จอห์น อิสรัมย์ นักแข่งรถจักรยานยนต์ผาดโผน อดีตแชมเปียนรถจักรยานยนต์โมโตครอสคนแรกของประเทศไทย ในปีแรกที่มีการจัดการแข่งขัน เมื่อ พ.ศ. 2520 [3] และได้ร่วมแข่งขันจักรยานยนต์วิบากทั้งในประเทศและแถบเอเชีย [3]

จอห์น อิสรัมย์
John Isram
จอห์น กับ ผลงานเพลงชุด "บิดสุดขีด"
จอห์น กับ ผลงานเพลงชุด "บิดสุดขีด"
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดอัศวิน อิสรัมย์ [1]
เกิด28 ตุลาคม พ.ศ. 2498
จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย
เสียชีวิต20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (54 ปี)
อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
คู่สมรสนางธารินี อิสรัมย์ [2]
อาชีพนักแสดง นักพากย์ นักแสดงผาดโผน นักแข่งรถจักรยานยนต์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2523 - 2552

ประวัติ

แก้

จอห์น อิสรัมย์ เกิดที่จังหวัดอุดรธานี [2] เริ่มต้นเข้าสู่วงการแข่งรถผาดโผนตั้งแต่อายุ 17-18 ปี [3] มีชื่อเสียงจากการได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนรถจักรยานยนต์โมโตครอสคนแรกของประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2520ในสังกัดซูซูกิ และ ย้ายเข้าร่วมทีม ยามาฮ่า ในปี 2521

ได้แสดงภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2523 รับบทนำคู่กับอำภา ภูษิต ในเรื่อง แข่งรัก แข่งรถ กำกับโดยสมเดช สันติประชา หลังจากนั้นปฎิเสธบทพระเอก เช่น บทพระเอกหนังเรื่องดาวพระเสาร์จึงมี สรพง ชาตรีมาแสดงแทน ขอเล่นบทผู้ร้าย เนื่องจากแบ่งเวลาไปโชว์ผาดโผนการกุศลช่วยทุนการศึกษาเด็กยากจน ทุกพื้นที่ทั่วไทย และยัง ช่วยงานในหลวง ร.9 และองค์ราชินี สอนขี่ยุทธวิถีรบให้ทหารเสือ[4] ขณะกำลังมีชื่อเสียงเคยถ่ายภาพยนตร์โฆษณาน้ำมันเครื่องคาสตรอล [5] แสดงผาดโผนขี่จักรยานลุยไฟออกรายการโทรทัศน์ ตามไปดู ทางช่อง 9 และออกผลงานเพลง ชื่อชุด “บิดสุดขีด” กับค่ายนิธิทัศน์ [1] ได้รับพระราชทานดินหลวงที่ในหลวง ร.9 ปั้นจากพระหัตถ์(มือ)พระองค์เองมากับผู้บัญชาการและเหล่าทัพ เพื่อเป็นเกียรติแก่ตระกูล อิสรัมย์ สืบต่อไป

“ไม่รับสตั๊นแมน ไม่ใช่นักพาก” จอห์น อิสรัมย์โชว์ผาดโผนเพื่อการกุศลเสี่ยงตายเพื่อให้เด็กยากจนมีโอกาสมีทุนการศึกษา ไม่หักค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว และ เปิดร้านนำเข้า จำหน่ายรถจักรยานยนต์วิบาก และเปิดสอนขับขี่รถจักรยานยนต์ผาดโผน [3] พร้อมกับรับงานแสดงตัวประกอบภาพยนตร์ เช่นเรื่อง คนเลี้ยงช้าง ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และภาพยนต์ไทยหลายร้อยเรื่อง

ผลงานหนึ่งที่เป็นที่[ฮ่องกง]]ร่วมกับเจิ้ง อี้เจี้ยน (นักแสดงนำของภาพยนตร์เรื่องฟงอวิ๋น) โดยประลองความเร็วมอเตอร์ไซค์ของตนที่เมืองพัทยาในภาพยนตร์เรื่อง เร็วทะลุนรก (烈火戰車2極速傳說; The Legend of Speed) ในปี พ.ศ. 2542 กำกับโดยแอนดริว เลา (ผู้กำกับ สองคนสองคม)

ผลงานแสดงล่าสุดคือเรื่อง บางระจัน 2 ของธนิตย์ จิตนุกูล รับบทเป็นเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่า [2] และได้รับคัดเลือกให้รับบท "คะหยิ่น" หัวหน้ากะเหรี่ยงในโครงการสร้างภาพยนตร์ เพชรพระอุมา ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล [6]

การเสียชีวิต

แก้

จอห์น อิสรัมย์มีอาการโรคหัวใจกำเริบ หลังจากเดินทางกลับจากถ่ายทำฉากแอ็คชั่นในภาพยนตร์เรื่องบางระจัน 2 ที่จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ขณะนำส่งโรงพยาบาลแปลงยาว ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากอาการกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน [7] ญาตินำศพไปประกอบพิธีทางศาสนา และฝังที่สุเหร่าหนองมะนาว ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

ผลงานเพลง

แก้
  • บิดสุดขีด (สิงหาคม 2535)

อัลบั้มรวมเพลง

แก้
  • เพลินเพลงเพื่อชีวิต (มิถุนายน 2563)

ผลงานละคร

แก้
  • สืบลับรหัสรัก (2550) ช่อง 3

ผลงานภาพยนตร์

แก้
  • แข่งรถแข่งรัก (2523)
  • นักสืบฮาร์ด (2525)
  • ดาวพระเสาร์ (2525)
  • เสียงเพลงนักเลงโหด (2525)
  • ลูกสาวกำนัน ภาค 2 (2526)
  • เลขาคนใหม่ (2526)
  • มือปืน (2526)
  • เสือล่าสิงห์ (2527)
  • เหนือฟ้ายังมีเซียน (2529) (รับเชิญ)
  • ล่าด่วนนรก (2529)
  • คนเลี้ยงช้าง (2533) รับบท หาญ มือปืน/คนขับรถ
  • ปีศาจสงคราม (2533)
  • เพชรพระอุมา (2533)
  • เร็วทะลุนรก (2542) รับบท จอห์น อิสรัมย์
  • สนิมสร้อย (2546)
  • เกิดมาลุย (2547)
  • ฤทธิ์เหล็กไหล (2551) รับบท เที่ยง
  • บางระจัน 2 (2553) รับบท เนเมียวสีหบดี

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 หัวใจวายคร่าจอห์นนักบิดดัง เดลินิวส์, 21 พฤศจิกายน 2552
  2. 2.0 2.1 2.2 ใจวายคร่าชีวิต จอห์น อิสรัมย์ สิ้นตำนาน นักขี่จยย. ผาดโผน! ข่าวสด, 21 พฤศจิกายน 2552
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "เว็บไซต์ส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-11-21.
  4. http://www.thaifilmdb.com/th/pp02399
  5. ปิดตำนาน "บิดสุดขีด" ปิดตำนานนักบิดผาดโผนหนึ่งเดียวของไทย "จอห์น อิสรัมย์" โอเคเนชั่น
  6. เพชรพระอุมา (Update 2)
  7. “จอห์น อิสรัมย์”นักแข่งชื่อดังดับ เดลินิวส์, 20 พฤศจิกายน 2552

เชิงอรรถ

แก้


==แหล่งข้อมูลอื่น