คนเลี้ยงช้าง ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2533 กำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ ประจำปี พ.ศ. 2534 และได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ในการประกาศรางวัลครั้งที่ 62 แต่ทว่ามิได้ผ่านเข้าไปถึงรอบสุดท้าย[1]

คนเลี้ยงช้าง
กำกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
เขียนบทหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
อำนวยการสร้างหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
นักแสดงนำสรพงศ์ ชาตรี
ดวงเดือน จิไธสงค์
รณ ฤทธิชัย
อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์
บู๊ วิบูลย์นันท์
ผู้บรรยายอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์
กำกับภาพหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ตัดต่อหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ดนตรีประกอบพิเศษ สังข์สุวรรณ
ผู้จัดจำหน่ายไทยฟิล์มโปรดักชั่น พร้อมมิตรภาพยนตร์
วันฉาย5 เมษายน พ.ศ. 2533
ประเทศประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb

เพลงประกอบภาพยนตร์ ชื่อเพลง "พิทักษ์ป่า" ขับร้องโดยแอ๊ด คาราบาว ที่เป็นนักแสดงรับเชิญในเรื่อง และเพลง "สร้างไพร" แต่งและขับร้องโดยสุรชัย จันทิมาธร

เรื่องย่อ

แก้

คนเลี้ยงช้าง เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ บุญส่ง (สรพงศ์ ชาตรี) เจ้าของช้างแสนรู้ชื่อ แตงอ่อน ที่ถูกความจำเป็นบังคับให้ทำงานรับจ้างเสี่ยฮก (บู๊ วิบูลย์นันท์) ชักลากไม้เถื่อนออกจากป่าห้วยนางนอน อำเภอพนาไพร ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวผ่านคำบอกเล่าของ ชัย (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์) เจ้าหน้าที่ป่าไม้จบใหม่ ที่เพิ่งเข้ามาเป็นผู้ช่วยของ คำรณ (รณ ฤทธิชัย) เจ้าหน้าที่ป่าไม้อาวุโส ที่อุทิศตนเพื่อปกป้องผืนป่า ปราบปรามพวกลักลอบทำไม้เถื่อนอย่างจริงจัง

การปราบปรามของคำรณสร้างความเดือดร้อนให้กับธุรกิจของเสี่ยฮก จึงถูกจ่าสม (สมศักดิ์ ชัยสงคราม) ตำรวจชั่วลูกน้องของเสี่ยฮก หมายเอาชีวิต พร้อมกับตามล่าตัวบุญส่งและครอบครัว แตงอ่อนได้เอาตัวเข้าปกป้องจนถูกกระสุนปืนกลอาการสาหัส แตงอ่อนตามเอาชีวิตจ่าสม และกลายเป็นช้างป่าคอยตามล่าพวกลักลอบตัดไม้ จนกลายเป็นตำนานกล่าวขานคู่กับป่าห้วยนางนอน ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์เพราะไม่มีใครกล้าเข้ามาตัดไม้อีกต่อไป

นักแสดง

แก้

คนเลี้ยงช้าง

แก้
  • สรพงศ์ ชาตรี เป็น บุญส่ง
  • พลายสำลี เป็น แตงอ่อน
  • ดวงเดือน จิไธสงค์ เป็น คำหวาน (เมียบุญส่ง)
  • อู๊ด พิลึก เป็น ปู่แหวน หมอช้าง (พ่อบุญส่ง)
  • ดี๋ ดอกมะดัน เป็น จำรัส คนขายไอศครีม

เจ้าหน้าที่

แก้

คนร้าย

แก้

อื่นๆ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Margaret Herrick Library, Academy of Motion Picture Arts and Sciences

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้