123 (2527)
  20. อิสรภาพของทองพูน โคกโพ (2527)
  21. ครูสมศรี (2528)
  22. หยุดโลกเพื่อเธอ (2528)
  23. รักสองต้องห้าม (2528)
  24. ข่าวหน้า 1 (2529)
  25. เธอกับเขา และ รักของเรา (2530)
  26. เมียหมายเลข 1 (2530)
  27. พลอยทะเล (2530)
  28. ไอ้มือดำ (2531)
  29. คนเลี้ยงช้าง (2533)
  30. น้องเมีย (2533)
  31. นางฟ้าอีดิน (2533)
  32. มือปืน 2 สาละวิน (2536)
  33. เฮโรอีน (2537)
  34. เสียดาย (2537)
  35. เสียดาย 2 (2539)
  36. กล่อง (2541)
  37. สุริโยไท (2544)
  38. 7 ประจัญบาน (2545) อำนวยการงานสร้าง
  39. ความรักครั้งสุดท้าย (2546)
  40. 7 ประจัญบาน 2 (2548) อำนวยการงานสร้าง
  41. ต้มยำกุ้ง (2548) อำนวยการงานสร้าง
  42. โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง (2549) อำนวยการงานสร้าง
  43. หนูหิ่น เดอะมูฟวี่ (2549) อำนวยการงานสร้าง
  44. มนุษย์เหล็กไหล (2549) อำนวยการงานสร้าง
  45. ฅนไฟบิน (2549) อำนวยการงานสร้าง
  46. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา (2550)
  47. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสรภาพ (2550)
  48. สลัดตาเดียวกับเด็ก 200 ตา (2551) อำนวยการงานสร้าง
  49. ปืนใหญ่จอมสลัด (2551) อำนวยการงานสร้าง
  50. นาคปรก (2553) อำนวยการงานสร้าง
  51. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ยุทธนาวี (2554)
  52. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 ศึกนันทบุเรง (2554)
  53. อสูรน้อยในตะเกียงแก้ว (2555)
  54. ขุนเดช (2555)
  55. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี (2557)
  56. เพลงรักฝาปืนแตก (2557)
  57. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา (2558)
  58. ผีห่าอโยธยา (2558)
  59. ตะพดโลกันตร์ (2558)
  60. 4 ยอดกุมาร (2558)
  61. พันท้ายนรสิงห์ (2558)
  62. 7 ประจัญบาน 2016 สยามยุทธ (2559)
  63. ตากสินมหาราช (2559)
  64. ไกรเทพ 2121 (2560)
  65. ตากสินมหาราช 2 (2558)
  66. จอมขมังเวทย์ 2020 (2562)

กำกับละครโทรทัศน์ แก้

  1. ผู้หญิงก็มีหัวใจ (2511)
  2. ห้องสีชมพู (2512)
  3. เงือกน้อย (2515)
  4. หมอผี (2516)
  5. จดหมายจากเมืองไทย (2525)
  6. พันท้ายนรสิงห์ (2559)

การแสดงละครโทรทัศน์ แก้

รางวัล แก้

ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แก้

พ.ศ. 2522 - อุกาฟ้าเหลือง (เข้าชิง)
พ.ศ. 2527 - อิสรภาพของทองพูน โคกโพ
พ.ศ. 2536 - มือปืน 2 สาละวิน
พ.ศ. 2537 - เสียดาย
พ.ศ. 2539 - เสียดาย 2
พ.ศ. 2541 - กล่อง

พ.ศ. 2534 - คนเลี้ยงช้าง (เข้าชิง)
พ.ศ. 2539 - เสียดาย 2

  • ชมรมวิจารณ์บันเทิง

พ.ศ. 2533 - คนเลี้ยงช้าง (เข้าชิง)
พ.ศ. 2534 - น้องเมีย (เข้าชิง)
พ.ศ. 2536 - มือปืน 2 สาละวิน (เข้าชิง)

ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แก้

พ.ศ. 2516/17 - เขาชื่อกานต์
พ.ศ. 2522 - อุกาฟ้าเหลือง (เข้าชิง)
พ.ศ. 2524 - ถ้าเธอยังมีรัก
พ.ศ. 2527 - อิสรภาพของทองพูน โคกโพ
พ.ศ. 2528 - ครูสมศรี (เข้าชิง)
พ.ศ. 2533 - น้องเมีย
พ.ศ. 2536 - มือปืน 2 สาละวิน
พ.ศ. 2537 - เสียดาย
พ.ศ. 2539 - เสียดาย 2
พ.ศ. 2541 - กล่อง

ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2521 - อุกาฟ้าเหลือง
พ.ศ. 2529 - ครูสมศรี
พ.ศ. 2534 - คนเลี้ยงช้าง
พ.ศ. 2536 - มือปืน 2 สาละวิน (เข้าชิง)
พ.ศ. 2537 - เสียดาย (เข้าชิง)
พ.ศ. 2539 - เสียดาย 2 (เข้าชิง)

ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2533 - คนเลี้ยงช้าง (เข้าชิง)
พ.ศ. 2534 - น้องเมีย (เข้าชิง)
พ.ศ. 2536 - มือปืน 2 สาละวิน (เข้าชิง)
พ.ศ. 2537 - เฮโรอีน (เข้าชิง)

อำนวยการสร้าง แก้

  1. คืนบาปพรหมพิราม (2546)
  2. โหมโรง (2547)

บทนิพนธ์ แก้

  • โลกสีคราม พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ดวงตา,พ.ศ. 2524
  • เหี้ย ห่า และสารพัดสัตว์ สำนักพิมพ์สามสี, มิถุนายน 2535 ได้รับรางวัลส่งเสริมสิ่งแวดล้อมจากชมรมสิ่งแวดล้อมสยาม
  • จดหมายเหตุสุริโยไท สำนักพิมพ์แพรวเอนเตอร์เทน,พ.ศ. 2544
  • ตามรอยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แพรวสำนักพิมพ์, ธันวาคม พ.ศ. 2549
  • รักสองต้องหาม (ชาตรีเฉลิม - เชิด ทรงศรี) นำเสนอโดยคณะละครวิทยุ "สยาม 81" ทางสถานีวิทยุกรมการพลังงานทหาร (วพท) เอ เอ็ม จันทร์-ศุกร์ เวลา 10.30 น. พ.ศ. 2555

ผลงานอื่น ๆ แก้

พระเกียรติยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ
ลำดับโปเจียม24

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ปริญญากิตตมศักดิ์ แก้

รางวัลเกียรติยศ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ชาตรีเฉลิม ยุคล, โลกสีคราม, แพรวสำนักพิมพ์ 2545 ISBN 974-7521-46-6
  2. "หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมเป็นบุคคลล้มละลาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-20. สืบค้นเมื่อ 2016-09-20.
  3. ปลด "หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล" พ้นจากบุคคลล้มละลาย
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-07-18.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑๖ ข ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล) เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ราชกิจจานุเบกษา,[https://web.archive.org/web/20160303191846/http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00117228.PDF เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น แก้